Sunday, April 5, 2020

คำที่เขียนถูก


1) สังเกต VS สังเกตุ                                        คำที่ถูก >> สังเกต                    คำที่ผิด >> สังเกต
ความหมายตามพจนานุกรม "สังเกต" ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย
ความหมายตามพจนานุกรม "เกตุ", "เกตุ"- [เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙  หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระราหู. (ป., ส.).

2) โควตา VS โควต้า                                        คำที่ถูก >> โควตา                    คำที่ผิด >>โควต้า
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โท

3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ                           คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา            คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
ปกติคำซ้ำจะเติมไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า นานา” “จะจะที่ไม่ต้องไม้ยมกไว้ด้านหลัง

4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง        คำที่ผิด >> ผลัดวันประกันพรุ่ง
 ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี  ผลัดแบบนี้ใช้สำหรับ ผลัดผ้า” 

5) ผาสุข VS ผาสุก                                           คำที่ถูก >> ผาสุก         คำที่ผิด >> ผาสุข
การโยงไปกับความหมายความสุข จึงมักใช้ สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้

6) พะแนง VS พแนง                                       คำที่ถูก >> พะแนง                  คำที่ผิด >> พแนง
 อาหารคาวชนิดหนึ่ง

 7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง                                   คำที่ถูก >> หย่าร้าง                  คำที่ผิด >> อย่าร้าง
คำว่า หย่ากับ อย่าออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กัน อย่าเป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน หย่าหมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน

8 ) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์                           คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์               คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์ ไม่ใช่การเทศน์ ดังนั้น เทศ..ใช้ ก์

9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน        คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน       คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
ทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน คำนี้จึงมีความหมายว่า กรรมตามสนอง

10) กังวาล VS กังวาน                                     คำที่ถูก >> กังวาน       คำที่ผิด >> กังวาล
กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน

11) อนุญาติ VS อนุญาต                                  คำที่ถูก >> อนุญาต                  คำที่ผิด >> อนุญาติ

12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด                                    คำที่ถูก >> ขี้เกียจ                    คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
            คำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง    ส่วน ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้

13) ศรีษะ VS ศีรษะ                                        คำที่ถูก >> ศีรษะ                     คำที่ผิด >> ศรีษะ

14) ผัดไทย VS ผัดไท                                      คำที่ถูก >> ผัดไทย                   คำที่ผิด >> ผัดไท
 ตามที่ราชบัณฑิตยสถานใช้คือ คำว่า ไทยในผัดไทย  (เพราะอาหารของคนไทย)

15) อานิสงส์ VS อานิสงส์                               คำที่ถูก >> อานิสงส์                คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
 อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ ส์

16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา            คำที่ถูก >> ใบกะเพรา              คำที่ผิด >> ใบกระเพรา

17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล              คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน                        คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
มูล คือ ราก,เศษสิ่งของต่างๆ รวมทั้งอุจจาระ   ส่วน มูนคือ การเอากะทิคลุกกับข้าวเหนียวให้เกิดความมัน

18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิก                      คำที่ถูก >> คลินิก                    คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค

19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาตร                    คำที่ถูก >> อุบาทว์                   คำที่ผิด >> อุบาท
คำที่ออกเสียงว่า บาดในภาษาไทยมีหลายคำ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดเจ็บ, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งเขียนต่างจาก บาดโดยจะต้องมี ว์ตามหลัง เสมอ

20) คัดสรร VS คัดสรรค์                                 คำที่ถูก >> คัดสรร                   คำที่ผิด >> คัดสรรค์
            คำที่ออกเสียงว่า สันในภาษาไทยมีหลายคำ  วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร)  บางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ เช่น คัดสรรไม่ต้องมีตัว ค์ เพราะ สรรคือ การเลือก, การคัด  และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกัน

21) สังสรรค์ VS สังสรรค์                               คำที่ถูก >> สังสรรค์                 คำที่ผิด >> สังสรร
อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล สันแต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย ค์เสมอ

22) โคตร VS โครต                                          คำที่ถูก >> โคตร                     คำที่ผิด >> โครต
ทั้ง 2 คำอ่านว่า โคดเหมือนกัน แต่คำนี้ไม่มีควบกล้ำ จึง เอา ไว้หลังสุด คือ โคตร

23) จลาจล VS จลาจล                                     คำที่ถูก >> จลาจล                   คำที่ผิด >> จราจล

24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด                          คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง การเขียนว่า น้ำมันก๊าซน่ามาจากคำว่า ก๊าซหรือ แก๊สในคำว่า”gas

25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน            คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
คำว่า จันทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน มักเขียนกันผิด ๆ ซึ่งการเขียนที่ถูกคือ
จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน   จันทร์ = วันจันทร์        จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)         เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์

26) ตำรับ VS ตำหรับ                          คำที่ถูก >> ตำรับ
ภาษาไทย มีเสียงวรรณยุกต์และการสะกด ที่หลากหลาย คำว่า ตำรับทำไมอ่าน ตำ-หรับทั้งๆ ที่ไม่มีอักษรนำเลย
             คำว่า ตำรับเป็นคำแผลงที่มาจากคำว่า ตรับ”  คล้ายๆ กับ ตำรวจที่แผลงมาจากตรวจ ซึ่งการแผลงคำเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการสร้างคำขึ้นในภาษาไทย อย่างตัวอย่างนี้ก็แผลงพยัญชนะจากพยางค์เดียวให้มาเป็น 2 พยางค์ โดยหลักการอ่านออกเสียงคำแผลงประเภทนี้มีอยู่ว่า ถ้าคำเดิมเป็นพยัญชนะควบกล้ำ เวลาอ่านออกเสียงในพยางค์หลังต้องมีเสียงวรรณยุกต์เท่าคำเดิม ดังนั้น จาก ตรับจึงอ่านออกเสียงเป็น ตำ-หรับ” (แม้จะเขียนว่า ตำรับ ก็ตาม)

27) โอกาศ VS โอกาส                                      คำที่ถูก >> โอกาส
คำว่า โอกาสเป็นคำภาษาบาลี ซึ่งภาษาบาลี ไม่มี ” “

28) ทะเลสาบ VS ทะเลสาบ                             คำที่ถูก >> ทะเลสาบ
คำว่า สาป หมายถึง คำแช่งให้เป็นไปต่างๆ มาจากภาษาบาลี
ส่วน สาบมีหลายความหมาย เช่น กลิ่นเหม็นสาบ, แมลงสาบ, สาบเสื้อสำหรับเจาะรังดุม และใช้เรียกห้วงน้ำใหญ่คล้ายบึง หรือ ทะเลสาบนั่นเอง

29) เครื่องสำอางค์ VS เครื่องสำอาง                            คำที่ถูก >> เครื่องสำอาง
คำว่า สำอางมีความหมายว่า สิ่งเสริมแต่ง บำรุงใบหน้า, งามสะอาดหมดจด เป็นต้น

30) นะค่ะ VS นะคะ VS น๊ะคะ                                   คำที่ถูก >> นะคะ
/น/ และ /ค/ เป็นอักษรต่ำ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ก็ออกเสียงวรรณยุกต์ตรีอยู่แล้ว ดังนั้นการเขียน น๊ะค๊ะ จึงไม่ถูก ส่วนนะค่ะ ไม่มีความหมายในภาษาไทย

31) บังสุกุล VS บังสุกุล                                               คำที่ถูก >> บังสุกุล
บังสุกุล เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าที่พระสงฆ์ชักจากศพหรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ คำนี้เมื่อพูดเร็วๆ รัวๆ อาจฟังเป็น บังสกุล ซึ่งเป็นการสะกดที่ผิด(สกุล หมายถึง วงศ์ตระกูล)

32) บัญญัติไตรยางค์ VS บัญญัติไตรยางศ์                  คำที่ถูก >> บัญญัติไตรยางศ์
บัญญัติไตรยางศ์ เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ สะกดเหมือนคำว่า ไตรยางศ์ที่แปลว่า 3 ส่วน ใช้ ศ์เสมอ ส่วน ไตรยางค์คำนี้ไม่มีความหมาย

33) บิดพลิ้ว VS บิดพลิ้ว                                  คำที่ถูก >> บิดพลิ้ว
 พลิ้วคือ อาการบิดเบี้ยว หรือสะบัดไปตามลม

34) บูชายันต์ VS บูชายัญ                                คำที่ถูก >> บูชายัญ
การบูชายัญ เป็นการบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่งด้วยวการฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา คำว่า ยัญมีความหมายว่า เซ่น, บูชา ดังนั้นการบูชายัญเป็นการฆ่าคน ไม่ใช่การบูชาผ้ายันต์

35) ปฐมนิเทศ VS ปฐมนิเทศ                          คำที่ถูก >> ปฐมนิเทศ
 ปฐม=ลำดับแรก ส่วนนิเทศ =การชี้แจง, การแสดง คำว่า นิเทศคำนี้จึงไม่ต้องมีตัวการันต์

36) เปอร์เซนต์ VS เปอร์เซ็นต์                        คำที่ถูก >> เปอร์เซ็นต์
ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุวิธีเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้  คำว่า percent ต้องใส่ไม้ไต่คู้ในพยางค์หลัง

37) มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ VS  มือไม้พายเอาเท้าลาน้ำ                        คำที่ถูก >>มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
ราน้ำก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.

ผีซ้ำด้ามพลอย VS ผีซ้ำด้ำพลอย                    คำที่ถูก >> ผีซ้ำด้ำพลอย
คำว่า ด้ำ(ภาษาอีสาน)= ผีเรือน  ผีซ้ำด้ำพลอย=ถูกผีอื่นกระทำแล้วยังถูกผีเรือนซ้ำเติมอีก สำนวนนี้จึงหมายถึง ถูกซ้ำเติมอีกเมื่อพลาดพลั้ง

38) พิธีรีตอง VS พิธีรีตอง                              คำที่ถูก >> พิธีรีตอง
พิธีรีตอง หมายถึง งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม

39) แพทยศาสตร์ VS แพทย์ศาสตร์                คำที่ถูก >> แพทยศาสตร์
 คำว่า แพทยศาสตร์เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า แพทย์” + “ศาสตร์รวมกัน คำแรกที่มีการันต์ให้ตัดทิ้ง ดังนั้นเวลาออกเสียงคำนี้ให้อ่านว่า แพด-ทะ-ยะ-สาด

40) มัสหมั่น VS มัสมั่น                                   คำที่ถูก >> มัสมั่น
มัสมั่นเป็นชื่อแกงชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นแกงข้น ปรุงด้วยเครื่องเทศ ใส่ไก่หรือเนื้อลงไป(อร่อยมาก) แม้ว่าคำหลังออกเสียงเหมือนมีอักษรนำตามหลัง แต่เวลาเขียนไม่มี นำ

41) มาตรฐาน VS มาตรฐาน                           คำที่ถูก >> มาตรฐาน
            คำว่า มาตรฐานเป็นคำสมาส เป็นการสมาสกันระหว่างคำ มาตร(สันสกฤต) + ฐาน(บาลี) ซึ่งการอ่านคำสมาสก็ต้องออกเสียงสระอะ ของพยางค์ท้ายด้วย คำนี้เป็นเสียงสั้น อ่านว่า มาด-ตระ-ถานไม่ใช่ มาด-ตรา-ถานไม่ต้องเติม สระอาตรงกลาง

42) เวทมนต์ VS เวทย์มนตร์ VS เวทมนตร์                            คำที่ถูก >> เวทมนตร์
เวทมนตร์ = คำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สำเร็จตามที่้ต้องการ
 คำว่า เวทไม่ต้องมีการันต์ = ความรู้, ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นคาถาอาคม เป็น เวทตัวเดียวกับคำว่า ร่ายเวท” “สามเวท ส่วนคำว่า มนตร์นั้น ใช้ ตร์เป็นคำสันสกฤต

43) แมลงสาป VS แมลงสาบ                                                   คำที่ถูก >> แมลงสาบ

44) ไยแมงมุม VS ใยแมงมุม                                                   คำที่ถูก >> ใยแมงมุม

45) หยากใย่ VS หยากไย่                                                         คำที่ถูก >> หยากไย่

46) ลำไย VS ลำไย                                                                   คำที่ถูก >> ลำไย

กลอน คำไทยที่ใช้ไม้ม้วนได้รวบรวมคำไทยที่ใช้ไม้ม้วนทั้งหมด 20 คำไว้
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ                  ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู                       สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง                      เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
สรุปแล้ว ใยแมงมุม ต้องใช้ ไม้ม้วน ใ-เหมือนห่วงใย   ส่วน หยากไย่และ ลำไยใช้ไม้มลาย ไ-

47) ริดรอน VS ลิดรอน                                   คำที่ถูก >> ลิดรอน

48) ลูกเกด VS ลูกเกตุ                                      คำที่ถูก >> ลูกเกด
คำว่า เกดก็หมายถึงลูกองุ่นแห้งอยู่แล้ว ส่วนคำว่า เกตุจะหมายถึง ธง

49) ไล่เรียง-ไล่เลียง                                          คำที่ถูก >> ไล่เลียง
ไล่เลียงคือ การซักไซ้, ไต่ถาม มักจะใช้คู่กับคำว่า ซักไซ้ไล่เลียง เพราะ  ไล่ = การขับออก, บังคับให้ไป ส่วน เลียง” = การไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก คำนี้จึงเป็นคำซ้อน ประเภทซ้อนความหมาย คือ คำนี้ทั้งคำหน้าและหลังมีความหมายเหมือนกัน และใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกัน

50) วิ่งเปี้ยว VS วิ่งเปี้ยว                                  คำที่ถูก >> วิ่งเปี้ยว

หลักการอ่านคำในพจนานุกรม (ร่างที่ 1)
1.         อ่านคำต้น  (คำในวงเล็บเหลี่ยม =วิธีอ่าน ฉะนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงซ้ำคำในวงเล็บเหลี่ยมนั้น) 
2.         บอกลักษณะคำ เช่น . อ่านว่า คำวิเศษณ์ ก. อ่านว่า คำกริยา (คำย่อลักษณะคำในบัญชีที่ 1)
3.         ข้อความในวงเล็บที่มีตามคำต้น เป็นคำบอกที่ใช้ของคำนั้น ให้อ่านว่า เป็น.... เช่น (ราชา) อ่านว่า เป็นคำราชาศัพท์ หรือ (ปาก) อ่านว่า เป็นภาษาปาก เป็นต้น (ดูรายการคำย่อบอกที่ใช้ในบัญชีที่ 2)
9.1.3. (ป.; ส. ...) ให้อ่านว่า มาจากภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤตว่า ...
11.  เครื่องหมาย º ให้อ่านว่า องศาเซลเซียส