1) สังเกต VS สังเกตุ คำที่ถูก >> สังเกต คำที่ผิด >> สังเกต
ความหมายตามพจนานุกรม "สังเกต" ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย
ความหมายตามพจนานุกรม "เกตุ",
"เกตุ"-
[เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙
หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี
ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า
พระราหู. (ป., ส.).
2) โควตา VS โควต้า คำที่ถูก >> โควตา คำที่ผิด >>โควต้า
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์
ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โท
3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา คำที่ผิด >>
ต่างๆ นาๆ
ปกติคำซ้ำจะเติมไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ
ยกเว้นคำว่า “นานา” “จะจะ”
ที่ไม่ต้องไม้ยมกไว้ด้านหลัง
4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง คำที่ผิด >> ผลัดวันประกันพรุ่ง
ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี “ล” “ผลัด” แบบนี้ใช้สำหรับ “ผลัดผ้า”
5) ผาสุข VS ผาสุก คำที่ถูก
>> ผาสุก คำที่ผิด
>> ผาสุข
การโยงไปกับความหมายความสุข จึงมักใช้
“ข” สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ “ก”
6) พะแนง VS พแนง คำที่ถูก
>> พะแนง คำที่ผิด >> พแนง
อาหารคาวชนิดหนึ่ง
7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง คำที่ถูก
>> หย่าร้าง คำที่ผิด >> อย่าร้าง
คำว่า “หย่า” กับ “อย่า” ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กัน “อย่า”
เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน “หย่า” หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน
8 ) มัคคุเทศน์ VS
มัคคุเทศก์ คำที่ถูก
>> มัคคุเทศก์ คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์ ไม่ใช่การเทศน์
ดังนั้น “เทศ..” ใช้ “ก์”
9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน คำที่ผิด >>
กงกำกงเกวียน
ทั้ง กง และ กำ
เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน คำนี้จึงมีความหมายว่า กรรมตามสนอง
10) กังวาล VS กังวาน คำที่ถูก >> กังวาน คำที่ผิด
>> กังวาล
กังวาน หมายถึง
เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน
11) อนุญาติ VS อนุญาต คำที่ถูก
>> อนุญาต คำที่ผิด >> อนุญาติ
12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด คำที่ถูก >> ขี้เกียจ คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
คำว่าเกลียดจะหมายถึง
ไม่ชอบ, ชัง ส่วน
ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ “จ”
13) ศรีษะ VS ศีรษะ คำที่ถูก
>> ศีรษะ คำที่ผิด >> ศรีษะ
14) ผัดไทย VS ผัดไท คำที่ถูก
>> ผัดไทย คำที่ผิด >> ผัดไท
ตามที่ราชบัณฑิตยสถานใช้คือ คำว่า “ไทย” ในผัดไทย (เพราะอาหารของคนไทย)
15) อานิสงส์ VS อานิสงส์ คำที่ถูก
>> อานิสงส์ คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม
ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ “ส์”
16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา คำที่ถูก >> ใบกะเพรา คำที่ผิด
>> ใบกระเพรา
17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
มูล คือ ราก,เศษสิ่งของต่างๆ รวมทั้งอุจจาระ ส่วน “มูน” คือ การเอากะทิคลุกกับข้าวเหนียวให้เกิดความมัน
18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิก คำที่ถูก
>> คลินิก คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง
คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค
19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาตร คำที่ถูก >> อุบาทว์ คำที่ผิด >> อุบาท
คำที่ออกเสียงว่า “บาด” ในภาษาไทยมีหลายคำ เช่น
บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดเจ็บ,
บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งเขียนต่างจาก “บาด” โดยจะต้องมี “ว์” ตามหลัง “ท” เสมอ
20) คัดสรร VS คัดสรรค์ คำที่ถูก
>> คัดสรร คำที่ผิด >> คัดสรรค์
คำที่ออกเสียงว่า
“สัน” ในภาษาไทยมีหลายคำ วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร)
และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) บางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ เช่น
“คัดสรร” ไม่ต้องมีตัว “ค์” เพราะ “สรร” คือ การเลือก, การคัด และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกัน
21) สังสรรค์ VS สังสรรค์ คำที่ถูก
>> สังสรรค์ คำที่ผิด >> สังสรร
อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล “สัน” แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์
จะต้องตามด้วย “ค์” เสมอ
22) โคตร VS โครต คำที่ถูก
>> โคตร คำที่ผิด >> โครต
ทั้ง 2 คำอ่านว่า “โคด” เหมือนกัน แต่คำนี้ไม่มีควบกล้ำ
จึง เอา “ร” ไว้หลังสุด คือ โคตร
23) จลาจล VS จลาจล คำที่ถูก
>> จลาจล คำที่ผิด >> จราจล
24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด คำที่ถูก
>> น้ำมันก๊าด คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง การเขียนว่า
“น้ำมันก๊าซ” น่ามาจากคำว่า “ก๊าซ” หรือ “แก๊ส” ในคำว่า”gas”
25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/
เครื่องหมายดอกจันทน์
คำว่า “จัน” ทั้ง จันทร์, จันทน์,
จัน มักเขียนกันผิด ๆ ซึ่งการเขียนที่ถูกคือ
จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน จันทร์ = วันจันทร์ จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์
26) ตำรับ VS ตำหรับ คำที่ถูก
>> ตำรับ
ภาษาไทย มีเสียงวรรณยุกต์และการสะกด
ที่หลากหลาย คำว่า “ตำรับ” ทำไมอ่าน “ตำ-หรับ” ทั้งๆ
ที่ไม่มีอักษรนำเลย
คำว่า “ตำรับ”
เป็นคำแผลงที่มาจากคำว่า “ตรับ” คล้ายๆ กับ ตำรวจที่แผลงมาจากตรวจ
ซึ่งการแผลงคำเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการสร้างคำขึ้นในภาษาไทย
อย่างตัวอย่างนี้ก็แผลงพยัญชนะจากพยางค์เดียวให้มาเป็น 2 พยางค์
โดยหลักการอ่านออกเสียงคำแผลงประเภทนี้มีอยู่ว่า ถ้าคำเดิมเป็นพยัญชนะควบกล้ำ
เวลาอ่านออกเสียงในพยางค์หลังต้องมีเสียงวรรณยุกต์เท่าคำเดิม ดังนั้น จาก “ตรับ” จึงอ่านออกเสียงเป็น “ตำ-หรับ”
(แม้จะเขียนว่า ตำรับ ก็ตาม)
27) โอกาศ VS โอกาส คำที่ถูก
>> โอกาส
คำว่า ”โอกาส” เป็นคำภาษาบาลี ซึ่งภาษาบาลี ไม่มี “ศ” “ษ”
28) ทะเลสาบ VS ทะเลสาบ คำที่ถูก
>> ทะเลสาบ
คำว่า “สาป” หมายถึง คำแช่งให้เป็นไปต่างๆ มาจากภาษาบาลี
ส่วน “สาบ” มีหลายความหมาย เช่น กลิ่นเหม็นสาบ, แมลงสาบ, สาบเสื้อสำหรับเจาะรังดุม
และใช้เรียกห้วงน้ำใหญ่คล้ายบึง หรือ ทะเลสาบนั่นเอง
29) เครื่องสำอางค์ VS เครื่องสำอาง คำที่ถูก
>> เครื่องสำอาง
คำว่า “สำอาง” มีความหมายว่า สิ่งเสริมแต่ง บำรุงใบหน้า,
งามสะอาดหมดจด เป็นต้น
30) นะค่ะ VS นะคะ VS น๊ะคะ คำที่ถูก
>> นะคะ
/น/ และ /ค/ เป็นอักษรต่ำ
ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ก็ออกเสียงวรรณยุกต์ตรีอยู่แล้ว ดังนั้นการเขียน น๊ะค๊ะ จึงไม่ถูก
ส่วนนะค่ะ ไม่มีความหมายในภาษาไทย
31) บังสุกุล VS บังสุกุล คำที่ถูก
>> บังสุกุล
บังสุกุล
เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าที่พระสงฆ์ชักจากศพหรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ คำนี้เมื่อพูดเร็วๆ
รัวๆ อาจฟังเป็น บังสกุล ซึ่งเป็นการสะกดที่ผิด(สกุล หมายถึง วงศ์ตระกูล)
32) บัญญัติไตรยางค์ VS บัญญัติไตรยางศ์ คำที่ถูก >> บัญญัติไตรยางศ์
บัญญัติไตรยางศ์ เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ
สะกดเหมือนคำว่า “ไตรยางศ์” ที่แปลว่า 3 ส่วน ใช้ “ศ์” เสมอ
ส่วน “ไตรยางค์” คำนี้ไม่มีความหมาย
33) บิดพลิ้ว VS บิดพลิ้ว คำที่ถูก
>> บิดพลิ้ว
“พลิ้ว”
คือ อาการบิดเบี้ยว หรือสะบัดไปตามลม
34) บูชายันต์ VS บูชายัญ คำที่ถูก
>> บูชายัญ
การบูชายัญ เป็นการบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่งด้วยวการฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา
คำว่า “ยัญ” มีความหมายว่า เซ่น, บูชา ดังนั้นการบูชายัญเป็นการฆ่าคน ไม่ใช่การบูชาผ้ายันต์
35) ปฐมนิเทศ VS ปฐมนิเทศ คำที่ถูก
>> ปฐมนิเทศ
ปฐม=ลำดับแรก
ส่วนนิเทศ =การชี้แจง, การแสดง คำว่า “นิเทศ” คำนี้จึงไม่ต้องมีตัวการันต์
36) เปอร์เซนต์ VS เปอร์เซ็นต์ คำที่ถูก
>> เปอร์เซ็นต์
ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุวิธีเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ คำว่า percent ต้องใส่ไม้ไต่คู้ในพยางค์หลัง
37) มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
VS มือไม้พายเอาเท้าลาน้ำ คำที่ถูก >>มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
ราน้ำก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.
ผีซ้ำด้ามพลอย VS ผีซ้ำด้ำพลอย คำที่ถูก >> ผีซ้ำด้ำพลอย
คำว่า “ด้ำ” (ภาษาอีสาน)=
ผีเรือน ผีซ้ำด้ำพลอย=ถูกผีอื่นกระทำแล้วยังถูกผีเรือนซ้ำเติมอีก สำนวนนี้จึงหมายถึง
ถูกซ้ำเติมอีกเมื่อพลาดพลั้ง
38) พิธีรีตอง VS พิธีรีตอง คำที่ถูก
>> พิธีรีตอง
พิธีรีตอง หมายถึง
งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม
39) แพทยศาสตร์ VS แพทย์ศาสตร์ คำที่ถูก >> แพทยศาสตร์
คำว่า “แพทยศาสตร์”
เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า “แพทย์” + “ศาสตร์” รวมกัน คำแรกที่มีการันต์ให้ตัดทิ้ง
ดังนั้นเวลาออกเสียงคำนี้ให้อ่านว่า “แพด-ทะ-ยะ-สาด”
40) มัสหมั่น VS มัสมั่น คำที่ถูก
>> มัสมั่น
มัสมั่นเป็นชื่อแกงชนิดหนึ่ง
ที่มีลักษณะเป็นแกงข้น ปรุงด้วยเครื่องเทศ ใส่ไก่หรือเนื้อลงไป(อร่อยมาก) แม้ว่าคำหลังออกเสียงเหมือนมีอักษรนำตามหลัง
แต่เวลาเขียนไม่มี “ห” นำ
41) มาตรฐาน VS มาตรฐาน คำที่ถูก
>> มาตรฐาน
คำว่า
“มาตรฐาน” เป็นคำสมาส
เป็นการสมาสกันระหว่างคำ มาตร(สันสกฤต) + ฐาน(บาลี) ซึ่งการอ่านคำสมาสก็ต้องออกเสียงสระอะ
ของพยางค์ท้ายด้วย คำนี้เป็นเสียงสั้น อ่านว่า “มาด-ตระ-ถาน”
ไม่ใช่ “มาด-ตรา-ถาน” ไม่ต้องเติม
“สระอา” ตรงกลาง
42) เวทมนต์ VS เวทย์มนตร์ VS เวทมนตร์ คำที่ถูก >> เวทมนตร์
“เวทมนตร์” =
คำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สำเร็จตามที่้ต้องการ
คำว่า “เวท”
ไม่ต้องมีการันต์ = ความรู้, ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นคาถาอาคม เป็น “เวท”
ตัวเดียวกับคำว่า “ร่ายเวท” “สามเวท” ส่วนคำว่า “มนตร์” นั้น ใช้ “ตร์” เป็นคำสันสกฤต
43) แมลงสาป VS แมลงสาบ คำที่ถูก
>> แมลงสาบ
44) ไยแมงมุม VS ใยแมงมุม คำที่ถูก
>> ใยแมงมุม
45) หยากใย่ VS หยากไย่ คำที่ถูก
>> หยากไย่
46) ลำไย VS ลำไย คำที่ถูก
>> ลำไย
กลอน “คำไทยที่ใช้ไม้ม้วน” ได้รวบรวมคำไทยที่ใช้ไม้ม้วนทั้งหมด
20 คำไว้
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู สิ่งใดอยู่ในตู้
มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง เล่าท่องอย่าละเลี่ยง
ยี่สิบม้วนจำจงดี
สรุปแล้ว ใยแมงมุม ต้องใช้ ไม้ม้วน “ใ-” เหมือนห่วงใย ส่วน “หยากไย่” และ “ลำไย” ใช้ไม้มลาย “ไ-”
47) ริดรอน VS ลิดรอน คำที่ถูก
>> ลิดรอน
48) ลูกเกด VS ลูกเกตุ คำที่ถูก
>> ลูกเกด
คำว่า “เกด” ก็หมายถึงลูกองุ่นแห้งอยู่แล้ว ส่วนคำว่า “เกตุ” จะหมายถึง ธง
49) ไล่เรียง-ไล่เลียง คำที่ถูก
>> ไล่เลียง
“ไล่เลียง” คือ
การซักไซ้, ไต่ถาม มักจะใช้คู่กับคำว่า ซักไซ้ไล่เลียง เพราะ
“ไล่” = การขับออก,
บังคับให้ไป ส่วน “เลียง” = การไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก คำนี้จึงเป็นคำซ้อน ประเภทซ้อนความหมาย คือ
คำนี้ทั้งคำหน้าและหลังมีความหมายเหมือนกัน และใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกัน
50) วิ่งเปี้ยว VS วิ่งเปี้ยว คำที่ถูก
>> วิ่งเปี้ยว
หลักการอ่านคำในพจนานุกรม (ร่างที่ 1)
1.
อ่านคำต้น (คำในวงเล็บเหลี่ยม
=วิธีอ่าน ฉะนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงซ้ำคำในวงเล็บเหลี่ยมนั้น)
2.
บอกลักษณะคำ เช่น ว.
อ่านว่า “คำวิเศษณ์” ก. อ่านว่า “คำกริยา” (คำย่อลักษณะคำในบัญชีที่ 1)
3.
ข้อความในวงเล็บที่มีตามคำต้น เป็นคำบอกที่ใช้ของคำนั้น
ให้อ่านว่า เป็น.... เช่น (ราชา) อ่านว่า “เป็นคำราชาศัพท์” หรือ (ปาก) อ่านว่า “เป็นภาษาปาก” เป็นต้น (ดูรายการคำย่อบอกที่ใช้ในบัญชีที่ 2)
9.1.3. (ป.; ส. ...) ให้อ่านว่า
“มาจากภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤตว่า ...”
11. เครื่องหมาย ºซ ให้อ่านว่า “องศาเซลเซียส”
No comments:
Post a Comment