Friday, March 27, 2020

ลักษณะทางสังคมของเทศบาลเมืองคูคต



            จากวิกฤติเศรษฐกิจ และสังคมของไทยนั้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง กำลังถดถอยลง ทำให้กดดันสภาพครอบครัวที่เป็นอยู่อย่างยิ่ง มีสภาพครอบครัวที่เล็กลงเป็นลักษณะของครอบครัวเดี่ยว ที่มีแค่ พ่อ แม่ ลูก พ่อและแม่ต้องทำงานทุ่มเทเพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว จากที่เคยมีเวลาและเลี้ยงดูให้กับเด็กก็ลดน้อยลง ทำให้จำเป็นต้องมีบุคคลอื่นมาดูแลเด็กแทน พ่อและแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กก่อนวัยเรียนตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงทำให้มีสถานเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนเกิดขึ้นเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น ซึ่งสถานเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนนี้ก็จะต้องได้รับมาตรฐานที่สามารถรับรองได้ว่าสามารถดูแลเด็ก และมีการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ที่จะสามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กที่ดีกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือบุคลากรที่มีความรู้ ซึ่งเด็กปฐมวัยนี้จะถูกปลูกฝังให้มีการพัฒนาการที่การที่ดี ไปในทางด้านร่างกาย การแข็งแรงของร่างกาย  ปลูกฝังนิสัยทางสุขภาพอนามัย ฝึกกิจนิสัย และสุขนิสัยที่ดี ด้านจิตใจ อารมณ์ ส่งเสริมสุขภาพจิต ปลูกฝังให้รู้จักควบคุมอารมณ์ มีจิตใจ    ร่าเริงแจ่มใส ชื่นชมต่อความไพเราะและสิ่งสวยงาม มีจริยธรรมที่ดี ด้านสังคม ส่งเสริมพัฒนาการปลูกฝังให้เด็กเคารพตนเอง มีสัมมาคารวะ มีระเบียบวินัย กล้าพูดกล้าแสดงออก  รู้จักการเล่นและทำงานกับผู้อื่น พร้อมทั้งปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กรู้จักหาเหตุผลให้เกิดความเข้าใจตัดสินใจได้ด้วยตนเอง สนใจต่อสิ่งรอบๆตัว มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

                

ลักษณะทางสังคมของเทศบาลเมืองคูคต ส่วนใหญ่จบการศึกษาตั้งแต่ภาคบังคับไปจนถึงระดับปริญญาตรี มีโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตทั้งหมด 11 แห่ง เป็นโรงเรียนรัฐบาล 3 แห่ง โรงเรียนเอกชน 8 แห่ง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล 1 แห่ง คือ ศูนย์เด็กเล็กวัดประยูรธรรมาราม และอยู่ระหว่างการจัดซื้อเพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งที่ 2
การบริหารงานเทศบาลของเมืองคูคต
  • 1.             สำนักปลัดเทศบาล
  • 2.             กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • 3.             กองการศึกษา
  • 4.             กองช่าง
  • 5.             กองคลัง
  • 6.             กองวิชาการและแผนงาน
  • 7.             กองสวัสดิการและสังคม
  • 8.             หน่วยตรวจสอบภายใน

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
                กมล รอดคล้ายและคณะ (2540 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด พบว่าเด็กมีพัฒนาการ ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และสังคมที่ดีขึ้น แต่ครูพี่เลี้ยงมีวุฒิต่ำ ขาดการศึกษา
                บังอร อ้วนล้ำ (2540 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศึกษาในกรณี อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง
                อภิสมัย วุฒิพรพงษ์ (2540 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย ในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เขตการศึกษา 12 พบว่ามีการนำแผนการจัดประสบการณ์มาปรับปรุงหรือพัฒนาก่อนนำไปใช้โดยปรับเนื้อหาและกิจกรรมให้เข้ากับโรงเรียนและชุมชน
                กรมการพัฒนาชุมชน (2541 บทคัดย่อ) ประเมินระดับการพัฒนาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดอยู่ในระดับดี ร้อยละ 10.56 ระดับปานกลางร้อยละ 61.19 และระดับที่ต้องปรับปรุงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับปี 2539 พบศูนย์พัฒนามีแนวโน้มดีขึ้น
                สมบัติ จักรสมศักดิ์ (2541 บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องสภาพการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อ.เมือง จ.เชียงราย พบว่ามีปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในการสอนก่อนระดับประถมศึกษา ขาดงบประมาณในจัดสภาพแวดล้อม ครูจัดกิจกรรมประจำวันไม่ครบตามแนวประสบการณ์ ผู้ปกครองไม่สนใจการเตรียมความพร้อมของเด็กในเรื่องภาษาเด็กใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทยกลาง
                อัครเดช วรหาญ (2548 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องความสามารถในการบริหารการจัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าความสามารถในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กอยู่ในระดับสูง
                ณิชมนต์ ปัทมเสวี (2548 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการบริหารงานพบว่าองค์การบริหารส่วยตำบลขนาดเล็ก ขนาดกลางมีปัญหามากกว่าขนาดใหญ่ในทุกด้าน
งานวิจัยต่างประเทศ
                Bell (1992) วิจัยเรื่อง การตัดสินใจของผู้ปกครองในการเข้ามามีส่วนร่วมและไม่เข้าร่วมในกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน พบว่าผู้ปกครองที่เข้ามามีส่วนร่วมผู้ปกครองเชื่อว่าการมีส่วนร่วมเป็นการช่วยเหลือครูและจะทำให้เด็กพัฒนาได้ดีขึ้น ส่วนผู้ปกครองที่ไม่เข้าร่วม คือ โรงเรียนไม่ได้เรียกร้องขอความร่วมมือและไม่มีเวลาให้ แต่ปัจจัยด้านเชื้อชาติไม่มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วม
                DelliColli (1998) วิจัยเรื่อง ทัศนคติและการรับรู้ของผู้ปกครองที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่าผู้ปกครองมีกิจกรรมหลายรูปแบบเมื่ออยู่ที่บ้าน สำหรับ ผู้ปกครองที่ไม่มีส่วนร่วม เพราะรู้สึกห่างเหินและไม่ได้รับการต้อนรับจากโรงเรียน
                Pena (2000) วิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครอง คือ ภาษา สมาคมผู้ปกครอง ระดับการศึกษา ทัศนคติของบุคลากรในโรงเรียน วัฒนธรรม สภาพครอบครัว
                Fantuzzo (2000) วิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการศึกษาระดับปฐมวัย พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการศึกษาปฐมวัยมี 3 ลักษณะ คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บ้าน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่โรงเรียนและการเข้าร่วมการประชุมของโรงเรียน พบว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงกว่าจะมีส่วนร่วมในการศึกษาปฐมวัยมากกว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาน้อย

การบริหารการจัดการ
μ
σ
ระดับ
1. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
3.74
0.56
มาก
2. ด้านการส่งเสริมพัฒนาเด็ก
3.49
0.72
ปานกลาง
3. ด้านการบริการอาหารสะอาดและปลอดภัย
4.04
0.78
มาก
4. ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัย
3.74
0.62
มาก
5. ด้านบุคลากร
3.79
0.76
มาก
6. ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.43
0.86
ปานกลาง
รวม
3.71
0.75
มาก
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองคูคตโดยภาพรวม

จากตารางนี้พบว่า ในภาพรวมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคตอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปน้อยจะเห็นว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการในระดับมาก 4 ด้าน เรียงลำดับ ดังนี้ การบริการอาหารสะอาดและปลอดภัย, บุคลากร, ส่งเสริมสุขภาพ, และสิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัย และการระดับปานกลางมี 2 ด้าน คือ การส่งเริมพัฒนาเด็ก และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง




จากตารางนี้พบว่า ในภาพรวมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคตอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปน้อยจะเห็นว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการในระดับมาก



ระเบียบวิธีวิจัย
            เพื่อให้การวิจัยในเรื่อง สภาพการบริหารจัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและได้กำหนดรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยซึ่งประกอบด้วย  แผนแบบการวิจัย ประชากร ตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้การวิจัย มีรายละเอียดดังนี้
แผนแบบของการวิจัย
            การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา ที่มีแบบแผนการวิจัยในลักษณะของตัวอย่างกลุ่มเดียว ศึกษาสภาวการณ์ไม่มีการทดลองนำเสนอเป็นแผนผังได้ดังนี้

รูปกราฟ

S หมายถึง ประชากร
X หมายถึง ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษา
O หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปร




ประชากร
            ประชากรำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ผู้บริหารเทศบาล 5 คน รวม 7 คน เจ้าหน้าที่ 2 คน ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก 4 คน และผู้ปกครองเด็กเล็ก 90 คน รวม 103 คน
ตัวแปร
            ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
            1.ตัวแปรพื้นฐาน เป็นตัวแปรที่เกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น
            2. ตัวแปรที่ศึกษา เป็นตัวแปรที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคต ตามเกณฑ์มาตรฐาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข ประกอบด้วย
2.1 ด้านส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การบริการต่างๆให้เด็ก เจริญเติบโตแข็งแรงตามวัย
2.2 ด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หมายถึง การให้เด็กได้เรียนรู้ปรับตัวจากสภาพแวดล้อมที่จัดขึ้นได้อย่างมีความสุข
2.3 ด้านบริการอาหารสะอาดปลอดภัย จัดให้อาหารมีคุณค่าและสะอาดปลอดภัย
2.4 ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดปลอดภัย มีการเลี้ยงเด็กให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย
2.5 ด้านบุคลากร มีการจัดครูหรือผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ความสามารถดูแลเด็กให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีขั้นตอนกระบวนการที่จัดให้
2.6 ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กตามบทบาทหน้าที่และ ความเต็มใจ


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับใช้ในการสอบถามผู้ปกครองเด็กเล็ก ชุดที่ 2 สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก และแบบสอบถามทั้ง 2 ชุดกำหนดให้มี 3 ตอนด้วยกัน คือ
            ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้สอบถาม
            ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นแบบสอบถามที่จัดอันดับคุณภาพ 5 ระดับของ ไลเคิร์ท ตั้งแต่ระดับที่ 1-5  โดยเรียงจากน้อยไปหามาก
            ในตอนท้ายของแบบสอบถามแต่ละด้านมีคำถามปลายเปิด ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            มีขั้นตอนดังนี้  1. ศึกษาเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
                                    2. ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา
                                    3. นำแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้
                                    4. นำแบบทดสอบที่ได้รับคืนนั้น มาคำนวณหาความเชื่อมั่น
การเก็บรวบรวมข้อมูล
            มีตามขั้นตอน ดังนี้
            1.ทำหนังสือถึงคณบดีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อขอความร่วมมือไปยังเทศบาลเมืองคูคต กองการศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 โรงเรียน เพื่อตอบแบบสอบถามจากครู
            2.จัดส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคต
            3. ทำหนังสือถึงคณบดีบัณฑิตอีกครั้ง เพื่อขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการ
การวิเคราะห์ข้อมูล
            เมื่อได้ข้อมูลรวบรวมกลับคืนมาแล้ว นำมาพิจารณาตรวจสอบแบบสอบถามทั้งหมดเพื่อคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้




ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                        

            แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีสาระตามพระราชบัญญัติเพื่อที่จะพัฒนาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และส่งผลให้บรรลุตามเป้าหมายและมาตรฐานด้านการศึกษาตามกฎเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา จึงมีผลต่อการพัฒนาการเรียนการศึกษาที่สัมพันธ์กับชุมชนและสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร
                การที่ผู้เรียนนั้นจะคุณภาพลักษณะต่างๆได้ครบถ้วนตามหลักสูตรพื้นฐานนั้นต้องเป็นผลงานมาหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนที่ร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จและมีประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาหรือของโรงเรียนนั้นมีอยู่  3 ด้าน คือ
1.    สภาพความสำเร็จที่ตัวนักเรียน
2.    สภาพความพร้อมในการดำเนินงาน
3.    สภาพความพร้อมของปัจจัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้นำการศึกษาปฐมวัยจะต้องมีความสามารถในด้านการเรียนการสอน ดังนี้
1.             ความสามารถในหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาของตนได้อย่างชัดเจน
2.             ความสามารถในการจูงใจ สามารถกระตุ้นจูงใจให้ผู้ร่วมงานมุ่งมั่นที่จะทำงาน โดยใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มที่
3.             ความสามารถทำให้ผู้อื่นเกิดความศรัทธา ผู้บริหารต้องแสดงพฤติกรรมด้านการเรียนการสอนให้ปรากฏ เมื่อครูเกิดความศรัทธาให้ตัวผู้บริหาร การนิเทศการเรียนก็จะประสบความสำเร็จ
4.             ความสามารถในการบริการตนเอง ต้องรู้จักจุดเด่นด้อยของตนเองพร้อมที่จะแสดงจุดเด่นให้เห็นอย่างชัดเจน



ปัญหา
                การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคตที่ผ่านมามีปัญหาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
ด้านที่ 1 การบริหารบุคลากร
                บุคลากรมีหน้าบริหารงานการจัดการศึกษาของเทศบาลเมืองคูคต มี 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ
1.             คณะผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี และปลัดเทศบาล ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากนักการศึกษา และไม่ได้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมาก่อน จึงไม่เข้าใจความสำคัญในการพัฒนาการของเด็กเล็ก
2.             ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ไม่มีวุฒิการศึกษาการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย จึงไม่มีทักษะในการดูแลและเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ซึ่งมีผลให้เด็กเล็กไม่ได้รับการพัฒนาตามหลักการพัฒนาของอนุบาล
ด้านที่ 2 ด้านอาคารสถานที่
                อาคารที่ใช้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลเมืองคูคต มีพื้นที่แคบและไม่สามารถขยายพื้นที่เพื่อรองรับจำนวนเด็กเล็กได้อีก จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมุมสร้างเสริมประเสริมประสบการณ์ได้ และไม่สามารถจัดกิจกรรมแยกห้องได้
ด้านที่ 3 ความสัมพันธ์กับชุมชน
                ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กเล็กมี 2 ฝ่าย คือ
1. ผู้ปกครองที่ส่งบุตรให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดูแล ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและขาดความรู้ความเข้าใจใน การพัฒนาเด็กเล็ก
2. ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรมของเด็กเล็ก
การบริหารจัดตั้งศูนย์บริการเด็กเล็กนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมต่างๆที่จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการของเด็กเล็ก รวมไปถึงการดูแลสุขภาพอนามัย เพื่อให้เด็กได้รับพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และมีอาหารที่มีความสะอาด ครบ 5 หมู่ และมีผู้ดูแลเอาใจใส่เด็กตลอดเวลา ตลอดจนผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปได้เร็วขึ้น

No comments:

Post a Comment