Tuesday, November 3, 2020

แดนคนตาย , แดนมรณา - SHEOL, HADES

 

แดนคนตาย , แดนมรณา  

SHEOL, HADES

          คนในสมัยพระคัมภีร์เดิมไม่ได้คิดถึงชีวิตหลังความตายว่าจะได้ขึ้นสวรรค์หรือตกนรก  แต่เขาใช้คำว่าแดนมรณาหรือแดนคนตายในความหมายทั่วไป  ทุกคนตายและลงไปสู่แดนมรณา  ไม่ว่าเขารวยหรือยากจน  ดีหรือชั่ว (โยบ 3:13-19; สดด. 88:1-5; อสย. 38:18; อสค. 31:17; 32:18-32; ลก. 16:19-31)  คำว่าแดนมรณาจึงกลายเป็นคำที่ใช้แทนคำว่าความตาย (ปฐก. 42:38;; สดด. 18:5; 86:13; 88:3; 116:3; มธ. 16:18)  การที่ผู้เขียนพระคัมภีร์เดิมกล่าวถึงแดนมรณาบ่อยครั้งดังกล่าวนี้แสดงว่า  เขารู้ว่ามีชีวิตหลังความตายทั้ง ๆ ที่เขาอาจเข้าใจเรื่องชีวิตนั้นไม่ละเอียดเท่าไร

The Silent Sabbath: the day Jesus descended into Sheol in 2020 | Mythology,  Greek underworld, Greek and roman mythology

          ความตายเป็นศัตรูต่อมนุษย์ (สดด. 6:5; 56:13; ปญจ. 8:8; รม. 6:23; 1คร. 15:26; วว. 6:8)  มนุษย์จึงย่อมไม่อยากตาย  โดยเฉพาะคนสมัยพระคัมภีร์เดิมที่เห็นชีวิตหลังจากความตายอย่างสลัว ๆ (โยบ 10:21-22; 17:13-16; สดด. 94:17; 115:17; อสย. 14:9-11; อสค. 26:20)  ผู้เชื่อสมัยพระคัมภีร์เดิมมีความหวังว่า  เมื่อเขาตายแล้วพระเจ้าจะไม่ทิ้งเขาไว้ในแดนมรณา  แต่จะนำเขาไปสู่ชีวิตชื่นชมยินดีในที่ประทับของพระเจ้า (โยบ 19:26; สดด. 16:10-11; 49:15; 73:24; กจ. 2:27, 31)  ส่วนคนผิดบาปที่ไม่ยอมกลับใจใหม่  จะไม่มีความหวังในแดนมรณา  มีแต่จะได้รับความทุกข์ทรมาน (ฉธบ. 32:22; โยบ 31:11-12; สดด. 55:15; อสย. 14:19-20; อสค. 32:18-32

Sheol - Wikipedia

          ต่อมาคนได้เข้าใจเรื่องชีวิตหลังความตายมากขึ้น  ยิ่งใกล้สมัยพระเยซูก็ยิ่งชัดเจนขึ้นผู้เชื่อเห็นว่าหลังจากความตายจะมีการเป็นขึ้นมาจากความตาย (ดนล. 12:1-2)  ฉะนั้นความกลัวซึ่งเขามีต่อแดนมรณาจึงลดน้อยลงไป  เรื่อย ๆ พอพระเยซูเสด็จมาบังเกิด  และได้ทรงสิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์  ผู้เชื่อจึงแน่ใจในชัยชนะซึ่งเขาจะมีต่อความตาย  เขาไม่กลัวแดนมรณาอีกต่อไป  เพราะพระเยซูทรงชนะแดนมรณา  และประมานชีวิตนิรันดร์ ให้ทุกคนที่เชื่อ (มธ. 16:18; 2ทธ. 1:10; ฮบ. 2:14-15; วว. 1:18)

          ในเมื่อผู้เชื่อมีส่วนในชัยชนะของพระคริสต์  ผู้ที่ไม่เชื่อจึงยังอยู่ภายใต้อำนาจของความตาย  เวลาที่คนสมัยพระคัมภีร์ใหม่พูดถึงแดนมรณา  เขาจึงมักจะพูดในทำนองว่าเป็นที่อาศัยของคนผิดบาป (มธ. 11:23; 1ปต. 3:19-20; วว. 20:13)  ส่วนคนที่กลับใจเชื่อไม่มองเห็นชีวิตหลังความตายว่าจะอยู่ในแดนมรณา  แต่มองเห็นว่าจะอยู่กับพระคริสต์ในเมืองสวรรค์  ซึ่งมีแต่ความสุขตลอดไปเป็นนิตย์ (ลก. 23:42; 2คร. 5:8; ฟป. 1;23)  ดู  ชีวิตนิรันดร์  เมืองบรมสุขเกษม  สวรรค์

ปฎิทินของชาวยิว

 

ปฎิทินของชาวยิว JEWISH CALENDAR

                                        ถึงแม้ว่าชาวยิวถือปฎิทินอย่างหนึ่งซึ่งมีสิบสองเดือนต่อหนึ่งปี (1 พกษ. 4:7)  เดือนที่พวกเขาใช้นั้นก็ไม่ตรงกับเดือนต่าง ๆ ตามปฏิทินสากลที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้   ต้นปีของพวกเขาเริ่มตั้งแต่ข้างขึ้นกลางฤดูใบไม้ผลิ  คือเริ่มต้นตั้งแต่ในระหว่างกลางเดือนมีนาคม

เลขเดือน

ชื่อเดือน

ชื่อเดือนในปัจจุบัน

1

อพย.12:2

อาบีบหรือนิสาน

อพย.23:15; นหม.2:1

มีนาคม-เมษายน

2

ปฐก. 7:11

ศีฟ

1 พกษ. 6:1

เมษายน-พฤษภาคม

3

อพย. 19:1

สิวาน

อสธ. 8:9

พฤษภาคม-มิถุนายน

4

2 พศด. 25:3

ทัมมุส

 

มิถุนายน-กรกฎาคม

5

กดว. 33:28

อับ

 

กรกฎาคม-สิงหาคม

6

1 พศด. 27:9

เอลูล

นหม.6:15

สิงหาคม-กันยายน

7

ปฐก. 8:4

เอธานิม

1 พกษ. 8:2

กันยายน-ตุลาคม

8.

ศคย. 1:1

บูล

1 พกษ. 6:38

ตุลาคม-พฤศจิกายน

9

อสร. 10:9

คิสลิฟ

นหม. 1:1

พฤศจิกายน- ธันวาคม

10

ปฐก. 8:5

เทเบธ

อสร.2;16

ธันวาคม-มกราคม

11

ฉธบ. 1:3

เชเบธ

ศคย. 1:7

มกราคม-กุมภาพันธ์

12

อสธ. 3:7

อาดาร์

อสร. 6:15

กุมภาพันธ์-มีนาคม

 

ตามปฎิทินที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันเป็นต้นไป  ชื่อเดือนต่าง ๆ ซึ่งพวกยิวเรียกกันเมื่อสมัยก่อนโน้นได้เปลี่ยนแปลงในสมัยต่อมา  ในตารางข้างบนเป็นชื่อเดือนทั้งเก่าและใหม่ที่กล่าวไว้   ในพระคัมภีร์  ชาวยิวเรียกชื่อเดือนเป็นตัวเลขมากกว่าเรียกชื่อของเดือน  เช่นเรียกว่าเดือนหนึ่ง เดือนสอง เดือนสาม ฯลฯ 

Some Features of the Jewish Calendar – Lithuanian Jewish Community

          ปฎิทินนี้ใช้เพื่อพิธีเฉลิมฉลองทางศาสนา  ส่วนมากเขาจัดพิธีตามเวลาข้างขึ้นหรือข้างแรม (ลนต. 23:6, 24, 39; กดว. 28:11)  ดูเหมือนว่ามีปฎิทินของทางราชการอยู่ต่างหาก  ซึ่งแตกต่างกับปฎิทินทางศาสนาหกเดือน  ดังนั้นวันที่หนึ่งของเดือนที่เจ็ดตามปฎิทินทางศาสนา  เป็นวันปีใหม่ตามปฎิทินของทางราชการ  และเดือนที่หนึ่งของปฎิทินของทางศาสนาเป็นเดือนที่เจ็ดของปฎิทินของทางราชการ  ถึงอย่างไรก็ตามภาษาพูดประจำวันตามปกติประชาชนในสมัยนั้นเรียกตามฤดูเทศกาลเฉลิมฉลองมากกว่าเรียกตามชื่อเดือน (ยน. 2:13; 5:1; 6:4; 7:2; กจ. 2:1; 12:3; 20:6; 16)  ดูเทศกาล