เหตุการณ์ 7 วันสุดท้ายของพระเยซู
เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต(วันอาทิตย์
)(มธ 21.1-11,มก 11.1-11,ลก 19.29-44,ยน 12.12-19)
-ต้นปาล์มหรืออินทผาลัมคือสัญลักษณ์ความสง่างาม
ผู้ชอบธรรม (สดด 92.12-14) ความยินดี ชัยชนะ
- พระเยซูทรงใช้สาวก 2 คนไปนำลูกลามาให้พระองค์ และทรงลูกลาเข้าเยรูซาเล็ม
- พระองค์เสด็จไปพักที่เบธานีในคืนวันอาทิตย์
เหตุการณ์ที่เป็นหมายสำคัญ
(วันจันทร์)
- เช้าวันจันทร์ พระองค์กับสาวกเดินทางเข้ายังเยรูซาเล็มอีก
- ทรงสาปต้นมะเดื่อ (มธ 21.18-19,
มก 11.12-14) เปรียบกับอิสราเอลซึ่งดูเหมือนจะเกิดผล
** ทำไมพระเยซูไปหาผลมะเดื่อ หาใช่ฤดูของมัน
(ปกติมักมีมะเดื่อดิบเล็กๆรสหวานที่เรียกว่า ‘ทากซ์’
จะออกก่อนที่ใบมะเดื่อจะผลิ และผลทากซ์ยังแสดงว่ามะเดื่อต้นนั้นจะมีผลแน่)
- ทรงชำระพระวิหารครั้งที่ 2
(มธ 21.12-13, มก 11.15, ลก 19.45-48) ผู้นำศาสนาขาดผลประโยชน์
วันที่งานยุ่ง
(วันอังคาร) พระเยซูทรงสอนในพระวิหารและบนภูเขามะกอกเทศ
- ต้นมะเดื่อเหี่ยวแห้ง
(มธ 21.19-22, มก 11.20-26) เปโตรอัศจรรย์ใจที่ต้นมะเดื่อเหี่ยวแห้งไป
- ปัญหาเรื่องสิทธิอำนาจของพระเยซู
(มธ 21.23-27, มก 11.27-33, ลก 20.1-8)
- การทรงชำระพระวิหารทำให้ผู้นำศาสนาไม่พอใจ
จึงทูลถามว่า พระองค์มีอำนาจใดที่มาทำเช่นนี้
- พระเยซูไม่ตอบ แต่ถามกลับว่า ยอห์นมีอำนาจให้บัพติศมาจากพระเจ้าหรือมนุษย์
พวกเขาไม่กล้าตอบ พระเยซูจึงไม่ตอบคำถามพวกเขาเช่นกัน
- คำอุปมาที่เป็นคำเตือนแก่พวกเขา
3 เรื่อง (มธ 21.28-34, มก 12.1-12,
ลก 20.9-19)
- บุตร 2
คน = พวกเขาเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก, ดูเหมือนเชื่อฟัง
แต่ไม่จริงใจ
- คนเช่าสวนองุ่นชั่วร้าย =
พวกเขาเป็นคนต่อต้านพระเจ้า มีภาพเล็งถึงพระเยซู
· การเลี้ยงในพิธีอภิเษกมเหสี
- ปัญหา 3 เรื่องที่พวกเขาเอามาทดสอบเพื่อจับผิด (มธ 22.15-40, มก 12.13-34, ลก 20.20-40)
- การเสียส่วยให้แก่ซีซาร์
(สิ่งใดควรแก่ใครก็ให้แก่ผู้นั้น รม 13.7)
- การคืนชีพ
(กายที่เป็นขึ้นเป็นกายใหม่ และมีสภาวะแบบใหม่)
- พระบัญญัติข้อใหญ่ (ทรงสรุป 10 ประการเหลือ 2 ประการ คือ ท่าทีที่ถูกต้องต่อพระเจ้าและมนุษย์)
- เงินถวายของหญิงม่าย (มก 12.41-44, ลก 21.1-4)
- ตามกฎหมายยิวแล้ว
การถวายเหรียญทองแดงถือว่าเป็นเงินถวายที่มีค่าน้อยที่สุด
- แต่หญิงคนนี้ถวายหมดทั้งตัว ไม่ใช่ส่วนที่เหลือใช้
- พระเจ้าทอดพระเนตรไม่เหมือนมนุษย์
( 1 ซมอ 16.7)
- คำตรัสที่ภูเขามะกอกเทศ (มธ 24-25, มก 13.1-17,
ลก 21.5-36)
- สาวกทูลถามถึงหมายสำคัญของการเสด็จมา
มีอะไรบ้างเป็นสัญญาณบอก
- คำเปรียบ 3 เรื่อง
1. ต้นมะเดื่อ หมายถึง อิสราเอล เป็นตารางเวลาบอกเหตุ
2. โนอาห์
การที่จะมาโดยไม่รู้ตัว
3. ขโมยจะมาในยามวิกาล
เราต้องเฝ้าระวังอยู่เสมอ
- คำอุปมา 4 เรื่อง
1. ทาสผู้ไม่ซื่อสัตย์
(ความรับผิดชอบต่อหน้าที่)
2. พรหมจารีย์ 10 คน (การเฝ้ารอคอย การดำเนินชีวิตอย่างพร้อมเสมอ)
3. เงินตะลันต์
(การรับใช้ตามของประทานให้เกิดผล)
4. แพะกับแกะ
(การพิพากษาในอนาคตระหว่างผู้รับใช้แท้และเทียม)
- ยูดาสแอบพบผู้นำศาสนา
(มธ 26.14-16, มก 14.10-11, ลก 22.3-6)
- ผู้นำศาสนาถือว่าสาวกใกล้ชิด 12 คนก็เป็นศัตรูด้วย แต่เมื่อยูดาสอาสาจะพาไปจับพระเยซู
พวกนั้นก็เชื่อว่าพระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานของเขา
- ซาตานดลใจเพราะยูดาสเปิดทางให้
เพราะเขารักเงินทอง เคยขโมย (ยน 12.6)
ช่วงพักสงบตลอดวันพุธ
และ พฤหัสบดี ทรงอยู่ลำพังที่เนินเขาเบธานี เตรียมสู่ช่วงพันธกิจสุดท้าย
5. คืนวันพฤหัสบดี
(วันศุกร์ของชาวยิวเริ่ม 6 โมงเย็นของวันพฤหัสบดี)
- การเตรียมอาหารมื้อสุดท้าย
(มธ 26.17-20, มก 14.12-17, ลก 22.7-30)
- พระเยซูทรงกำหนดสถานที่ทานเลี้ยงไว้แล้ว
- ผู้หญิง,เด็กมักจะแบกเหยือกน้ำ ไม่ใช่ผู้ชาย จึงง่ายที่สาวกที่จะหาพบ เปโตรกับยอห์นเตรียมงาน
- เริ่มต้นด้วยการอธิษฐานขอพรพระเจ้า
รำลึกถึงพิธีปัสกาจากหนังสืออพยพ และร้องเพลงสดุดี 113 และ 114
- สิ่งที่รับประทานกัน : เนื้อลูกแกะ ซึ่งฆ่าเป็นเครื่องบูชา
ขนมปังไร้เชื้อ ผักรสขม
และเหล้าองุ่น
- เมื่อรับประทานเสร็จ
จะร่วมอธิษฐานขอบคุณพระเจ้า และร้อง สดุดี 115-118
- ทรงล้างเท้าพวกสาวก (ยน 13.1-20)
· สาวกโต้เถียงกันว่าใครจะเป็นใหญ่
(ลก 22.24-30) จึงทรงสอนว่าคนที่เป็นใหญ่ต้องเรับใช้ผู้อื่น
แล้วทรงกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
- ทรงบอกถึงการทรยศต่อพระองค์
(มธ 26.21-25, มก 14.18-21, ลก 22.21-23,
ยน 13.21-30)
- พระเยซูทรงรู้ว่ายูดาสจะทรยศพระองค์
ทรงเปิดเผยแก่สาวกเพื่อให้โอกาสทางอ้อมแก่ยูดาสกลับใจ เพราะสาวกต่างก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร
ยูดาสไม่ยอมกลับใจ
ซาตานจึงสามารถทำงานในใจของเขา
- ทรงตั้งพิธีมหาสนิท (มธ 26.26-29, มก 14.22-25,
ลก 22.17-20, ยน 13.31-35)
- หลังยูดาสออกไปแล้ว
พระเยซูเพิ่มความหมายในพิธีปัสกาโดยมอบพันธสัญญาใหม่ให้แก่สาวก
- พระองค์ทรงใช้อาหาร 2 อย่างเป็นเครื่องหมาย คือ ขนมปังไร้เชื้อและเหล้าองุ่น ซึ่งหมายถึงพระกายและพระโลหิตที่ต้องถวายเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปมนุษย์
- เปาโลได้อธิบายพิธีนี้เพิ่มเติมใน
1 โครินธ์ 11.23-32
- คำตรัสเรื่องการเกิดผลมาก
(ยน 15.1-27)
- ใช้คำอุปมาเปรียบเทียบ เถาองุ่น
คือ พระเยซู แขนง คือ สาวก ผู้ดูแล คือ พระเจ้าพระบิดา
- ทรงอธิษฐานเผื่อพวกสาวก
(ยน 17.1-26) ทรงอธิฐานต่อหน้าพวกสาวก และพวกเขาได้ยิน
- การจับกุมที่สวนเกทเซมาเน
(มธ 26.36-46, มก 14.32-42, ลก 22.39-46,
ยน 18.1)
- ทรงอธิษฐานก่อนทนทุกข์ ที่สวนนี้มีที่สำหรับบีบน้ำมันจากลูกมะกอก
ที่สวนนี้ จิตใจพระเยซูอยู่ในสภาพบีบคั้นอย่างหนัก
- ยูดาสนำฝูงชนและผู้นำศาสนามาจับกุม
โดยการจุบ
- การพิจารณาคดีของพวกยิว
(มธ 26.57, มก 14.53, ลก 22.54,
ยน 18.13)
- เป็นช่วงเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นของวันศุกร์
- ทรงถูกพิจารณาคดี 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการสอบสวนหาความผิดมากกว่า
** ครั้งแรกที่สภายิว ซึ่งถ้าไม่ใช่โทษประหาร สภายิวก็ตัดสินได้เลย
** ครั้งที่ 2 ที่ศาลของโรมัน เราพพวกยิวต้องการประหารพระองค์แต่ไม่มีอำนาจ
จึงต้องพี่งปีลาต
- ข้อกล่าวหาที่ทำให้เขาตัดสินประหารชีวิตพระเยซู
คือ พระองค์ทรงรับว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า
ซึ่งพวกยิวถือว่าเป็นการดูหมิ่นพระเจ้าซึ่งมีโทษถึงตาย
- เปโตรปฏิเสธพระเยซู (มธ 26.58,
มก 14.54, ลก 22.54, ยน 18.15)
- สาวกเพียง 2 คนที่ตามพระเยซูไปในช่วงที่ถูกจับ คือ ยอห์น ซึ่งเขารู้จักกับมหาปุโรหิตเป็นส่วนตัว
อีกคนคือเปโตร นอกนั้นหลบหนีด้วยความกลัว
- เปโตรปฏิเสธพระเยซู 3 ครั้งภายในเวลาชั่วโมงกว่าๆ
กลางวันของวันศุกร์
- การพิจารณาคดีของโรม (มธ
27.2-31, มก 15.1-20, ลก 23.1-25,
ยน 18.28-19.6)
- ปอนทิอัส ปีลาต
เป็นที่รู้กันดีในคนยิวว่าเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด ดุดัน เหยียดหยามคนยิวความสัมพันธ์ไม่ค่อยดีกับผู้นำศาสนายิว
เพราะปีลาตสั่งให้แห่รูปซีซาร์ไปตามถนนในกรุงเยรูซาเล็ม ทำให้ยิวไม่พอใจ ทั้งสั่งให้สังหารฝูงชน
2-3 ครั้ง เมื่อได้ยินว่าพวกยิวจะก่อจลาจล (ลก 13.1)
- แต่การตัดสินพระเยซูกลับเป็นช่องทางที่ทำให้พวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
- ปีลาดส่งพระเยซูไปให้เฮโรดด้วย
ซึ่งอดีตเขาทั้งสองไม่ค่อยลงรอยกัน แต่เหตุการณ์นี้ทำให้เขาคืนดีกัน (ลก 23.6-12)
- การตรึงพระเยซูที่กางเขน
(มธ 27.31-56, มก 15.20-41, ลก 23.26-49,
ยน 19.16-37)
- การตรึงกางเขนเป็นวิธีประหารชีวิตที่พวกโรมันใช้กับทาสหรือคนต่างชาติ
- นักโทษที่ถูกตรึงตามปกติอาจกินเวลาหลายวันถึงจะตายอย่างทรมาน
- กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งความอัปยศ
ซึ่งโรมันใช้ประหารต่างชาติที่มีโทษรุนแรงที่สุด (แต่คนโรมันเองจะใช้วิธีตัดคอ)
- สดุดี บทที่ 22 ได้พรรณนาไว้อย่างแจ่มชัดก่อนหน้านี้แล้ว
- คำตรัสของพระเยซู 7 ประโยคบนกางเขน
1. ให้อภัย ‘โอพระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขา เพราะเขาไม่รู้ว่า เขาทำอะไร’ ลก 23.34
2. อภัยและยอมรับ ‘เราบอกความจริงแก่เจ้าว่า วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม’
ลก 23.43
3. ฝากมารดา ‘จงดูบุตรของท่าน ... จงดูมารดาของท่านเถิด’ ยน 19.26-27
4. รู้สึกว้าเหว่ ตัดขาดจากพระบิดาเพราะบาป ‘พระเจ้าของข้าพระองค์ๆ
ไฉนทิ้งข้าฯเสีย’ มธ 27.46
5. ทรมานฝ่ายกาย ‘เรากระหายน้ำ’ ยน 19.28
6. ประกาศว่า ‘สำเร็จแล้ว’ ยน 19.30
7. ฝากวิญญาณไว้กับพระเจ้า ‘พระบิดาเจ้าข้า ข้าฯฝากวิญญาณข้าไว้ในพระหัตถ์พระองค์’ ลก 23.46
- ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์
(มธ 27.15-56)
- ความมืดตั้งแต่เที่ยงถึงบ่ายสามโมง
- ม่านที่วิหารขาดเป็น 2 ท่อน แสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้าได้เปิดออกโดยพระองค์
- แผ่นดินไหว, อุโมงค์ฝังศพก็เปิดออก(น่าจะเป็นความหมายฝ่ายวิญญาณ)
- การฝังศพพระเยซู (มธ 27.57-66,
มก 15.42-47, ลก 23.50-56, ยน 19.38-42)
- โยเซฟแห่งอาริมาเธีย มีฐานะดี
เป็นสมาชิกสภายิว (มก 15.43) สาวกลับๆ ได้ขอรับศพจากปีลาตมาฝังตามธรรมเนียม พร้อมกับสาวกลับๆอีกคนคือ นิโคเดมัส
- ยิวถือว่า ดวงอาทิตย์ตกคือเริ่มต้นวันใหม่
(วันสะบาโตพอดี ห้ามฝังศพ) จึงรีบฝังพระศพพระเยซูผู้ร้ายยังไม่ตายก็ทำให้ตายด้วยการทุบขาให้หัก
จะเจ็บปวดยิ่งขึ้นและทรงตัวยาก หายใจยากตายไว
- อุโมงค์ฝังศพนั้นจะขุดเข้าตามภูเขาและมีก้อนหินใหญ่สำหรับปิดปากอุโมงค์
- ก่อนฝังจะชโลมเครื่องหอมที่ทำมาจากมดยอบกับกฤษณา
แล้วพันผ้าเป็นมัมมี่ วางไว้ในอุโมงค์
- พวกผู้นำยิวขอให้ปีลาตประทับตราอุโมงค์และมีทหารเฝ้าด้วย
วันอาทิตย์
- การคืนพระชนม์และการปรากฏครั้งแรก
(มธ 28.1-15, มก 16.1-11, ลก 24.1-12,
ยน 20.1-18)
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเช้าตรู่วันอาทิตย์หรือวันต้นสัปดาห์
** แผ่นดินไหว
ทูตสวรรค์กลิ้งก้อนหินออกแล้วนั่งอยู่บนหินนั้น ทหารหนีไป
- กลุ่มคนที่อยู่ในเหตุการณ์
(มก 16.1, ลก 24.10, ยน 20.2-10)
** ผู้หญิงที่ไปที่อุโมงค์ มี มารีย์ชาวมักดาลา มารีย์(มารดา) นางสะโลเม
โยฮันนา
** ทูตสวรรค์บอกพวกผู้หญิงว่า พระเยซูทรงเป็นขึ้นแล้ว และเสด็จไปที่แคว้นกาลิลี
พวกเจ้าจะได้พบพระองค์ที่นั่น
** พวกผู้หญิงกลับมาบอกอัครทูต แต่พวกเขาไม่เชื่อ แต่เปโตรกับยอห์น
เมื่อได้ยินมารีย์มักดาลาบอกก็รีบวิ่งไปที่อุโมงค์ ได้เห็นแต่ยังไม่เข้าใจ ???
** เมื่อเปโตรกับยอห์นได้กลับจากอุโมงค์แล้ว
มารีย์มักดาลาได้ตามไปด้วยแต่ถึงทีหลัง นางจึงนั่งร้องไห้อยู่นอกอุโมงค์
พระเยซูได้ปรากฏกับเธอเป็นคนแรก
- ทรงปรากฏบนถนนที่จะไปเอมมาอูส
(มก 16.12, ลก 24.13-33)
- บ่ายวันอาทิตย์ สาวก 2 คน คนหนึ่งชื่อ
เดล โอปัส กำลังเดินทางไปเอมมาอูส(ห่างจากเยรูซาเล็มราว 11 กม.) กำลังคุยกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- พระเยซูได้ร่วมเดินทางไปกับเขา
แต่เขาจำไม่ได้ จนเข้าไปในบ้าน ทรงหักขนมปัง เขาจึงรู้ว่าเป็นพระองค์
แล้วพระองค์ก็หายไป
- ทรงปรากฏกับเปโตรและพวกสาวก
(มก 16.13-14, ลก 24.33-43, ยน 20.19-25)
- เย็นวันอาทิตย์ ขณะที่พวกเขาประชุมกัน ทรงปรากฏ และได้ทรงพิสูจน์ให้เห็นว่าพระองค์เป็นขึ้นมาจริงๆทั้งกายและวิญญาณ
โดยที่โธมัสไม่ได้อยู่ด้วย
- ทรงปรากฏเพื่อโธมัสจะแน่ใจ
(ยน 20.26-31)
- โธมัสคนเดียวที่ไม่ได้อยู่ในคืนนั้นและเขาไม่ยอมเชื่อจนกว่าจะได้เห็นเอง
- วันอาทิตย์ถัดไป
พระเยซูปรากฏอีกครั้งท่ามกลางพวกเขาเพื่อให้โธมัสแน่ใจ
ช่วงเวลา
40 วัน และการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
** 1. ทรงปรากฏที่ทะเลกาลิลี
(ยน 21.1-25)
- พวกสาวก 7 คนกลับมาที่กาลิลีมาทำอาชีพประมงอีก เนื่องจากสับสนไม่รู้จะทำอะไรต่อไป
- พวกเขาจับปลาไม่ได้ทั้งคืน
เมื่อกำลังนำเรือเข้าฝั่ง พระเยซูปรากฏกับเขาแต่เขาจำไม่ได้
พระองค์สั่งให้หย่อนอวนลง พวกเขาทำตามและจับปลาได้เป็นอันมาก
- ยอห์นจำพระองค์ได้ก่อนจึงบอกเปโตร เปโตรจึงรีบกระโดดออกจากเรือมาหาพระองค์
** ถ้าเราหันออกจากน้ำพระทัยพระเจ้าแล้วจะไม่เกิดผล แต่ถ้าเชื่อฟัง ทำตาม
จะเห็นผลมากมาย **
** 2. ทรงมอบภารกิจที่สำคัญ
(มธ 28.16-20, มก 16.15-18)
- ทรงรับมอบ ‘ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดี ทรงมอบไว้แก่เราแล้ว’
- ทรงสั่งสาวก‘เหตุฉะนั้น
เจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติให้เป็นสาวกของเรา’
-สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือ
‘ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา
พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์’
- สรุป คือ ให้นำคนมาเชื่อ
‘สอนให้เขาถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้’
(เติบโตขึ้น)
- คำสัญญา ‘นี่แหละ เราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค’
** 3. คำตรัสย้ำภารกิจที่ทรงมอบไว้
(ลก 24.44-49)
- ทรงใช้ 40 วันสอนสาวกในสิ่งที่ทรงเคยสอนแล้ว พวกเขาจึงเข้าใจถึงความเป็นพระเจ้าของพระองค์และพระราชกิจของพระองค์ยิ่งขึ้น
พวกเขาพร้อมที่จะออกไปปฏิบัติภารกิจต่อจากพระองค์
- ทรงสั่งให้คอยรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ก่อนไปรับใช้
ราว 10 วันหลังจากที่เสด็จขึ้นสู่สวรรค์
** 4. เสด็จขึ้นสู่สวรรค์
(มก 16.19-20, ลก 24.50-53, กจ 1.9-12)
- สถานที่ที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
คือ ภูเขามะกอกเทศ อยู่เลยหุบเขาขิดโรน (ห่างเยรูซาเล็มเป็นราว 2000 คิดบิท (ครึ่งไมล์กว่าๆ) ซึ่งเป็นระยะทางที่อนุญาตให้เดินได้ในวันสะบาโต
(กจ 1.12) เพราะวันนั้นเป็นวันสะบาโตคือวันเสาร์
- ตรัสย้ำถึงภารกิจสำคัญ และอวยพรสาวก
แล้วเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (กจ 1.8-9) ต่อหน้าต่อตาพวกเขา
- ทูตสวรรค์บอกกับสาวกว่า พระองค์จะเสด็จกลับมาอย่างที่ได้เห็นพระองค์เสด็จไปสวรรค์นี้อีกครั้ง
No comments:
Post a Comment