จากวิกฤติเศรษฐกิจ
และสังคมของไทยนั้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง กำลังถดถอยลง ทำให้กดดันสภาพครอบครัวที่เป็นอยู่อย่างยิ่ง
มีสภาพครอบครัวที่เล็กลงเป็นลักษณะของครอบครัวเดี่ยว ที่มีแค่ พ่อ แม่ ลูก
พ่อและแม่ต้องทำงานทุ่มเทเพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว
จากที่เคยมีเวลาและเลี้ยงดูให้กับเด็กก็ลดน้อยลง
ทำให้จำเป็นต้องมีบุคคลอื่นมาดูแลเด็กแทน พ่อและแม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กก่อนวัยเรียนตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
จึงทำให้มีสถานเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนเกิดขึ้นเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น
ซึ่งสถานเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนนี้ก็จะต้องได้รับมาตรฐานที่สามารถรับรองได้ว่าสามารถดูแลเด็ก
และมีการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ที่จะสามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กที่ดีกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดู
หรือบุคลากรที่มีความรู้
ซึ่งเด็กปฐมวัยนี้จะถูกปลูกฝังให้มีการพัฒนาการที่การที่ดี ไปในทางด้านร่างกาย
การแข็งแรงของร่างกาย
ปลูกฝังนิสัยทางสุขภาพอนามัย ฝึกกิจนิสัย และสุขนิสัยที่ดี ด้านจิตใจ
อารมณ์ ส่งเสริมสุขภาพจิต ปลูกฝังให้รู้จักควบคุมอารมณ์ มีจิตใจ ร่าเริงแจ่มใส
ชื่นชมต่อความไพเราะและสิ่งสวยงาม มีจริยธรรมที่ดี ด้านสังคม
ส่งเสริมพัฒนาการปลูกฝังให้เด็กเคารพตนเอง มีสัมมาคารวะ มีระเบียบวินัย
กล้าพูดกล้าแสดงออก รู้จักการเล่นและทำงานกับผู้อื่น
พร้อมทั้งปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านสติปัญญา
ส่งเสริมให้เด็กรู้จักหาเหตุผลให้เกิดความเข้าใจตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
สนใจต่อสิ่งรอบๆตัว มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ลักษณะทางสังคมของเทศบาลเมืองคูคต
ส่วนใหญ่จบการศึกษาตั้งแต่ภาคบังคับไปจนถึงระดับปริญญาตรี
มีโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตทั้งหมด 11 แห่ง เป็นโรงเรียนรัฐบาล 3 แห่ง โรงเรียนเอกชน 8
แห่ง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล 1 แห่ง
คือ ศูนย์เด็กเล็กวัดประยูรธรรมาราม
และอยู่ระหว่างการจัดซื้อเพื่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งที่ 2
การบริหารงานเทศบาลของเมืองคูคต
- 1.
สำนักปลัดเทศบาล
- 2.
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
- 3.
กองการศึกษา
- 4.
กองช่าง
- 5.
กองคลัง
- 6.
กองวิชาการและแผนงาน
- 7.
กองสวัสดิการและสังคม
- 8.
หน่วยตรวจสอบภายใน
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
กมล รอดคล้ายและคณะ (2540 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
พบว่าเด็กมีพัฒนาการ ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และสังคมที่ดีขึ้น
แต่ครูพี่เลี้ยงมีวุฒิต่ำ ขาดการศึกษา
บังอร
อ้วนล้ำ (2540 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กในกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศึกษาในกรณี อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี
พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง
อภิสมัย
วุฒิพรพงษ์ (2540 บทคัดย่อ)
วิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย
ในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด เขตการศึกษา 12 พบว่ามีการนำแผนการจัดประสบการณ์มาปรับปรุงหรือพัฒนาก่อนนำไปใช้โดยปรับเนื้อหาและกิจกรรมให้เข้ากับโรงเรียนและชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน
(2541 บทคัดย่อ) ประเมินระดับการพัฒนาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
พบว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดอยู่ในระดับดี ร้อยละ 10.56 ระดับปานกลางร้อยละ
61.19 และระดับที่ต้องปรับปรุงร้อยละ 28.25 เมื่อเทียบกับปี 2539 พบศูนย์พัฒนามีแนวโน้มดีขึ้น
สมบัติ
จักรสมศักดิ์ (2541 บทคัดย่อ)
ศึกษาเรื่องสภาพการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
อ.เมือง จ.เชียงราย
พบว่ามีปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในการสอนก่อนระดับประถมศึกษา
ขาดงบประมาณในจัดสภาพแวดล้อม ครูจัดกิจกรรมประจำวันไม่ครบตามแนวประสบการณ์
ผู้ปกครองไม่สนใจการเตรียมความพร้อมของเด็กในเรื่องภาษาเด็กใช้ภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทยกลาง
อัครเดช
วรหาญ (2548 บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องความสามารถในการบริหารการจัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอสะเมิง
จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าความสามารถในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กอยู่ในระดับสูง
ณิชมนต์
ปัทมเสวี (2548 บทคัดย่อ)
วิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี
โดยภาพรวมมีการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง
ปัญหาการบริหารงานพบว่าองค์การบริหารส่วยตำบลขนาดเล็ก ขนาดกลางมีปัญหามากกว่าขนาดใหญ่ในทุกด้าน
งานวิจัยต่างประเทศ
Bell
(1992) วิจัยเรื่อง
การตัดสินใจของผู้ปกครองในการเข้ามามีส่วนร่วมและไม่เข้าร่วมในกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน
พบว่าผู้ปกครองที่เข้ามามีส่วนร่วมผู้ปกครองเชื่อว่าการมีส่วนร่วมเป็นการช่วยเหลือครูและจะทำให้เด็กพัฒนาได้ดีขึ้น
ส่วนผู้ปกครองที่ไม่เข้าร่วม คือ
โรงเรียนไม่ได้เรียกร้องขอความร่วมมือและไม่มีเวลาให้
แต่ปัจจัยด้านเชื้อชาติไม่มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วม
DelliColli (1998) วิจัยเรื่อง
ทัศนคติและการรับรู้ของผู้ปกครองที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่าผู้ปกครองมีกิจกรรมหลายรูปแบบเมื่ออยู่ที่บ้าน
สำหรับ ผู้ปกครองที่ไม่มีส่วนร่วม
เพราะรู้สึกห่างเหินและไม่ได้รับการต้อนรับจากโรงเรียน
Pena (2000) วิจัยเรื่อง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา
พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครอง คือ ภาษา
สมาคมผู้ปกครอง ระดับการศึกษา ทัศนคติของบุคลากรในโรงเรียน วัฒนธรรม สภาพครอบครัว
Fantuzzo
(2000) วิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการศึกษาระดับปฐมวัย
พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการศึกษาปฐมวัยมี 3 ลักษณะ
คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บ้าน
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่โรงเรียนและการเข้าร่วมการประชุมของโรงเรียน
พบว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงกว่าจะมีส่วนร่วมในการศึกษาปฐมวัยมากกว่าผู้ปกครองที่มีการศึกษาน้อย
การบริหารการจัดการ
|
μ
|
σ
|
ระดับ
|
1. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
|
3.74
|
0.56
|
มาก
|
2. ด้านการส่งเสริมพัฒนาเด็ก
|
3.49
|
0.72
|
ปานกลาง
|
3. ด้านการบริการอาหารสะอาดและปลอดภัย
|
4.04
|
0.78
|
มาก
|
4. ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัย
|
3.74
|
0.62
|
มาก
|
5. ด้านบุคลากร
|
3.79
|
0.76
|
มาก
|
6. ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
3.43
|
0.86
|
ปานกลาง
|
รวม
|
3.71
|
0.75
|
มาก
|
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองคูคตโดยภาพรวม
จากตารางนี้พบว่า ในภาพรวมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคตอยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปน้อยจะเห็นว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการในระดับมาก
4 ด้าน เรียงลำดับ ดังนี้ การบริการอาหารสะอาดและปลอดภัย, บุคลากร, ส่งเสริมสุขภาพ,
และสิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัย และการระดับปานกลางมี 2 ด้าน
คือ การส่งเริมพัฒนาเด็ก และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จากตารางนี้พบว่า ในภาพรวมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคตอยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปน้อยจะเห็นว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการบริหารจัดการในระดับมาก
ระเบียบวิธีวิจัย
เพื่อให้การวิจัยในเรื่อง
สภาพการบริหารจัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและได้กำหนดรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยซึ่งประกอบด้วย แผนแบบการวิจัย ประชากร ตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
และสถิติที่ใช้การวิจัย มีรายละเอียดดังนี้
แผนแบบของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา
ที่มีแบบแผนการวิจัยในลักษณะของตัวอย่างกลุ่มเดียว ศึกษาสภาวการณ์ไม่มีการทดลองนำเสนอเป็นแผนผังได้ดังนี้
รูปกราฟ
S หมายถึง ประชากร
X หมายถึง
ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษา
O หมายถึง
ข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าตัวแปร
ประชากร
ประชากรำหรับการวิจัยในครั้งนี้
ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ผู้บริหารเทศบาล 5
คน รวม 7 คน เจ้าหน้าที่ 2 คน ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก 4 คน และผู้ปกครองเด็กเล็ก 90 คน รวม 103 คน
ตัวแปร
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1.ตัวแปรพื้นฐาน
เป็นตัวแปรที่เกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ
ประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น
2. ตัวแปรที่ศึกษา เป็นตัวแปรที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคต
ตามเกณฑ์มาตรฐาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข ประกอบด้วย
2.1 ด้านส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การบริการต่างๆให้เด็ก
เจริญเติบโตแข็งแรงตามวัย
2.2 ด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็ก หมายถึง การให้เด็กได้เรียนรู้ปรับตัวจากสภาพแวดล้อมที่จัดขึ้นได้อย่างมีความสุข
2.3 ด้านบริการอาหารสะอาดปลอดภัย จัดให้อาหารมีคุณค่าและสะอาดปลอดภัย
2.4 ด้านสิ่งแวดล้อมสะอาดปลอดภัย มีการเลี้ยงเด็กให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย
2.5 ด้านบุคลากร มีการจัดครูหรือผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ความสามารถดูแลเด็กให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีขั้นตอนกระบวนการที่จัดให้
2.6 ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กตามบทบาทหน้าที่และ ความเต็มใจ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2
ชุด ชุดที่ 1 สำหรับใช้ในการสอบถามผู้ปกครองเด็กเล็ก ชุดที่ 2 สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก และแบบสอบถามทั้ง 2 ชุดกำหนดให้มี 3 ตอนด้วยกัน คือ
ตอนที่
1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้สอบถาม
ตอนที่
2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เป็นแบบสอบถามที่จัดอันดับคุณภาพ 5 ระดับของ ไลเคิร์ท
ตั้งแต่ระดับที่ 1-5 โดยเรียงจากน้อยไปหามาก
ในตอนท้ายของแบบสอบถามแต่ละด้านมีคำถามปลายเปิด
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
มีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
2. ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา
3. นำแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้
4. นำแบบทดสอบที่ได้รับคืนนั้น มาคำนวณหาความเชื่อมั่น
การเก็บรวบรวมข้อมูล
มีตามขั้นตอน
ดังนี้
1.ทำหนังสือถึงคณบดีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
เพื่อขอความร่วมมือไปยังเทศบาลเมืองคูคต กองการศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1
โรงเรียน เพื่อตอบแบบสอบถามจากครู
2.จัดส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคต
3. ทำหนังสือถึงคณบดีบัณฑิตอีกครั้ง
เพื่อขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการ
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้ข้อมูลรวบรวมกลับคืนมาแล้ว
นำมาพิจารณาตรวจสอบแบบสอบถามทั้งหมดเพื่อคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์
นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีสาระตามพระราชบัญญัติเพื่อที่จะพัฒนาให้มีคุณภาพ
ประสิทธิภาพ และส่งผลให้บรรลุตามเป้าหมายและมาตรฐานด้านการศึกษาตามกฎเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา
จึงมีผลต่อการพัฒนาการเรียนการศึกษาที่สัมพันธ์กับชุมชนและสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษา
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร
การที่ผู้เรียนนั้นจะคุณภาพลักษณะต่างๆได้ครบถ้วนตามหลักสูตรพื้นฐานนั้นต้องเป็นผลงานมาหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนที่ร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จและมีประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาหรือของโรงเรียนนั้นมีอยู่
3 ด้าน คือ
1. สภาพความสำเร็จที่ตัวนักเรียน
2. สภาพความพร้อมในการดำเนินงาน
3. สภาพความพร้อมของปัจจัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้นำการศึกษาปฐมวัยจะต้องมีความสามารถในด้านการเรียนการสอน
ดังนี้
1.
ความสามารถในหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาของตนได้อย่างชัดเจน
2.
ความสามารถในการจูงใจ
สามารถกระตุ้นจูงใจให้ผู้ร่วมงานมุ่งมั่นที่จะทำงาน โดยใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มที่
3.
ความสามารถทำให้ผู้อื่นเกิดความศรัทธา
ผู้บริหารต้องแสดงพฤติกรรมด้านการเรียนการสอนให้ปรากฏ
เมื่อครูเกิดความศรัทธาให้ตัวผู้บริหาร การนิเทศการเรียนก็จะประสบความสำเร็จ
4.
ความสามารถในการบริการตนเอง
ต้องรู้จักจุดเด่นด้อยของตนเองพร้อมที่จะแสดงจุดเด่นให้เห็นอย่างชัดเจน
ปัญหา
การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองคูคตที่ผ่านมามีปัญหาจากปัจจัยหลายอย่าง
ได้แก่
ด้านที่ 1 การบริหารบุคลากร
บุคลากรมีหน้าบริหารงานการจัดการศึกษาของเทศบาลเมืองคูคต มี 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ
1.
คณะผู้บริหารเทศบาล
ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี และปลัดเทศบาล
ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากนักการศึกษา และไม่ได้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมาก่อน
จึงไม่เข้าใจความสำคัญในการพัฒนาการของเด็กเล็ก
2.
ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก
ไม่มีวุฒิการศึกษาการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
จึงไม่มีทักษะในการดูแลและเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ซึ่งมีผลให้เด็กเล็กไม่ได้รับการพัฒนาตามหลักการพัฒนาของอนุบาล
ด้านที่ 2 ด้านอาคารสถานที่
อาคารที่ใช้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลเมืองคูคต
มีพื้นที่แคบและไม่สามารถขยายพื้นที่เพื่อรองรับจำนวนเด็กเล็กได้อีก
จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมุมสร้างเสริมประเสริมประสบการณ์ได้
และไม่สามารถจัดกิจกรรมแยกห้องได้
ด้านที่ 3 ความสัมพันธ์กับชุมชน
ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กเล็กมี
2 ฝ่าย คือ
1. ผู้ปกครองที่ส่งบุตรให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดูแล
ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและขาดความรู้ความเข้าใจใน การพัฒนาเด็กเล็ก
2. ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ไม่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรมของเด็กเล็ก
การบริหารจัดตั้งศูนย์บริการเด็กเล็กนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อมต่างๆที่จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการของเด็กเล็ก รวมไปถึงการดูแลสุขภาพอนามัย
เพื่อให้เด็กได้รับพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
และมีอาหารที่มีความสะอาด ครบ 5 หมู่ และมีผู้ดูแลเอาใจใส่เด็กตลอดเวลา
ตลอดจนผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก
สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปได้เร็วขึ้น