Thursday, October 29, 2020

เฉลยธรรมบัญญัติ คือ อะไร

เฉลยธรรมบัญญัติ คือ อะไร 

แปลว่าอะไร ความหมาย 

What is DEUTERONOMY ?

เฉลยธรรมบัญญัติ DEUTERONOMY

          หลังจากอิสราเอลได้รับธรรมบัญญัติที่ภูเขาซีนาย  พวกเขาได้อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งอยู่ระหว่างภูเขาซีนายกับแผ่นดินคานาอัน ประมาณสี่สิบปี  ในระหว่างสี่สิบปีนั้น  คนรุ่นก่อนที่ได้รับพระบัญญัติที่ภูเขาซีนายได้เสียชีวิตลงหมดทุกคนแล้ว  ฝูงชนที่จะเข้าคานาอันจึงเป็นคนรุ่นใหม่  ฉะนั้นก่อนที่พวกนี้จะเดินทางเข้าสู่คานาอัน  โมเสสจึงกล่าวธรรมบัญญัติซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  ทั้งอธิบายเพิ่มเติมข้อความต่าง ๆ เพื่อแก้ไขข้อข้องใจของประชาชนรุ่นใหม่นี้  เพื่อให้พวกเขาทราบเรื่องพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างละเอียด  หนังสือที่บันทึกคำสอนของโมเสสในโอกาสนี้จึงได้ชื่อว่าเฉลยธรรมบัญญัติ

 The Gospel According to Moses: Three Reasons Why We Should Study Deuteronomy  | Via Emmaus

ลักษณะของหนังสือเล่มนี้

          หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติไม่เพียงแต่กล่าวสอนข้อปฎิบัติ  ข้อห้ามแบบธรรมบัญญัติเท่านั้น  แต่มีลักษณะเป็นคำเทศนามากกว่า  โมเสสเน้นย้ำว่า  พระเจ้าไม่ประสงค์ให้อิสราเอลฝืนใจปฎิบัติตามคำสั่งเพราะกลัวโทษ แต่พระองค์ทรงตเองการให้พวกเขาเชื่อฟังพระเจ้า เพราะเขารักพระองค์ (ฉธบ. 6:3; 5-9; 7:7-8; 11; 8:5)  หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติต่างกับหนังสือเลวีนิติและกันดารวิถี  สองเล่มนั้นเขียนสำหรับพวกปุโรหิตและพวกเลวี  แต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติเขียนเพื่อประชาชนทั่ว ๆ ไป  (ฉธบ. 8:6; 10:12-13)

          สิ่งที่สำคัญในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติคือ  พันธสัญญาที่พระเจ้าทรงกระทำกับชาติอิสราเอล  พระองค์ทรงเลือกอิสราเอลให้เป็นประชากรของพระองค์  ทรงสัญญาว่าจะประทานแผ่นดินคานาอันให้พวกเขาเข้าอาศัยอยู่ (ฉธบ. 7:7; 8:1; 9:4-5)  อิสราเอลได้รับพระพรนี้  เขาตอบสนองโดยสาบานต่อพระเจ้าว่าเขาจะเชื่อฟังพระองค์ (ฉธบ. 5:6-7; 6:1-3; 10:12-13 ดู  พันธสัญญา)

          รูปแบบของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติเหมือนกับหนังสือพันธสัญญาที่ใช้กันโดยทั่วไปในสมัยนั้น  กษัตริย์ที่ยึดครองชาติที่เล็กกว่าจะกระทำพันธสัญญากับพวกเขาโโยกล่าวไว้ว่า  พระองค์จะวางแนวทางชีวิตให้พวกเขา  ถ้าพวกเขายอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระองค์ก็จะได้รับผลประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้  แต่ถ้าพวกเขากบฏก็จะมีโทษอย่างหนัก  ถ้าเราอ่านหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติทำนองว่าเป็นหนังสือรับรองพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอิสราเอล  เราคงจะเข้าใจหนังสือนี้ได้ดีขึ้น

 

ข้อความในหนังสือพันธสัญญา

          หนังสือพันธสัญญาในสมัยนั้นเริ่มต้นโดยกษัตริย์กล่าวว่าได้ทรงกระทำอะไรเพื่อประชาชน  ฉะนั้นโมเสสเริ่มต้นโดยกล่าวว่าพระเจ้าได้ทรงกระทำอะไรเพื่ออิสราเอล  จึงได้นำพวกเขาออกจากอียิปต์และจะนำเข้าสู่คานาอัน (1:1-3:29)  ส่วนอิสราเอลควรตอบแทนโดยการซื่อสัตย์ต่อพระองค์ (4:1-43)

          ต่อไปกล่าวถึงข้อใหญ่ของพันธสัญญาคือพระบัญญัติสิบประการ (4:44-5:33)  พวกเขาจะปฎิบัติตามพระบัญญัติได้  โดยมีความรักต่อพระองค์อย่างแท้จริง  เขาไม่ควรทรยศต่อพระเจ้าของเขา  โดยหันไปผูกพันกับพระของคนต่างชาติ (6:1-25)  พระเจ้าจะประทานแผ่นดินดีให้พวกเขา  แต่เขาต้องจำไว้เสมอว่า  สิ่งที่สำคัญกว่าอาหารกับผลิตผลแห่งธรรมชาติคือ  ความเชื่อไว้วางใจในพระเจ้า  (7:1-8:20)  ประชาชนจึงไม่มีควรจะดื้อรั้น  (9:1-10:11)  แต่ควรจะถ่อมใจลงต่อพระเจ้าโดยมีจิตใจที่บริสุทธิ์ (10:12-11:32) 

          เมื่อกล่าวถึงข้อสำคัญโดยทั่วไปแล้วหนังสือก็กล่าวถึงรายละเอียด  มีข้อปลีกย่อยหลายข้อซึ่งเกี่ยวกับชีวิตใหม่ที่พวกเขาจะพบในคานาอัน  โมเสสจึงปรับปรุงบัญญัติบางข้อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ใหม่ในคานาอัน (เช่น ดู 11:10-11; 12:20-22; 14:24-27; 18:6-8)

          เรื่องราวที่กลาวถึงในธรรมบัญญัติฉบับใหม่นี้ได้แก่ การนมัสการ (12:1-13:18)  กฎปฎิบัติทางศาสนา (14:1-16:17)  ความยุติธรรมในการปกครอง (16:18-19:21)  การรักษาชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป (20:1-21:23)  ความบริสุทธิ์ทางเพศ (22:1-23:25)  การปกป้องคนที่อาจถูกคนร่ำรวยกดขี่ (24:1-25:4)  และความซื่อสัตย์ในการกระทำสิ่งต่าง  ๆ(25:5-26:15)  เสร็จแล้วผู้กระทำพันธสัญญาทั้งสองฝ่ายได้กล่าวสาบานว่าจะรักษาไว้ (26:16-19)

          ตอนท้ายของหนังสือพันธสัญญาบันทึกไว้ว่า  เจ้านายจะตอบแทนความเชื่อฟังโดยประทานรางวัลให้  แต่จะลงโทษความไม่เชื่อฟัง (27:1-28:68)  เมื่อโมเสสกล่าวสิ่งทั้งหมดเหล่านี้เสร็จแล้ว ก็ประทับตราพันธสัญญา (29:1-30:20)  ท่านได้บอกว่าควรจะมีการอ่านพันธสัญญาให้ประชาชนฟังทุกเจ็ดปี  เพื่อพวกเขาจะไม่ลืม  และควรจะเก็บหนังสือไว้ที่พลับพลาให้เป็นมาตรฐานที่แน่นอนในการปกครองชาติ (31:1-29)

          โมเสสได้สรุปความโดยเขียนเพลงที่ประชาชนควรจะฝึกร้อง  (31:30-32:47)  แล้วท่านก็กล่าวคำอวยพรอิสราเอลทั้งสิบสองเผ่า (32:48-33:29)  หลังจากท่านมีโอกาสดูแผ่นดินที่อิสราเอลกำลังจะเข้าไปอยู่นั้น  ท่านก็ถึงแก่กรรม (34:1-12)

 

 

 

โคโลสี (หนังสือ) COLOSSIANS (BOOK)

 

โคโลสี (เมือง) COLOSSAE

          ถึงแม้ว่าเมืองโคโลสีตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงที่เชื่อมแคว้นซีเรียกับเมืองเอเฟซัส  แต่เปาโลก็ไม่ได้ไปเยี่ยม

คริสตจักรเมืองโคโลสีในระหว่างการเดินทางประกาศที่บันทึกไว้ในหนังสือกิจการ (คส. 1:4; 2:1)  โคโลสีอยู่ในเขตหนึ่งของแคว้นเอเชียที่พระเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้เปาโลไปประกาศ (กจ. 16:6-8 แผนที่เมืองต่าง ๆ ในแคว้นเอเซียสมัยจักรวรรดิโรม อยู่ในหัวข้อ โรม)

          เข้าใจว่าคริสตจักรโคโลสีได้เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่เปาโลอยู่ที่เมืองเอเฟซัสสามปีและสาวกของท่านที่รับเชื่อที่เมืองเอเฟซัสได้ออกไปเผยแพร่ข่าวประเสริฐตามชนบทและเมืองต่าง ๆ แถบนั้น (กจ. 19:9-10)  เอปาฟรัส  คงเป็นคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคริสตจักรโคโลสี  (คส. 1:7)  คริสตจักรนั้นได้ประชุมที่บ้านของสมาชิกคนหนึ่งชื่อฟีเลโมน (คส. 4:9; ฟม. 1ม2ม 10-12)

 Knowing Christ through Knowing Others (Colossians 2:2-3) ~ A Devotion for  September 24, 2014 - Soli Deo Gloria

โคโลสี (หนังสือ) COLOSSIANS (BOOK)

          ตอนที่เปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ท่านเป็นนักโทษถูกจองจำอยู่  (คส. 4:3)  ท่านได้มายังกรุงโรมพร้อมกับลูกาและอาริสทารคัส   เพื่อถวายฎีกาแด่จักรพรรดิซีซาร์  เวลานั้นท่านอยู่กรุงโรมสองปี (กจ. 25:12; 27:1-2; 28:16, 30; คส. 4:10, 14)  ในระหว่างสองปีนั้นมีคนจากคริสตจักรโคโลสีมาเยี่ยมท่านชื่อเอปาฟรัส คนเป็นคนที่ก่อตั้งคริสตจักรโคโลสีขึ้นแต่แรก  (คส. 1:6-7; 4:12)  เอปาฟรัสมาปรึกษาเปาโล  เพราะมีปัญหาเกิดขึ้นในคริสตจักรที่เขาไม่รู้จะแก้ไขได้อย่างไร

 

ปัญหาที่คริสตจักรโคโลสี

          ที่เมืองโคโลสีมีพวกหนึ่งได้เข้ามาในคริสตจักรและสอนผิด ๆ พวกนี้เอาเรื่องปรัชญาเรื่องศาสนา  และเรื่องเทพนิยายมาปนกันคล้ายกับลัทธินอสติกที่ก่อการยุ่งยากทั่วเอเชียไมเนอร์มาแล้ว  ที่คริสตจักรโคโลสีพวกนี้ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เอามาจากศาสนายิวบ้าง (คส. 2:16, 20-21)

          พวกนอสติกนี้ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าบริบูรณ์และเป็นมนุษย์บริบูรณ์ในเวลาเดียวกัน  เขาบอกว่าพระเจ้าสูงสุดจะผูกพันกับมนุษย์ผู้เป็นคนบาปไม่ได้  พระวิญญาณกับวัตถุจะเข้ากันไม่ได้  ดังนั้นเขาจึงคิดจะเปลี่ยนให้มีพระเจ้าหลายองค์  ตั้งแต่พระเจ้าเที่ยงแท้และสูงสุดเป็นลำดับมาจนถึงมนุษย์ตามคำสอนของพวกเขาพระเยซูไม่ใช่พระเจ้าเที่ยงแท้แต่มีบางส่วนเป็นพระเจ้า  บางส่วนเป็นมนุษย์  คล้าย ๆ  กับทูตสวรรค์  เขาบอกว่า  มนุษย์ต้องนมัสการขอความช่วยเหลือจากพวกทูตสวรรค์เหล่านี้จะได้พ้นบาป  ขึ้นไปหาพระเจ้าทีละขั้น ๆ จนถึงพระผู้สูงสุด (คส. 2:8; 18)

          อาจารย์เปาโลโต้แย้งว่า  พระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้าและเป็นมนุษย์  พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์และพวกเทพวิญญาณทั้งหลาย  (คส. 1:15-19; 2:9)  พระองค์เป็นพระผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง  และเป็นผู้ชนะบรรดาวิญญาณชั่ว  (คส. 1:20-22; 2:15)  แต่แล้วพระองค์ก็ยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับทุกคนที่เชื่อ  พระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคริสตจักรเหมือนศรีษะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับร่างกาย (คส. 1:18; 2:19)  การที่คริสเตียนติดสนิทอยู่กับพระเยซูเช่นนี้ควรจะมีผลในชีวิตประจำวันด้วย  โดยที่ชีวิตของผู้เชื่อจะเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ กลายเป็นเหมือนชีวิตของพระคริสต์ (คส. 3:3-5, 10)

 

ข้อความในจดหมาย

          เปาโลขอบพระคุณพระเจ้าต่อความเชื่อของพวกคริสเตียนชาวโคโลสี  และอธิษฐานขอพระเจ้าให้พวกเขาเจริญก้าวหน้าต่อไป (1:1-14)  ต่อไปท่านกล่าวถึงหัวใจของจดหมายที่เขียนคือ  พระเยซูเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งสารพัด  การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เท่านั้นเป็นทางแห่งความรอด   นี่เป็นรากฐานของความเชื่อและชีวิตคริสเตียน  จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นอันขาด  (1:15-23)  เปาโลประกาศเรื่องนี้ทุกหนทุกแห่ง  ท่านต้องการให้คริสเตียนมั่นคงในความเชื่อนี้ (1:24-2:5) 

          การสอนผิด ๆ ทุกอย่างนำไปสู่พันธนาการ  เปาโลอยากให้คริสเตียนยึดพระเยซูไว้ให้แน่น  และจะมีอิสรเสรีภาพอย่างแท้จริงในพระองค์  (2:6-15)  เราไม่ควรหลงไปติดพันกับศาสนาที่มนุษย์สร้างขึ้นเองชีวิตของคริสเตียนผูกพันอยู่กับพระเยซูแต่ผู้เดียว (2:16-3:4)  เราควรแสดงถึงชีวิตใหม่ของเราโดยละทิ้งความประพฤติเก่า ๆ และสร้างนิสัยใหม่ ๆ ขึ้น  ให้มีลักษณะเหมือนพระเยซูมากขึ้นเรื่อย ๆ (3:5-17)  ทั้งนี้หมายถึงชีวิตส่วนตัว  ชีวติในบ้าน  ชีวิตในคริสตจักร  และ ชีวิตในสังคม (3:18-4:6)

          ตอนท้ายของจดหมายเป็นรายละเอียดส่วนตัวเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเปาโล  และโครงการของท่านต่อไป  บุคคลที่ท่านกล่าวถึงซึ่งอยู่กับท่านในกรุงโรมบ้าง  อยู่ที่เมืองโคโลสีบ้าง  และอยู่ที่เมืองอื่น ๆ บ้าง (4:7-18)