Thursday, March 19, 2020

ผลดีจากการที่ชาวยิวตกไปเป็นเชลยที่บาบิโลน


70 ปีในบาบิโลนนำการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมาสู่คนของพระเจ้า
ในช่วงเวลา 70 ปีที่ชาวยิวอยู่ในบาบิโลน พวกเขาได้เรียนรู้บทเรียนที่สำคัญ พวกเขาดู
หมดหวังเพราะสูญเสียพระวิหารและประเทศของพวกเขา แต่พวกเขาไม่สิ้นหวังเพราะพระเจ้า
ทรงสถิตกับพวกเขาและพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจด้วยวิธีที่เหลือเชื่อ พระเจ้าทรงรักประชาชนของพระองค์และทรงวางแผนอย่างดีที่จะรักษาพระสัญญาของพระองค์ที่เคยให้กับอับราฮัมบิดาของชนชาติยิว ในระหว่างที่เป็นเชลยพวกเขาได้รับการรักษาให้หายจากหลายอย่าง และพวกเขาจึงอุทิศตนใหม่อีกครั้งเพื่อพระเจ้า
การเปลี่ยนแปลงที่พบ คือ
1.  หายขาดจากรูปเคารพ
ชาวยิวถูกรักษาให้หายขาดจากการบูชารูปเคารพ แม้ว่าพวกเขาจะทำผิดบาปและผิดพลาด
อีกครั้งในภายหลังแต่พวกเขาไม่กลับไปบูชารูปเคารพเหมือนเมื่อก่อน เพราะการตกไปเป็นเชลยในบาบิโลนสอนให้พวกเขาเกลียดชังบูชารูปเคารพ    
2.  พวกธรรมาจารย์หรือรับบี
เนื่องจากพวกเขาต้องอยู่ห่างจากเยรูซาเล็มและพระวิหาร จึงทำให้เกิดกลุ่มใหม่ขึ้นมา
นั่นคือพวกธรรมาจารย์ ในช่วงแรกพวกเขาทำงานกับพวกยิวที่ไปอยู่ต่างแดน พวกธรรมาจารย์นั้นทำงานดีมาก โดยเฉพาะในการสั่งสอนประชาชนและการสอนพระคำของพระเจ้ามิให้สูญหายไป




พวกธรรมาจารย์เขียนงานประพันธ์ขึ้นได้แก่
-         มิชน่า (Mishnah) ซึ่งเป็นกฎของพระเจ้าที่ถูกถ่ายทอดทางวาจาซึ่งมิได้ถูกบันทึกไว้ใน
พระคัมภีร์ และมีการปรับปรุงแก้ไขโดยธรรมาจารย์ มาจนถึงราว ศตวรรษที่ 2
-         กามารา (Gemarah) เป็นคำอธิบายกฏบัญญัติต่าง ๆ ที่บันทึกในมิชน่า โดยธรรมาจารย์ที่อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 3 ต่อเนื่องจนถึงศตวรรษที่ 5
-         ภายหลังทั้งสองเล่มนี้ถูกนำมารวมกันเข้าด้วยกันเป็น Talmud (The Babylonian Talmud)
ซึ่งบันทึกในราวปลายศตวรรษที่ 5 หลังคริสตกาล และบันทึกเป็นภาษาอาราเมคตะวันออก ฉบับนี้มีความยาวกว่าฉบับที่รวบรวมที่เยรูซาเล็ม (The Palestinian Talmud) ถึง 3 เท่า
ทัลมุด มีความสำคัญ คือ เป็นมาตรฐานของคำสอนอันถูกต้องในลัทธิยูดา เป็นกฎเกณฑ์แห่งความเชื่อและระเบียบพิธีทางศาสนาที่ชาวยิวจะต้องปฏิบัติตาม ชาวยิวในปัจจุบันให้ความสำคัญกับทัลมุดมากกว่าพระคัมภีร์ที่มีอยู่เสียอีก
ในช่วงเวลานั้นยังมีงานเขียนซึ่งไม่เกี่ยวกับศาสนาที่สำคัญอีกมากมาย
3.  ธรรมศาลา
ในช่วงต่อระหว่างพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ( The Intertestamental period)
ชาวยิวที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรบาบิโลนต้องการจะมีสถานที่ที่จะนมัสการพระเจ้าและศึกษาพระบัญญัติ จึงได้ตั้งธรรมศาลาขึ้นในดินแดนที่ตกเป็นเชลยโดยการสนับสนุนของ
เอเสเคียลผู้เผยพระวัจนะ ( อสค.8.1 ,20.1-3) ชาวยิวจะพบกันในธรรมศาลาเพื่อศึกษาพระคัมภีร์และนมัสการพระเจ้าทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความเชื่อของพวกยิวไม่ให้หลงไปกับความเชื่อของ
พวกต่างชาติ
ต่อมาเมื่อพวกยิวกลับสู่ปาเลสไตน์อีกครั้งหนึ่งก็ยังคงใช้ธรรมศาลา เป็นที่พบปะและ
ประชุมกัน
           
 ชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆจะจัดตั้งธรรมศาลาขึ้น โดยพื้นที่ใดที่มีชาวยิว
ที่เคร่งครัดเพียง 10 คนก็สามารถตั้งธรรมศาาขึ้นได้  ตามเมืองต่าง ๆที่มีชาวยิวอยู่จึงมักจะมี
ธรรมศาลาด้วย ดังนั้นในสมัยของพระเยซูคริสต์ธรรมศาลาจึงมีอยู่มากมายทั่วไป  ทั้งนอกและ
ในดินแดนปาเลสไตน์ ธรรมศาลากลายเป็นต้นแบบคริสตจักรที่แพร่ออกไปอย่างรวดเร็วใน
ยุคต่อ ๆมา
ความสำคัญของธรรมศาลา
-          เป็นที่ประชุมนมัสการ  และทำพิธีทางศาสนา  โดยมีธรรมาจารย์ทำหน้าที่แทนปุโรหิต
-          เป็นที่ศึกษาพระบัญญัติ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ
-          เป็นที่อบรมสั่งสอนความเชื่อในลัทธิยูดาแก่เด็กผู้ชาย ตั้งแต่อายุ 12 ปี ( เด็กผู้หญิงได้รับ
การสอนจากที่บ้าน )
-          เป็นศูนย์กลางการบริหารงานด้านสังคมชาวยิวในระหว่างสัปดาห์ เช่น การพิจารณาความ  เป็นแหล่งพบปะทางการเมืองตลอดจนกระทำพิธีศพด้วย
4.  การสอนพระคัมภีร์
ชาวยิวสนใจพระคัมภีร์ พวกเขารวบรวมพระคัมภีร์และศึกษาอย่างถี่ถ้วน พวกเขาตระหนักถึงเหตุผลของการเป็นเชลยและสอนเรื่องนี้แก่ลูกหลานของพวกเขา
 หลังจากที่พวกเขากลับมายังกรุงเยรูซาเล็ม ก่อนที่จะถวายกำแพงเมือง เอสราผู้เป็นอาลักษณ์ช่วยเนหะมีย์อ่านและอธิบายธรรมบัญญัติของพระเจ้าให้ประชาชนเข้าใจ และเนหะมีย์กับ
บรรดาผู้นำได้ลงชื่อประทับตราไว้ในบันทึก ทุกคนปฏิญาณอย่างขึงขังว่า พวกเขาจะเชื่อฟัง
พระบัญชาของพระเจ้าและทำตามธรรมบัญญัติทั้งหมด (นหม.8 :1-4,8; 9:1-3,38; 10:1-29)
นอกจากนั้นยังมีพวกธรรมมาจารย์หรือรับบีที่ทำหน้าที่สอนและอธิบายความหมายของ
พระคัมภีร์อีกด้วย

5.  สภาแซนเฮดริน
ความเป็นมาของสภาแซนเฮดริน
       ขณะที่ชาวยิวตกเป็นเชลยของบาบิโลน ระบบปุโรหิตก็หยุดชะงักลง ชาวยิวโดยส่วนใหญ่เกรงว่า วัฒนธรรมและศาสนาของตนจะถูกกลืนหายไปกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อจะปกป้องศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้ จึงมีการตั้งสภานี้ขึ้นในสมัยของเอสรา และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในสมัยของยอห์น ซีเคนัส (John Hyrcanus) ราวปี ก.ค.ศ. 135
ซึ่งเป็นช่วงที่มีรัฐอิสระยิวและกลายเป็นแบบฉบับของสภาแซนเฮดริน ในสมัยของพระเยซูคริสต์
            สภาแซนเฮดริน มีอิทธิพลมากในช่วง ก.ค.ศ. 55-63 อำนาจของสภาลดลงในช่วงที่
กษัตริย์เฮโรดปกครองแคว้นยูเดีย และเมื่อกรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายในปี ค.ศ. 70 สภาแซน-เฮดริน
จึงล่มสลายไปด้วย
สมาชิกสภาแซนเฮดริน จะทำหน้าที่ดูแลความสงบภายในหมู่ชาวยิว ทั้งด้านศาสนาและ
ด้านปกครอง
หน้าที่ในด้านศาสนา
-         เก็บรวบรวมพระคัมภีร์เดิม
-         รักษาพระคัมภีร์ไม่ให้เสียหาย
-         คัดลอกและอธิบายพระคัมภีร์
-         เป็นฝ่ายจัดเกี่ยวกับการนมัสการในวันสำคัญทางศาสนา
หน้าที่ในด้านการปกครอง
-         ทำหน้าที่เป็นศาลสูง ( supreme court ) พิจารณาคดีความที่เกิดขึ้น โดยทางฝ่ายโรมัน อนุญาตให้สภาแซนเฮดริน ตัดสินคดีที่ไม่ร้ายแรงและ เป็นปัญหาในหมู่ชาวยิวด้วยกันได้เอง แต่สำหรับคดีที่ร้ายแรง จนถึงขั้นต้องประหารชีวิต จะต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากฝ่ายโรมันก่อน ยกเว้นกรณีเดียวคือ คดีที่หมิ่นประมาทพระวิหารสามารถจะลงโทษเองได้
(ท่านสกูเธอร์เชื่อว่าแม้แต่กรณีนี้ก็ยังต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าเมืองของโรมันก่อน
จึงจะประหารได้)[1]
อยู่​มา​ภาย​หลังกษัตริย์​ไซรัส​แห่ง​เปอร์เซีย​ชนะ​บาบิโลน แล้ว​ต่อ​มา​ใน​ปี 538.ค.ศ. พระองค์​ก็​มี​พระบัญชา​ให้​เชลย​ศึก​กลับ​บ้าน​เกิด​เมือง​นอน​ของ​ตน คน​ยิว​ส่วน​หนึ่ง​จึง​เดิน​ทาง​กลับ​อิสราเอล​
ภาย​ใต้​การ​ดูแลของ​เศรุบ​บาเบล​ผู้​ว่าราชการเมืองยูดาห์ และ​โยชูอาปุโรหิต​ผู้​นำ​ศาสนา (อสร.3:8-9)   เมื่อ​ถึง​แผ่นดิน​อิสราเอล พวก​เขา​ก็​เริ่ม​สร้าง​พระวิหาร​ขึ้น​ใหม่ในเมืองเยรูซาเล็ม
แต่​ถูก​ศัตรู​ต่อ​ต้าน งาน​จึง​หยุด​ชะงัก​ไป 16 ปี (อสร. 4:1-24)
ในปีที่สองแห่ง รัชกาลดาริอัสพระราชาแห่งเปอร์เซีย ผู้​เผย​พระวจนะ​ฮักกัย​และ​เศคาริยาห์​ได้​ประกาศ​ชัก​ชวน​คน​ยิว​ให้​ตื่น​ตัว​มา​สร้าง​พระ​วิหารโดยมีผู้นำคือเศรุบบาเบล ​จน​เสร็จ​ใน​อีก 4 ปี​ต่อ​มา (อสร. 5:1-2; 6:15)
พระวิหาร​หลัง​ใหม่​นี้​สร้าง​ขึ้น​บน​ราก​ฐาน​ของ​พระวิหาร​หลัง​เก่า แต่​ไม่​สวย​งาม​เท่า​หลัง​เดิม (ฮกก. 2:3) คน​มี​อายุ คือ ปุโรหิตและหัวหน้าตระกูล​ที่​เคย​เห็น​พระวิหาร​ของ​ซาโลมอน ​เมื่อ​พวกเขาเห็นรากฐานของพระวิหาร​หลัง​ใหม่​วางลงเสร็จ ก็​ร้อง​ไห้ แต่​คน​หนุ่มๆ ที่​ไม่​เคย​เห็น​พระวิหาร​
หลังเก่า เมื่อ​เห็น​รากฐานของพระวิหาร​หลัง​ใหม่ก็โห่​ร้อง​ยิน​ดี สรรเสริญพระเจ้า (ฮสร. 3:11-12)
ครั้น​เวลา​ผ่าน​ไป อาณาจักร​กรีก​เรือง​อำนาจและ​ได้​ขยาย​การ​ปกครอง​มา​เหนือ​อิสราเอล
ในปี 169 ก.ค.ศ. อันทิโอคัส เอพิฟาเนส ชาว​กรีก​ผู้​ขึ้น​มา​ครอบ​ครอง​ซีเรีย​ได้​ยก​ทัพ​บุก​เข้า​พระวิหาร และ​ประดิษฐาน​รูป​เคารพ​เทพเจ้า​กรีก​ใน​พระวิหาร​พร้อม​ทั้ง​ถวาย​หมู (ซึ่ง​เป็น​สัตว์​มลทิน)
บน​แท่น​บูชา เหตุการณ์​นี้​ทำ​ให้​คน​ยิว​ลุก​ขึ้น​ต่อ​สู้​โดย​มี​ครอบ​ครัว​มัคคาบี​ซึ่ง​เป็น​ปุโรหิต​และ​เป็น​ผู้​นำ
ใน​ที่​สุด​คน​ยิว​ก็​มี​ชัยชนะ​จึง​ได้​ทำ​พิธี​ชำระ​พระวิหาร​แล้ว​ถวาย​พระเจ้า​ใน​ปีเดียวกันนั้น พิธี​ชำระ​นี้​ยัง​ทำ​กัน​สืบ​มา​จน​ถึง​ทุก​วัน​นี้ เรียก​ว่า “ฮานุคคาห์” หลัง​จาก​นั้น 100 ปี ราว​ปี 63.ค.ศ. ใน​สมัย​ที่​อาณาจักร​โรม​เรือง​อำนาจ แม่ทัพ​ปอม​เป​แห่ง​โรม​เข้า​ยึด​กรุง​เยรูซาเล็ม​แต่​ไม่​ได้​ทำลาย​พระวิหาร
อย่าง​ไร​ก็​ตาม​หลัง​จาก​นั้น 9 ปี กงสุล​โรมัน​ชื่อ “คราสซุส” ได้​ปล้น​เอา​ทอง​คำ​ทั้ง​หมด​จาก​พระวิหาร​
คล้ายคลึงกับการถูกตกเป็นทาสในอียิปต์การตกเป็นเชลยในบาบิโลนทำให้เกิด
ความยากลำบากและการตัดขาด ซึ่งทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน
ในหมู่ชาวยิว พวกเขากลับมารวมกันเป็นชนชาติที่บริสุทธิ์
            เมื่อมองย้อนกลับไปก่อนการตกไปเป็นเชลยที่บาบิโลน พบว่าอิสราเอลแบ่งแยกออกเป็นสองส่วน คือ  อาณาจักรอิสราเอล (the kingdom of israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (the kingdom of judah) โดยมีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลาง
โดยอาณาจักรที่ล่มสลายไปแห่งแรกคือ อาณาจักรอิสราเอล ถูกยึดครองโดยพวกอัสซีเรีย (assyrian) ในปี 721 .ค.ศ. และในปี 587 .ค.ศ อาณาจักรยูดาห์ต้องล่มสลายตามไป โดย
เนบูคัดเนสซาร์แห่งอาณาจักรแคลเดี
ต่อมาปี 538 .ค.ศ ชาวยิวกลับสู่เยรูซาเล็ม หลังจากนั้นพบว่าไม่มีการแบ่งแยกอาณาจักรอีกต่อไป
พระคริสต์ หรือ พระเมสสิยาห์ผู้มาจากเชื้อสายของดาวิดเป็นผู้ปกครองที่มีลักษณะเหมือนกับพระบิดาทั้งในด้านน้ำพระทัย และพระลักษณะของพระองค์ รวมไปถึงเวลาการปกครองของพระองค์ที่ไม่มีวันสิ้นสุดด้วย ในประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราเอล พระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์อยู่เหนือชนชาติของพระองค์ (1 ซามูเอล 8:7) เมื่อชนชาติอิสราเอลเรียกร้องการมีกษัตริย์เป็นมนุษย์ดังเช่นประเทศเพื่อนบ้าน พระเจ้ายังไม่ทอดทิ้งประชากรของพระองค์ พระองค์ยังเป็นเจ้าของ
ชนชาติที่พระองค์ไถ่มาจากอียิปต์ และได้ประทานกษัตริย์ที่รักพระเจ้า คือ ดาวิด เพื่อเป็นผู้นำอิสราเอล อิสยาห์อาจนึกถึงพระสัญญาที่พระเจ้าประทานแก่ดาวิด (2 ซามูเอล 7:16) ว่าอาณาจักรของเขาจะตั้งอยู่เป็นนิตย์ผ่านทางเชื้อสายของดาวิด พระคริสต์ผู้สืบเชื้อสายจากดาวิดจะทำให้
พระสัญญาที่ชนชาติอิสราเอลเฝ้ารอคอยเป็นจริงขึ้นมา การที่อาณาจักรตั้งมั่นคงเป็นนิตย์ย่อมหมายถึงผู้ที่พระเจ้าจัดส่งมา คือ พระเมสสิยาห์นั้นจะดำรงอยู่คู่กับอาณาจักรเป็นนิตย์ด้วย
ดังนั้น ชนชาติอิสราเอลจึงยังเฝ้ารอคอยการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ด้วยความหวังที่ว่า
การปกครองอันเป็นนิรันดร์ของผู้นั้นที่พระเจ้าจะได้ส่งมาจะเป็นจริงในวันหนึ่ง
เมื่อชนชาติอิสราเอลกลับมาจากการเป็นเชลยที่บาบิโลนพวกเขาได้คาดหวังการเสด็จ
พระเมสสิยาห์ คือ การรอคอยคำสัญญาซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่ราชวงศ์ดาวิด ใน 1พศด.17:14
การช่วยกู้ที่มาจากพระเจ้าจะสมบูรณ์ได้มิใช่เพราะการกลับมาสร้างชาติ หรือสร้างพระวิหาเพียงอย่างเดียว แต่จะสมบูรณ์ได้โดยพระสัญญาเรื่องพระเมสสิยาห์ คือ พระเยซูคริสต์ผู้จะมาครอบครองบัลลังค์ของดาวิดตลอดนิรันดร์กาล
แท้จริง การกลับมาสร้างชาติ รักษาพระบัญญัติของชนชาติอิสราเอล และการสร้างพระวิหารหลังใหม่นั้นเป็นไปเพื่อการรอคอยพระสัญญาที่พระเจ้าจะประทานพระเมสสิยาห์ให้ ดังนั้น จากแนวคิดในหนังสือเอสรา และเนหะมีย์ ชนชาติอิสราเอลต้องบริสุทธิ์ และกลับมาเป็นชนชาติที่ดีที่สุดก่อนที่พระสัญญาจะเป็นจริง ในมัทธิวมีหลายต่อหลายครั้งที่ยืนยันว่าชนชาติอิสราเอลรอคอยการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ (มธ.20:30, 21:15, 22:41-46)







อ้างอิง
หนังสือ
-          วิยะดา ทัฬหิกรณ์. (1992). สำรวจพระคัมภีร์ใหม่ มัทธิว-กิจการ. กรุงเทพฯ: โรงเรียนคริสตศาสนศาสตร์คณะแบ๊บติสต์
-          ดอน เฟล็มมิ่ง. (1991). สารานุกรมพระคริสตธรรมคัมภีร์ เล่มที่ 1 ก-ฟ. กรุงเทพฯ: คริสเตียน
แบ๊บติสต์
-          คณะผู้เชี่ยวชาญของสำนักพิมพ์ไลออนส์. (1995). เจาะโลกพระคัมภีร์. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร
-          คู่มือศึกษาพระคัมภีร์บนพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011: สมาคมพระคริสตธรรมไทย
-          ผู้พยากรณ์น้อย (โฮเชยา – มาลาคี) ใน เอกสารการสอนชุดวิชา OT 105 หน่วยที่ 1-12
หน้า 144 กรุงเทพฯ พระคริสตธรรมกรุงเทพฯ
เว็บไซด์
-          https://www.bible-history.com/map_babylonian_captivity/map_of_the_deportation_
of_judah_the_benefits_of_the_babylonian_captivity.html
-          https://plus.google.com/109469324986627969909/posts/KffqczS6B5D



.




[1] Ma, New Tewtament Survey, p. 12.

No comments:

Post a Comment