สรุปหนังสือ พระเยซูพระเมสสิยาห์:
สำรวจชีวิตของพระคริสต์, โดย โรเบิร์ต เอชสไตน์, ศูนย์ทีรันนัส, 2005
วัยเยาว์ของพระเยซู
จากเครื่องบูชาที่มารีย์ถวายในพิธีชำระตัวและพระศพที่ฝังในอุโมงค์ผู้อื่นระบุว่า
พระเยซูมาจากครอบครัวยากจน เป็นเด็กเชื่อฟัง(ลก.2;51 )
ซื่อสัตย์ เที่ยงตรง ส่วนเรื่องความ
ไร้บาปนั้นมีแต่พระเจ้าเท่านั้นล่วงรู้ ไม่ใช่สิ่งที่ครอบครัวและชุมชนรู้สึกได้ เพราะไม่มีใครสามารถตัดสินหรืออ่านทะลุเจตนารมณ์ในใจพระองค์ได้
พระกิตติคุณไม่เอ่ยถึงช่วงวัยเยาว์
ก็ชี้ชัดว่า
กระบวนการเติบโตได้พัฒนาขึ้นอย่างปกติเหมือนเด็กชาย
ชายหนุ่มและผู้ชายชาวยิวทั่วไป
จึงทรงเข้าใจการทดลองและความอ่อนแอของเราอย่างแท้จริง หากมีอัศจรรย์ผิดจากเด็กอื่นๆ
โยเซฟกับมารีย์คงไม่แปลกใจเมื่อรู้เห็นถึงพระปัญญาตอน 12
ขวบนั้น และการไม่เชื่อของชุมชนกับน้องๆ ที่เกิดจากมารีย์และโยเซฟ
(นี่เป็นการตีความอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด) ยืนยันว่าพระองค์เป็นช่างไม้ธรรมดาๆ
คนหนึ่งของหมู่บ้าน
เมื่อโยเซฟเสียชีวิตก็ขึ้นเป็นผู้นำ
รับผิดชอบจนถึงช่วงทำราชกิจ
ทั้งไม่มีสักจุดเดียวบ่งบอกว่าสมรส
และไม่เคยมีใครวิจารณ์รูปลักษณ์หน้าตา
แต่จดจ่อว่าพระองค์เป็นใครและทำอะไร
ในฐานบุตรหัวปีย่อมได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการมากที่สุด ทรงอ่านออก
เขียนได้ และพูดได้อย่างน้อย 3 ภาษาคืออาราเมคภาษาบ้านเกิด ฮีบรูเมื่ออ่านอิสยาห์ในธรรมศาลา(ลก:4:16-20) กรีกภาษาหลักในปาเลสไตน์เวลานั้น
ทำให้ไม่ต้องมีล่ามแปล
และคงคุ้นกำบศัพท์ลาติน บางคำเพราะอิทธิพลของโรม
การถกพระคำภีร์และการตอบคำถามเชิงตีความบ่งบอกว่าพระองค์เป็นนักการศึกษาเต็มตัว
พระเยซูรับบัพติศมา
แม้ได้สิทธิ์ประโยชน์ตามข้อตกลงกับราชวงศ์แมคคาบีส์ แต่ประชากรยิวราว 3-8 ล้าน
หรือ 7% ของอาณาจักรโรมันอยู่ในภาวะไม่พอใจเป็นส่วนใหญ่
ด้านจิตวิญญาณก็ขาดผู้เผยพระวจนะและไม่มีพระวิญญาณตลอดสี่ศวรรษมาแล้ว
ดังนั้นจึงตื่นเต้นตรึงใจเพียงใดที่ยอห์นปรากฏกายขึ้นในชุดแปลกๆ เทศนาอย่างมีพลังและให้รับบัพติศมา
เพื่อตัดขาดจากอดีตและกลับใจใหม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่เตรียมพร้อมไว้สำหรับอาณาจักรของเมสสิยาห์
เพราะเชื้อชาติไม่อาจทำให้เข้าแผ่นดินพระเจ้าได้ พิธีนี้เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ไม่รู้ชัด แต่เวลานั้นชุมชนยิวมีการให้บัพติศมาแก่คนต่างชาติที่กลับใจใหม่หันมาเข้าศาสนายูดาอยู่แล้ว และห่างไปไม่ถึงสิบไมล์มีชุมชนคมราน
(น่าจะถือลัทธิเอสซีน)
ที่มาจากเชื้อสายปุโรหิตเหมือนยอห์นก็กำลังทำคล้ายๆกันแต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ข่าวสารของยอห์นไม่ได้จบในตัวเอง แต่เป็นเสียงประกาศถึงผู้จะเสด็จมาพร้อมกับความห่วงใยพิเศษดังครั้งที่เคยได้รับในถิ่นทุรกันดาร
การรับใช้ของยอห์นกับพระเยซูเป็นอิสระจากกันและเคารพกันและกัน พระเยซูยอมรับ
ว่าการรับใช้และการบัพติศมาของยอห์นได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าและทรงยอมรับบัพติศมาจากยอห์นไม่ใช่เพราะรู้สึกสำนึกผิดที่อาจทำบาปโดยไม่รู้ตัว
แต่ทรงทำตามวิถีทางที่พระเจ้าเปิดเผยแก่พระองค์ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมในชุมชนรอคอยพระเมสสิยาห์ที่ยอห์นก่อตั้งขึ้นด้วย
นอกจากนี้เล็งถึงการอุทิศตัวยอมดำเนินในวิถีนำสู่ความขัดแย้งและการข่มเหงจนตายบนกางเขน แล้วพระเจ้าตอบรับโดยการเสด็จมาของพระวิญญาณ ซึ่งเจิมตั้งสู่ชีวิตใหม่ เพื่อเริ่มพันธกิจในฐานะผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต
และจอมกษัตริย์และสามารถประทานพระวิญญาณแก่ผู้ติดตามพระองค์ได้ และ “ฟ้าแหวก”
ซึ่งเป็นคำเดียวกับม่านในพระวิหารขาด (แหวก) ออก
ก็เล็งถึงว่า
บัดนี้พวกเขาสามารถติดต่อสื่อสารกับพระเจ้าได้โดยตรงแล้ว ส่วนเสียงจากสวรรค์ก็เป็นการยืนยันว่าพระเยซูเป็นผู้ใด
และช่วงแห่งความเงียบของพระองค์ก็เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า
พระเยซูเผชิญการทดลอง
หลังจากรับบัพติศมา พระเยซูถูกทดสอบทันที ซึ่งจำต้องเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มราชกิจ
โดยถูกนำไปใจกลางอาณาจักรซาตาน (ถ้ามองแง่ลบก็เป็นที่ซึ่งการทรงสร้างถูกแช่งสาป ถ้ามองแง่บวกก็เป็นสถานที่ซึ่งพระเจ้าทรงฟื้นการทรงสร้างขึ้นใหม่โดยการมาของพระเมสสิยาห์) ทรงจู่โจมกฏของมารในเชิงรุก
และวางพระทัยพระบิดาในการจัดเตรียมความต้องการขั้นพื้นฐาน แท้จริงการกินเพื่อสยบความหิวไม่ผิด
แต่ถ้าการอิ่มท้องนั้นขัดแย้งกับสิ่งที่พระเจ้าสถาปนาไว้ย่อมเป็นบาป
พระเยซูไม่แทรกแซงอธิปไตยหรือการปกครองสูงสุดของพระบิดาเหนือชีวิตพระองค์
ฉากสองที่ยอดหลังคาพระวิหารเป็นการทดลองให้ทำอัศจรรย์ต่อหน้าประชาชน แต่พระเยซูทรงล่วงรู้ถึงเส้นบางๆ
ระหว่างการวางใจกับการท้าทายพระเจ้า
ทั้งเชื่อในการดูแลด้วยความรักของพระบิดาอยู่แล้ว ดังนั้น “ก้าวกระโดดของความเชื่อ” จึงอาจไม่ใช่กิจสำแดงความเชื่อเสมอไป
แต่กลับเป็นความไม่เชื่อหรือทดสอบพระสัญญาของพระเจ้าได้ ฉากสามบนภูเขานั้น ทรงปฏิเสธหนทางสะดวกง่ายดาย แล้วยอมรับประตูคับและทางแคบ เพราะการปฎิเสธพระเจ้าบนเส้นทางการรับใช้นั้นก็เป็นความว่างเปล่า
ลักษณะการทดลองใจนี้ แม้เขียนในเชิงสัญลักษณ์ แต่เกิดขึ้นจริง แม้ไม่มีใครอยู่ด้วยนอก
จากซาตานกับพระเยซู
แต่พระองค์คงเล่าให้สาวกฟังระหว่างเผชิญการทดลองอีกหลายครั้งว่า พระองค์จะทรงเลือกเป็นพระเมสสิยาห์แบบใด
ทรงเรียกสาวก
พันธสัญญาเดิมจบที่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย จากนั้นพระเยซูทรงสถาปนาพันธสัญญาใหม่ขึ้น ยอห์นกับพระเยซูจึงเป็นคนต่างยุคกัน
คือยุคแห่งการเผยพระวจนะกับยุคที่คำเผยพระวจนะสำเร็จ อาณาจักรใหม่นี้เริ่มจาก
พระเยซูละบ้านเกิดในนาซาเร็ธไปใช้เมืองคาร์เปอร์นาอุม
ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญบนถนนหลวงและเส้นทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างตะวันออกและตะวันตก เป็นฐานการรับใช้ในกาลิลี และหนึ่งในสิ่งแรกๆ
ที่สำคัญและมีผลยั่งยืนรองจากการสิ้นและคืนพระชนม์ ก็คือการเลือกสาวก 12 คน
ซึ่งเป็นตัวเลขเชิงสัญลักษณ์เล็งถึงการรวมตัวของเผ่าอิสราเอล บ่งชี้ว่ายุคสุดท้ายมถึงแล้ว และทั้งหมดเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีตัวตนจริง ได้แก่
ซีโมน(เปโตร) แอนดรูว์ ยากอบบุตรเศเบดี ยอห์น
ฟีลิป บาร์โธโลมิว มัทธิว
โธมัส ยากอบบุตรของอัลเฟอัส ซีโมนพรรคชาตินิยม ยูดาสบุตรยากอบ ยูดาสอิสคาริโอท
ข่าวสารของพระเยซู :
แผ่นดินของพระเจ้า
ศูนย์กลางเนื้อหาคำสอนของพระเยซูคือ การมาของแผ่นดินพระเจ้า ซึ่งวลีนี้มีปรากฏในพระกิติคุณ 87
ครั้ง
และตามทัศนะพันธสัญญาเดิมและใหม่ก็หมายถึง
การปกครองของพระเจ้าในมิติปัจจุบันและอนาคต
ถ้ามีความสมดุลในสองมิตินี้ข่าวประเสริฐจะออกมาแง่บวกและเชิงรุก
มิติปัจจุบัน: คำตรัสพิเศษของพระเยซูที่ว่า
การมาของพระองค์เองเป็นเหตุให้แผ่นดินพระเจ้ามาถึง ไม่ใช่มาใกล้
แต่อยู่ ณ ที่นี่บัดนี้เลย
เป็นวันใหม่หรือผ่านเข้าสู่ยุคใหม่
สถาปนาพันธสัญญาใหม่
ทำให้พระสัญญาใหม่“สำเร็จ” วันเวลาของยุคเก่าถึงกาลอวสานแล้ว พันธสัญญาที่เคยทำไว้กับอับราฮัม อิสอัค
และยาโคบกลายเป็นสิ่ง“เก่า”ไปแล้ว พระบัญญัติและคำเผยพระวจนะบรรลุผล พระสัญญาหรือความเชื่อในพันธสัญญาเดิมสำเร็จ
หมายสำคัญซึ่งเป็นหลักฐานบ่งบอกอีกอย่างเป็นการรับใช้ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของพระเยซู
(การอัศจรรย์ การรักษาโรค และการขับผี
เล็งถึงความพ่ายแพ้ของซาตาน)
พระวิญญาณที่กำลังทำกิจของพระองค์อยู่
และหลังจากคืนพระชนม์แล้วพระเยซูบัพติศมาให้สาวกนับแต่วันเพ็นเทคอสเป็นต้นมา
มิติอนาคต :
ที่สำคัญที่สุดได้แก่
การฟื้นขึ้นจากความตาย
และการพิพากษาครั้งสุดท้าย
แกะจะถูกแยกจากแพะ
พระพรมีแก่ผู้ชอบธรรม แต่การสาปแช่งจะตกอยู่กับคนชั่ว
ประวัติศาสตร์มาถึงอวสาน
กาลเวลากลายเป็นนิรันดร์กาล
และอาณาจักรพระเจ้าปรากฏขึ้นในที่สุด
แผ่นดินพระเจ้าไม่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง สถานที่
เขตแดน หรือเขตปกครอง
พระเยซูจึงไม่ใช่นักปฏิวัติทางการเมืองที่มาเติมเต็มความหวังในการสร้างประเทศชาติหรือกองทัพของชาวยิวขึ้นใหม่
แล้วก็ไม่ใช่นักปฏิรูปศาสนาที่พยายามฟื้นฟูความบริสุทธิ์หรือมุ่งเน้นชำระการนมัสการของอิสราเอล
สิ่งที่มาพร้อมกับแผ่นดินพระเจ้า
ประการแรกเป็นความสัมพันธ์อันสนิทแนบแน่นกับพระบิดาหรือ “อับบา”
ซึ่งพระเยซูชอบใช้คำนี้เรียกพระเจ้า ทั้งสอนสาวกให้เรียกตามด้วย ซึ่งแตกต่างไปจากธรรมเนียมสมัยนั้น ประการที่สองคือ ฤทธิ์อำนาจใหม่ที่ช่วยสาวกให้ดำเนินชีวิตตามหลักจริยธรรมของแผ่นดินพระเจ้าด้วยหัวใจใหม่และพลานุภาพใหม่
ความเป็นบุคคลของพระเยซู:
ผู้นี้เป็นใคร จนชั้นลมและทะเลก็เชื่อฟัง
พระเยซูทรงเปิดเผยทีละขั้นๆว่า
พระองค์เป็นใคร(ซึ่งหลายฝ่ายถูกกระตุ้นให้นึกสงสัยอยู่ในใจ) ผ่านทางพระราชกิจที่ทำ
ถ้อยคำที่ตรัส และพระฉายาที่ใช้หรือยอมรับ
ด้านพระราชกิจ
พระองค์ได้ประกาศเจาะจงถึงสิทธิอำนาจเสมอพระเจ้า
ทั้งที่จริงแล้วเป็นการกระทำในเชิงรับต่อพระเจ้า
ในด้านการอัศจรรย์ที่พระองค์ทำก็พิเศษเฉพาะตัว และบ่งชี้ถึงความเป็นพระคริสต์
ถ้อยคำที่ตรัส
พระองค์ได้ประกาศถึงความจริงแน่นอนที่มาจากความเป็นตัวพระองค์
กล้ายกเลิกแม้กระทั่งทัศนะต่างๆของกฎบัญญัติ แถมเปรียบตัวเองว่าเหนือกว่า
ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีตเช่นซาโลมอน หรืออับราฮัม
คำสอนก็เปิดเผยถึงพระปัญญาตามรูปแบบปัญญาจารย์ในอดีต ได้แก่ สุภาษิต คำคม บทกวี
เรื่องอุปมา โดยเฉพาะคำตรัสเกี่ยวกับชะตากรรมมนุษย์ที่ชี้ชัดเจนว่า
จะไปสวรรค์หรือนรก รับพระพรหรือการสาปแช่ง ก็ขึ้นกับการยอมรับหรือปฏิเสธพระองค์
เมื่อเผชิญกับความเป็นบุคคลของพระเยซูก็เท่ากับเผชิญความรอดหรือการพิพากษา
แต่การปฏิเสธ เท่ากับปฏิเสธปัญญาที่สำแดงเป็นชีวิตพระเยซู
ซึ่งจะถูกลงโทษอย่างน่าสยดสยอง
ดังนั้นความภักดีต่อพระองค์จึงเป็นเรื่องจริงจังชนิดประนีประนอมไม่ได้
พระฉายานามที่ทรงใช้หรือยอมรับ บุตรดาวิด:
พระองค์มาทำให้ราชวงศ์ดาวิดสำเร็จสมบูรณ์ แต่ฉายานี้มีความหมายแฝงไปในด้านการเมือง
ดังนั้นเพื่อกันความเข้าใจผิดถึงบทบาทและพันธกิจ พระองค์จึงหลีกเลี่ยงที่จะใช้
ผู้เผยพระวจนะนั้น: พระองค์มาทำให้คำพยากรณ์ก่อนหน้านี้สำเร็จ
พระเยซูมาประกาศและนำแผ่นดินพระเจ้าเข้ามาในโลก บุตรพระเจ้า:
เล็งถึงพระเมสสิยาห์ในความสัมพันธ์กับพระเจ้าซึ่งต่างจากมนุษย์คนอื่นๆ พระคริสต์:
ทรงเป็นผู้รับการเจิมในการรับใช้และผู้ที่ชาวยิวรอคอย ฉายานี้กลายมาเป็นพระนาม คือ
พระเยซูคริสต์ บุตรมนุษย์:
เป็นฉายานามสำคัญที่สุดที่พระองค์ชอบใช้เรียกตัวเอง และแสดงถึงตัวตนและพระราชกิจของพระองค์มากที่สุด
แม้คำนี้จะมีความหมายคลุมเครืออยู่บ้าง คำนี้มีปรากฎ 69 ครั้งในกิตติคุณสัมพันธ์
และ 13 ครั้งในกิตติคุณยอห์น
สำหรับพระเยซูนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์กับพระเจ้า
พระองค์บอกว่า ผู้พิพากษาอธรรมคือผู้ที่ไม่ยำเกรงพระเจ้าและไม่ให้เกียรติมนุษย์
พระบัญชาในแนวตั้งและแนวนอนต้องดำเนินควบคู่กันไป
ขณะที่คนอิสราเอลโหยหาพระเมสสิยาห์ให้มาฟื้นมรดกทางการเมืองและปลดแอกจากศัตรู
พระเยซูกกลับเห็นว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆคือ
เครื่องบูชาที่ถวายครั้งเดียวเป็นพอ ซึ่งจะเติมเต็มความต้องและแก้ปัญหาที่ลึกและสำคัญกว่าในความสัมพันธ์ที่คนอิสราเอลมีต่อพระเจ้า
และตอบสนองความต้องการใหญ่หลวงของมนุษยชาติด้วย นั่นคือ การอภัยบาป
ดังนั้นพันธกิจและการรับใช้ของพระเมสสิยาห์จึงเป็นการสถาปนาพันธสัญญาใหม่คู่กับสายสัมพันธ์ใหม่
ซึ่งได้แก่การเรียกพระเจ้าว่าพระบิดา และประทานพระวิญญาณบริสุทธ์มาเป็นพระผู้ช่วย
เหตุการณ์ที่ซีซารียาฟีลิปปี:
จุดหักเหของเหตุการณ์
เจ้าผู้ครองนิยมสร้างเมืองอุทิศให้ซีซาร์
แล้วตั้งชื่อว่าซีซารียา ดังนั้นจึงมีเมืองซีซารียาอยู่มากมาย เช่น
ซีซารียาฟีลิปปีบนเนินเขาเฮอร์โมนติดชายฝั่งทะเล
เจ้าผู้ครองนามว่าฟีลิปอุทิศให้ซีซาร์ ประวัติศาสตร์จารึกว่า
เมืองนี้เป็นที่แรกที่พระเยซูเริ่มเปิดเผยถึงการสิ้นพระชนม์ว่าเป็นสิ่งจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพื่อเตรียมสาวกให้พร้อมที่จะรับมือ
และทำให้พวกเขาเข้าใจความเป็นพระเมสสิยาห์ของพระองค์ แม้เปโตรยอมรับสถานภาพของพระเยซู
แต่เขายังไม่เข้าใจถึงพระปัญญาของพระเจ้า เพื่อไม่ให้ทัศนะผิดๆนี้ขยายตัว
จึงทรงให้เก็บเรื่องนี้เป็นความลับ
การทนทุกข์ที่พวกสาวกได้ฟังขณะยังไม่ได้ตั้งตัวนี้ก็สวนทางกับความคาดหวังที่ฝังใจอยู่
ซึ่งสร้างความสับสนให้มากทีเดียว แม้พวกเขาอยู่ในวัฒนธรรมที่เชื่อว่า
การตายของผู้ชอบธรรมนำมาซึ่งการไถ่บาปของประชาชาติ
เหตุการณ์นี้จึงเป็นจุดหักเหสำคัญในการรับใช้ของพระองค์
จำแลงพระกาย: แวบหนึ่งของอนาคต
ราว
6-8 วันหลังการยอมรับของเปโตรที่ซีซารียาฟีลิปปีบนเนินเฮอร์โมน
พระเยซูทรงจำแลงพระกาย ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นบนภูเขาเฮอร์โมน ต่อหน้าเปโตร ยากอบ
และยอห์น พระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงอย่างอัศจรรย์ เสื้อขาวระยับ
ใบหน้าทอแสงจ้าจากภายในสู่ภายนอก คือ พระสิริสำแดงออกมาแวบหนึ่ง และการมาของโมเสสก็เล็งถึงความสำเร็จของพระบัญญัติและคำเผยพระวจนะ
ส่วนพระสุรเสียงจากสวรรค์ช่วงแรกก็เป็นคำทักท้วงข้อเสนอให้สร้างพลับพลาสามหลัง
เพราะนั่นเป็นการทำสิ่งชั่วคราวให้มาเป็นของถาวร และผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองนี้
ก็เทียบไม่ได้กับพระบุตรองค์เดียว ส่วนการจำแลงพระกาย
และพระสุรเสียงช่วงหลังที่สั่งให้เชื่อฟังนั้นก็เป็นการผนึกตราความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับเหตุการณ์ที่ซีซารียาฟีลิบปี
คือตอกย้ำว่า การปฎิเสธการทนทุกข์ของพระเมสสิยาห์ก็มาจากมาร
พวกสาวกควรเชื่อฟังแทนที่จะยัดเยียดทัศนะหรือแข็งขืนพันธกิจของพระเยซูให้เป็นไปตามความคิดของตน
บทบาทนี้ได้นำพระเยซูมุ่งหน้าสู่เยรูซาเล็มไปยังไม้กางเขน และทรงเห็นว่า
ไม่จำเป็นต้องอธิบายละเอียดถึงการวายพระชนม์ว่าส่งผลต่อการอภัยบาปและเป็นตราพันธสัญญาใหม่อย่างไร
แต่ปล่อยให้เป็นหน้าที่สาวกหาคำอธิบายเชิงศาสนศาสตร์ถึงเรื่องนี้ นั่นคือ การสอนที่กาลิลีได้จบลงแล้ว
คงเหลือแต่การสอนระหว่างทางไปเยรูซาเล็มและที่เยรูซาเล็ม
การรับใช้ของพระเยซูได้ผ่านจุดหักเหสำคัญในช่วงเวลานี้เอง
เสด็จสู่เยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิต: กษัตริย์อิสราเอลมุ่งสู่เมืองหลวง
พระเยซูเดินทางด้วยสง่าราศีสู่ความตาย
พระองค์ไม่ได้เข้าเยรูซาเล็มเพื่อครองบัลลังก์ แต่เพื่อทำพันธกิจพระบิดาให้สำเร็จ
นี่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญและเกิดขึ้นจริง
ซึ่งพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มบันทึกไว้ว่า ทรงกระทำเชิงสัญลักษณ์อย่างจงใจ
เพื่อชี้ว่าพระองค์คือพระคริสต์ หรือกษัตริย์ที่อิสราเอลตั้งตาคอยเนิ่นนาน และเชิงอุปมาที่บางคนเข้าใจได้
แต่ปิดไว้จากบางคน
การเสด็จเข้านครศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงพระเมสสิยาห์เป็นความลับอย่างเดียวกับที่ทรงสอนถึง
แผ่นดินของพระเจ้า โดยใช้คำอุปมาและใช้นามบุตรมนุษย์
ด้วยเจตจำนงค์ให้คำพยากรณ์ในเศคาริยาห์ 9:9 สำเร็จ
พระองค์ไม่เดินเข้าไปหรือไม่ขี่ม้าศึก แต่ขี่ลูกลา เครื่องหมายของความสุภาพอ่อนโยน
พระองค์หยั่งรู้ล่วงหน้าอย่างอัศจรรย์ว่ามันถูกผูกอยู่ที่หมู่บ้านใกล้ๆและไม่เคยมีใครขี่มันมาก่อน
จึงเหมาะที่จะเป็นพาหนะในงานศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนี้
สาวกปูเสื้อคลุมเป็นอานในฐานะพระเมสสิยาห์ตามบรรยากาศที่ถูกเร้าให้เป็นไป แม้ทางตาลหรืออินทผลัมที่โบกสะบัดให้ขณะลงมาจากภูเขามะกอกเทศมุ่งสู่เยรูซาเล็มบ่งบอกถึงความเป็นกษัตริย์หรือพระเมสสิยาห์
เนื่องจากใบพืชพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ถึงความเป็นชาตินิยมอิสราเอล
แต่จริงๆไม่ได้มาจากความเข้าใจถ่องแท้ว่าพระเยซูเป็นผู้ใด
(เหมือนคำยอมรับของเปโตร) พวกเขาโห่ร้องในฐานะ “เยซูผู้เผยพระวจนะจากนาซาเร็ธ”
ที่ทำให้ลาซาลัสฟื้นจากความตายไม่นานมานี้
เป็นเรื่องประจวบเหมาะหรือความกระตือรือร้นที่ไม่ได่มาจากความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าเกิดอะไรขึ้น
คำโห่ร้องจากสดุดี 118 นั้นใช้ร้องต้อนรับนักแสวงบุญช่วงเทศกาลสำคัญๆ
เช่น เทศกาลอยู่เพิง และเทศกาลปัสกา “โฮซันนา” เป็นคำอธิษฐานขอความช่วยเหลือ แปลตามตัวอักษรได้ว่า “(โปรด)ช่วยเราให้รอด” ส่วนการวางเสื้อคลุมและกิ่งไม้ลงบนถนนขณะลูกลาผ่านก็แสดงถึงการต้อนรับที่พิเศษกว่านักแสวงบุญธรรมดา
สำหรับพวกเขาจึงเป็นแค่การกระทำตามธรรมชาติและตามธรรมเนียม
แต่ก็แน่ใจได้ว่าทั้งหมดนี้เป็นไปตามน้ำพระทัยพระเจ้า
เพราะหากต้อนรับในฐานะพระเมสสิยาห์หรือกษัตริย์อิสราเอลซึ่งซีซาร์ไม่มีที่ว่างห้
ย่อมนำมาซึ่งการเผชิญหน้ากับโรมในทันที
ยอห์นบอกว่าแม้สาวกเองก็ไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และแค่ภายในเวลาสั้นๆนั้น
เสียงโห่ร้องต้อนรับกลับเป็นเสียงตะโกนกู่ก้องให้ตรึงเสียงที่กางเขน
แท้ที่จริงถ้าฝูงชนนิ่งเงียบหรือไม่ตอบสนองขนาดนี้ “ศิลาทั้งหลายก็ยังจะส่งเสียงร้อง”
(ลูกา 19:40)
ชำระพระวิหาร: พระนิเวศหรือถ้ำโจร
ตามมัทธิวและลูกา
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นถัดจากการเข้าเยรูซาเล็มอย่างผู้พิชิตทันที
แต่มาระโกระบุว่าเป็นวันรุ่งขึ้น ส่วนยอห์นใส่ไว้ช่วงต้นๆ คงเป็นเชิงการเขียน ที่อยากชี้ชัดแต่แรกเลยว่าความเป็นศัตรูกับผู้นำศาสนาจนต้องไปกางเขนนี้เลี่ยงไม่ได้
เราต้องระลึกว่าพระกิตติคุณไม่ได้บันทึกไว้ตามลำดับเหตุการณ์เสมอไป เช่น
มาระโกจัดเรียงตามภูมิศาสตร์โดยเอาพันธกิจในกาลิลีมาก่อนเยรูซาเล็ม
พระวิหารสมัยพระเยซูงดงามตระการตาเทียบได้กับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ
หุ้มด้วยทองคำเป็นส่วนใหญ่นอกนั้นเป็นศิลาขาวอร่าม ยามต้องแสงอาทิตย์จึงตระหง่าน
เจิดจรัสยิ่ง เขตพระวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
บริเวณโดยรอบก็นับได้ว่าใหญ่ที่สุดในโลกโบราณ ใช้ศิลาจำนวนมาก
บางก้อนที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ยาว 40 ฟุต หนัก 100 ตัน แต่โจเซฟัสก็พูดถึงศิลาที่ใหญ่กว่านี้อีก
ช่วงที่เฮโรดสร้างใช้คนงานหมื่นคน เกวียนหนึ่งพันเล่ม
และปุโรหิตที่รับการฝึกด้านเทคนิคหลากหลายเป็นพิเศษหนึ่งพันคน
เมื่อพระเยซูเดินผ่านประตูทองที่ตั้งประจันหน้าภูเขามะกอกเทศเข้าสู่พระวิหาร
ขณะผ่านลานคนต่างชาติทรงพบโต๊ะรับแลกเงิน ทุกปีราวช่วงปัสกา
ชายชาวยิวที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนต้องจ่ายภาษีพระวิหารครึ่งเชเขล
แต่เงินสมัยนั้นจารึกภาพและคำของรูปเคารพ
ที่ยอมรับได้ก็มีแต่เหรียญเงินดิแดรคครึ่งเชเขลของไทระ (didrachma of tyre)
ฉะนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกจึงตั้งโต๊ะแลกเงินที่ลานนี้
นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกโดยตั้งโต๊ะแลกเงินตราตามแว่นแคว้นต่างๆรอบเยรูซาเล็มในวันที่
15 ก่อนเทศกาลปัสกาและในวันที่ 25 จะตั้งโต๊ะแลกเงินที่ลานนี้
โดยคิดค่าธรรมเนียม 4-8% นอกจากนั้นยังพบการขายสัตว์ที่นำไปเป็นเครื่องบูชาด้วย
เพราะการหาสัตว์ที่มีคุณภาพถูกต้องเหมาะสมนั้นมีกระบวนยุ่งยาก ถ้าเป็นมลทิน
ไม่ผ่านการตรวจสอบ เจ้าของสัตว์จะทำอย่างไร ในแง่หนึ่งจึงเป็นการบริการที่ดี
แต่อีกมุมหนึ่งทำให้วิหารกลายเป็นตลาด ทั้งเสียงร้อง กลิ่นและมูลสัตว์ หรืออื่นๆ
กลับหันเหความสนใจของประชาชนไปจากพระประสงค์ที่พระเจ้าวางไว้ให้เป็นนิเวศอธิษฐาน
แถมพบหลักฐานด้วยว่ากิจกรรมรูปการค้าเหล่านี้ ทำกำไรงามให้กับปุโรหิต สำหรับผู้ซื้อก็นับว่าในความอับยศนี้ด้วย
พระเยซูผู้อ่อนโยนทรงขัดขวางธุรกรรมนี้ด้วยการคว่ำโต๊ะและขับไล่อย่างมั่นใจและเต็มด้วยสิทธิอำนาจที่มาจากความสัมพันธ์กับพระเจ้าแห่งพระวิหารนี้
ไม่มีผู้ใดทัดทานการกระทำเชิงพยากรณ์หรือเชิงอุปมาของพระองค์
เมื่อมองเชิงสัญลักษณ์ก็จะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ
สื่อว่าการพิพากษากำลังจะเกิดขึ้นกับพระวิหารและชนชาติอิสราเอลโดยพระเยซูเองเป็นเหตุนำการทำลายมา
อาหารมื้อสุดท้าย : พระเยซูทรงมองไปยังอนาคต
พระเยซูผู้เป็นเจ้าภาพได้เตรียมการไว้
ล่วงหน้าและให้มื้อสุดท้ายนี้อยู่ตามลำพังกับสาวก
ระหว่างนี้กิตติคุณทั้งสี่ฉบับพูดถึงคำทำนายเรื่องการทรยศของสาวก
ซึ่งมิใช่แค่ชี้ถึงความพิเศษเฉพาะตัวในแง่เป็นพระคริสต์
แต่ยังให้ภาพถึงความเป็นผู้เผยพระวจนะที่ล่วงรู้อนาคตและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น สะท้อนชัดว่า
กางเขนเป็นมูลเหตุให้พระองค์มา
กางเขนไม่ใช่ความผิดพลาดที่น่าเศร้า
และไม่ใช่การออกนอกพระประสงค์ของพระเจ้า
ตรงข้ามการทรยศที่นำสู่กางเขนเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานการปกครองสูงสุดด้วย
จากนั้นทรงใช้บริบทช่วงสุดท้ายของการฉลองปัสกาสถาปนา “ พิธี
” ในพันธสัญญาใหม่
คำตรัสทั้งหมดเป็นเชิงภาพเปรียบเทียบ
ในตอนนั้นสาวกยังไม่เข้าใจทั้งหมด
แต่ภายหลังคริสตจักรเข้าใจกระจ่างขึ้นถึงพระเยซูผู้มาจากพระบิดา
และตระหนักว่าขนมปังเล็งถึงพระวาทะผู้บังเกิดเป็นมนุษย์และแบกรับบาปไว้ที่กายของพระองค์
สำหรับขนมปังในมื้อสุดท้ายของพระเยซูบ่งชี้ถึงการมารับสภาพเป็นมนุษย์ของพระบุตรและจ่ายตนเองเพื่อไถ่โลก
ปัสกาเป็นพิธีเชิงสัญลักษย์เล็งถึงพันธสัญญาเดิมฉันใด
พิธีมหาสนิทก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ปัสกาตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงการอพยพฉันใด
มหาสนิทก็ระลึกถึงการวายพระชนม์ของพระคริสต์ผู้เป็นปัสกาของเรา
และระลึกถึงการเสด็จกลับมาในอนาคตของพระองค์ฉันนั้น พระเยซูตั้งพิธีนี้เพื่อให้สาวกระลึกถึงอย่างต่อเนื่อง
ในอาหารมื้อสุดท้าย
พระเยซูเปิดเผยอีกว่าการวายพระชนม์เกี่ยวข้องกับการหลั่งเลือดเพื่อสาวก
คนยิวคุ้นเคยกับข้อห้ามดื่มเลือดในพันธสัญญาเดิม ถ้าพระเยซูหมายถึงดื่มเลือดจริงๆ
คงมีการคัดค้านหัวชนฝา
พระองค์กำลังมองไปยังอนาคต
ในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้ที่กำลังจะสละชีวิตเพื่อผนึกตราพันธสัญญาใหม่
ขนมปังและเหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์ป่าวประกาศอย่างต่อเนื่องถึงสิ่งสำคัญนิรันดร์
คือพระกายและพระโลหิต จากวันนี้
จนถึงอวสานของประวัติศาสตร์กางเขนที่น่าสยดสยองกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อและชัยชนะ
เกทเสมนี การทรยศ และการจับกุม : น้ำพระทัย
ความชั่วร้ายที่ครอบงำมนุษย์
เมื่อตั้งพิธีระลึกเสร็จ ก็พากันลงไปยังสวนเกทเสมนี
บนลาดเขาในเยรูซาเล็มส่วนที่ขยายออกไป
ทรงซบหน้าลงเทใจอธิษฐานด้วยความทุกข์ทรมานที่กำลังจะเผชิญการแยกจากพระบิดา
ยูดาสจัดโอกาสให้ผู้นำยิวมาจับในที่ลับตาโดยประชาชนไม่ล่วงรู้
ซึ่งช่วยป้องกันการจลาจลไปในตัว
ฝ่ายพระเยซูตอบสนองจุบยูดาสด้วยความเวทนาและเสียพระทัย
จากนั้นทรงหันไปเผชิญหน้าศัตรูที่ไม่เฉลียวใจว่าตนกำลังอยู่ในแผนของฝ่ายตรงข้าม โดยไม่สะทกสะท้าน จนเราไม่เห็นความอ่อนแอใดๆจากพระองค์
แต่สาวกทั้งสับสน กลัว และมุ่งหนีเอาตัวรอด
เปโตรพยายามทำในสิ่งที่เป็นธรรมชาติของตัวเขา ทว่ากลับถูกตำหนิ ทำให้เขารู้สึกถูกปฏิเสธ
แล้วหนีไปด้วยความว้าวุ่นใจ แม้ประจักษ์ชัดถึงความสยดสยองของบาป
ก็อย่าให้โศกนาฏกรรมตำตา จนบดบังความจริงที่ว่าพระเจ้าทรงควบคุมอยู่ตลอดทุกสถานการณ์ ไม่ว่าการทรยศของยูดาส การผละจากของสาวก
การปฎิเสธของเปโตร รวมถึงการสิ้นและคืนพระชนม์
เพราะพระเยซูได้ทำนายไว้ทั้งหมดล่วงหน้าแล้ว
ความเสื่อมทรามของมนุษย์ร้ายแรงถึงขั้นสมควรรับพระพิโรธ เกทเสมนีย้ำเตือนเราไม่ให้มองข้ามบาปและผลของมัน
และพระเยซูเพียงผู้เดียวสามารถดื่มถ้วยที่นำความรอดมาสู่มนุษย์ชาติได้
การสอบสวน :
ปรับโทษผู้ไร้ผิด
พระกิตติคุณบันทึกการสอบสวนไปคนละแง่มุม แต่ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า
ผู้นำยิวเป็นตัวการจับกุม และไต่สวน เริ่มจากอันนาสไต่สวนลวก
ๆ (ไม่เป็นทางการ) เพียงเพื่อยัดเยียดข้อหาให้ แต่หาไม่พบ
จึงส่งตัวให้คายฟัส สภาซานเฮดรินจึงเรียกพวกพยานมาสอบสวนด้วย
ทว่าคำปรักปรำไม่ชัดเจนพอจะเอาผิดได้ คายฟัสเลยถามตรง ๆ แต่พระเยซูนิ่งตลอด
จนถึงจุดให้สาบานตัวโดยอ้างพระคัมภร์ ซึ่งเป็นระบบให้ผู้ต้องหาปกป้องตนเองของศาลยิว จึงทรงตอบรับว่า
เป็นเมสสิยาห์อย่างหนักแน่นและสงวนท่าที เพื่อไม่ให้ตีความผิด ๆ ได้ คายฟัสก็ฉีกเสื้อประกาศคำพิพากษาทันที แท้จริงแล้วไม่ชัดว่า
คำตรัสไหนที่ทำให้ถึงกับต้องโทษประหารฐานหมิ่นประมาทพระเจ้าอย่างเป็นทางการ (ระหว่างนี้เปโตรก็ปฏิเสธพระเยซูสามครั้งตามที่ทรงทำนายไว้ล่วงหน้า)
แต่ทั้งมหาปุโรหิตและสภาซานเฮดรินต่างไม่มีอำนาจประหารได้
จึงบิดเบือนข้อหาทางศาสนามาเป็นข้อหาทางการเมือง แล้วส่งตัวให้ปอนทัส ปีลาต
(ช่วงนี้ยูดาสเสียใจแบบนำสู่การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่กลับใจใหม่)
เมื่อไม่พบความผิดใดๆ ปีลาตจึงหาทางปล่อยตัว
แต่ผู้นำยิวกดดันให้ประหารอย่างเดียว
ปีลาตจึงปัดปัญหาไปให้เกีรยติเฮโรด อันทิปัส เป็นผู้ตัดสิน พระเยซูไม่ให้การอะไรเลย เฮโรด
จึงให้เสื้อคลุมหรูสวมเพื่อเยาะเย้ยคำอ้างว่าป็นกษัตริย์ แล้วส่งกลับไปให้ปีลาตอีก
ซึ่งเป็นช่วงปล่อยนักโทษตามธรรมเนีเทศกาลปัสกาเพื่อระลึกถึงอิสรภาพจากการเป็นทาสในอียิปต์พอดี
ผู้นำโรมทั้งสองเห็นตรงกันว่า นี่ไม่ใช่โทษถึงตาย ปีลาตประกาศปล่อยตัวพระเยซู
แต่ด้วยการยุยงของผู้นำยิว ฝูงชนร้องขอให้ปล่อยบารับบัสแทน ปีลาตฝืนใจยอมตามแม้ไม่เต็มใจส่งคนไร้ผิดที่สุดเท่าที่เคยมีบนโลกใบนี้ไปสู่ความตายสยดสยองที่สุด
แต่ในเบื้องลึก เราตระหนักว่า
บาปของผู้ตามพระเยซูต่างหากเป็นต้นเหตุแท้จริงให้พระเยซูถูกประหาร
การทนทุกข์ วายพระชนม์
ฝังพระศพ : ถูกเหยียดหยาม ปฏิเสธ
ฉากไต่สวนเป็นที่วังเฮโรด พอสิ้นคำพิพากษา การประหารก้เปิดฉากออก เริ่มจากโบยตี
ซึ่งปกติเป็นส่วนหนึ่งของการตรึง
แล้วถูกบังคับให้แบกกางเขนไปเนินหัวกระโหลก(แดนประหารก็นอกเมืองเยรูซาเล็ม) ซึ่งเห็นได้แต่ไกล
เพราะจงใจประจานไม่ให้ใครเอาอย่าง
ตอนหมดแรงทหารโรมันเกณฑ์ซีโมนชาวเมืองไซรีน(ปัจจุบันคือเมืองลิเบีย)ช่วยแบก เขาเลยสร้างตำนานเป็นคนแรกแบกกางเขนตามพระเยซู
และเป็นธรรมเนียมที่จะให้เปลือยกายเพิ่มความอับอายและเหยียดหยาม
และผู้ประหารจะฉีกเสื้อนักโทษแบ่งกัน แต่ถาเสื่อไม่มีตะเข็บ ก็จะจับฉลากกันแทน
และเพราะพระเยซูอยูในธรรมเนียมยิว
ทหารจึงยอมให้สิทธิพิเศษที่จะใส่ผ้าพันสะโพกได้
การตรึงกางเขนเป็นความทารุณที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมาและมีหลายรูปแบบ พลเมืองโรมไม่ต้องถูกประหารด้วยวิธีนี้ เพราะถือว่าเป็นการทำโทษชนชั้นต่ำ ส่วนชาวยิวคุ้นเคยดี
แม้แต่ผู้นำยิวก็ใช้วิธีนี้ลงโทษ โดยการใช้เสางัดขึ้นไป
แล้วกางเขนท่อนขวางถูกสอดเข้าไปในร่องท่อนตั้งและตอกติดแน่น
ถ้ามีที่พักเท้าให้ก็ช่วยให้กายผ่อนคลายแต่ถูกยืดความสาหัสนานขึ้น ถ้าเหยื่อมีชีวิตอยู่ได้หลายวันก็จะถูกแมลงกัด
นกกิน สุนัขแทะเนื้อ
เหยื่อกางเขนจะช่วยตัวเองไม่ได้เลย
เวลาที่ตรึงเชื่อว่าเป็นวันก่อนวันสะบาโต
และราวๆเก้าโมงเช้าถึงเที่ยง
ที่ยอห์นบอกว่าเที่ยง เพราะว่าลูกแกะถูกฆ่าตอนเที่ยงวัน
เหยื่อสังหารที่อยู่ตรงกลางถือว่าสำคัญ เพราะบารับบัสเป็นกบฏฆ่าคน
และตามธรรมเนียมจะนำข้อกล่าวหามาตีแผ่ช่วงประหาร
กรณีของพระเยซูจึงติดไว้เหนือศีรษะด้วยภาษาฮีบรู ลาติน และกรีก
ข้อหาที่เสียดสีของเจ้าเมืองโรมันนั้นกลายเป็นพยานทางอ้อมว่า
พระเยซูทรงเป็นพระเมสสิยาห์
ส่วนคายาฟัสก็พุดเป็นพยานโดดยไม่รู้ตัวว่า
พระเยซูต้องสละชีวิตเพื่อชนชาติอิสราเอล
ขณะอยู่บนกางเขนพระเยซูพูดเจ็ดข้อความก่อนสิ้นใจ จากนั้นอาจจะหัวใจวายหรือขาดอากาศหายใจ
ถึงกระนั้นพระเยซูก็คือควบคุมเหนือเหตุการณ์นี้
ความผูกพันระหว่างชีวิตกับเจตจำนงค์เป็นเรื่องเร้นลับ
เช่นถึงจุดหนึ่งก็สามารถตั้งใจตายได้
การวายพระชนม์นี้มีหมายสำคัญหลายอย่างตามมาจนนายทหารออกปากรับรองว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า ปกติศพอาชญากมักถูกโยนทิ้ง
แต่โยเซฟและนิโคเดมัสช่วยกันฝังพระศพ
ชาวยิวไม่ควักอวัยวะภายในและไม่อาบน้ำศพเหมือนอียิปต์ หลังจากชำระ ตัดเล็บ ตัดผม
และปิดตา แล้ว
ก็ห่อด้วยเครื่องหอม(มดยอบและกฤษณา)สามสิบกว่ากิโล ใช้ผ้าลินินห่อ แล้วนำไปไว้ที่อุโมงค์
ปากอุโมงค์สูงราวๆ 3 ฟุต
หินที่ใช้ปิดปากอุโมงค์คล้ายล้อพิงไว้กับกำแพงอุโมงค์
ทหารโรมันใช้กำลังและสิทธิอำนาจป้องกันอุโมงค์ได้เพียงวันเดียว
เพราะวันอีสเตอร์อุโมงค์ต้องเปิดออก
การวายพระชนม์บนกางเขนของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ
เป็นเหตุการณ์ที่มีหลักฐานและรู้จักกันในประวัติศาสตร์มากที่สุด
คืนพระชนม์:
หาคนเป็นในพวกคนตายทำไม
ขณะที่พวกสาวกทั้งโศกเศร้าและสับสน
ว้าวุ่นและหมดหวัง เริ่มต้นเช้าวันอาทิตย์
เหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติอุบัติขึ้น
มองตามการนับเวลาของชาวยิว เหตุการณ์ก็เป็นไปดังนี้
วันที่ 1 พฤหัส 18:00 น. ถึงศุกร์ 18:00 น. เป็นช่วงอาหารมื้อสุดท้าย
อธิษฐานที
เกทเสมนี ถูกไต่สวน ถูกตรึง
และฝังพระศพ
วันที่ 2 ศุกร์ 18:00 น. ถึงเสาร์ 18:00 น. อุโมงค์ถูกเฝ้าแน่นหนา
วันที่ 3 เสาร์ 18:00 น. ถึงอาทิตย์ 18:00 น. พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์
เช้าตรู่วันสะบาโต กลุ่มผู้หญิงนำโดยมารีย์
มักดาลา ตั้งใจไปชโลมพระศพที่อุโมงค์ ซึ่งชี้ชัดว่า
ไม่มีใครคิดแม้แต่น้อยว่าพระเยซูเป็นขึ้นมาจากตาย
ทหารเล่าว่าเกิดแผ่นดินไหวไหญ่และทูตสวรรค์มากลิ้งหินจากปากอุโมงค์
ซึ่งไม่ใช่เพื่อให้พระเยซูออกมา
แต่เพื่อให้พวกผู้หญิงเข้าไปและเห็นความว่างเปล่าในอุโมงค์
และแทนที่จะคิดว่าทรงเป็นขึ้นมา พวกเธอกลับเข้าใจว่าพระศพถูกขโมย
จนทูตสวรรค์ได้มาบอก และพระเยซูก็ทรงยืนยันกับมารีย์ มักดาลา ด้วยตัวเอง พวกสาวกมองว่า ข่าวดีนี้เหลวไหล เพราะเหลือเชื่อเกินไปจนกระทั่งพระเยซูปรากฏกายที่สัมผัสได้
กินอาหารได้ และคุยกับหลายคนได้ในเวลาเดียวกัน
นี้เป็นคำพยานใหญ่สุดถึงการคืนพระชนม์จากสภาพมตะสู่อมตะ
แม้ความสงสัยของโธมัสถูกตำหนิ แต่ระบุถึงความแข็งขืนและความไม่เชื่อ
เปาโลอ้างถึงหลายคนที่เป็นพยานในเรื่องนี้ได้
ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาผู้คนทุกเผ่าพันธุ์ก็มีประสบการณ์ส่วนตัวที่ยืนยันได้ว่า
พระองค์ทรงประทับอยู่ในหัวใจในชีวิตทางพระวิญญาณของพระองค์
พระกิตติคุณไม่มีรายละเอียดถึงสิ่งที่พระเยซูทำในช่วงสี่วันก่อนเสด็จขึ้นสวรรค์สู่พระสิริดังที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิมและรับการเทิดทูนขึ้นประทับเบื้องขวาของพระเจ้า
เป็นไปได้ว่าพวกสาวกกลับไปบ้านที่กาลิลี
แล้วมาเยรูซาเล็มอีกในเทศกาลสัปดาห์(เพ็นเทคอสต์)
เพื่อคอยจนได้รับพระวิญญาณตามพระสัญญา “ชีวิตของพระเยซู” ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์
แต่ยังรอวันจะเสด็จมาร่วมงานเลี้ยงของพระเมสสิยาห์กับเหล่าสาวกของพระองค์
พระเยซูเจ้าเชิญเสด็จมาเถิด
No comments:
Post a Comment