ไวในการฟังช้าในการพูด
ริมฝีปากของคนชอบธรรมเลี้ยงคนเป็นอันมาก
- สุภาษิต 10:21
เรามักไม่เป็นผู้ฟังที่ดี
หลายครั้งเราได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง คือได้ยินคำพูด แต่ใจไม่ได้ฟัง ใจยังไม่สงบ ยังเต็มด้วยเสียงของตัวเอง จึงไม่ได้ตั้งใจฟังจริงๆ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะนิ่งและเงียบ
มี “วาระนิ่งเงียบ และวาระพูด” (ปัญญาจารย์ 3:7) ความเงียบที่ดีคือความเงียบที่ถ่อมและรับฟัง ซึ่งนำไปสู่การได้ยิน เข้าใจ
และพูดอย่างถูกต้อง
สุภาษิต 20:5 กล่าวว่า “ความประสงค์ในใจของคนเหมือนน้ำลึก แต่คนที่มีความเข้าใจจะสามารถโพงมันออกมาได้”
การฟังให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งต้องใช้ความตั้งใจมาก
ขณะที่เราฟังผู้อื่น เราก็ต้องฟังพระเจ้าและสิ่งที่พระองค์ตรัสด้วย ครั้งที่พระเยซูทรงใช้นิ้วเขียนที่ดินเมื่อฟาริสีต่อว่าหญิงที่ถูกจับได้ว่าล่วงประเวณี
(ดู ยอห์น 8:1-11) พระองค์ทรงทำอะไร พระองค์อาจจะทรงฟังเสียงพระบิดาและถามว่า
“เราควรจะพูดอะไรกับฝูงชนและหญิงคนนี้”
ให้เราสงบจิตใจเพื่อฟังเสียงของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิตเราก่อน
เพื่อจะได้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น เพราะพระองค์ทรงต้องการสอนเราในการพูด
อย่าด่วนที่จะพูด พึงจำไว้ว่า “ความเงียบที่ถูกจังหวะดีกว่าวาจาคมคาย”
ไวในการพูดตามแบบพระคริสต์ช้าในการพูดด้วยอารมณ์
พระคัมภีร์กล่าวว่า
“มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ ของเขาเหมือนดาบแทง” และ “คำกักขฬะเร้าโทสะ” แต่ “คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป” (สุภาษิต
12:18; 15:1) และบางครั้งการไม่ตอบโต้อะไรเลยก็เป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในการจัดการกับคำพูดหรือความเห็นที่รุนแรง
ก่อนพระเยซูถูกตรึง
ผู้นำศาสนาพยายามยั่วยุพระองค์ด้วยคำพูดดังที่ใน มัทธิว 27:41-43 กล่าวว่า แต่ “เมื่อเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์
พระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวตอบเขาด้วยคำหยาบคายเลย…แต่ทรงมอบเรื่องของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาอย่างยุติธรรม”
(1 เปโตร 2:23)
พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างในการโต้ตอบคนที่ทำผิดกับเรา
ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง การวางใจพระเจ้าทำให้เราไม่ต้องใช้คำพูดเป็นอาวุธทำร้ายผู้ที่ทำผิดต่อเรา
ขอให้เราทูลต่อพระองค์ในยามที่เราเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีว่า
“พระเจ้าที่รัก โปรดประทานการรู้จักบังคับตนผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์
ในยามที่ข้าพระองค์ถูกทดลองให้พูดถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม คำตอบอ่อนหวานคือวิธีละลายใจที่แข็งกระด้าง”
กษัตริย์ซาโลมอน
ผู้เขียนพระธรรมสุภาษิตเกือบทั้งหมดได้เขียนเกี่ยวกับอำนาจของคำพูดบ่อยครั้ง
ท่านกล่าวว่า “ความตายความเป็นอยู่ที่อำนาจของลิ้น”(สุภาษิต 18:21) คำพูดทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายก็ได้
(สุภาษิต 18:20) เราจะมีคำพูดที่ก่อให้เกิดผลดีได้อย่างไร
มีทางเดียวคือ เราต้องหมั่นรักษาจิตใจ “จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ”
(สุภาษิต 4:23)
พระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงจิตใจของเรา
เพื่อให้เรามีคำพูดที่ดีที่สุด คือ ซื่อสัตย์ สงบ เหมาะสมและถูกกาลเทศะ
ขอให้เราอธิษฐานดังนี้
“ข้าแต่พระเจ้า พระศิลาและพระผู้ไถ่ของข้าพระองค์ ขอให้ถ้อยคำจากปากของข้าพระองค์
และการรำพึงภาวนาในจิตใจ เป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์เถิด สดุดี 19:14
ในเว็บไซต์มักจะมีช่อง “แสดงความเห็น” ที่ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้
หลายคนมักจะระบายอารมณ์ด้วยถ้อยคำหยาบคายถากถางโดยไม่มีมูลความจริงหรือมีมูลเหตุ
พระเจ้าทรงให้เรามีอิสระมาก
เราเลือกได้ว่าจะพูดอะไร เมื่อไร อย่างไร ข้อความที่เราพูด เขียน หรือโพสต์นั้นสำแดงความรักของพระเจ้าไหม
เป็นประโยชน์กับใครบ้าง และสะท้อนพระลักษณะของพระคริสต์หรือไม่ จงให้ความรักเป็นเป้าหมายสูงสุดของคุณในการพูดบนโลกโซเชียล
ไวที่จะพูดเพื่อก่อ ในท่ามกลางความขัดแย้ง
สวนหลายไร่ลุกเป็นไฟเมื่อลมพัดเอาเถ้าถ่านที่ยังติดไฟอยู่หรือก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งข้างทาง
ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ประกายไฟเพียงนิดก็ทำให้เกิดอัคคีภัยร้ายแรงได้
ยากอบก็พูดถึงลิ้น
ว่ามันเป็น “โลกที่ไร้ธรรม ในบรรดาอวัยวะของเรา
เป็นเหตุให้ทั้งกายมลทินไป ทำให้วัฏฏะแห่งชีวิตเผาไหม้และมันเองก็ติดไฟโดยนรก”
(ยากอบ 3:6)
คำพูดสามารถทำให้ความสัมพันธ์ทั้งหลายขาดสะบั้นลงหรือสร้างและรักษาความสัมพันธ์ต่อกันยิ่งดีขึ้น
สุภาษิต 12:18 กล่าวว่า “มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ
ของเขาเหมือนดาบแทง แต่ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้” เช่นเดียวกับไฟที่มีทั้งด้านเผาทำลายและด้านที่เป็นประโยชน์
“ความตายความเป็นก็อยู่ที่อำนาจของลิ้น” (สุภาษิต 18:21)
ให้เรามีลิ้นที่
“ประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” (โคโลสี
4:6) เมื่อแสดงความคิดเห็นท่ามกลางความขัดแย้ง ให้พระเจ้าใช้ลิ้นของเราถวายเกียรติแด่พระองค์
ให้เราอธิษฐานว่า
“ลูกจะใช้ถ้อยคำที่เป็นพร และหนุนใจผู้อื่นเสริมสร้างผู้คนมากกว่าทำลาย เพราะพระองค์ทรงพอพระทัยเช่นนั้น
ไวที่จะใช้ลิ้นของปราชญ์
อ่าน: สุภาษิต 10:18-21;
12:17-19
ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้
- สุภาษิต 12:18
ผู้เขียนสุภาษิต
12:18 กล่าวถึงวิธีการใช้ลิ้นอย่างปราชญ์คือ “ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้” พระเจ้าทรงประทานลิ้นให้กับเราเพื่อนำการรักษาไปสู่ทุกคนที่เราคุยด้วย
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า
“ลูกจะใช้ลิ้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์คือเยียวยารักษาจิตใจทุกคนที่ลูกคุยด้วย”
ขอทรงเฝ้าระวังถ้อยคำที่เรากล่าว
ให้สะท้อนถึงพระองค์และความรักของพระองค์ ช่วยให้ลิ้นของเราเอ่ยคำเยียวยา
และไม่ทำร้าย “จงให้กำลังใจกันและเสริมสร้างซึ่งกันและกันขึ้น”
1 เธสะโลนิกา 5:11
หลักการเหตุผล
แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้
- ยากอบ 3:8
มนุษย์เรียนรู้วิธีการทำให้สัตว์ป่าเชื่องได้
ไม่ว่าจะเป็นหมูจิ๋วเวียดนามหรือหมาป่าไซบีเรีย หลายคนสนุกกับการสอนลิงให้ “แสดง” อัครทูตยากอบเขียนไว้ว่า “เพราะสัตว์เดียรัจฉานทุกชนิด ทั้งนก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในทะเลก็เลี้ยงให้เชื่องได้
และมนุษย์ก็ได้เลี้ยงให้เชื่องแล้ว” (ยก.3:7)
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจทำให้เชื่องได้
เรามีปัญหากับการควบคุมอวัยวะเล็กๆ คือลิ้น ยากอบกล่าวว่า “แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้” (ยก.3:8)
ทำไม
เพราะถึงแม้คำพูดจะออกมาจากลิ้น แต่กลับเริ่มต้นมาจากภายในใจของเรา “ด้วยว่าปากนั้น พูดจากสิ่งที่มาจากใจ” (มธ.12:34)
ถ้าเราไม่สามารถทำให้ลิ้นเชื่องได้
ลิ้นจะกลายเป็นปัญหาประจำวันของเรา (ยก.3:10) ด้วยพระคุณของพระเจ้าพระองค์
“ตั้งยาม” เฝ้าปากของเรา พระองค์จะทรง “รักษาประตูริมฝีปากของข้าพระองค์” (สดด.141:3)
ให้เราขอบพระคุณพระเจ้าว่า
“ขอบพระคุณพระองค์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงช่วยให้ลิ้นที่ไม่เชื่องของข้าพระองค์
สามารถอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ได้”
สงครามคำพูด
บ้านหรือโบสถ์ของเราก็อาจแตกหักได้ด้วยถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังเพียงไม่กี่คำ
ยากอบเขียนไว้ว่า “จงดูเถิด ไฟนิดเดียวอาจเผาป่าใหญ่ให้ไหม้ได้หนอ”
(ยากอบ 3:5) วิธีการหลีกเลี่ยงการพูดโต้เถียงกันมีอยู่ในพระธรรมสุภาษิต
“คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป
แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ” (สุภาษิต 15:1)
คำพูดเล็กๆ
อาจก่อให้เกิดสงครามใหญ่ได้ แต่โดยพระคุณพระเจ้า
เมื่อเราเลือกที่จะไม่ตอบโต้ด้วยคำพูด
เราก็ถวายเกียรติแด่พระเยซูองค์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา
เมื่อพระองค์ทรงถูกทำร้ายและถูกดูหมิ่น
พระองค์ทรงทำให้สำเร็จตามคำพยากรณ์ของอิสยาห์ที่ว่า “ท่านถูกบีบบังคับและท่านถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก” (อิสยาห์ 53:7)
สุภาษิตเรียกร้องให้เราพูดความจริงและแสวงหาสันติผ่านถ้อยคำของเรา
“ลิ้นที่สุภาพเป็นต้นไม้แห่งชีวิต…คำเดียวที่ถูกกาละก็ดีจริงๆ” (สุภาษิต 15:4,23)
คำพูดพลั้งมีพลังผลาญทำลาย พูดร้ายๆ กลับกลายไปกันใหญ่
เลือกกาละแล้วจึงพูดออกไป พูดจากใจเป็นคำนำพระพร - Anon.
ถ้อยคำที่ถูกกาล
ถ้อยคำที่พูดเหมาะๆ
จะเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงิน - สุภาษิต 25:11
คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวว่า
“ถูกที่ถูกเวลา” พระคัมภีร์บอกเราว่า
ถ้อยคำและการพูดของเราต้องถูกเวลาด้วย ลองนึกถึงครั้งที่พระเจ้าทรงเคยใช้คุณให้กล่าวถ้อยคำที่เหมาะแก่เวลาเพื่อหนุนใจใครสักคน
หรือเมื่อคุณเคยอยากจะพูด แต่นึกขึ้นได้ว่าเงียบไว้ก็ดีกว่า
พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า
มีวาระที่เหมาะสมในการพูด (ปัญญาจารย์ 3:7) ซาโลมอนเปรียบเทียบคำพูดที่ควรแก่กาลเทศะว่าเป็นเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงินงดงาม
ทรงคุณค่า และประดิษฐ์อย่างพิถีพิถัน (สุภาษิต 25:11-12) การรู้ว่าควรจะพูดในเวลาใดเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้พูดและผู้ฟัง
ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำแสดงความรัก หนุนน้ำใจ หรือตักเตือนว่ากล่าว
เราควรเงียบในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมเช่นกัน เมื่อเราถูกทดลองให้เย้ยหยันดูแคลน
หรือใส่ร้ายเพื่อนบ้าน ซาโลมอนกล่าวว่า
การยับยั้งลิ้นไว้และรู้จักเงียบในเวลาที่ควรเงียบคือคนฉลาด (สุภาษิต 11:12-13)
เมื่อการพูดมากหรือความโกรธ
ล่อลวงให้เราทำบาปต่อพระเจ้าหรือเพื่อนมนุษย์ เราต่อต้านได้ด้วยการช้าในการพูด
(สุภาษิต 10:19; ยากอบ 1:19)
การรู้ว่าจะพูดอะไร
และควรพูดเมื่อไรเป็นเรื่องยาก พระวิญญาณจะทรงช่วยให้เรามองออก
พระองค์จะทรงช่วยให้เราใช้ถ้อยคำที่เหมาะเจาะในเวลาที่เหมาะสม
และด้วยท่าทีที่ถูกต้อง เพื่อเห็นแก่ผู้อื่น และเพื่อพระเกียรติของพระองค์
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า
“พระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ ขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงใช้ให้ผู้อื่นพูดคำหนุนใจและคำท้าทายข้าพระองค์
ขอทรงช่วยให้ข้าพระองค์มีสติปัญญาที่จะรู้ว่าเมื่อใดควรพูดหรือควรเงียบ”
นกฮูกเฒ่าเจ้าปัญญา
สติปัญญากับการจำกัดคำพูดมีความเกี่ยวโยงกัน
สุภาษิต 10:19 บอกว่า “การพูดมากก็จะสะสมการทรยศ
แต่เขาผู้ยับยั้งริมฝีปากของตนเป็นผู้หยั่งรู้”
คนฉลาดจะระมัดระวังคำพูดหรือการพูดมากน้อยในแต่ละสถานการณ์
เราควรระวังคำพูดเมื่อเราโกรธ ยากอบขอร้องเพื่อนผู้เชื่อว่า “จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ” (ยก.1:19)
การยับยั้งคำพูดยังแสดงให้เห็นว่าเรายำเกรงพระเจ้าอีกด้วย
กษัตริย์ซาโลมอน กล่าวว่า “พระเจ้าทรงสถิตในสวรรค์ และอยู่บนแผ่นดินโลก
เหตุฉะนั้นเจ้าจงพูดน้อยคำ” (ปญจ.5:2)
ปากของเรา
ปากกาของเรา ควรจะอยู่ในภาวะต้องสึกสำนึกในพระคุณที่พระเจ้าประทานความยับยั้งชั่งใจแก่เรา
เมื่อเราต้องการทำให้ผู้อื่นประหลาดใจกับการเปลี่ยนแปลงที่พระคริสต์ทรงกระทำ
ให้เราถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยสิ่งที่เราพูด หรือไม่พูด – RK
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า
“พระเจ้าเจ้าข้า ลูกจะไม่ใช้คำพูดทำลายผู้อื่นแล้วสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง แต่จะเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นก่อนเพื่อจะรับใช้พระองค์และเพื่อแผ่นดินของพระองค์”
พระคำที่ช่วยเหลือและเยียวยา
ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย
ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ - มัทธิว 6:9
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1863 ชายผู้มีชื่อเสียงสองคนได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบถวายสุสานทหารแห่งชาติในเมืองเก็ตตี้สเบิร์กรัฐเพนซิลเวเนีย
ผู้กล่าวสุนทรพจน์คนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เอเวอเร็ต อดีตผู้ว่าฯ
สมาชิกรัฐสภาและอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
เอเวอเร็ตได้กล่าวคำสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการยาวสองชั่วโมง ตามด้วยประธานาธิบดีอับราฮัม
ลินคอล์น ที่กล่าวสุนทรพจน์ เพียง 2 นาที [1]
ทุกวันนี้
คำปราศรัยแห่งเก็ตตี้สเบิร์กของลินคอล์นยังเป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลาย
แต่สุนทรพจน์ของเอเวอเร็ตเกือบจะถูกลืมไปแล้วที่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่เพราะความสามารถทางวาทศิลป์ของลินคอล์นเท่านั้น
แต่ในวันนั้น คำพูดของท่านได้เข้าถึงจิตใจของคนทั้งประเทศที่ปวดร้าวเพราะสงครามกลางเมือง
และทำให้เกิดความหวังในวันข้างหน้า
คำพูดมีความหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องยืดยาว
คำอธิษฐานของพระเยซูคริสต์เป็นคำสอนหนึ่งที่สั้นและน่าจดจำมากที่สุด
เป็นการช่วยเหลือและเยียวยา และเตือนให้เราไม่ลืมว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ของเรา
ทรงมีฤทธิ์อำนาจทั้งในโลกและในสวรรค์ (มัทธิว 6:9-10) พระองค์ประทานอาหาร
การอภัยโทษ และความอดทนให้เราทุกวัน (มัทธิว 6:11-13)
[1]
https://thaiodb.org/2014/01/07/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2/
ไวในการฟังช้าในการพูด
ริมฝีปากของคนชอบธรรมเลี้ยงคนเป็นอันมาก
- สุภาษิต 10:21
เรามักไม่เป็นผู้ฟังที่ดี
หลายครั้งเราได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง คือได้ยินคำพูด แต่ใจไม่ได้ฟัง ใจยังไม่สงบ ยังเต็มด้วยเสียงของตัวเอง จึงไม่ได้ตั้งใจฟังจริงๆ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะนิ่งและเงียบ
มี “วาระนิ่งเงียบ และวาระพูด” (ปัญญาจารย์ 3:7) ความเงียบที่ดีคือความเงียบที่ถ่อมและรับฟัง ซึ่งนำไปสู่การได้ยิน เข้าใจ
และพูดอย่างถูกต้อง
สุภาษิต 20:5 กล่าวว่า “ความประสงค์ในใจของคนเหมือนน้ำลึก แต่คนที่มีความเข้าใจจะสามารถโพงมันออกมาได้”
การฟังให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งต้องใช้ความตั้งใจมาก
ขณะที่เราฟังผู้อื่น เราก็ต้องฟังพระเจ้าและสิ่งที่พระองค์ตรัสด้วย ครั้งที่พระเยซูทรงใช้นิ้วเขียนที่ดินเมื่อฟาริสีต่อว่าหญิงที่ถูกจับได้ว่าล่วงประเวณี
(ดู ยอห์น 8:1-11) พระองค์ทรงทำอะไร พระองค์อาจจะทรงฟังเสียงพระบิดาและถามว่า
“เราควรจะพูดอะไรกับฝูงชนและหญิงคนนี้”
ให้เราสงบจิตใจเพื่อฟังเสียงของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิตเราก่อน
เพื่อจะได้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น เพราะพระองค์ทรงต้องการสอนเราในการพูด
อย่าด่วนที่จะพูด พึงจำไว้ว่า “ความเงียบที่ถูกจังหวะดีกว่าวาจาคมคาย”
ไวในการพูดตามแบบพระคริสต์ช้าในการพูดด้วยอารมณ์
พระคัมภีร์กล่าวว่า
“มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ ของเขาเหมือนดาบแทง” และ “คำกักขฬะเร้าโทสะ” แต่ “คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป” (สุภาษิต
12:18; 15:1) และบางครั้งการไม่ตอบโต้อะไรเลยก็เป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในการจัดการกับคำพูดหรือความเห็นที่รุนแรง
ก่อนพระเยซูถูกตรึง
ผู้นำศาสนาพยายามยั่วยุพระองค์ด้วยคำพูดดังที่ใน มัทธิว 27:41-43 กล่าวว่า แต่ “เมื่อเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์
พระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวตอบเขาด้วยคำหยาบคายเลย…แต่ทรงมอบเรื่องของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาอย่างยุติธรรม”
(1 เปโตร 2:23)
พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างในการโต้ตอบคนที่ทำผิดกับเรา
ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง การวางใจพระเจ้าทำให้เราไม่ต้องใช้คำพูดเป็นอาวุธทำร้ายผู้ที่ทำผิดต่อเรา
ขอให้เราทูลต่อพระองค์ในยามที่เราเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีว่า
“พระเจ้าที่รัก โปรดประทานการรู้จักบังคับตนผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์
ในยามที่ข้าพระองค์ถูกทดลองให้พูดถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม คำตอบอ่อนหวานคือวิธีละลายใจที่แข็งกระด้าง”
กษัตริย์ซาโลมอน
ผู้เขียนพระธรรมสุภาษิตเกือบทั้งหมดได้เขียนเกี่ยวกับอำนาจของคำพูดบ่อยครั้ง
ท่านกล่าวว่า “ความตายความเป็นอยู่ที่อำนาจของลิ้น”(สุภาษิต 18:21) คำพูดทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายก็ได้
(สุภาษิต 18:20) เราจะมีคำพูดที่ก่อให้เกิดผลดีได้อย่างไร
มีทางเดียวคือ เราต้องหมั่นรักษาจิตใจ “จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ”
(สุภาษิต 4:23)
พระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงจิตใจของเรา
เพื่อให้เรามีคำพูดที่ดีที่สุด คือ ซื่อสัตย์ สงบ เหมาะสมและถูกกาลเทศะ
ขอให้เราอธิษฐานดังนี้
“ข้าแต่พระเจ้า พระศิลาและพระผู้ไถ่ของข้าพระองค์ ขอให้ถ้อยคำจากปากของข้าพระองค์
และการรำพึงภาวนาในจิตใจ เป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์เถิด สดุดี 19:14
ในเว็บไซต์มักจะมีช่อง “แสดงความเห็น” ที่ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้
หลายคนมักจะระบายอารมณ์ด้วยถ้อยคำหยาบคายถากถางโดยไม่มีมูลความจริงหรือมีมูลเหตุ
พระเจ้าทรงให้เรามีอิสระมาก
เราเลือกได้ว่าจะพูดอะไร เมื่อไร อย่างไร ข้อความที่เราพูด เขียน หรือโพสต์นั้นสำแดงความรักของพระเจ้าไหม
เป็นประโยชน์กับใครบ้าง และสะท้อนพระลักษณะของพระคริสต์หรือไม่ จงให้ความรักเป็นเป้าหมายสูงสุดของคุณในการพูดบนโลกโซเชียล
ไวที่จะพูดเพื่อก่อ ในท่ามกลางความขัดแย้ง
สวนหลายไร่ลุกเป็นไฟเมื่อลมพัดเอาเถ้าถ่านที่ยังติดไฟอยู่หรือก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งข้างทาง
ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ประกายไฟเพียงนิดก็ทำให้เกิดอัคคีภัยร้ายแรงได้
ยากอบก็พูดถึงลิ้น
ว่ามันเป็น “โลกที่ไร้ธรรม ในบรรดาอวัยวะของเรา
เป็นเหตุให้ทั้งกายมลทินไป ทำให้วัฏฏะแห่งชีวิตเผาไหม้และมันเองก็ติดไฟโดยนรก”
(ยากอบ 3:6)
คำพูดสามารถทำให้ความสัมพันธ์ทั้งหลายขาดสะบั้นลงหรือสร้างและรักษาความสัมพันธ์ต่อกันยิ่งดีขึ้น
สุภาษิต 12:18 กล่าวว่า “มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ
ของเขาเหมือนดาบแทง แต่ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้” เช่นเดียวกับไฟที่มีทั้งด้านเผาทำลายและด้านที่เป็นประโยชน์
“ความตายความเป็นก็อยู่ที่อำนาจของลิ้น” (สุภาษิต 18:21)
ให้เรามีลิ้นที่
“ประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” (โคโลสี
4:6) เมื่อแสดงความคิดเห็นท่ามกลางความขัดแย้ง ให้พระเจ้าใช้ลิ้นของเราถวายเกียรติแด่พระองค์
ให้เราอธิษฐานว่า
“ลูกจะใช้ถ้อยคำที่เป็นพร และหนุนใจผู้อื่นเสริมสร้างผู้คนมากกว่าทำลาย เพราะพระองค์ทรงพอพระทัยเช่นนั้น
ไวที่จะใช้ลิ้นของปราชญ์
อ่าน: สุภาษิต 10:18-21;
12:17-19
ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้
- สุภาษิต 12:18
ผู้เขียนสุภาษิต
12:18 กล่าวถึงวิธีการใช้ลิ้นอย่างปราชญ์คือ “ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้” พระเจ้าทรงประทานลิ้นให้กับเราเพื่อนำการรักษาไปสู่ทุกคนที่เราคุยด้วย
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า
“ลูกจะใช้ลิ้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์คือเยียวยารักษาจิตใจทุกคนที่ลูกคุยด้วย”
ขอทรงเฝ้าระวังถ้อยคำที่เรากล่าว
ให้สะท้อนถึงพระองค์และความรักของพระองค์ ช่วยให้ลิ้นของเราเอ่ยคำเยียวยา
และไม่ทำร้าย “จงให้กำลังใจกันและเสริมสร้างซึ่งกันและกันขึ้น”
1 เธสะโลนิกา 5:11
หลักการเหตุผล
แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้
- ยากอบ 3:8
มนุษย์เรียนรู้วิธีการทำให้สัตว์ป่าเชื่องได้
ไม่ว่าจะเป็นหมูจิ๋วเวียดนามหรือหมาป่าไซบีเรีย หลายคนสนุกกับการสอนลิงให้ “แสดง” อัครทูตยากอบเขียนไว้ว่า “เพราะสัตว์เดียรัจฉานทุกชนิด ทั้งนก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในทะเลก็เลี้ยงให้เชื่องได้
และมนุษย์ก็ได้เลี้ยงให้เชื่องแล้ว” (ยก.3:7)
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจทำให้เชื่องได้
เรามีปัญหากับการควบคุมอวัยวะเล็กๆ คือลิ้น ยากอบกล่าวว่า “แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้” (ยก.3:8)
ทำไม
เพราะถึงแม้คำพูดจะออกมาจากลิ้น แต่กลับเริ่มต้นมาจากภายในใจของเรา “ด้วยว่าปากนั้น พูดจากสิ่งที่มาจากใจ” (มธ.12:34)
ถ้าเราไม่สามารถทำให้ลิ้นเชื่องได้
ลิ้นจะกลายเป็นปัญหาประจำวันของเรา (ยก.3:10) ด้วยพระคุณของพระเจ้าพระองค์
“ตั้งยาม” เฝ้าปากของเรา พระองค์จะทรง “รักษาประตูริมฝีปากของข้าพระองค์” (สดด.141:3)
ให้เราขอบพระคุณพระเจ้าว่า
“ขอบพระคุณพระองค์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงช่วยให้ลิ้นที่ไม่เชื่องของข้าพระองค์
สามารถอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ได้”
สงครามคำพูด
บ้านหรือโบสถ์ของเราก็อาจแตกหักได้ด้วยถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังเพียงไม่กี่คำ
ยากอบเขียนไว้ว่า “จงดูเถิด ไฟนิดเดียวอาจเผาป่าใหญ่ให้ไหม้ได้หนอ”
(ยากอบ 3:5) วิธีการหลีกเลี่ยงการพูดโต้เถียงกันมีอยู่ในพระธรรมสุภาษิต
“คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป
แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ” (สุภาษิต 15:1)
คำพูดเล็กๆ
อาจก่อให้เกิดสงครามใหญ่ได้ แต่โดยพระคุณพระเจ้า
เมื่อเราเลือกที่จะไม่ตอบโต้ด้วยคำพูด
เราก็ถวายเกียรติแด่พระเยซูองค์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา
เมื่อพระองค์ทรงถูกทำร้ายและถูกดูหมิ่น
พระองค์ทรงทำให้สำเร็จตามคำพยากรณ์ของอิสยาห์ที่ว่า “ท่านถูกบีบบังคับและท่านถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก” (อิสยาห์ 53:7)
สุภาษิตเรียกร้องให้เราพูดความจริงและแสวงหาสันติผ่านถ้อยคำของเรา
“ลิ้นที่สุภาพเป็นต้นไม้แห่งชีวิต…คำเดียวที่ถูกกาละก็ดีจริงๆ” (สุภาษิต 15:4,23)
คำพูดพลั้งมีพลังผลาญทำลาย พูดร้ายๆ กลับกลายไปกันใหญ่
เลือกกาละแล้วจึงพูดออกไป พูดจากใจเป็นคำนำพระพร - Anon.
ถ้อยคำที่ถูกกาล
ถ้อยคำที่พูดเหมาะๆ
จะเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงิน - สุภาษิต 25:11
คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวว่า
“ถูกที่ถูกเวลา” พระคัมภีร์บอกเราว่า
ถ้อยคำและการพูดของเราต้องถูกเวลาด้วย ลองนึกถึงครั้งที่พระเจ้าทรงเคยใช้คุณให้กล่าวถ้อยคำที่เหมาะแก่เวลาเพื่อหนุนใจใครสักคน
หรือเมื่อคุณเคยอยากจะพูด แต่นึกขึ้นได้ว่าเงียบไว้ก็ดีกว่า
พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า
มีวาระที่เหมาะสมในการพูด (ปัญญาจารย์ 3:7) ซาโลมอนเปรียบเทียบคำพูดที่ควรแก่กาลเทศะว่าเป็นเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงินงดงาม
ทรงคุณค่า และประดิษฐ์อย่างพิถีพิถัน (สุภาษิต 25:11-12) การรู้ว่าควรจะพูดในเวลาใดเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้พูดและผู้ฟัง
ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำแสดงความรัก หนุนน้ำใจ หรือตักเตือนว่ากล่าว
เราควรเงียบในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมเช่นกัน เมื่อเราถูกทดลองให้เย้ยหยันดูแคลน
หรือใส่ร้ายเพื่อนบ้าน ซาโลมอนกล่าวว่า
การยับยั้งลิ้นไว้และรู้จักเงียบในเวลาที่ควรเงียบคือคนฉลาด (สุภาษิต 11:12-13)
เมื่อการพูดมากหรือความโกรธ
ล่อลวงให้เราทำบาปต่อพระเจ้าหรือเพื่อนมนุษย์ เราต่อต้านได้ด้วยการช้าในการพูด
(สุภาษิต 10:19; ยากอบ 1:19)
การรู้ว่าจะพูดอะไร
และควรพูดเมื่อไรเป็นเรื่องยาก พระวิญญาณจะทรงช่วยให้เรามองออก
พระองค์จะทรงช่วยให้เราใช้ถ้อยคำที่เหมาะเจาะในเวลาที่เหมาะสม
และด้วยท่าทีที่ถูกต้อง เพื่อเห็นแก่ผู้อื่น และเพื่อพระเกียรติของพระองค์
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า
“พระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ ขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงใช้ให้ผู้อื่นพูดคำหนุนใจและคำท้าทายข้าพระองค์
ขอทรงช่วยให้ข้าพระองค์มีสติปัญญาที่จะรู้ว่าเมื่อใดควรพูดหรือควรเงียบ”
นกฮูกเฒ่าเจ้าปัญญา
สติปัญญากับการจำกัดคำพูดมีความเกี่ยวโยงกัน
สุภาษิต 10:19 บอกว่า “การพูดมากก็จะสะสมการทรยศ
แต่เขาผู้ยับยั้งริมฝีปากของตนเป็นผู้หยั่งรู้”
คนฉลาดจะระมัดระวังคำพูดหรือการพูดมากน้อยในแต่ละสถานการณ์
เราควรระวังคำพูดเมื่อเราโกรธ ยากอบขอร้องเพื่อนผู้เชื่อว่า “จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ” (ยก.1:19)
การยับยั้งคำพูดยังแสดงให้เห็นว่าเรายำเกรงพระเจ้าอีกด้วย
กษัตริย์ซาโลมอน กล่าวว่า “พระเจ้าทรงสถิตในสวรรค์ และอยู่บนแผ่นดินโลก
เหตุฉะนั้นเจ้าจงพูดน้อยคำ” (ปญจ.5:2)
ปากของเรา
ปากกาของเรา ควรจะอยู่ในภาวะต้องสึกสำนึกในพระคุณที่พระเจ้าประทานความยับยั้งชั่งใจแก่เรา
เมื่อเราต้องการทำให้ผู้อื่นประหลาดใจกับการเปลี่ยนแปลงที่พระคริสต์ทรงกระทำ
ให้เราถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยสิ่งที่เราพูด หรือไม่พูด – RK
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า
“พระเจ้าเจ้าข้า ลูกจะไม่ใช้คำพูดทำลายผู้อื่นแล้วสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง แต่จะเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นก่อนเพื่อจะรับใช้พระองค์และเพื่อแผ่นดินของพระองค์”
พระคำที่ช่วยเหลือและเยียวยา
ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย
ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ - มัทธิว 6:9
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1863 ชายผู้มีชื่อเสียงสองคนได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบถวายสุสานทหารแห่งชาติในเมืองเก็ตตี้สเบิร์กรัฐเพนซิลเวเนีย
ผู้กล่าวสุนทรพจน์คนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เอเวอเร็ต อดีตผู้ว่าฯ
สมาชิกรัฐสภาและอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
เอเวอเร็ตได้กล่าวคำสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการยาวสองชั่วโมง ตามด้วยประธานาธิบดีอับราฮัม
ลินคอล์น ที่กล่าวสุนทรพจน์ เพียง 2 นาที [1]
ทุกวันนี้
คำปราศรัยแห่งเก็ตตี้สเบิร์กของลินคอล์นยังเป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลาย
แต่สุนทรพจน์ของเอเวอเร็ตเกือบจะถูกลืมไปแล้วที่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่เพราะความสามารถทางวาทศิลป์ของลินคอล์นเท่านั้น
แต่ในวันนั้น คำพูดของท่านได้เข้าถึงจิตใจของคนทั้งประเทศที่ปวดร้าวเพราะสงครามกลางเมือง
และทำให้เกิดความหวังในวันข้างหน้า
คำพูดมีความหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องยืดยาว
คำอธิษฐานของพระเยซูคริสต์เป็นคำสอนหนึ่งที่สั้นและน่าจดจำมากที่สุด
เป็นการช่วยเหลือและเยียวยา และเตือนให้เราไม่ลืมว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ของเรา
ทรงมีฤทธิ์อำนาจทั้งในโลกและในสวรรค์ (มัทธิว 6:9-10) พระองค์ประทานอาหาร
การอภัยโทษ และความอดทนให้เราทุกวัน (มัทธิว 6:11-13)
[1]
https://thaiodb.org/2014/01/07/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2/