Thursday, October 29, 2020

คานาอัน คือ อะไร What is CANAAN ?

 คานาอัน คือ อะไร ความหมาย แปลว่าอะไร

What is CANAAN ?

 

 

          ดินแดนคานาอันคือประเทศปาเลสไตน์ ในปัจจุบัน  มีอาณาเขตทางด้านตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ทางตะวันออกจดแม่น้ำจอร์แดน ทางเหนือจดเทือกเขาเลบานอน  และทางใต้จดทะเลทรายซีนาย  เป็นดินแดนที่ทอดไปในแนวเหนือใต้ขนานกับฝั่งทะเลเมดิเตอร์เนียน   ชายฝั่งทะเลเป็นที่ราบแคบ ๆ ซึ่งค่อย ๆ ลาดชันขึ้นเป็นที่ราบเชิงเขาเรียกว่า  เนินเชเฟลาห์  ถัดเข้าไปเป็นเทือกเขาตอนกลาง  ถัดจากเขตภูเขามาทางตะวันออกมีหุบเขาลึก เรียกว่า  อาราบาห์  ทางตอนเหนือของหุบเขานี้  มีแม่น้ำจอร์แดน  ไหลผ่าน  (รายละเอียดเกี่ยวกับสัตว์ในดินแดนคานาอัน  พืช  ภูมิอากาศ  และการกสิกรรม  ดูในหัวข้อ  เกษตรกรรม  สัตว์  นก  ดอกไม้  ต้นไม้  อากาศ  อาหาร)

 Palestine - Ancient History Encyclopedia

ที่ราบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

          ที่ราบชายฝั่งทะเลของปาเลสไตน์จากเมืองฟินีเซีย  ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ  ทอดลงมาทางใต้จนถึงเมืองกาซา  นับเป็นระยะทางประมาณ  200  กิโลเมตร  ที่ราบที่เมืองฟินีเซียเป็นที่ราบแคบมาก  เนื่องจากมีเทือกเขาเลบานอนอยู่ใกล้ชายฝั่ง  (ดู ฟินีเซีย  และ เลบานอน)  แต่ถัดมาทางใต้ที่ราบค่อย ๆ กว้างขึ้นจนถึงภูเขาคารเมลซึ่งเป็นเทือกเขาที่จดทะเลขวางอยู่

          ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขา คารเมลไปจนถึงเมืองยิสเรเอลเป็นที่ราบรูปสามเหลี่ยม  ชื่อเอสเดรโลน  มีแม่น้ำคีโชนไหลผ่านจากยิสเรเอล   ซึ่งทอดไปทางตะวันออกจนถึงเมืองเบธชานใกล้แม่น้ำจอร์แดน  ดินแดนแถบนี้ (ทั้งที่ราบเอสเดรโลนและหุบเขายิสเรเอล)  บางครั้งเรียกรวมกันว่า  หุบเขายิสเรเอล  ซึ่งมีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล  เมืองที่สำคัญในแถบนี้ได้แก่  โยกเนอัม  เมกิดโด  อิบเลอัม  ชูเนม  และเบธชาน

          ทางเหนือของหุบเขามีภูเขาโมราห์  (มีภูเขาทาโบร์อยู่ถัดภูเขาโมราห์ไปทางเหนืออีกทีหนึ่ง)  ส่วนทางใต้ของหุบเขาเป็นภูเขากิลโบอาห์  สาเหตุหนึ่งที่ทำให้หุบเขานี้เป็นสนามรบที่สำคัญ ๆ หลายครั้งของอิสราเอลอาจจะเป็นเพราะเป็นจุดที่ทางหลวงสายเหนือ-ใต้ (สายซีเรีย- ฟิลิสเตีย)  บรรจบกับทางหลวงสายตะวันออก-ตะวันตก (สายเบธชาน-ภูเขาคารเมล)  เมืองเมกิดโดซึ่งเป็นจุดบรรจบของทางหลวงสองสาย  ถือว่าเป็นด่านทางตะวันตกของที่ราบเอสเดรโลน  เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์  (ยชว. 17:11;  วนฉ. 4:6; 5:19-21; 6:33; 7:1; 8:18; 1 ซมอ. 28:4; 31:1; 8, 12; 1 พกษ. 4:12; 2 พกษ. 9:16, 27, 30; 23:29; ฮชย. 1:5; ศดย. 12:11)

          ทางใต้ของภูเขาคารเมลเป็นที่ราบเล็ก ๆ ชื่อ โดร์ (ยชว. 17:11; 1 พศด. 7:29) ถัดจากที่ราบโดร์ลงไปทางใต้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ขึ้นคือ  ที่ราบชาโรน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบึงเป็นหนอง  มีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และป่าไม้บ้างในสมัยพระคัมภีร์เดิม  แถบนี้มีประชากรเบาบาง (1 พศด. 27:29; พซม. 2:1; อสย. 35:2)  ทางใต้ของภูเขาคารเมลเป็นชายทะะเลเขตน้ำตื้นมีสันดอนทราย  จึงไม่มีอ่าวจอดเรือที่ดี  มีแต่ยัฟฟาซึ่งมีอ่าวเป็นเมืองท่าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพียงแห่งเดียว เมืองอื่น ๆ ในแถบนี้ได้แก่  โอโน  และลด  (ต่อมาเรียกว่า ลุดดา)  (2 พศด. 2:16; อสร. 3:7; นหม. 11:35; ยน. 1:3; กจ. 9:35, 36, 38; 10:5-8)

          ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่เมืองท่าที่สำคัญคือ  ซีซารียา  ซึ่งกษัตริย์เฮโรดมหาราช  ได้สร้างขึ้น  พร้อมกับสร้างอ่าวจอดเรือขึ้นด้วย ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครอง  และเป็นเมืองท่าสำคัญของโรมันในแคว้นยูเดีย (กจ. 18:22; 25:1-6)

          จากยัฟฟาลงมาทางใต้ถึงกาซา  เป็นที่ราบฟิลิสเตีย  เมืองสำคัญมี 5 เมืองคือเอโครน  อัชโดด อัชเคโลน  กาซา  และกัท  ที่ราบและเนินเขาเตี้ย ๆ แถบนี้เหมาะสำหรับการกสิกรรม  แต่แถบใต้อากาศแห้งแล้ง  และพื้นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์  รายละเอียดของดินแดนแถบนี้ดูใน  ฟิลิสเตีย

 

เนินเชเฟลาห์

          แถบเนินเขาเตี้ย ๆ ระหว่างที่ราบชายฝั่งทะเลกับเทือกเขาสูงดอนกลางเรียกว่า เชเฟลาห์ (ฉธบ. 1:7; ยชว. 9:1; 10:40; 12:8; ยรม. 17:26; อบด. 19)  เชเฟลาห์ประกอบด้วยภูเขาและหุบเขาหลายแห่ง  มีธารน้ำไหลเชี่ยวมาจากภูเขา  ทำให้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับปลูกผลไม้และะเลี้ยงสัตว์ (1 พกษ. 10:27; 1 พศด. 27:28; 2 พศด. 26:10)

          หุบเขาบางแห่งในเชเฟลาห์เป็นทางเดียวที่เชื่อมระหว่างที่ราบชายฝั่งกับแถบภูเขาสูงตอนกลาง   ดังนั้นบริเวณนี้จึงกลายเป็นบริเวณทำสงครามไปหลายครั้ง หุบเขาที่สำคัญมากได้แก่หุบเขาอัยยาโลน  ซึ่งเป็นทางสายสำคัญจากที่ราบฝั่งทะเลผ่านเมืองเกเซอร์  และเบธโฮโรน  ไปถึงเมืองสำคัญ ๆ ทางที่ราบสูงตอนกลาง (ยชว. 10 :11, 12; 16:3 ดูหัวข้อ แถบภูเขาตอนกลาง  ด้วย)  ทางใต้ของหุบเขาอัยยาโลนคือหุบเขาเอลาห์ซึ่งผ่านเมืองลิบนาห์  (ยชว. 10:29-31; 1 ซมอ. 17:2; 2พกษ. 19:8)  ทางใต้ถัดไปอีกมีหุบเขาแห่งหนึ่งผ่านลาคีช (2 พกษ.18:13-17)  นอกจากนี้ก็มีหุบเขาโสเรกและหุบเขาเศฟาธาห์ซึ่งมีความสำคัญรองลงมา (วนฉ.16:4; 2พศด. 14:10)

 

แถบภูเขาตอนกลาง

          ดินแดนแถบนี้ทางตะวันตกจดที่เนินเชเฟลาห์  และทางด้านตะวันออกจดหุบเขาจอร์แดนและอาราบาห์  เทือกเขาตอนกลางนี้แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ เหนือ  กลาง  ใต้  โดยมีลุ่มแม่น้ำสำคัญ  2 แห่งเป็นเครื่องแบ่งเขต

          ช่วงเหนือประกอบด้วยภูเขาของแคว้นกาลิลี  มีหุบเขายิสเรเอลและที่ราบเอสเดรโลนกั้นแบ่งออกจากเทือกเขาช่วงกลางเนินเขาทางเหนือเหล่านี้รวมทั้งหุบเขาและที่ราบใกล้เคียง  เดิมเป็นส่วนหนึ่งที่ดินแดนเผ่าดาน นัฟทาลี  อิสสาคาร์  เศบูลูน  และอาเชอร์ (ยชว. 20:7;อสย. 9:1)  ภูเขาของกาลิลีทางเหนือสูงชัน  เป็นป่าทึบและมีประชากรไม่มาก  เมืองสำคัญทางตอนเหนือก็คือ  ฮาโซร์  เดิมเป็นเมืองป้อมซึ่งชาวคานาอันใช้เป็นที่มั่น  ต่อมากลายเป็นเมืองป้อมสำคัญทางเหนือของอิสราเอลเช่นเดียวกัน (วนฉ. 4:2; 1 พกษ. 9:15)  ลงไปทางใต้หน่อยภูเขาเตี้ยกว่า  เหมาะสำหรับการกสิกรรมและมีประชากรหนาแน่น  ในแถบใต้ของภูเขากาลิลีนี้เองที่พระเยซูคริสต์เติบโตขึ้น (ดู นาซาเร็ธ)  แถบนี้เองที่พระองค์ทรงใช้เวลา 3  ปีครึ่งประกาศสั่งสอนแก่ประชาชน  เมืองต่าง ๆ ในแถบภูเขากาลิลีคือ นาซาเร็ธ  คานา  และนาอิน  (มธ. 21:11; ลก. 2:39; 4:16; 7:11; ยน. 2:1-11; 4:46; 21:2) เมืองอื่นในแถบกาลิลีดู  หัวข้อ  ตอนเหนือของแม่น้ำจอร์แดนและทะเลกาลิลี

          ตอนกลางของภูเขาแถบนี้ประกอบด้วยภูเขาของแคว้นสะมาเรียตั้งแต่หุบเขายิสเรเอลถึงลุ่มแม่น้ำในเขตของเมืองเชเคม  ภูเขาแถบนี้ไม่สูงเท่าภูเขาในแถบตอนเหนือ  ยกเว้นภูเขาเอบาลและภูเขาเกริซิม  ซึ่งสูงเด่นอยู่คนละด้านของหุบเขาเชเคม (ฉธบ.  27:12, 13; วนฉ. 9:7)  เมืองทีรซาห์  ซึ่งระยะหนึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสราเอลในภาคเหนือก็อยู่แถบนี้ (1 พกษ. 14:17; 15:21; 33; 16:6-8; 15:19)  สะมาเรียซึ่งเป็นเมืองหลวงต่อจากทีรซาห์  จนกระทั่งอาณาจักรเหนือล่มก็อยู่ในแถบนี้ด้วย  สะมาเรียตั้งอยู่บนเนินเขาเหนือดินแดนโดยรอบ  นับว่ามีทำเลเหมาะที่จะเป็นเมืองหลวง  ศัตรูจะเข้าจู่โจมโดยตรงนั้นแทบจะไม่มีทางชนะ  ทางเดียวที่เมืองนี้จะแตกก็โดยการล้อมไว้นาน ๆ (1 พกษ. 16:23-24; 20:1; 2 พกษ. 6:24; 17:5)  ขึ้นไปทางเหนือของสะมาเรียเป็นที่ราบเล็ก ๆ ชื่อโดธาน  ซึ่งเป็นทางอีกทางหนึ่งจากหุบเขายิสเรเอลถึงชายฝั่ง  (ปฐก. 37:17; 28; 2พกษ. 6:13)

          ทางตอนใต้ของแถบเทือกเขานี้ประกอบด้วยภูเขาในเผ่าเอฟราอิม  เบนยามิน  และยูดาห์  ภูเขาแถบนี้สูงกว่าแถบสะมาเรีย และทอดไปทางใต้จนถึงแกบ  แล้วค่อย ๆ แบนราบลงเป็นที่ราบสูง  ในเขตเนินเขาเอฟราอิมเป็นเขตป่าไม้อุดมสมบูรณ์  เป็นหุบเขาลึกซึ่งนับว่าเป็นปราการต่อต้านการโจมตีอย่างดี โดยเฉพาะในสมัยที่โยชูวาได้ตีเอาดินแดนต่าง ๆ ในคานาอัน  และพยายามรักษาดินแดนต่าง ๆ ที่เพิ่งเข้าครอบครองไว้ (ยชว. 17:17-18; วนฉ. 5:14; 7:24; 12:15)

          ทางตะวันตกหุบเขาอัยยาโลนเป็นทางลงผ่านเนินเชเฟลาห์ไปสู่ที่ราบชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นที่อาศัยของชาวฟิลิสเตีย  เมืองสำคัญตามทางนี้ได้แก่  เบธโฮโรน  และเกเซอร์  หุบเขานี้กลายเป็นสนามรบระหว่างชาวอิสราเอล และศัตรูที่จะขึ้นมาโจมตี  อิสราเอลจึงสร้างป้อมปราการไว้ตามทางนี้หลายแห่ง (ยชว. 10:9-12; 16:3; 1 ซมอ. 13:17; 18; 14:31; 1 พกษ. 9:16-17; 2 พศด.8:5; 11:10; 25:13; 28:18)  อีกด้านหนึ่งของแถบเขาสูง  มีหุบเขาเป็นทางมุ่งไปยังตะวันออกคือ  จากเบธเอลผ่านเมืองอัย  และมิคมาชถึงเมืองเยรีโค  ซึ่งอยู่บนที่ราบกว้างใหญ่ของหุบเขาจอร์แดน  (ยชว. 16:1, 2; 18:11-13; 1 ซมอ. 13:2-5; 23; 14:1-5; ลก. 10:30)

          ดินแดนแถบนี้เป็นแถบที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของดินแดนคานาอัน เมืองหลายเมืองเป็นที่รู้จักกันดี  จากเรื่องราวในพระคัมภีร์เช่น  ชิโลห์  มิสปาห์  รามาห์  กิเบโอน  กิเบอาห์  คีริยาทเยอาริม  เบธเชเมช  เอมมาอู  เยรูซาเล็ม  เบธฟายี  และเบธานี (ยชว. 9:13, 17; 18:25-28; 1 ซมอ. 6:12; 7:15-17; 14:1-3; 17:12; มธ. 2:1; มก. 11:1; ลก. 24:13 )  สำหรับรายละเอียดเรื่องเยรูซาเล็ม  ดูหัวข้อ  เยรูซาเล็ม

          ถัดจากทางใต้ของเมืองเหล่านี้เป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่น้อย  ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าและแผ่นดินก็ไม่อุดมสมบูรณ์นัก  มีเฮโบรนเป็นเมืองสำคัญ  เฮโบรนนี้อยู่ครึ่งทางระหว่างเยรูซาเล็มกับเบอร์เชบา  เป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางจากเยรูซาเล็มถึงอียิปต์  ทางอีกสายหนึ่งออกจากเฮโบรนไปทางตะวันตกผ่านเมืองสำคัญเมืองหนึ่งชื่อลาคีช  ถึงเมืองกาซามาบรรจบกับเส้นทางที่มุ่งไปอียิปต์ตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  เฮโบรนและลาคีชมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์จึงมีป้อมปราการแข็งแรง  (2 พศด. 11:5-12)  ในถิ่นทุรกันดารนี้เองที่ดาวิดหนีมาใช้หลบภัยจากซาอูล  เมืองที่กล่าวถึงในเรื่องนี้ก็มีอดุลลัม  เคอีลาห์  ป่าศิฟเอนเกดี มาโอน  และศิกลาก (1 ซมอ. 22:1; 23:13-15; 29; 24:1-2; 25:2; 27:6-10)

 

เนเกบ

          เนเกบตามศัพท์แปลว่าแห้งแล้ง  เป็นชื่อ  ของดินแดนที่แล้งแล้งตอนใต้ของปาเลสไตน์  ระหว่างทะเลตายกับทะเลทรายซีนาย  เมืองสำคัญ  ของเนเกบคือเบเออร์เชบาในภาคเหนือและคาเดชบารเนียในภาคใต้  ตอนกลางของเนเกบมีถิ่นทุรกันดารศิน  ด้านตะวันตกมีถิ่นทุรกันดารชูร์  ส่วนทางใต้มีถิ่นทุรกันดารปาราน (ปฐก. 20:1; อพย. 15:22; กดว. 10:12; 13:26; 20:1; 23:8; 33:35-37; 34:4)

          ในสมัยพระคัมภีร์เดิม  ส่วนใหญ่ของเนเกบโดยเฉพาะทางเหนือมีพวกเผ่ายูดาห์อาศัยอยู่  บริเวณนี้เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก  ส่วนที่ราบชายฝั่งทะเลเป็นของฟิลิสเตีย  นอกจากนี้ก็มีเผ่าชนพื้นเมืองต่าง ๆ เข้าครอบครองดินแดนส่วนอื่นแล้วแต่ยุคใดสมัยใด (ปฐก. 20:1; 26:1; กดว. 13:29; 1 ซมอ. 27:10; 30:14)  ปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาของดินแดนที่แห้งแล้งแถบนี้เสมอมา (ปฐก. 16:7; 26:17-23; ยชว. 15:19)

          มีเส้นทางสองสายเชื่อมระหว่างอียิปต์กับคานาอัน  สายหนึ่งชื่อ  ทางแผ่นดินของชาวฟิลิสเตีย  ซึ่งขนานไปกับชายฝั่งทะเล (อพย. 13:17)  และอีกสายหนึ่งชื่อ ทางถิ่นทุรกันดารชูร์  ซึ่งผ่านเนเกบ (ปฐก. 16:7)  เส้นทางหลังนี้ตัดผ่านเบเออร์เชบา  เฮโบรน  เยรูซาเล็ม  ชีโลห์  และเชเคม  เป็นทางที่มีคนสัญจรไปมามากตั้งแต่สมัยของอับราฮัม  เป็นทางที่คนสอดแนมของชาวอิสราเอลสิบสองคน  เดินทางเข้าไปในแผ่นดินคานาอัน (ปฐก. 20:1; 21:25-34; กดว. 13:21-23)  เมื่อโยเซฟพานางมารีย์และพระกุมารหนีจากเงื้อมมือของเฮโรด  ก็อาจใช้เส้นทางนี้ (มธ. 2:13-15)

          เส้นทางสายนี้ทอดตัวไปในแนวทิศเหนือทิศใต้  และตัดกับเส้นทางสายตะวันออก ตะวันตกซึ่งเชื่อมระหว่างเมืองกาซากับประเทศเอโดม  สองสายนี้ตัดกันที่เมืองเบเออร์เชบาไปทางตะวันออก  ผ่านหุบเขาเกลือและถิ่นทุรกันดารศินไปถึงเอโดม  มีชื่อว่า  ทางถิ่นทุรกันดารของเอโดม  (2 ซมอ. 8:13; 2 พกษ. 3:8; 14:7)

          Conquering Canaan | My Jewish Learning

ตอนเหนือของแม่น้ำจอร์แดนและทะเลกาลิลี

          ต้นทางแม่น้ำจอร์แดนอยู่ที่ภูเขาเฮอร์โมนในเทือกเขาเลบานอน  ไหลลงไปทางใต้  ผ่านดินแดนที่แต่ก่อนรกร้างโดดเดี่ยวมาก  ซึ่งต่อมาเผ่าดานได้เข้าไปโจมตีและยึดมาเป็นของตน  ในสมัยพระคัมภีร์เดิมเมืองอิช  ซึ่งต่อมาเผ่าดานเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองดานนับว่าเป็นเมืองทางเหนือสุดของอิสราเอล  (วนฉ. 18:27-29; 1 ซมอ. 3:20; 1 พกษ. 12:29)  เท่าที่พระคัมภีร์ใหม่บันทึกไว้  เมืองเหนือสุดที่พระเยซูเคยเสด็จไปถึงคือเมืองซีซารียาฟิลิปปี  ซึ่งเป็นเมืองในแถบนี้ (มธ. 16:13)

          ทางใต้เขตเผ่าดานแม่น้ำจอร์แดนไหลผ่านทะเลสาบเล็ก ๆ แล้วไหลต่อไปสู่ทะเลสาบใหญ่  ซึ่งพระคัมภีร์เดิมเรียกว่า  ทะเลคินนเรท  และในพระคัมภีร์ใหม่เรียกว่าทะเลกาลิลี  ทะเลสาบเยนเนซาเรท  หรือทะเลทิเบเรียส (กดว. 34:11; มธ. 15:29; ลก.5:1; ยน. 6:1)  บนภูเขารอบ ๆ ทะเลกาลิลี  โดยเฉพาะภูเขาแถบตะวันตกเฉียงเหนือนี้เองที่พระเยซูมักจะขึ้นไปอธิษฐานและสั่งสอนพวกสาวก (มธ. 5:1; 14:23; 15:29; 28:16)

          ทะเลกาลิลีนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 200 เมตร  และมีปลาชุกชุมมาก  (มธ. 4:18; ลก. 5:1-9; ยน. 21:1-8)  บริเวณชายฝั่งทะเลสาบจึงมีประชากรค่อนข้างหนาแน่น  เป็นที่ที่พระเยซูทรงเทศนาสั่งสอนประชาชนบ่อยครั้ง  บนฝั่งทางทิศเหนือของทะเลสาบนี้มีเมืองซึ่งชาวยิวอยู่เป็นจำนวนมากชื่อ  คาเปอรนาอุม  และเบธซาอิดา  เบธไซดา  ดูเหมือนว่า  พระเยซูจะให้เมืองคาเปอรนาอุมเป็นศูนย์กลางในการประกอบพระราชกิจของพระองค์ในภาคเหนือ  ส่วนเมืองโคราซินเป็นเมืองที่อยู่ในเทือกเขาหลังคาเปอรนาอุม  พระเยซูเคยเสด็จไปเหมือนกัน (มธ. 4:13; 11:21-23; มก. 6:45; ยน. 6:17)

          บนฝั่งตะวันตกของทะเลสาบกาลิลีเป็นที่ราบเยเนซาเรท  มีบางเมืองที่คนต่างชาติ (คนที่ไม่ใช่ชาวยิว)  อาศัยอยู่  เช่นเมืองทเบเรียสและเมืองมักดาลา (มธ. 15:39; มก. 6:53; ยน.6:23)  ทางตะวันออกของทะเลสาบเป็นเขตที่มีพลเมืองไม่มาก  เรียกว่ากาดาราเป็นแถบที่หน้าผาชายฝั่งทะเลสูงชัน  แต่มีบางตอนที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก  ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติ  บางพวกก็เลี้ยงหมู  ชาวเมืองเขตนี้เรียกว่า  ชาวกาดารา  ตามชื่อตำบล  หรือชาวเกราซาตามชื่อแขวงซึ่งตำบลกาดาราตั้งอยู่ (มธ. 8:28; มก. 5:1; 11-14)  ถัดจากนั้นไปทางทิศเหนือและทิศใต้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์เรียกว่า บาชาน (ดูรายละเอียดที่ บาชาน)

 episode_015_canaan

หุบเขาจอร์แดนและทะเลตาย

          จากทะเลกาลีลี  แม่น้ำจอร์แดนไหลผ่านหุบเขาลึกลงสู่ทะเลตาย  ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  400 เมตร  หุบเขาทางตอนใต้ของทะเลกาลิลีเป็นที่ดินดีเหมาะสำหรับการเพาะปลูก  พื้นที่ต่อไปค่อย ๆ กันดารขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงทะเลตายมีสภาพดีกว่าทะเลทรายเพียงเล็กน้อย (มก. 1:4-5; 9-13)

          การข้ามแม่น้ำจอร์แดนเป็นไปได้ยากจะข้ามไปเฉพาะบางตอนที่มีทางข้ามตามธรรมชาติเท่านั้น  (ยชว. 2:7; วนฉ. 3:28; 7:24; 12:5; 2 ซมอ. 19:15,  18 )  สองฝั่งแม่น้ำมักจะเป็นป่าทึบ  หน้าผาสูงชันมีหุบเขาอยู่ถัดไป  (ยรม. 12:5; 49:19; ศดย. 11:3)  หน้าผาเหล่านี้ถล่มพังลงเป็นครั้งคราวและกักน้ำไว้  ซึ่งอาจจะมีเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นเมื่อตอนที่โยชูวาพาพวกอิสราเอลข้ามแม่น้ำนี้ (ยชว. 3:14-17)

          มีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบกับแม่น้ำจอร์แดนในช่วงระหว่างทะเลกาลิลีและทะเลตาย  ที่เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดคือ  แม่น้ำยามุกกับแม่น้ำยับบอก  อีกสายหนึ่งที่สำคัญรองลงมาคือลำธารเครีท  (ฉธบ. 3:16; 1 พกษ. 17:3)  แถบนี้อุดมสมบูรณ์ทำให้มีเมืองเกิดขึ้นสองเมืองคือ  สุคคท  และเปนูเอล  มีทางข้ามแม่น้ำจอร์แดนอยู่ไม่ไกลนัก  และต่อมาจึงมีการสร้างป้อมปราการที่เมืองเปนูเอล (ปฐก. 32:22, 31; 33:17; วนฉ. 8:8, 16,17; 1พกษ.12:25)  ในบริเวณนี้มีดินเหนียวซึ่งใช้เป็นแบบพิมพ์ของทองสัมฤทธิ์มาทับถมอยู่ (1 พกษ. 7:46)  ทางตะวันตกของจอร์แดน  มีเมืองกาลิลีและเมืองเยรีโค  (ยชว. 4:19)  ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับทางตะวันออกของจอร์แดนดูที่หัวข้อ  อัมโมน  กิเลอาด  และ บาชาน

          ทะเลตายมีอีกชื่อหนึ่งว่าทะเลเค็มเพราะมีเกลือและสารเคมีอยู่ในน้ำเป็นปริมาณมาก (ยชว. 15:5; 18:19)  ไม่มีปลาอยู่ในทะเลนี้  และบนฝั่งโดยรอบก็ไม่มีพืชพันธุ์งอกอยู่เลย  เว้นแต่ตรงที่มีน้ำจืดจากแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลทางตะวันออก  ทางตะวันตกไม่มีแม่น้ำ  แต่ทำการเพาะปลูกได้บ้างในบริเวณที่มีย่อน้ำพุ เป็นน้ำจืด  เช่นที่เมืองเอนกาดี (พซม. 1:14)  เชื่อกันว่าเมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์อยู่ทางตอนใต้ของทะเลตาย  ต่อมามีปรากฏการณ์แผ่นดินไหว  ทำให้ทะเลขยายไปทางใต้และครอบคลุมซากเมืองโบราณที่อาจจะเหลืออยู่บ้าง (ปฐก. 19:24-28)

 

อาราบาห์

          ถัดจากที่ราบสูงตอนกลางเป็นหุบเขาลึกจากทะเลคินเนเรท (ทะเลกาลิลี)  ขนานไปกับแม่น้ำจอร์แดนจนถึงทะเลตาย (ทะเลเค็ม)  และเรื่อยไปทางใต้จนถึงเมืองเอซีโอนเกเบอร์  ซึ่งอยู่บนอ่าวอากาบาห์  (บนฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ  ของทะเลแดง)  หุบเขา บริเวณตอนเหนือของทะเลตาย  รู้จักกันโดยทั่วไปว่าหุบเขาจอร์แดน  ส่วนหุบเขาทางตอนใต้ของทะเลตายเรียกว่า  อาราบาห์  (แต่บางครั้งก็เรียกหุบเขาทั้งตอนเหนือและใต้ว่า  อาราบาห์  เหมือนกัน)  ทะเลตายเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  ทะเลอาราบาห์  ลำธารเล็ก ๆ  ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำจอร์แดนตรงปากแม่น้ำสู้ทะเลตายเรียกว่า  ลำธารอาราบาห์  เดิมคำว่าอาราบาห์  เป็นคำในภาษาฮีบรู  มีความหมายว่าไหม้  หรือเหือดแห้ง  ใช้บรรยายดินแดนที่รกร้าง  ซึ่งแห้งแล้งหรือกึ่งทะเลทราย  นับว่าเป็นชื่อที่เหมาะสม  กับหุบเขากันดารทางตอนใต้ของทะเลตาย (ฉธบ. 1:1; 2:8; 3:17; 4:48-49; ยชว. 3:16; 11:12; 12:3; อมส. 6:14)

          มีทางสายหนึ่งที่เรียกว่าทางหลวงขึ้นจากเอซีโอนเกเบอร์ไปตามที่ราบสูงทางตะวันออกของอาราบาห์  ผ่านเอโดมและโมอับ เข้าไปในซีเรีย  อิสราเอลภายใต้การนำของโมเสสตั้งใจจะเดินทางตามทางหลวงนี้เข้าสู่คานาอัน  แต่เอโดมและโมอับไม่ยอม  อิสราเอลจึงต้องอ้อมชายแดนของประเทศเหล่านั้นไป (กดว. 20:14-21; 21:10-13; 21-16; วนฉ. 11:15-24)

          อาราบาห์มีแหล่งแร่เหล็กและทองแดงอุดมสมบูรณ์มาก (ฉธบ. 8:9)  สินแร่เหล่านี้ถูกขุดนำไปหลอมตามที่ต่าง ๆ ในหุบเขาแล้วลำเลียงไปตามทางหลวง  (ทางอาราบาห์ ดู ฉธบ. 2:8)  ไปถึงเตาถลุงขนาดใหญ่ที่เอซีโอนเกเบอร์ แล้งลงเรือมุ่งไปทางตะวันออกต่อไป

         

ประวัติศาสตร์

          คนพื้นเมืองของแผ่นดินคานาอัน ส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากฮาม  ซึ่งเป็นบุตรโนอาห์เขาเรียกชื่อแผ่นดินคานาอันตามชื่อบุตรคนหนึ่งในพวกนี้ (ปฐก. 10:6)  คำว่าชาวอาโมไรต์  กับคำว่าชาวคานาอันใช้แทนกันได้ (ปฐก. 10:15-16; 12:5-7; 15:18; ยชว. 5:12; 14:1; 24:15, 18;  ดู อาโมไรต์  เพิ่มเติม)  เรื่องคนพื้นเมืองเผ่าอื่น ๆ ในคานาอัน  ดู  เปริสซี  เยบุส  เรฟาอิม  อามาเลข  ฮิตไทต์  ฮีไวต์

          ประวัติศาสตร์ของคานาอันในสมัยดึกดำบรรพ์ (หมายถึงสมัยก่อนที่โยชูวานำพวกอิสราเอลเข้าคานาอันในสมัยก่อน  ค.ศ. 1240)  ก็เป็นประวัติศาสตร์ของชาวพื้นเมืองที่กล่าวถึงเหล่านี้  ส่วนประวัติหลังจากชัยชนะของโยชูวา  ได้อธิบายไว้แล้ว  โปรดดู  อิสราเอล  ในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ได้แบ่งเขตการปกครอง เป็นสามภาคใหญ่ คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง  และภาคใต้ ดู กาลิลี สะมาเรีย ยูเดีย

 

 

No comments:

Post a Comment