ศูนย์รับเลี้ยงเด็กทีปังกรรัศมีโชติ
ความเป็นมา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ
ทรงพระราชทานศูนย์รับเลี้ยงเด็กทีปังกรรัศมีโชติ เมื่อวันคล้ายวันประสูติฯ ครบ 1 ชันษา วันที่ 29 เมษายน 2549 เพื่อทรงพระราชทานให้เป็นสวัสดิการสำหรับข้าราชบริพารในพระองค์ฯ
และครอบครัวที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานมาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ภาระในการดูแลเด็กเล็กและเยาวชนลดลงต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์
พระวรชายาฯ มีพระดำริให้ปรับโอนงานศูนย์พัฒนาเด็กทีปังกรรัศมีโชติ
ให้สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์
เข้ามาบริหารจัดการงานอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3 เดือน - 3 ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 จนถึงปัจจุบัน
ปรัชญา
(Philosophy)
“เติบโตสมวัย
ด้วยสายใยรัก ภายใต้วิถีไทย”
วิสัยทัศน์
(Vision)
“วางรากฐานคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย
ภายใต้วัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นสากล”
พันธกิจ(Mission)
ให้การอบรมเลี้ยงดูและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง
4 ด้าน และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความรักศรัทธาในชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการคิดและส่งเสริมการรักการอ่านส่งเสริมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กทีปังกรรัศมีโชติเป็นต้นแบบของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
2) เพื่ออบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน
3) เพื่ออบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัยภายใต้วิถีชีวิตความเป็นไทย
4) เพื่อสร้างสายใยรักระหว่างครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
5) เพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชบริพารในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
เป้าหมาย
1) เด็กทุกคนมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่
ด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคมและสติปัญญา เหมาะสมกับวัย
2) เด็กทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรม
ความเป็นไทยและค่านิยมที่พึงประสงค์ สามารถปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทย
3) เด็กทุกคนมีความรักในสถาบัน ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์
4) เด็กทุกคนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการคิด การแก้ไขปัญหา และมีนิสัยรักการอ่าน
5) เด็กทุกคนมีสุขนิสัยที่ดี
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
6) ครูทุกคนมีความรู้
ความสามารถในการใช้เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
7)โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมอาคารเรียน สื่อ และ
เทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ตารางกิจกรรมประจำวัน
08.00 – 08.30 น. รับเด็ก(โดยครูเวร, ครูพี่เลี้ยง)
08.30 – 08.45 น. เคารพธงชาติ สวดมนต์ (Home
Room)
08.45 – 09.00 น. ตรวจสุขภาพ, ไปห้องน้ำ
09.00 – 09.20 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
09.20 – 10.20 น. กิจกรรมสร้างสรรค์
และการเล่นตามมุม
10.20 – 10.30 น. พัก (ของว่างเช้า)
10.30 – 10.45 น. กิจกรรมวงกลม
(กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
10.45 – 11.30 น. กิจกรรมกลางแจ้ง
11.30 – 12.00 น. พัก
(รับประทานอาหารกลางวัน)
12.00 – 14.00 น. นอนพักผ่อน
14.00 – 14.20 น. เก็บที่นอน ล้างหน้า
14.20 – 14.30 น. พัก (ของว่างบ่าย)
14.30 – 14.50 น. เกมส์การศึกษา
14.50 – 15.00 น. เตรียมตัวกลับบ้าน
(โดยครูเวร, ครูพี่เลี้ยง)
การบริหารงานจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
1.
มีการตรวจสุขภาพเด็กทุกเช้าหลังจากที่ผู้ปกครองมาส่งโดยมีพยาบาลจากโรงพยาบาลวชิระ
2. อาหารที่จัดให้เด็กครบ 5 หมู่ โดยสังเกตดูจากเมนูอาหาร
ทางศูนย์มีการสอบถามผู้ปกครองตั้งแต่วันแรกที่ผู้ปกครองนำเด็กมาส่งว่าเด็กแพ้อาหารประเภทใด
เพื่อจัดอาหารให้แก่เด็กได้ถูกต้อง
3. อาหารว่างจัดนมให้กับเด็ก
โดยมื้อว่างเช้าและมื้อว่างบ่ายหลังพักผ่อนช่วงบ่าย จะให้เด็กดื่มนม
4. ช่วงเช้าจัดกิจกรรมออกกำลังกายก่อนเข้าเรียนทุกวัน
ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1.
ทางสถานเลี้ยงดูเด็กจะประเมินพัฒนาการของเด็ก โดยแบ่งเด็กออกเป็น 3 ห้อง ประกอบด้วย ห้องเด็กอ่อน
ห้องเด็กก่อนวัยเรียน ห้องเด็กวัยเรียน ซึ่งครูในแต่ละห้องจะสอดส่องดูแล
และประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
2.
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยมีการเล่านิทานและจัดของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
อีกทั้งยังมีห้องสมุดสำหรับให้ผู้ปกครองสามารถยืมหนังสือนิทานกลับไปอ่านให้บุตรหลาน
โดย จะยืมได้ 2 เล่มและคืนภายใน 7 วัน
3.
ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยโดยจัดสอนดนตรีไทยให้กับเด็ก
4. จัดกิจกรรมการสอนการบ้านแก่เด็กๆในตอนเย็นวันพฤหัส
5.
ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร แปรงฟัน
เข้าห้องน้ำ เป็นต้น
ด้านบริการอาหารปลอดภัย
1. ห้องครัวและห้องรับประทานอาหารสะอาด
และปลอดภัย
2. น้ำดื่มที่จัดให้กับเด็กสะอาด
ภาชนะบรรจุน้ำสะอาด ปลอดภัย และมีน้ำดื่มน้ำใช้เพียงพอ
3. ภาชนะท่ใส่อาหาร
และอุปกรณ์รับประทานอาหารสะอาด ปลอดภัย เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัย
4. วัตถุดิบที่ใช้นำมาประกอบอาหารส่งมาจากห้องเครื่องภายในวังสุโขทัย
ซึ่งได้รับการตรวจโดยละเอียด
5. ผู้ประกอบอาหารได้รับการอบรมและมีประสบการณ์ทางด้านโภชนาการ
แต่งกายสะอาด
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. บริเวณสถานเลี้ยงดูเด็ก มีความสะอาด
ปลอดภัย ไม่มีน้ำขัง แยกขยะออกเป็นประเภทและมีฝาปิดมิดชิด มีรั่วกั้น สถานที่โลง
แสงสว่างเพียงพอ และไม่เหม็นอับ
2. อุปกรณ์ทำกิจกรรมและของใช้สำหรับเด็ก
สะอาด ปลอดภัย จัดเก็บเป็นระเบียบ แยกของที่ใช้แล้วไว้เป็นสัดส่วน
3. อาคารสถานที่มีความมั่นคง แข็งแรง
4. ห้องสมุดถูกจัดให้เป็นสัดส่วนเพื่อให้บริการแก่ผู้ปกครอง
ด้านบุคลากร
1. ครูทุกคนมีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. มีอัตราส่วนการดูแลที่เหมาะสม โดย พี่เลี้ยง 1 คนจะดูแลเด็ก 4 คน
3. จัดอบรมครูและพี่เลี้ยงเด็ก 2
ครั้งต่อปี และจัดอบรมร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์
4. ครูและพี่เลี้ยงมีสุขภาพกายและจิตดี ไม่เป็นโรค มีความรักต่อเด็ก
ไม่มีประวัติเสียหาย
ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
1. จัดปฐมนิเทศผู้ปกครองก่อนรับเด็กเข้าเรียน
2. มีการประชุมผู้ปกครอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
สิ่งที่ได้รับ
พวกเรามีความประทับใจที่ได้เข้าไปศึกษาดูงานในศูนย์พัฒนาเด็กทีปังกรณ์รัศมีโชติ
ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์จากการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้
-ทำให้ได้รู้จักการวางแผนร่วมกัน
ก่อนการทำงาน
-
ทำให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
สร้างความสามัคคี
-
การร่วมกันแสดงความคิดเห็น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- กล้าคิด และแสดงออกร่วมกัน
-
รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
-
ทำให้รู้จักการแบ่งเวลาได้อย่างเหมาะสม และทำงานเสร็จตรงตามเวลา
-
สามารถแก้ปัญหาได้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น
-
มีความสุขกับการศึกษาดูงานในครั้งนี้
-
ทำให้เราได้รู้ถึงโครงสร้างของสถานรับเลี้ยงเด็กว่าเป็นอย่างไร