Sunday, August 30, 2009

การเมืองการปกครองในสมัยกรุงธนบุรี

การเมืองการปกครองในสมัยกรุงธนบุรี
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การปกครองส่วนกลาง

กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง
• สมุหนายก' เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราขการฝ่ายทหาร และ พลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น เจ้าพระยาจักรี'หรือที่เรียกว่า ออกญาจักรี
• สมุหพระกลาโหม' เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี เจ้าพระยามหาเสนา'หรือที่เรียกว่า ออกญากลาโหม

ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีเป็นผู้ดูแล และมีพระยาโกษาธิบดี เป็นผู้ดูแลอีกทอดหนึ่ง ซึ่งได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และ กรมนา

• หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
• เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
• เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ

การสื่อความหมายพระกิตติคุณกับมุสลิม

การสื่อความหมายพระกิตติคุณกับมุสลิม

การสื่อสารพระกิตติคุณกับมุสลิม

คำนำ
ปัจจุบันจำนวนประชากรโลกมีประมาณ 6 พันกว่าล้านคน และ 1 ใน 5 คนนั้นเป็นมุสลิม ประชากรมุสลิมมีประมาณ 930 ล้านคน และแบ่งป็น 4,030 กลุ่ม กลุ่มที่พระกิตติคุณไปถึงมี 30 กลุ่ม ประมาณ 70 ล้านคน แต่ที่พระกิตติคุณยังไปไม่ถึงมี 4,000 กลุ่ม ประมาณ 860 ล้านคน การประกาศกับพี่น้องมุสลิมมีผลน้อยมาก ทั้งยังมีการต่อต้านข่าวประเสริฐมาก มุสลิมในประเทศไทยมีประ มาณ 5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล และ ส่วนมากยังไม่รู้จักพระเยซูคริสต์ ยิ่งในปัจจุบันที่มีปัญหาความไม่สงบจากภัยก่อการร้ายที่รุนแรงมากขึ้นยิ่งทำให้การประกาศข่าวประเสริฐกับพี่น้องมุสลิมยากมากขึ้น อีกประการหนึ่งคือคริสเตียนไทยยังมีภาระใจในการประกาศกับพี่น้องมุสลิมน้อยมาก อาจเป็นเพราะคริสตจักรส่วนใหญ่กลัวที่จะประกาศกับมุสลิม แม้มีคริสเตียนบางกลุ่มทำการประกาศอยู่บ้างแต่ก็ขาดความเข้าใจ อีกสาเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยมีการประกาศกับมุสลิม คือการที่ไม่ทราบว่าจะเข้าไปหาพี่น้องมุสลิมอย่างไร ทั้งขาดยังข้อมูลที่เหมาะสมด้วย คำสอนในอิสลามก็เป็นอุปสรรคในการรับฟังพระกิตติคุณด้วย อย่างไรก็ตามเราจะต้องไม่ลืมว่า พระเยซูคริสต์ทรงมอบพันธกิจแห่งความรอดให้แก่เหล่าสาวกและเราทั้งหลาย โดยตรัสว่า "เจ้าทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวประเสริฐแก่มนุษย์ทุกคน" ดังนั้นจำเป็นที่เราจะต้องออกไปประกาศกับชนทุกชาติ หรืออีนัยหนึ่งก็คือการประกาศข้ามวัฒนธรรม ข้าพเจ้าจึงถือว่าการประกาศพระกิตติคุณกับพี่น้องมุสลิมก็เป็นการข้ามวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน








ความจริงเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่คริสเตียนพึงทราบ

มูฮัมหมัด (Muhammad)
อิสลามเป็นศาสนาใหญ่ ในจำนวนศาสนาใหญ่ของโลก 3 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ คริสต์และ อิสลาม เกิดขึ้นในแหลมอาหรับอันกว้างใหญ่ ท่ามกลางทะเลทรายอันร้อนระอุ เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม (Monotheism) เกิดขึ้นหลังสุด “อิสลาม” เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า “สันติ” ผู้ค้นพบคือมูฮัมหมัด เกิดที่มหานครเมกกะตรงกับวันจันทร์ที่ 17 (บ้างก็ว่า 12) เดือนร็อบีอุลเอาวัล ในปี ค.ศ. 570 ในตอนแรกเกิดวรกายของมุฮัมมัด (ซล) มีรัศมีสว่างไสวและมีกลิ่นหอม เป็นศุภนิมิตบ่งถึงความพิเศษของทารก
บิดาท่านเป็น เผ่ากุเรช ได้รับเกิยรติให้คุ้มครองบ่อน้ำศัมริมกะอฺบะหฺ เสียชีวิตไปตั้งแต่ตอนที่มุฮัมมัด(ซล)ยังอยู่ในครรภ์มารดา ปู่ได้ขนานนามว่า มุฮัมมัด แปลว่าผู้ที่ได้รับการสรรเสริญ เป็นนามที่ยังไม่มีผู้ใดใช้มาก่อนเลย เมื่อเกิดได้เพียงไม่นาน ท่านก็ต้องไปอยู่กับแม่นมรับจ้างเผ่าซะอัด ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกมหานคร ทั้งนี้เป็นเพราะประเพณีดั้งเดิมของชาวอาหรับ ต้องการให้บุตรเติบโตในชนบท เพื่อสัมผัสวัฒนธรรมชาวอาหรับพื้นเมืองที่แท้จริง ท่านสูญเสียมารดาเมื่ออายุ 6 ขวบ จึงอยู่ในความอุปการะของท่านปู่ ต่อมาอีกสองปี ท่านปู่ก็สิ้นชีวิตไปอีกคน ท่านจึงอยู่ในความดูแลของลุง ซึ่งเป็นผู้มีเกิยรติในเผ่ากุเรชเช่นกัน
ท่านก็เหมือนกับชาวอาหรับทั่วไปคือเป็นคนไม่รู้หนังสือ อ่านเขียนไม่เป็นตลอดชีวิต นักประวัติ ศาสตร์รายงานว่าในสมัยนั้นมีคนที่อ่านออกเขียนได้น้อยมาก เหตุนี้ชาวอาหรับในสมัยนั้นถูกขนานนามว่า อุมมียูน คือชนผู้อ่านเขียนไม่เป็น ในวัยหนุ่มท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์ เมตตาการุณ จนได้สมญานามว่า "อัล-อะมีน" หรือผู้ซื่อสัตย์ แม้ผู้คนจะเคารพบูชาเทวรูปต่างๆ แต่ท่านไม่เคยเข้าร่วมเลย เพราะครอบครัวท่านนับถือศาสนาแห่งศาสดาอิบรอฮีม(อับราฮาม)อันเป็นบรรพบุรุษของท่าน
เมื่ออายุได้ 20 ปี กิตติศัพท์แห่งคุณธรรม และความสามารถค้าขายก็เข้าถึงหูของคอดีญะหฺเศรษฐีนีหม้ายผู้มีเกียรติเผ่ากุเรช จึงเชิญท่านเป็นผู้จัดการในการค้าของนาง โดยให้นำสินค้าไปขายยังประเทศซีเรียในฐานะหัวหน้ากองคาราวาน ปรากฏผลว่า ได้กำไรเกินความคาดหมาย จึงทำให้นางพอใจในความสามารถ และความซื่อสัตย์ของท่านเป็นอย่างมาก
เมื่ออายุ 25 ปี ท่านได้แต่งงานกับนาง ค็อดีญะหฺ (Khadija) แก่กว่าท่าน 15 ปี สิ่งแรกที่ท่านทำหลังสมรสไม่กี่วันคือปล่อยทาส ซึ่งน้อยนักที่จะมีผู้ทำเช่นนั้น ต่อมาได้กลายเป็นบทบัญญัติอิสลาม ทั้งสองได้ใช้ชีวิตคู่เป็นเวลา 25 ปีมีบุตรี 4 คน ภรรยาท่านจากไป ค.ศ. 619 ก่อนที่ท่านจะลี้ภัยไปเมืองยัธริบ 3 ปี
เมื่ออายุ 30 ปี ท่านได้เข้าเป็นสมาชิกในสหพันธ์ ฟุดูล(องค์การพิทักษ์สาธารณภัยประชาชน) เพื่อขจัดทุกข์ให้ประชาชน ทุกวันท่านจะประกอบแต่กุศลกรรม บำรุงสาธารณกุศล พออายุ 35 ปี ได้เกิดกรณีขัดแย้งในการบูรณะกะอฺบะหฺ (Kaaba) เรื่องที่ว่าผู้ใดกันที่จะนำเอา อัลฮะญัร อัลอัสวัด (หินดำ) ไปประดิษ ฐานไว้สถานที่เดิมคือที่มุมของกะอฺบะหฺ คนทั้งเมืองเกือบจะรบราฆ่าฟันกันเองเพราะแย่งหน้าที่อันมีเกียรติ หลังจากการถกเถียงในที่ประชุมเป็นเวลานาน บรรดาหัวหน้าตระกูล มีมติว่า ผู้ใดที่เป็นคนแรกที่เข้ามาใน อัลมัสญิด อัลฮะรอม ทางประตูบนีชัยบะหฺในวันนั้นจะให้เป็นผู้ชี้ขาดว่าจะทำอย่างไร ปรากฏว่า ท่านเป็นคนเดินเข้าไปเป็นคนแรก จึงมีอำนาจชี้ขาด โดยท่านเอาผ้าผืนหนึ่งปูลง แล้วก็วางหินดำลงบนผ้านั้น จากนั้นก็ให้หัวหน้าตระกูลต่าง ๆ จับชายผ้ากันทุกคน แล้วยกขึ้นพร้อม ๆ กันเอาไปใกล้ ๆ สถานที่ตั้งของหินดำนั้น แล้วท่านก็เป็นผู้นำเอาหินดำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่เดิม
ชาวอาหรับในอาราเบียสมัยนั้นเชื่อว่า อัลลอหฺเป็นพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลตามคำสอนของบรรพ บุรุษคือ อิสมาอีล(Ishmael) และอิบรอฮีม ผู้ก่อตั้งกะอฺบะหฺ แต่ในขณะเดียวก็บูชาเทวรูปและผีสางอีกด้วย ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า มุชริกูน นอกจากนี้ยังมีอาหรับส่วนหนึ่งที่นับถือศาสนาคริสเตียน และในยัธริบก็มีชาวยิวอาศัยอยู่อีกด้วย
เมื่ออายุ 40 ปี ท่านได้รับว่าวะฮฺยู (การวิวรณ์) จากอัลลอหฺ ในถ้ำฮิรออฺ บนภูเขาลูกหนึ่งนอกเมืองมักกะหฺ โดยฑูตญิบรีลนำมาบอกเป็นครั้งแรก ให้ท่านรับหน้าที่ผู้เผยแผ่ศาสนาของอัลลอหฺดั่งที่ศาสดามูซา (โมเสส) อีซา (เยซู)เคยทำมา คือประกาศให้มนุษย์นับถือพระเจ้าองค์เดียว ท่านได้รับพระโองการติดต่อกันเป็นเวลา 23 ปี พระโองการเหล่านี้รวบรวมเป็นเล่มเรียกว่าคัมภีร์อัลกุรอาน
ในตอนแรกท่านเผยแพร่ศาสนาแก่ญาติและเพื่อน ภรรยาท่านได้สละทรัพย์สินไปมาก และลุงก็ได้ปกป้องท่าน ต่อมาท่านได้รับโองการจากพระเจ้าให้เผยแพร่ศาสนาโดยเปิดเผย ทำให้ญาติพี่น้อง ชาวกุเรชและอาหรับเผ่าอื่น ๆ ที่เคยนับถือท่าน โกรธแค้น ตั้งตนเป็นศัตรูกับ ถึงกับวางแผนสังหารท่านหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ ชนมุสลิมถูกคว่ำบาตรไม่สามารถทำธุรกิจ จนต้องอดอยาก สองหัวหน้ามุชริกูนได้พยายามทำลายล้างศาสนาอิสลาม สาวกกลุ่มหนึ่งต้องหนีออกจากมักกะหฺไปลี้ภัยในอบิสสิเนียกษัตริย์นัญญาชีแห่งอบิสสิเนีย(นับถือคริสต์)ให้การต้อนรับ ภายหลังท่านเองก็นับถือศาสนาอิสลาม
หลักข้อเชื่อ 6 ข้อของมุสลิม
1. พระอัลลอหฺ (Allah)
อิสลามเชื่อว่า อัลลอหฺ คือ พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์
ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต ทรงสดับฟังโดยมิต้องพึ่งโสต ทรงเห็นโดยมิต้องใช้สายตา ทรงมีชีวิตและทรงสามารถสื่อสารด้วยคำพูดโดยมิต้องใช้ลิ้น
อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์ทรงมีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากกว่า 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้
พระองค์ไร้เพศ ไร้ตัณหา ไม่มีคู่ครอง ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ไม่มีรูปร่างตัวตน พระอัตมันแห่งพระองค์อยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล
อัลลอหฺ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์
อัลลอหฺ ในความเชื่อของอิสลาม เป็นพระเจ้าองค์เดียวกับพระเจ้าในความเชื่อของคริสต์ และยูดาย

2. ฑูตสวรรค์ (Angels)
มีลำดับชั้น ถูกสร้างจากความสว่าง “กาเบรียล” เป็นฑูตสวรรค์ที่สำคัญที่สุด ผู้ถ่ายทอด อัลกรุอาน
แก่ มุฮัมมัด “เอสราเฟส” ผู้เป่าเเตรวันพิพากษา “เอสราเอล” ฑูตมรณะ “ชายตาน” หรือ Iblis เป็นทูตชั่วถูกไล่ออกจากสวนเอเดนเมื่อไม่เชื่อฟังพระเจ้า “จินท์” เป็นวิญญาณชั่วที่คอยก่อกวนมนุษย์

3. หนังสือศักดิ์สิทธิ์ (Koran)
อัลลอหฺ ได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่ นบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่พระผู้เป็นเจ้าได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระผู้เป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต (Torah) ที่ทรงประทานมาแก่ศาสดามูซา (โมเสส) คัมภีร์ซะบูร (Psalm) ที่ทรงประทานมาแก่ศาสดาดาวูด(David) และคัมภีร์อินญีล (Evangelist) ที่ทรงประทานมาแก่ศาสดาอีซา (Jesus) จึงเป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของอัลกุรอานนั้น คือภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของศาสดามุฮัมมัด

4. ผู้เผยพระวจนะ (Prophets)
มี 6 คน อาดาม โนอา อับราฮัม โมเสส พระเยซูเเละมูฮัมมัด
อาดาม (The Children of God)
โนอา (The Preacher of God)
อับราฮัม (Friend of God)
โมเสส (The Speaker of God)
พระเยซู (The Word of God)
มูฮัมมัด (The apostle of God)
ท่านมูฮัมมัดนั้นยิ่งใหญ่ที่สุดเเละใหญ่กว่าทุกองค์รวมทั้งพระเยซูด้วย จริงๆ เเล้วในอัลกุรอานไม่ได้บอก เเต่สาวกเเละประเพณีนิยมต่อๆมาได้บอกว่าท่านมูฮัมมัดเกิดก่อนสร้างโลก เป็นผู้ทำอัศจรรย์ทั้งปวงเป็นเลิศมนุษย์ ปราศจากบาป เเต่ในอัลกุรอานบันทึกว่ามูฮัมมัดอธิษฐานขอพระเจ้ายกโทษบาปของตน

5. การประกาสิต (Destination)
ทุกสิ่งที่เกิดเเก่มุสลิมไม่ว่าดีหรือร้ายเขาถือว่าอัลลอหฺบัญชาประกาสิตมาเเล้ว ไม่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ หลักความเชื่อนี้ทำให้อัลลอหฺเป็นพระเจ้าผู้สูงสุดและมีอำนาจกำหนดอนาคต โชค อุบัติเหตุ ความตาย สิ่งดีหรือสิ่งร้ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ ศาสนศาสตร์มุสลิมปัจจุบันส่วนมากปฎิเสธความมีอิสระของมนุษย์ เเต่บางคนก็ยอมรับว่ามนุษย์มีอิสระได้ คำสอนนี้ทำให้มุสลิมยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเเก่ชีวิตของตน

6. วันพิพากษาโลก (The Day of Judgment)
ชาวมุสลิมเชื่อว่าชีวิตในโลกปัจจุบันนี้เป็นเพียงการเตรียมตัว เป็นการมาทดลองใช้ชีวิตเพื่อสำหรับชีวิตในโลกหน้าที่จะมีขึ้นเท่านั้น ชีวิตนี้เป็นเพียงการทดสอบของแต่ละบุคคล เพื่อสำหรับชีวิตหลังความตาย วันหนึ่งจะมาถึงเมื่อทั้งจักรวาลถูกทำลายและคนตายจะกลับฟื้นคืนชีวิตเพื่อมารับฟังคำพิพากษาจากพระผู้เป็นเจ้า วันนั้นจะเป็นวันเริ่มต้นชีวิตที่เป็นอมตนิรันดร วันนั้นก็คือวันพิพากษานั่นเอง ในวันนั้น มวลมนุษย์ทุกหมู่เหล่าจะได้รับการตอบแทนจากพระผู้เป็นเจ้าไปตามความเชื่อและการกระทำของตน บุคคลซึ่งตายในขณะที่มีความเชื่อว่า “ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริงอื่นใด นอกจากพระผู้เป็นเจ้า และพระมูฮัมมัดคือผู้ถือสาร (พระศาสดา) ของพระผู้เป็นเจ้า” และเป็นชาวมุสลิม จะได้รับการตอบแทนในวันนั้นและจะได้รับอนุญาตให้ไปสถิตสถาพรยังสรวงสวรรค์ตลอดนิจนิรันดร

หน้าที่หลัก 5 ประการในพระศาสนา
1. พรํ่าบ่นหลักข้อเชื่อใหญ่
คือ “มีพระเจ้าองค์เดียวคือพระอัลลอหฺเเละมูฮัมมัดเป็นอัครฑูตของพระอัลลอหฺ” ต้องท่องจำตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด คนใกล้จะตายต้องกล่าว และจะต้องท่องซํ้าๆตอนละหมาด

2. อธิษฐานวันละ5ครั้ง
ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา ประกอบด้วย รุ่งอรุณ (ศุบฮิ) เที่ยง (ซุหฺริ) บ่ายสามโมง (อัศริ) ดวงอาทิตย์ตก (มัฆริบ) และกลางคืน (อิชาอ์) การละหมาดจะหันหน้าไปทางเมกกะ การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป
ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาเที่ยง ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย
ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในมัซฮับซุนนีย์เรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ)และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ
ก่อนการละหมาด ผู้ละหมาดต้องอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์)ได้แก่การใช้น้ำชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้า พร้อมกับขอพร ถ้าไม่มีน้ำให้ชำระด้วยผงดิน (ตะยัมมุม) ในกรณีที่เพิ่งหมดประจำเดือน หลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร หรือผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลั่งน้ำอสุจิ นอกจากอาบน้ำละหมาดแล้วต้องอาบน้ำทั่วร่างกาย (ญะนาบะหฺ) ด้วย
สิ่งที่ทำให้ความสะอาดเสียไป ซึ่งทำให้การละหมาดไม่มีผล ได้แก่ การผายลม การขับ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การมีเพศสัมพันธ์ หลั่งอสุจิ คลอดบุตร แท้งบุตร หลับ หรือเป็นลมหมดสติ

3. การถือศีลอด ในเดือนรามาดัน
ในเดือนที่เก้าของปฎิทินมุสลิม คนมุสลิมจะอดอาหารตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก จะทานอาหารได้ในยามค่ำคืนเท่านั้น ต้องงดการดื่มทุกชนิด งดการสูบบุหรี่ และห้ามกลืนน้ำลาย

4. บริจาคทาน
ถวาย 1 ส่วน 40 ให้เเก่คนยากจน และสาธารณะกุศล ทั้งเงินรายได้ต่างๆ ก็ต้องนำมาบริจาคด้วย

5. เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมกกะ
การประกอบพิธีทำฮัจญ์ หรือ การทำฮัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต หรือจะส่งคนไปแทนก็ได้
ช่วงทำพิธีฮัจญ์ คือ วันที่ 1-12 เดือนสุดท้ายของปฏิทินมุสลิม (ราวๆ เดือนสิงหาคม) ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อารเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิฮฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินฮะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฏของฮัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินฮะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน
ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดุลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง
การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง บัยตุลลอหฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทว รูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำฮัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ
จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้

ปัญหาหลักในการนํามุสลิมมาเป็นคริสเตียน
ปัญหาประวัติศาสตร์
- เกิดสงครามครูเสด
- ประเทศมุสลิมอยู่ใต้อำนาจของชาติตะวันตก

ปัญหาทางวัฒนธรรม,การเมือง
- อิสลามไม่ใช่ศาสนาเท่านั้น เเต่เป็นสังคม การใช้ชีวิตของคน เป็นเป้าหมายสูงสุด ,ระบบ
การเมืองด้วย
- มุสลิมไม่เเยกระหว่างรัฐ,ศาสนจักร
- ทำให้เกิดความผูกพันเเละหว่างสังคม,ศาสนา
- ผู้ที่เปลี่ยนศาสนาจะถูกสังคมต่อต้าน,ขับไล่,ทำร้าย

ปัญหาทางศาสนา
- พวกมุสลิมภูมิใจในมุสลิม
- พวกมุสลิมเชื่อว่าอิสลามเป็นความหวังอันสุดท้ายเเละดีกว่าศาสนาอื่น
- พวกมุสลิมเชื่อว่าการละทิ้งศาสนาคือการทรยศ
- พวกมุสลิมมีทัศนคติลำเอียงต่อความเชื่อของคริสเตียน

จุดเชื่อมกับความเชื่อของคริสเตียน
ในศาสนาอิสลามมีจุดเชื่อมเเละหลักความข้อเชื่อบางอย่างที่สามารถนำเป็นสะพานข้ามไปหามุสลิมได้
1. ศาสนาอิสลามคือ การยอมตัวต่อพระเจ้า คริสเตียนก็เหมือนกัน
2. มุสลิมเป็นผู้เชื่อในพระเจ้าองค์เที่ยงเเท้ผู้สร้างเเละผู้พิพากษา
3. มุสลิมเป็นผู้เชื่อในคัมภีร์ เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้เปิดเผยพระองค์ได้ทางคัมภีร์
4. อัลกุรอานพูดถึงพระเยซูว่าเป็นพระวาทะของพระเจ้า, พระวิญญาณของพระเจ้า
5. คําหลายคําที่ศาสนาอิสลามใช้เหมือนคริสเตียน
6. การปฎิบัติตนเช่น การอดอาหาร การเเจกทานเป็นการปฎิบัติที่มีความหมายเหมือนคริสเตียน

ข้อแตกต่างทางศาสนศาสตร์ในศาสนาอิสลามกับคริสเตียน
ศาสนาอิสลามและคริสเตียนมีความใกล้เคียงกันในหลายๆ เรื่องยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆในโลก เเต่ในความเป็นจริงก็เข้ากันไม่ได้ประหนึ่งอยู่คนละซีกโลก เเละยากที่จะพูดคุยกันได้ หลักศาสนศาสตร์ของอิสลามผิดกับหลักศาสนศาสตร์ของคริเตียน โดยเฉพาะเรื่องพระคัมภีร์ เรื่องหลักคำสอนว่าด้วยพระเจ้าตรีเอกานุภาพ และเรื่องราวของพระเยซู การสิ้นพระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระองค์
1. พระคัมภีร์ (Bible)
เเม้ว่าอัลกุรอานจะยอมรับพระคัมภีร์ของคริสเตียน เเต่มุสลิมจะสงสัยเมื่ออ่านพบข้อขัดเเย้งหลาย
ประการกับอัลกุรอาน เพราะถ้าพระคัมภีร์ไบเบิ้ลกับพระคัมภีร์อัลกุรอาน มาจากการเปิดเผยของพระเจ้าจริงจะต้องไม่ขัดกัน เพื่อเเก้ปัญหามุสลิมจึงกล่าวหาว่าพระคัมภีร์ไบเบิ้ลของคริสเตียนไม่ถูกต้อง และถูกบิดเบือนไปจากต้นฉบับภาษากรีก เพราะมีการแปลในหลาย versions หลายภาษา ไม่เหมือนอัลกุรอานที่เป็นภาษาเดียวเท่านั้น ไม่เปลี่ยนแปลง จึงถูกต้อง
เเม้ว่ามุสลิมจะไม่เชื่อหรือยอมรับสิทธิ์อำนาจของพระคัมภีร์ก็ตาม แต่เราต้องเชื่อว่าพระคัมภีร์เป็น
พระวจนะของพระเจ้าที่ทรงพลานุภาพ ยิ่งกว่าดาบสองคมใดๆ สามารถทะลุทะลวงถึงส่วนลึกที่สุดในชีวิตของพี่น้องมุสลิมได้ เราควรจะเชื้อเชิญพี่น้องมุสลิมลองอ่านพระคัมภีร์ไบเบิ้ลของเราดู ซึ่งมีเรื่องราวหลายอย่างที่คล้ายกัน เพราะว่าในอัลกุรอาน (โกราน10:99) บอกว่า อณุญาตให้มุสลิมปรึกษาคริสเตียนในเรื่องศาสนาที่มุสลิมไม่เข้าใจได้
2. หลักคำสอนว่าด้วยตรีเอกานุภาพ
มุสลิมคิดว่าคริสเตียนเชื่อในพระเจ้า 3 หลายองค์ มุสลิมส่วนมากคิดว่าคริสเตียนเชื่อในพระเจ้าที่เป็น พระเจ้า / กาเบรียล + นางมาเรีย = พระเยซู ในแง่ที่ว่าพระเจ้ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับมาเรียและเกิดลูกเป็นพระเยซูคริสต์
ในฐานะที่เป็นคริสเตียนเราต้องเเก้ไขความเข้าใจผิดนี้ให้มุสลิมเข้าใจใหม่ เราต้องบอกว่าเรามิได้เชื่อในพระเจ้า 3 องค์ พระคัมภีร์บอกว่ามีพระเจ้าองค์เดียวที่เราควรนมัสการ (เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4) พระเยซูก็บอกใน มาระโก 12:29-30 พระเจ้ามิได้เเต่งงานกับมาเรีย พระเจ้าไม่เคยเเต่งงาน เเละไม่สามารถจะเเต่งงานได้ เมื่อมุสลิมได้ฟังดังนี้เขาจะเบาใจเเละมีทัศนคติที่อยากสนทนากับคริสเตียน
แต่มุสลิมก็ยอมรับไม่ได้ว่า พระเจ้าทรงมีบุตรที่เท่าเทียมกันกับพระองค์ในอำนาจและพระสิริ เด็ก ๆ มุสลิมมักจะถูกสอนว่า พวกคริสเตียนเชื่อพระเจ้าแต่3องค์ เมื่อเขาฟังพระกิตติคุณ เขามักสงสัยว่า 1+1+1=1 เป็นไปได้อย่างไร เขารู้แต่ว่าพระเจ้าต้องเป็นหนึ่ง (เอกะ) เขาไม่สามารถเข้าใจเมื่อเรากล่าวว่า พระเจ้าทรงเป็นเอกะ แต่เป็น 3 สถานะนั้น คือพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่เขาคิดว่า 3 ก็ต้องเป็น 3 หนึ่งต้องเป็นหนึ่ง ดังนั้นหากหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องนี้ในตอนแรกได้จะดีกว่า
3. พระเยซู (Jesus)
เเม้ว่ามุสลิมบางคนจะเชื่อในพระเยซู คือ “นบีอีซา” ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะคนหนึ่งที่พระเจ้าส่งมายัง
คนยิวเกิดจากมาเรียกับกาเบรียลคือพระเยซู ซึ่งไม่ใช้พระบุตรของพระเจ้าเพราะเขาปฏิเสธตรีเอกนุภาพ และยังพระเยซูเป็นผู้กล่าวว่ามูฮัมมัดจะมา (ยน. 14:16) มุสลิมกล่าวคริสเตียนใช้คำว่า Parakletos = ผู้เล้าโลม = พระผู้ช่วยอีกผู้หนึ่ง เป็นคำที่ไม่ถูกต้อง คำที่ถูกต้องคือ paraklutos = “The Praised One” ซึ่งหมายถึง ฮิมฮะมัด / มูฮัมมัด อีซาหรือเยซูไม่ได้ถูกตรึงตาย แต่ยังมีชีวิตอยู่จะกลับมาเเต่งงาน มี ลูก เเละตายที่มาดินา เเละจะถูกฝังไว้ใกล้ๆมูฮัมมัด อีซาจะมาอยู่อีก 40 ปี เเละจะมาเผยเเพร่อิสลามไปทั่วโลก
ในอัลกุรอานปฏิเสธพระเจ้ามีบุตร เช่น (Koran 112:3; 119:5) “พระเจ้าไม่เคยให้กำเนิดเเละได้เคยเกิด…พระเจ้าย่อมไม่มีบุตร” ถ้าจะเรียก พระเยซู คือ พระบุตรของพระเจ้าจะมีบาป คือทำให้พระเยซูเป็นพระเจ้า การมีพระเจ้าสององค์ ซึ่งเป็นบาปร้ายเเรงที่สุด แต่ในเเง่คริสเตียน “บุตร” นี้ไม่ใช่เรื่องฝ่ายร่างกาย พระเยซูเกิดจากนางมาเรียโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเยซูไม่มีพ่อฝ่ายร่างกาย พระองค์ไม่ได้ถูกสร้าง พระองค์มาจากพระเจ้า พระเจ้าพระบิดา และพระบุตร เป็นคำที่สื่อถึงบทบาทหน้าที่ในความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้าตรีเอกานุภาพ
ในอัลกุรอานก็มีบางข้อที่พูดถึงความพิเศษของพระเยซูที่เราสามารถใช้เพื่อเป็นพยานได้ เช่น ในอัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ 3 ข้อ 45 กล่าวว่า “จงรำลึกถึงขณะที่มะลาอิกะฮ์(ทูตสวรรค์)กล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย ! แท้จริง อัลลอฮ์ทรงแจ้งข่าวดีแก่เธอซึ่งพจมานหนึ่งจากพระองค์ ชื่อของเขาคือ อัลมะซีห์ อีซาบุตรของมัรยัม” ในที่นี้ "อัลมะซีห์ อีซา" หมายถึง พระเยซู พระมะเซียห์ และ “พจมานจากพระองค์” นั้นภาษาอาหรับอ่านว่า “กะลิมะฮ์” ซึ่งหมายถึงถ้อยคำของอัลลอฮฺ ใน ซูเราะฮฺ อัลอัมบิยาอฺ 21.91 กล่าวว่า “ท่านอีซาเป็นพระวิญญาณของพระเจ้า”
มุสลิมส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า "ถ้อยคำของอัลลอฮฺ" ไม่มีการเริ่มต้นและไม่มีการสิ้นสุด ดังนั้นการที่อัลกุรอานเรียกท่านอีซาว่า “ถ้อยคำของอัลลอฮฺ” นับเป็นโอกาสที่คริสเตียนจะแนะนำท่านอีซา ว่าท่านอีซา คือ"ถ้อยคำของอัลลอฮฺ" ที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา แต่ดำรงอยู่ตลอดไป ซึ่งยอมรับสภาพเป็นมนุษย์ จึงกล่าวได้ว่า อัลกุรอานยอมรับว่า ท่านอีซาเหนือกว่ามุฮัมหมัดตั้งแต่เกิด แม้ว่าอิสลามปฏิเสธความเป็นพระเจ้าของท่าน อีซาแต่อัลกุรอานยังมีหลายข้อที่ถือได้ว่า ท่านอีซาเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า
4. การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู
มุสลิมปฏิเสธการสิ้นพระชนม์ ใน “Sura 4:158” กล่าวว่า “เขามิได้ฆ่าพระองค์ หรือตรึงพระองค์ เเม้ว่าสาวกจะเห็นเป็นเช่นนั้น” มุสลิมส่วนมากเชื่อว่า พระเจ้าเสด็จมารับพระเยซูไปเสียก่อนจะถูกตรึง ผู้ถูกตรึงจริงๆ คือยูดาส
มุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าทรงยิ่งใหญ่สูงสุด จะยอมให้ผู้รับใช้พระองค์จบชีวิตลงอย่างนั้นไม่ได้ เเละการไถ่บาปโดยพระเยซูก็ไม่จำเป็น เพราะพระเจ้ามีสิทธิ์อำนาจที่จะยกโทษบาปได้โดยลั่นวาจาเท่านั้น
เราจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร แน่นอนพระเจ้าทรงยิ่งใหญ่สูงสุด สามารถยกโทษบาปโดยการลั่นวาจาได้ แต่เพราะพระเจ้านั้นเที่ยงธรรม ยุติธรรมด้วย การกระทำเช่นนั้นจะทำให้การยกโทษบาปของพระองค์ไม่ยุติธรรม เพราะไม่มีการชดใช้โทษบาปเลย
เราควรถามมุสลิมว่าชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่เเท้จริงควรจะเกิดจากวิธีใหน จะโดยรับพระเยซูไปก่อนถูกตรึง หรือ ให้พระเยซูถูกตรึงเเล้วฟื้นจากความตาย โดยการทรงสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเราถือว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าพระองค์ทรงมีเเผนการในการไถ่บาปก่อนจะวางรากสร้างโลก ทรงตรัสผ่านทางผุ้เผยพระวจนะว่าพระคริสต์จะต้องทนทุกข์ทรมาน (อิสยาห์ 53) พระเจ้าสามารถส่งฑูตสวรรค์มาประหารคนที่ตรึงพระเยซู พระเยซูก็สามารถจะลงมาจากไม้กางเขนโดยอำนาจของพระองค์ เเต่ด้วยความรักพระองค์ทรงยอมทนทุกข์ลำบากเพื่อช่วยมนุษย์ทุกคนที่เชื่อให้พ้นจากบาปได้ (ฮีบรู9:22) “ถ้าไม่มีการหลั่งโลหิตก็ไม่มีการยกโทษบาป”
เนื่องจากมุสลิมยอมรับพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เราจึงควรใช้พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นพยานถึงความจริงที่พระเยซูมาตายไถ่บาป ซึ่งในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมมีเเบบอย่างของเรื่องนี้ไว้มากเเละเรื่องต่อไปนี้มุสลิมรู้ดี
- พระเจ้าทรงทำเสื้อผ้าหนังสัตว์ให้อาดามกับอาวา (ปฐมกาล 3:21)
- การถวายบูชาของคาอินกับอาเบล (ปฐมกาล )
- โนอาห์ถวายบูชาหลังออกจากนาวา (ปฐมกาล )
- อับราฮามถวายอิสอัค (ปฐมกาล 22 )
- ลูกแกะปัสกา (อพยพ 12 )
- ทุกคนในพันธสัญญาเดิมมาหาพระเจ้าด้วยการถวายบูชา (ฮีบรู 10:1-18 )

ลักษณะความคิดของมุสลิม
การดำเนินชีวิตของมุสลิม เขาต้องยำเกรงอัลลอฮฺในทุกกรณี คำสอนทางศาสนาก็ต้องยอมรับว่า เป็นความจริง เมื่อสงสัยก็ไม่อนุญาตให้ใช้ความคิดของตนเองคิดหรือหาเหตุผล เพราะเหตุนี้เมื่อเราคุยกับมุสลิมในเรื่องความเชื่อ สิ่งที่ยากที่สุด คือ ให้เขาคิดตามเหตุผล เพราะเมื่อนบีมุฮัมหมัดได้รับคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านไม่ได้ใช้ความคิดเลย ทูตสวรรค์กาเบรียลพูดและท่านมุฮัมหมัดฟัง และท่องจำข้อเหล่านั้น
คริสเตียนเชื่อว่า พระเจ้าทรงเปิดเผยพระวจนะโดยทรงใช้หลายวิธี เช่น ผ่านทางผู้เผยพระวจนะ ทางเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ บางครั้งพระเจ้าพูดโดยตรง พระเจ้าทรงใช้ผู้เผยพระวจนะที่เป็นคนที่มีสติ มีความคิดของตนเอง และพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำและควบคุมให้สำแดงตามพระประสงค์ของพระเจ้า แต่มุสลิมถือว่า คัมภีร์ของพระเจ้านั้น ต้องเป็นคำที่พระเจ้าทรงพูดโดยตรงเท่านั้น อัลกุรอานซึ่งเป็นคัมภีร์ของมุสลิมนั้น นบีมุฮัมหมัดได้รับจากอัลลอฮฺโดยตรงผ่านทูตสวรรค์กาเบรียล ใช้ภาษาอาหรับ ถือว่าเป็นภาษาที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งมุสลิมถือว่า เป็นภาษาสวรรค์
ดังนั้นอัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์ที่พระเจ้าทรงตรัสโดยตรง จึงไม่อนุญาตให้มุสลิมสงสัย ห้ามวิจารณ์หรือวิเคราะห์อย่างเด็ดขาด มุสลิมจึงไม่ได้ใช้เหตุผลและไม่ดิ้นรนหาน้ำพระทัยของพระเจ้าโดยความสัมพันธ์กับพระเจ้า นอกจากนั้นมุสลิมส่วนใหญ่จะเชื่อและติดตามผู้นำโดยไม่ไตร่ตรอง และเมื่อเขาฟังอะไรที่ขัดกับคำสอนเดิม เขามักจะบอกเราว่า จะไปคุยกับผู้สอนทางศาสนาอิสลามดีกว่า แม้แต่เรื่องการเมือง ความคิด เห็นส่วนใหญ่มักมาจากผู้นำศาสนา มุสลิมปกติจะคิดและวิเคราะห์เองน้อยมาก
วิธีเรียนศาสนาอิสลามก็เป็นการท่องจำ ไม่ใช่คิดวิเคราะห์เข้าใจตามเหตุผล เพราะเขาจะไม่กล้าใช้ความคิดเห็นตนเอง ทั้งถือว่าความคิดตนเองไม่สำคัญ เขารู้สึกปลอดภัยเมื่อเขาคิดและทำตามที่ผู้นำทางศาสนาสอน ถ้าพบข้อที่ไม่ตรงกับที่เขาได้เรียนจากผู้นำทางศาสนา มุสลิมส่วนมากไม่กล้าอภิปรายเรื่องนั้นตามที่เขาเข้าใจ แต่จะพึ่งผู้นำศาสนา และนบีมุฮัมหมัดเป็นคนที่สำคัญมาก ชีวิตและการปฏิบัติของมุฮัมหมัด นั้นมุสลิมถือว่าเป็นแบบอย่าง ถ้ามุสลิมเจอเหตุการณ์ที่อัลกุรอานไม่พูดถึง เขาจะศึกษาการปฏิบัติของนบีมุฮัมหมัดที่บันทึกในอัลฮาดีส เขาเชื่อว่าความคิดของมุฮัมหมัดก็ยังเป็นแบบอย่างสมบูรณ์ที่มุสลิมต้องทำตาม ในฮาดีสบอกว่ามุฮัมหมัดได้กระทำอย่างนี้ มุสลิมก็ทำตามอย่างนั้น ความคิดใหม่หรือการสร้างสรรค์ใหม่ในความศรัทธานั้นเป็นไปไม่ได้
คัมภีร์อัลกุรอานเขียนเป็นแบบบทกวี ซึ่งเน้นความคล่องแคล่วถ้อยคำสำคัญกว่าความชัดเจนของคำสอน และอัล-กุรอานไม่ได้ถูกจัดตามเรื่องเล่าหรือกระบวนการณ์ตามเวลา ไม่ใช่เป็นเรื่องเล่า คำสอนของอัลกุรอานจึงยาก ยิ่งกว่านั้นยังเป็นภาษาอาหรับที่อ่านเข้าใจยาก ปกติเขาจะไม่อ่านเป็นภาษาท้องถิ่น
เพราะเหตุผลเหล่านี้ มุสลิมจึงยากที่จะเข้าใจพระคัมภีร์ แต่ส่วนใหญ่ไม่กล้าอ่านพระคัมภีร์ไบเบิล มุสลิมบางคนอาจเข้าใจข่าวประเสริฐ แต่ไม่กล้าตัดสินใจติดตามท่านอีซาและยอมรับความรักของพระเจ้าที่ได้สำแดงบนไม้กางเขน และส่วนมากไม่ได้เปลี่ยนความคิดในเวลาสั้น ๆ เราควรค่อย ๆ ให้เขาคิดเอง และเปลี่ยนแปลงเอง พยายามตั้งคำถามให้เขาคิดเองตอนที่เขาอยู่คนเดียว ความศรัทธาของมุสลิมไม่ได้สร้างอยู่บนเหตุผล แต่จากที่เรียนมา ความมั่นใจในความเชื่อนั้นผสมกันกับการปฏิบัติ พื้นฐานความเชื่อของมุสลิมไม่ใช่ด้วยความเข้าใจ แต่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกมากกว่า เพราะฉะนั้นความมั่นใจของคริสเตียนในความรอดเป็นเหตุทำให้มุสลิมเริ่มเปิดใจต่อท่านอีซา (องค์พระเยซู)
ความกดดันของครอบครัวหรือสังคมมุสลิม
ความกดดันจากครอบครัวและสังคมนั้นสำคัญมาก มุสลิมส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัวอย่างสนิทสนม เมื่อตัดสินใจอะไรต้องคิดถึงครอบครัวหรือสังคมเป็นหลัก การตัดสินใจที่สำคัญ ๆ ไม่ใช่ของตัวเองแต่เป็นของกลุ่ม ความกดดันที่มาจากกลุ่มนั้นจึงสูงกว่าสังคมอื่น ๆ แม้อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้มุสลิมรุ่นใหม่ค่อย ๆ เปลี่ยน เริ่มคิดถึงชีวิตส่วนตัวและตัดสินใจตามอิสระ และการยึดถือในสิทธิเสรีภาพของบุคคลมีมากขึ้น แต่มุสลิมส่วนใหญ่ยังอยู่ในอิทธิพลของกลุ่ม เช่น การสมรส นั้นพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดให้พบกัน และงานสมรสนั้นเป็นเรื่องของกลุ่มไม่ใช่เรื่องของส่วนบุคคล
ฉะนั้นถ้ามุสลิมคนหนึ่งตัดสินใจว่าจะเชื่อท่านอีซาเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและผู้ช่วยให้รอดนั้น เขาคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของส่วนตัวแต่เป็นของกลุ่ม เมื่อเขาเชื่อในพระเยซู เขาต้องเผชิญกับการต่อต้านของครอบ ครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านทุกคนอาจต่อต้านเขาหรือเตือนให้กลับความศรัทธาเดิม เพื่อนส่วนใหญ่อาจจะไม่อยากพบเขา ชุมชนอาจจะพิพากษาและสังเกตดูเขา ครอบครัวเขาอาจตัดความสัมพันธ์ เนื่องจากอาจกลัวเสียหน้าในสังคม การเชื่อศาสนาอื่นเป็นสิ่งที่น่าละอายสำหรับมุสลิม ปกติครอบครัวจะพยายามดึงกลับความศรัทธาเดิม บางครั้งก็ใช้วิธีรุนแรง เช่นไม่ให้ไปโรงเรียน หรือบังคับให้ออกจากบ้าน นี้เป็นวิธีหนึ่งที่เขาจะรักษาชื่อครอบครัว ในอัลกุรอานยังกล่าวว่า คนที่ออกจากศาสนาอิสลามก็ฆ่าได้ (ซูเราะห์ อัน-นิซาอฺ 90; ซูเราะฮฺ อันนะหฺลฺ 107)
ปัจจุบัน กฎหมายสามัญแต่ละประเทศห้ามฆ่าคนเพราะการเปลี่ยนความศรัทธา แต่ปัญหานี้ก็ยังมีอยู่ ยิ่งกว่านั้นประเทศอิสลามบางประเทศเอากฎหมายอิสลาม (คือ กฎหมายซาเรียฮฺ) มาเป็นกฎหมายสามัญ มุสลิมที่รับเชื่อใหม่อาจจะไม่ถึงกับถูกฆ่า แต่ส่วนใหญ่ต้องแยกจากครอบครัวพี่น้องเกือบทุกคน เขาจะรู้สึก อยู่คนเดียวในโลกนี้ ไม่มีกลุ่มที่เขารู้สึกได้ว่า “เป็นเรา” ในประเทศไทย รัฐบาลอนุญาตให้คนไทยทุกคนมีอิสระในการเลือกความศรัทธา แต่มุสลิมที่เชื่ออีซาส่วนใหญ่ก็ยังถูกไล่ออกจากชุมชนและครอบครัว และไม่อนุญาตให้เยี่ยมพ่อแม่ได้ สำหรับคนที่สมรสนั้นอาจจะหย่ากันกับคู่สมรส อยู่ด้วยกับลูก ๆ ก็ไม่ได้ บางคนไม่สามารถเยี่ยมครอบครัว แม้ว่าพ่อแม่เสียชีวิตก็ตาม
มุสลิมที่เชื่อบางคน จึงกลับไปหาสิ่งเก่า ๆ เราควรจะช่วยเหลือมุสลิมที่เชื่อใหม่อย่างไร เราอาจจะแนะนำเขาว่า ไม่ต้องเปิดเผยทันที สอนเขาตัวต่อตัวและช่วยเขาให้พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา ถ้ามีผู้เชื่อที่เคยเป็นมุสลิมมาก่อน ร่วมมือกับเขาก็ดี หรือแนะนำให้เขาสร้างกลุ่มใหม่ คือ กลุ่มพี่น้องที่เคยเป็นมุสลิม ให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราควรหลีกเลี่ยงที่จะดึงเขาให้เป็นสมาชิกคริสตจักรท้องถิ่นในตอนแรก แต่หาวิธีให้เขาสามารถอยู่ในสังคมมุสลิมต่อไปได้ และหนุนใจเขาเป็นพยานกับพี่น้องของเขา
นอกจากการลำบากใจกับการต้อนรับพระเยซูแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่เข้าใจยาก คือเขาจะรู้สึกผิดต่อคำสอนที่สำคัญที่สุดในศาสนาอิสลาม คือ ความเชื่อในเอกะของอัลลอฮฺ ซึ่งเขาได้เรียนมาตั้งแต่เด็กว่า ไม่มีพระอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ถ้าหมิ่นประมาทข้อนี้ไม่มีทางที่จะได้รับการยกโทษ การนับถือมนุษย์หรือพระอื่นดังพระเจ้า เป็นบาปใหญ่ (ซุเหราะฮฺ อัลอิมรอน 116) ในอัลกุรอานยังเตือนว่า คนใดที่ละทิ้งความศรัทธาเดิม จะพินาศนิรันดร (ซุเหราะฮฺ อัลอิมรอน 90)
การเป็นสมาชิกคริสตจักรท้องถิ่นก็ไม่ง่าย คริสตจักรไทยชอบกินเนื้อหมู บางทีบางคนบังคับมุสลิมที่เชื่อใหม่ให้กินหมู เพราะเขาถือว่าเป็นวิธีพิสูจน์และแสดงความเชื่อ มุสลิมที่เชื่อใหม่ต้องการความช่วยเหลือและดูแลเป็นพิเศษ แน่นอนเขาย่อมคาดหวังว่าคริสตจักรท้องถิ่นจะเป็นครอบครัวใหม่ของเขาทดแทนครอบ ครัวและชุมชนอิสลาม แต่คริสเตียนคิดว่า พี่น้องมุสลิมที่รับเชื่อใหม่ไม่ต่างกับคนอื่นทั่วไป มุสลิมที่รับเชื่อใหม่ บางคนจึงเลิกเชื่อ มุสลิมบางคนยังไม่กล้าเปิดเผยว่าเขาเป็นคริสเตียน อาจจะเป็นเพราะ กลัวที่ต้องแยกจากครอบครัว ยังไม่มีความมั่นใจในการติดตามท่านอีซาอย่างเต็มที่ อยากเป็นพยานเพื่อครอบครัวของเขา
คริสเตียนเราควรตระหนักว่า การรับเชื่อของมุสลิมไม่ใช่เป็นเรื่องของตัวเองเท่านั้น เขาน่าจะมีโอกาสนำครอบครัวให้รับความรอดด้วย กิจการ 16.31 “จงเชื่อและวางใจในท่านอีซาและท่านจะรอดได้ทั้งครอบครัวของท่านด้วย" เราจะทำอย่างไรให้มุสลิมที่เชื่อใหม่สามารถอยู่ในสังคมของเขาได้ อาจจะปฏิบัติดังนี้:
• ให้เขาแสดงความศรัทธาใหม่ แล้วถูกไล่ออก ให้เป็นสมาชิกคริสตจักรอย่างเต็มที่
• สอนให้เขาเก็บความศรัทธาใหม่ในใจ ให้เขาแอบพบผู้เชื่อ ถ้าไม่มีกลุ่มที่ผู้รับเชื่อจากมุสลิม อาจจะแนะนำให้สร้างกลุ่มของคนที่รับเชื่อจากกลุ่มมุสลิม ส่วนใหญ่ผู้รับใช้ที่ประกาศกับพี่น้องมุสลิมเห็นด้วยกับวิธีนี้
มุสลิมที่เชื่อในพระเยซูและคริสตจักรท้องถิ่น
ในประเทศไทยผู้เชื่อส่วนใหญ่มาจากศาสนาพุทธ คริสตจักรก็เลยไม่รู้ว่า จะดูแลผู้เชื่อมุสลิมอย่างไรในปัญหาต่อไปนี้?
• เมื่อมุสลิมผู้รับเชื่อใหม่เข้าในคริสตจักร เขาไม่เข้าใจคำศัพท์บางคำ เพราะ คำศัพท์หลายคำที่ใช้ในคริสตจักรมาจากศาสนาพุทธ จึงฟังเทศนาไม่เข้าใจ
• การนมัสการในคริสตจักรตามแบบทางตะวันตก ผู้ชายกับผู้หญิงนั่งด้วยกัน การแต่งตัวของผู้ที่มาร่วมนมัสการ ดูไม่เหมาะตามสายตาของมุสลิม
• อาหารก็เป็นอุปสรรคสำหรับมุสลิมที่มานมัสการในคริสตจักร มุสลิมถือว่า อาหารที่มีเนื้อหมูเป็น "หารอม" (มลทิน) หรือจานที่โดน(ถูกแตะต้อง)อาหารหมูก็ไม่สะอาด
ยังมีอีกหลายข้อที่มุสลิมสงสัยและเป็นอุปสรรคในการรับเชื่อ คริสเตียนไทยหลายคนไม่ชอบมุสลิม คิดว่า มุสลิมเป็นพวกหัวรุนแรง เข้ากับคนอื่นยาก เห็นแก่ตัวและสร้างปัญหาในสังคม เพราะเหตุผลเช่นนี้ คริสเตียนไม่สนใจในการประกาศกับมุสลิม กลับคิดว่าการประกาศกับพี่น้องมุสลิมไม่เกิดผล การตอบสนองของชาวพุทธมีมากกว่าหลายเท่า แต่มัทธิว 28.19 พระเยซูได้ทรงบัญชาเราว่า “จงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา” กิจการ 1.8 “ท่านทั้งหลายจะเป็นพยานฝ่ายเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก” เราต้องออกไปประกาศกับทุกชนชาติ ทุกกลุ่ม ไม่ว่ากลุ่มที่อยู่ในเยรูซาเล็มหรืออยู่ที่สุดปลายแผ่นดินโลกก็ตาม เราไม่มีสิทธิ์เลือก เราควรมีส่วนร่วมในภาระที่ต้องรับผิด ชอบต่อพี่น้องมุสลิม ด้วยการประกาศอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน

ข้อเเนะนำบางประการกับคนที่ทำงานกับพวกมุสลิม
1. สร้างความสัมพันธ์เป็นเพื่อนกันเเท้จริง
โดยปกติมุสลิมเกือบทุกคนต้องใช้เวลานานกว่าจะมาเป็นคริสเตียน เเละถ้าขาดการ
เป็นเพื่อนที่เเท้จริงกับคริสเตียน จะยิ่งยากที่จะเป็นคริสเตียน เราจึงต้องเเสดงความรักความหวงใยที่เเท้จริง
เช่นเยี่ยมเยียนเวลาที่เขาเจ็บป่วย มีปัญหาชีวิตบางทีอาจจะเชิญเขามาที่บ้าน (ถ้ามีการรับประทานอาหาร อาหารเเละภาชนะที่ใช้ต้องเตรียมให้ถูกหลักตามความเชื่อของเขา)
2. มองเขาในเเง่ดี
อย่าติเตียนจุดอ่อนในการกระทำของเขา ดังเช่นคริสเตียนบางคนมองคนมุสลิมว่า เป็นพวกคบไม่ได้ ไว้ใจยาก ชอบใช้กำลังเป็นใหญ่ ขี้เกียจสันหลังยาว มีความเชื่องมงาย เป็นต้น มุสลิมรักเเละเคารพมูฮัมหมัดเเละพระคัมภีร์กุลอ่านมาก เเละเชื่อจริงใจในพระเจ้าเที่ยงเเท้องค์เดียวมุสลิมทุกคนมักเคร่งศาสนาเเละเกรงกลัวพระจ้า
3. เริ่มที่พระคัมภีร์
เริ่มต้นอาจจะไม่รีบให้พระธรรมมาระโกไปอ่านเพราะพระธรรมมาระโกเริ่มต้นด้วยคำ
ว่าพระเยซู เเต่ในพระธรรมยอห์นเริ่มต้นด้วยคำว่า “เพราะพระเยซูเป็นพระวาทะของพระเจ้า”ซึ่งมุสลิมรับได้ พระธรรมมัทธิวก็ให้ได้เพราะจะมีลำดับพงศ์พันธุ์ที่ไล่จากพระเยซูไปถึงดาวิดเเละ
อับราฮัมซึ่งมุสลิมรับได้
4. ไม่โต้เเย้ง
คริสเตียนควรตอบคำถามของมุสลิมเเละให้เหตุผลของเราด้วย เเต่อย่าโต้เเย้ง
เน้นความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้ายกโทษบาปทางพระเยซูซึ่งมุสลิมขาดสิ่งนี้
ให้เขาทราบว่าเราก็ถือว่า “พระวาทะเป็นพยาน” (ยอห์น17:3) “และนี่แหละคือชีวิต
นิรันดร์ คือที่เขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา”
5. มีชีวิตเป็นเเบบอย่าง
คําพูดเเละความหมายที่ยกากับคําอธิบายที่ลึกซึ้งไม่สามารถจะนำมุสลิมมาเป็นคริสเตียน
ได้เราต้องเเสดงชีวิตที่ถวายหมดเเละรักจริง
เเม้พวกมุสลิมเป็นกลุ่มที่ทําพันธกิจยากที่สุดกลุ่มหนึ่งเเต่ถ้าเราประกาศด้วยความจริงเเละความรัก ความถ่อมใจ สติปัญญา คำพยานของเราย่อมมีประสิทธิภาพไม่มากก็น้อย


บทสรุป
จอห์น สตอทท์ ได้หยิบยกข้อเขียนของ บิชอบ เคนเนธ แคร็กก์ ซึ่งเป็นมิชชั่นารีที่มีชื่อเสียงดีในการประกาศพระกิตติคุณแก่พี่น้องมุสลิม จากหัวข้อว่า “สุเหร่าและคริเตียน ท่านได้เขียนถึงการเรียกร้อง 5 ข้อ ได้แก่ การเรียกร้องให้เข้าใจ ให้รับใช้ ให้กอบกู้ ให้อธิบาย และให้อดทน ซึ่งจุดเน้นสองเรื่องที่แตะต้องใจ จอห์น สตอทท์ เรื่องแรก คือ การเรียกร้องให้เข้าใจ ที่มาจากความปรารถอันแรงกล้า เป็นความเข้าใจแบบที่เกิดขึ้นจากการได้พบกับพี่น้องมุสลิมด้วยตัวเอง ความเข้าใจต้องมาจากคนไม่ใช่แค่ความรู้ทางวิชาการที่มาจากหนังสือ คริสเตียนต้องฝ่าฟันที่จะเข้าไปสู่ชีวิตประจำวันของพี่น้องมุสลิมในฐานะที่เป็นผู้เชื่อ สาวก และมนุษย์ ในการเริ่มต้นคริสเตียนต้องเข้าใจว่าอิสลามมีความหมายต่อชาวมุสลิมอย่างไรบ้าง เราต้องแสวงหาที่จะรู้จากภายในเท่าที่จะเป็นไปได้ และยังต้องฝ่าฟันที่จะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “ความเข้าใจผิดใหญ่หลวง” ของชาวมุสลิมต่อศาสนศาสตร์คริสเตียน ในเรื่องคำสอนเกี่ยวกับพระเจ้าและตรีเอกานุภาพ เรื่องพระคริสต์และกางเขนและเรื่องความรอด
เรื่องที่สอง คือ การกอบกู้ บิชอบแคร็กก์ได้สรุปว่า ในปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้ศาสนาอิสลามรุ่งเรืองขึ้นมามีความล้มเหลวของคริสเตียนโดยคริสตจักรรวมอยู่ด้วย มันเป็นความล้มเหลวในเรื่องความรัก ความบริสุทธิ์ ความร้อนรน เป็นความล้มเหลวของจิตวิญญาณ ศาสนาอิสลามเจริญขึ้นในสภาพแวดล้อมของคริสตศาสนาที่ไม่สมบูรณ์และหย่อนยาน ดังนั้นคริสเตียนใฝ่ฝันที่จะหลุดพ้นจากความห่างเหินกับพระเจ้า และแก้ไขอดีตโดยการฟื้ฟูความสัมพันธ์เสียใหม่ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้กับพระคริสต์ ซึ่งทรงเป็นคนแปลกหน้าสำหรับศาสนาอิสลาม วัตถุประสงค์จึงไม่ใช่การเข้าครอบครองอีกครั้งในสิ่งที่คริสตจักรได้สูญเสียไปอย่างที่กองทัพสงครามครูเสดเชื่อกัน แต่เป็นการส่งคืนพระคริสต์ที่พี่น้องมุสลิมยังไม่ได้พบให้แก่พวกเขา การกอบกู้เป็นเรื่องของฝ่ายวิญญาณ ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่เพื่อให้มีคริสเตียนมากขึ้น แต่เพื่อให้พระคริสต์เป็นที่รู้จักมากขึ้น การกอบกู้ไม่ได้หมายถึงการเอาพระวิหารกลับคืนมาจากสุเหร่าแต่เป็นการส่งพระคริสต์คืนไป เพื่อฟื้นฟูสถานะของพระคริสต์เหนือสิ่งอื่นใด การเป็นพยานต้องแทรกซึมเข้าไป ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่มีความไม่ชัดเจนในเรื่องความงามของกางเขน ความงามนั้นต้องถูกเปิดเผยไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่มนุษย์ไม่ได้พบพระเจ้าในพระคริสต์ พระองค์จะต้องถูกส่งคืนอีกครั้ง
ดังนั้นคริสเตียนต้องยืนหยัดที่จะเชิญชวนพี่น้องมุสลิมด้วยความตั้งใจจริงให้เกิดการสนทนาที่แท้จริงขึ้น เราต้องมีความอดทนที่ไม่มีขอบเขตและต้องไม่ยอมให้เกิดความท้อใจ และภาระทั้งหมดของการเชิญชวนของเราต้องเป็นเรื่อง พระเยซูคริสต์ เราไม่มีข่าวประเสริฐอื่นอีกแล้ว ดังที่อัครทูตเปาโลได้กล่าวว่า “เรื่องซึ่งข้าพเจ้ารับไว้นั้น ข้าพเจ้าได้ประกาศแก่ท่านทั้งหลาย เป็นเรื่องสำคัญที่สุดคือว่า พระคริสต์ได้ทรงวายพระชนม์ เพราะบาปของเราทั้งหลาย ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ และทรงถูกฝังไว้ แล้ววันที่สามพระองค์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาใหม่ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์นั้น” (1โครินธ์ 15:3-4)





บรรณานุกรรม


1. ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียร พันธรังษี. (2542). ศาสนาเปรียบเทียบ.
กรุงเทพฯ :สุขภาพใจ

2. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2521). ศาสนาอิสลาม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. อบุล อะลา เมาดูดี. อิสลามในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : อัล-ญิหาด

4. แพ็ททริก จอห์นสโตน. (2006). คริสตจักรใหญ่ยิ่งกว่าที่คุณคิด. กรุงเทพฯ : จีพี

5. www.th.wikipedia.org/wiki/

6. www.islam.in.th/

สรุปหนังสือจากเยรูซาเล็มสู่ปลายแผ่นดินโลก

สรุป
หนังสือจากเยรูซาเล็มสู่ปลายแผ่นดินโลก




หนังสือจากเยรูซาเล็มสู่ปลายแผ่นดินโลก

เป็นเรื่องราวอันน่าตื่นเต้นของการขยายแผ่นดินของพระเจ้าทั่วโลก บันทึกไว้ในรูปของชีวิตชายและหญิง ที่ได้ทำการเหล่านั้น หนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนดีอย่างยิ่ง อ่านง่าย ให้ข้อมูลน่าสนใจ ตรงไปตรงมา (แม้ว่าข้อมูลบางอย่างอาจจะล้าสมัยอยู่บ้างก็ตาม) หนังสือยังประกอบด้วยรูปภาพของบุคคล แผ่นที่ เหมาะแก่ผู้อ่านที่เป็นมิชชั่นนารี ผู้รับใช้ นักศึกษา และทุก ๆ ท่านที่มีความสนใจในงานประกาศพระกิตติคุณ ไปยังทุกมุมโลก
หนังสือจากเยรูซาเล็มสู่ปลายแผ่นดินโลกบันทึกพันธกิจของพระเจ้าผ่านทางชีวิตผู้รับใช้ทั้งชายและหญิงในช่วงเวลา ๒๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งพอจะสรุปเนื้อหาอย่างย่อ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
ผู้เขียนได้บันทึกงานพันธกิจของพระเจ้าเริ่มต้นจากคริสตจักรสมัยแรกแผ่ออกไปจากแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคือ เยรูซาเล็ม สู่สะมาเรีย ซีซารียา ดามัสกัส และอันทิโอก เป็นต้น โดยผ่านทางผู้เชื่อทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้เชื่อทั่ว ๆ ไป หรือพวกอัครสาวก เช่นโธมัสออกไปทำพันธกิจที่อินเดีย เปาโลออกไปประกาศตั้งคริสตจักรไม่ต่ำกว่า 30 กว่าแห่ง การเกิดคริสจักรมากมายหลายแห่งในสมัยแรก ก็สืบเนื่องจากการเคี่ยวเข็ญซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่สมัยของจักรพรรดิ์เนโร ประมาณปีคศ. 64 ทำให้คริสตชนในสมัยนั้นต้องย้ายหลักแหล่ง เมื่อพวกเขาไปที่ใดก็มักจะนำคนอื่นมาถึงความรอด ความซื่อสัตย์ของคริสตชนผู้ถูกประหารกลับเป็นพยานอันยิ่งใหญ่ทำให้คริสตจักรยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังเช่นการพลีชีพของโปลิคร์าปในปีคศ. 156 ในช่วงศตวรรษที่ 2 จึงมีคริสตจักรตั้งขึ้นใน
การข่มเหงที่รุนแรงที่สุดมีสองครั้ง คือในสมัยจักรพรรดิ์เดซิอัส และดิโอคลีเทียนคศ.303 ความซื่อซัตย์ของคริสตชนผู้ถูกประหารกลับเป็นพยานอันยิ่งใหญ่ทำให้คริสตจักรยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น ปีคศ. 312ในสมัยของกษัตริย์คอนสแตนตินคริสตจักรเปลี่ยนจากการถูกดูถูกข่มเหงมาสู่ความมีเกียรติ มีการสร้างโบสถ์ใหญ่โตหลายแห่ง พวกบิชอบมีอำนาจมากขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนศาตร์หรือทางการเมือง ทำให้เกิด

การแบ่งแยกในคริสตจักร แม้มีการแบ่งแยกคริสตจักรก็ยังขยายตัวเรื่อยไป ทางตะวันออกขยายไปถึงเปอร์เซีย ทางตะวันตกขยายไปถึงอังกฤษ ทางใต้ขยายไปถึงอาราเบีย ในศตวรรษที่ 4 -5 แพทริคทำการเผยแพร่ที่ไอร์แลนด์ (432)โคลัมบาไปถึงสก๊อตแลนด์ (563) ออกัสตินเดินทางจากโรมไปยังพวกแองโกลแซกสันทางทิศใต้ ในศตวรรษที่ 6 พวกเนส ทอเรียนที่คริสตจักรตะวันตกไม่ยอมรับ ได้หันงานประกาศไปทางตะวันออกจนถึงประเทศจีน ศตวรรษที่ 8 โบนิเฟสได้เดินทางจากอังกฤษไปเยอรมัน และได้ชื่อว่าเป็นอัครทูตแห่งเยอรมัน และมีการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาร์เลอมานผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรแฟร้งค์ พระองค์เป็ผู้สนับสนุนศาสนาคริสต์ทางด้านกำลังทหารมากกว่ากษัตริย์องค์อื่นๆ ทั้งยังให้เวลาและกำลังทรัพย์ในการทำพระคัมภีร์ฉบับคัดลอกและส่งออกไปยังที่ต่างๆ มากมาย ทรงเป็นผู้นำการประกาศเผยแพร่ไปถึงหลายพื้นที่ในทวีปยุโรป และเป็นผู้ทำให้มีการปฏิรูป การพัฒนาการศึกษาและกิจกรรมคริสเตียนในหลายๆ ด้านในแถบแครอลินเนียน แต่ในเวลาเดียวกันศาสนาอิสลามก็ได้แพร่ขยายจากปาเลสไตน์ แอฟริกา จนไปถึงประเทศสเปน ดังนั้นผู้นำประเทศต่างๆ เห็นว่ากำลังทหารจะเป็นทางเดียวที่จะป้องกันศาสนาของตนได้ จนนำไปสู่การทำสงครามครูเสดในที่สุด ในศตวรรษที่ 9 อันส์การ์ได้ตั้งคริสตศาสนาในสแกนดิเนเวีย ศตวรรษที่ 9 และ10 มีการเผยแพร่ข่าวประเสริฐไปในรัสเซียด้วย และสงครามครูเสดได้อุบัติขึ้นในปี คศ.1095 อันเป็นจุดที่น่าเศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์ต่อพันธกิจคริสเตียน เพราะเป็นการสู้รบเพื่อให้ได้มาซึ่งสาสนาคริสต์ แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้และต้องสูญเสียกำลังคนและกำลังทรัพย์ของคริสเตียนอย่างมากมาย ที่สำคัญไม่ได้ทำการออกไปประกาศข่าวประเสริฐเลย
ในยุคกลางการขยายตัวของคริสตศาสนามีอยู่เรื่อยไป ในศตวรรษที่ 13 เรมอน ลัลล์ ออกไปยังแอฟริกาและเอเซียเพื่อประกาศแก่พวกมุสลิมจนถูกฆ่าตาย เช่นเดี่ยวกันที่ จอห์นเดอมองเต คอวิโน เดินทางไปประกาศถึงปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีประกาศต่างๆเกิดขึ้น เช่นคณะฟรานซีกัน ก่อตั้งโดยนักบุณฟรานซิสแห่งอัสซิซิ (1209 ) คณะโดมินิกัน ก่อตั้งโดยนักบุณโดมินิค (1216 ) การอุทิศตัวของพวกเขาต่อความยากจน การโยกย้ายและการเทศนา ก่อให้เกิดกองทัพแห่งมิชชั่นารีและโครงสร้างงานมิชชั่นที่มีอิสรภาพในการปกครองตนเอง ซึ่งเพียงพอต่อการริเริ่มพัฒนาการประกาศอย่างกล้าหาญแก่ประชากรที่ไม่ได้เป็นคริสเตียน ถัดมาคือคณะเยซูอิท โดย อิคนาทิอุส ลาโทยา (1534 )
ในปี 1492 โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา และมีการค้นพบเส้นทางทะเลไปทวีปเอเซียโดยอ้อมทวีปอัฟริกาของชาวโปรตุเกส เปิดทางให้มีการเผยแพร่ไปทางอัฟริกา เอเซียและอเมริกา มิชชั่นนารีส่วนใหญ่ที่ออกไปประกาศเป็นคนสเปนและโปรตุเกสที่อุทิศตัวเพื่อเผยแพร่ความเชื่อคาทอลิกภายใต้คณะเยซูอิท ในศตวรรษที่ 16 ฟรานซิส ซาเวีย เดินทางไปประกาศที่อินเดียและญี่ปุ่น ศตวรรษนี้ได้เกิดการปฏิรูปของมาร์ตินลูเธอร์ ซึ่งได้นำชีวิตใหม่มาให้กับศาสนาคริต์ ขณะที่ฝ่ายโปรเตสแตนท์กำลังยุ่งกับการเผยแพร่ความเชื่อของตนในยุโรปเท่านั้น พวกโรมันคาทอลิกกลับมีการประกาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มัทธิว ริชชี พยายามชักชวนชาวจีนให้เป็นคริสเตียน และ เดอ โนบิลิ มาถึงอินเดีย คณะโดมินิกันไปถึงเฮติ
คริสตจักรโปรเตสแตนท์เริ่มมีการออกไปเป็นมิชชั่นนารีในศตวรรษที่ 18 มีการก่อตั้งองค์การมิชชั่นเดน-ฮัลเล (1705) ซินเซนดอร์ฟก่อตั้งองค์การเฮอร์นฮูท (1722) เอเกเดมาไปประกาศที่กรีนแลนด์ เดวิด
เบรนเนิร์ดไปเผยแพร่กับพวกอเมริกันอินเดียน กลุ่มโมราเวียนส่งมิชชั่นนารีไปหมู่เกาะเวอร์จิน จอร์จ ชมิดท์ไปที่อัฟริกาใต้ ในปี 1793 วิลเลี่ยม แครีย์ เริ่มเผยแพร่ที่อินเดีย ต่อจากนั้นในศตวรรษที่ 19 การตื่นตัวและตอบสนองการทรงเรียกที่จะออกไปเผยแพร่ทั่วโลก มีคณะต่างๆ เกิดขึ้น พร้อมที่จะส่งมิชชั่นนารีไปทั่วโลก เช่น โรเบิร์ต มอริสัน อัดสัน เทย์เลอร์ไปประกาศที่ประเทศจีน ฮัดสันได้ก่อกำเนิดงานมิชชั่นแบบใหม่ที่มีชื่อว่า China Inland Mission ปัจจุบันเรียกว่า Oversea Missionary Fellowship อโดนิแรม จัดสัน ไปเผยแพร่ที่ประเทศพม่า เดวิด ลิฟวิงสโตน บุกเบิกงานเผยแพร่ในอัฟริกา เจมส์ ชาล์เมอรส์ เดินทางไปประกาศในหมู่เกาะแปซิฟิก
จากที่กล่าวมาแล้วนั้นเราจะเห็นว่า แทบจะทุกประเทศในโลกมีงานบุกเบิกเข้าไปถึงแล้ว หรือมิฉะนั้นก็เป็นเป้าหมายต่อไป ผู้เขียนได้บันทึกถึงการประกาศพระกิตติคุณอันครบบริบูรณ์ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงงานด้านสังคม การศึกษา การแพทย์ในหัวข้อการทรงเรียกเพื่องานเฉพาะด้าน
พันธกิจด้านสื่อเสียง
หลังจากการกระจายเสียงเพื่อการค้าเริ่มแพร่หลายกว้างขวางในช่วงปี 1920-1929 ได้ไม่นานนัก คริสเตียนที่มีสายตากว้างไกลก็ฉวยโอกาสใช้สื่อรูปแบบใหม่นี้ในการแพร่พระกิตติคุณ เช่น แคลเรนซ์ ดับเบิลยู. โจนส์ และสถานีวิทยุเอชซีเจบี (Heralding Christ Jesus’ Blessings-การประกาศพระพรของพระเยซูคริสต์) ในเอกวาดอร์ ปี 1931 รายการวิทยุมิชชั่นรายการแรกของโลก ซึ่งในเวลาต่อมาไม่ว่าจะเป็นนิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมัน และรัสเซีย เป็นต้น ก็สามารถรับฟังพระกิตติคุณจากสถานีวิทยุนี้ด้วย จอย ริคเดอร์ฮอฟ กับงานบันทึกเสียงข่าวประเสริฐ พันธกิจที่เธอได้ก่อตั้งขึ้น ช่างเป็นนวัตกรรมที่ชาญฉลาดในการประดิษฐ์เครื่องมือ เพื่อบันทึกข่าวสารแห่งพระกิตติคุณลงในเครื่องบันทึกเสียง ต่อมาลงบนแถบบันทึกเสียงและแผ่นซีดีในภาษาซึ่งยังไม่มีแม้แต่ผู้เชื่อหรือมิชชั่นนารีด้วยซ้ำ สื่อนี้ยังสามารถผลิตข่าวสารแห่งพระกิตติคุณเป็นภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นได้มากมายมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว โดยใช้กับเครื่องมือที่เล่นย้อนกลับไปกลับมาได้ ปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออกหรือเขียนไม่ได้ การไม่มีผู้เชื่อท้องถิ่น หรือการขาดแคลนมิชชั่นนารีที่พูดภาษาของพวกเขาได้ ไม่สามารถขัดขวางการประกาศพระกิตติคุณอีกต่อไป

พันธกิจด้านภาษาศาสตร์และการแปลพระคัมภีร์
ตั้งแต่เริ่มแรกที่พระกิตติคุณแพร่เข้าไปในดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียนและไกลกว่านั้นอีก ก็มีผู้แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาซีรีแอค จอร์เจียน คอปติค โดธิค สลาวิค และลาติน และเมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 15 พระคัมภีร์ได้รับการแปลเป็นกว่า สามสิบภาษา ต่อมาถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการแปลเพิ่มอีกเกือบ500 ภาษา ใน

สมัยก่อนนักวิชาการผู้พิถีพิถันซึ่งอาศัยอยู่ในอารามหรือตามห้องสมุด จะเป็นผู้แปลพระคัมภีร์ แต่ต่อมามิชชั่นนารีซึ่งขาดการฝึกฝนกลับเป็นผู้แปลพระคัมภีร์แทน นอกจากนั้นยังมีนักศึกษา S I L (Summer Institute of Linguistics- สถาบันภาษาศาสตร์ซัมเมอร์)จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และผู้ช่วยแปลพระคัมภีร์ที่มาจากเผ่าต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเรียนแค่ชั้นประถม ก็กลายเป็นนักแปลที่น่าเชื่อถือในการแปล ปัจจุบันนี้มีภาษาที่ใช้กันมากกว่า 5,000 ภาษา แต่พระคัมภีร์ใหม่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เพียง 1 ใน 3 ของภาษาในโลก ทุกวันนี้มีเหลืออยู่องค์การเดียวที่กำลังแปลพระคัมภีร์มากกว่า 700 ภาษา
พันธกิจด้านการรักษาพยาบาล “ทูตแห่งความเมตตา”
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของงานพันธกิจจนถึงสมัยปัจจุบัน งานด้านการรักษาพยาบาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศพระกิตติคุณทั่วโลก แต่ไม่ได้กลายเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวจนกระทั่งย่างเข้าปลายศตวรรษที่19 และต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์หลายคนได้ทิ้งงานที่ให้ผลประโยชน์สูงและสถานที่ที่ทันสมัยในประเทศของตน เพื่อไปตรากตรำทำงานที่หนักในสถานที่ไร้ซึ่งความสะดวกสบายและความเจริญ พวกเขาอุทิศชีวิตเพื่อยกมาตรฐานด้านสุขภาพให้สูงขึ้นทั่วโลก และการสร้างโรงพยาบาลและวิทยาลัยแพทย์จากทุนทรัพย์ที่พวกเขาเป็นคนถวายหรือเรี่ยไรมาได้ ถึงกระนั้นมิชชั่นนารีด้านการรักษาพยาบาลก็ต้องเผชิญอุปสรรคเช่นเดียวกับมิชชั่นารีอื่นๆ เพราะแนวคิดด้านการแพทย์ที่พวกเขานำไปเผยแพร่มักขัดแย้งกับขนบธรรมเนียม การถือโชคลาง และความกลัวต่างๆ ของพื้นเมืองอยู่บ่อยครั้ง
มิชชั่นนารีด้านการรักษาพยาบาลคนแรกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในยุคสมัยใหม่ได้แก่ นายแพทย์จอห์น โธมัส เขาเข้าไปในอินเดียก่อนวิลเลี่ยม แครีย์ และต่อมาได้ทำงานร่วมกัน เดวิด ลิฟวิงสโตน และฮัดสัน เทย์เลอร์ซึ่งได้รับการฝึกอบรมด้านการแพทย์ ก็ได้ใช้การรักษาพยาบาลเป็นตัวประกอบในงานมิชชั่นของเขาด้วย อัลเบิร์ท ชไวท์เซอร์ ผู้มีชื่อเสียงลือเลื่อง เขาเป็นทั้งนายแพทย์ นักดนตรี และนักวิชาการพระคัมภีร์ ผู้อุทิศตัวและเริ่มงานมิชชั่นารีด้านการรักษาพยาบาลในอัฟริกาตะวันตก
งานมิชชั่นโลกที่สาม
ในศตวรรษที่ 20 เริ่มมีพัฒนาการใหม่ของงานมิชชั่นคือว่า ปัจจุบันมิชชั่นนารีไม่ได้มาจากคริสตจักรตะวันตกแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่คริสเตียนจากประเทศโลกที่สาม ซึ่งได้แก่ ปรเทศในแถบเอเซีย อัฟริกา และลาตินอเมริกา กำลังแบกรับภาระงานประกาศพระกิตติคุณแก่มวลชนทั่วโลกไว้มากขึ้นทุกที รวมทั้งทำพันธกิจกับชนกลุ่มอื่นๆ ในประเทศของตนด้วย ปี 1980 ประเทศโลกที่สามกำลังส่งและสนับสนุนมิชชั่นนารีกว่าหนึ่งหมื่นคนไปทำงานข้ามวัฒนธรรม มีประมาณการว่าปี 2000 ร้อยละหกสิบของคริสเตียนในโลกจะอยู่ในประเทศโลกที่สาม
ประเภทขององค์การพันธกิจในศตวรรษที่ 20
อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องทำงานหนักเพื่อวางรากฐานสำหรับการเติบโต การดูแลก่อตั้งคริสตจักร และการฝึกฝนอบรมผู้นำท้องถิ่น หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเวลาที่มีการเน้นความสำคัญต่อคนมากกว่าประเทศตามอย่างมุมมองของนักวิชาการทั่ว ๆ ไป ต่อไปนี้จะขอสรุปถึงงานโดยเฉพาะด้านองค์กรพันธกิจบางด้านซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อในสิ่งที่กล่าวมานี้ เช่น องค์การพันธกิจด้วยความเชื่อ เป็นองค์กรที่ไม่ขึ้นกับคณะนิกายใด แต่ ทำงานเป็นอิสระ เช่น องค์กรประเภทที่ทำงานในด้าน รายการวิทยุ โทรทัศน์ บทเรียนทางไปรษณีย์ เทปพระกิตติคุณ พระคริสตธรรมเลื่อนที่ เป็นต้น องค์การเหล่านี้จะเน้นการประกาศ สร้างคริสตจักร ทำพันธกิจในดินแดนใหม่ ๆ เป็นต้น สถาบันพระคริสตธรรม งานในด้านนี้จะเน้นการศึกษาพระคัมภีร์ การประกาศ และพันธกิจ นอกจากนี้นักศึกษาจำนวนมากมายได้มีส่วนทำให้มีการตื่นตัวเรื่องการจัดส่งมิชชั่นนารีออกไปประกาศยังต่างประเทศ การเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรีมิชชั่นนารี ผู้เขียนได้เสอนให้เราเป็นถึงบทบาทของสตรีในด้านการมีการศึกษามากขึ้น


และเริ่มกระตือรือร้นมีส่วน มีอิทธิพลในสังคมบ้าง แต่บทบาทของสตรียังถูกจำกัดอยู่มากในสังคม ในขณะที่งานด้านพันธกิจนั้นสตรีกลับมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
สรุป
ตามที่ได้สรุปมาอย่างคร่าว ๆ ถึงงานด้านพันธกิจของพระเจ้า ตามที่บันทึกไว้ในหนังสือจากเยรูซาเล็มสู่ปลายแผ่นดินโลกในตอนต้นเหล่านั้น ถือได้ว่าเป็นเพียงบางประเด็นที่น่าสนใจเท่านั้น ซึ่งยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นข้อมูลที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเปิดโลกทัศน์ของตนเอง ต่อพันธกิจแห่งความรอดของพระเจ้าในท่ามกลางมนุษยชาติ ดิฉันเองได้รับประโยชน์อย่างมากมายในการอ่านและทำการสรุปหนังสือเล่มนี้ ขอยอมรับว่าเป็นหนังสือในด้านวิชาการที่อ่านง่าย นำการเปลี่ยนแปลงในความคิด ทางที่กว้างมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่สอนพวกเราในวิชาแนะนำพันธกิจโลก และแนะนำพวกเราได้อ่านหนังสือดีอย่างยิ่งเล่มนี้

คุณค่าของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

คุณค่าของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์




1. รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดก

ชาติที่เจริญแล้วย่อมมีวรรณคดีของชาติตน รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีเก่าแก่ของไทยซึ่งสูญหายกระจายไปในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ในหนังสือสมาคมวรรณคดีปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งขึ้นไว้สำหรับพระนครให้ครบตามจำนวนที่เคยมีมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้ง 4 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา และดาหลัง ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดกของชาติ และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของชาติไทย
รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดก
ของชาติ และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของไทยที่ควรอนุรักษ์
และหวงแหน



2. รามเกียรติ์เป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ ดังนี้

2.1 การแสดงโขน หนัง และหุ่น พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ว่า
โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น การแสดงโขนถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูง เป็นที่นิยมว่าถ้าได้แสดงในงานใดก็เป็นการแสดงที่ให้เกียรติ์ ในศิลปะการแสดงโขนนี้ มีทั้งศิลปะการละคร การฟ้อนรำ การดนตรี การขับร้อง การพากย์ การประดิษฐ์เครื่องแต่งตัว การประดิษฐ์หัวโขน การจัดฉาก การล้อการเมือง

การแสดงหนังสดหรือโขนสด เป็นศิลปะที่ชาวบ้านเคยชื่นชอบ แต่ปัจจุบันต้องหลีกทางให้แก่ภาพยนตร์

การแสดงหนัง ซึ่งได้แก่หนังใหญ่และหนังตะลุง ได้ก่อให้เกิดศิลปะการแกะหนังให้เป็นตัวละคร ฉลุลวดลายวิจิตรบรรจง เพื่อให้เกิดความงดงามและสื่อลักษณะของตัวละคร หนังกลางคืนจะใช้สีดำเพื่อให้เงาคมชัด ส่วนหนังกลางวันจะมีการระบายสีอย่างงดงามเป็นสีเขียว สีแดงและสีเหลือง

การแสดงหุ่นเรื่องรามเกียรติ์ ก่อให้เกิดศิลปะการสร้างและเชิดหุ่น หุ่นที่ใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ เดิมมี 2 ชนิด คือหุ่นหลวงและหุ่นเล็ก โดยหุ่นหลวงจะใช้เล่นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำขึ้นตามแบบคนจริง แต่งตัวเหมือนเครื่องโขนทุกอย่าง หัวโขนก็ถอดได้ ส่วนหุ่นเล็กมีขนาดเล็กลง เป็นหุ่นเต็มตัว ต่อมามีการทำหุ่นกระบอกใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นหุ่นเป็นชนิดมีแต่หัวกับมือและเสื้อ นอกจากนั้นยังมีหุ่นแบบละครเล็กอีกด้วย ทั้งตัวหุ่นชนิดต่างๆ และการเชิดหุ่นล้วนเป็นศิลปะที่ให้ความสุนทรีย์และต้องการความเชี่ยวชาญอย่างมาก

2.2 จิตรกรรม ความประทับใจในเรื่องรามเกียรติ์ก่อให้เกิดจิตรกรรม เพื่อแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรามเกียรติ์ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่ระเบียงรอบโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) นั้นได้เล่าเรื่องราวรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ในภาพมีทั้งจินตนาการและภาพขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ภาพปราสาทราชวังซึ่งอยู่ในเรื่องและภาพชีวิตชาวไทยสมัยก่อนแฝงอยู่


2.3 ประติมากรรม ภาพสลักนูนแสดงตัวละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ที่วัดพระเชตุพน จัดเป็นประติมากรรมประเภทไม่ลอยตัวที่งดงามด้วยคุณค่าทางศิลปะ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมลอยตัวรูปตัวละครยักษ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดอรุณราชวรารามและตุ๊กตาหินรูปหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

2.4 ศิลปกรรม มีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นศิลปกรรมประดับอาคารต่างๆ เช่น ในวัดพระเชตุพนฯ ลวดลายแถวไม้ปิดทองที่หน้าบรรณของวิหารทิศ และบานประตูลายมุกของพระอุโบสถ ล้วนประดิษฐ์ตามเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น

2.5 วรรณกรรม เรื่องรามเกียรติ์เป็นแบบฉบับทางวรรณคดี เป็นแรงบันดาลใจแก่กวีและมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมในสมัยต่อมา ความประทับใจในรามเกียรติ์ได้ก่อให้เกิดวรรณกรรมรามเกียรติ์มากกว่าสิบฉบับในประเทศไทย
นอกจากนี้เรื่องรามเกียรติ์ยังก่อให้เกิดนิยายพื้นบ้านมากมาย เช่น เรื่องท้าวกกกะหนากที่จังหวัดลพบุรี เรื่องเขาสรรพยาที่จังหวัดชัยนาท เรื่องตำนานเขาช่องกระจกที่ลพบุรี และตำนานเขาขาดที่จังหวัดสระบุรี เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นที่มาของศิลปะและเป็นศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ















ตัวละครฝ่ายมนุษย์ พระราม • พระลักษมณ์ • พระพรต • พระสัตรุด • นางสีดา • พระมงกุฎ พระลบ • ท้าวอโนมาตัน
ตัวละครฝ่ายยักษ์ ทศกัณฐ์ • กุมภกรรณ • ไมยราพณ์ • อินทรชิต • สหัสเดชะ • ท้าวลัสเตียน • มังกรกัณฐ์ • พิเภก • รามสูร • นางสำมะนักขา • นางเบญกาย • นางมณโฑ
ตัวละครฝ่ายลิง พาลี • สุครีพ • หนุมาน • องคต • ชมพูพาน • นิลนนท์ • นิลพัท