บทที่
๑
ความเป็นมาก่อนเป็นศรีสัชนาลัย
ประวัติการก่อสร้างเมืองจะมีความเป็นมาอย่างไรไม่ปรากฏแน่ชัด
แต่กล่าวปรากฏอยู่ในพงศาวดารเหนือกล่าวถึงตำนานการสร้างเมืองสวรรคโลกไว้ว่า ฤๅษี๒องค์
คือ
พระฤาษีสัชนาไลยและพระฤๅษีสิทธิมงคล
ได้มอบให้บาธรรมราชสร้างเมืองสวรรคโลกขึ้นในพ.ศ.๓๐๖แต่จากศึกษาค้นคว้าทำให้ได้ข้อยุติในปัจจุบันนี้แล้วว่าเป็นเมืองที่มีอยู่มาก่อนตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีโดยพัฒนาการแรกเริ่มได้พบหลักฐานว่า แรกทีเดียวมีชุมชนเก่าแก่หรีอเมืองโบราณขนาดเล็กชื่อว่า เชลียง
อยู่แถบที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง
และวัดเจ้าจันทร์ทางทิศตะวันออกของเมืองศรีสัชนาลัยในปัจจุบันไม่มากนัก เมืองเชลียงดังกล่าวนี้อาจจะกล่าวได้ว่า
เป็นชุมชนโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนลุ่มแม่น้ำยม
และมีอายุใกล้เคียงกับการสร้างเมืองหริภุญไชย(มานิต วัลลิโภดม,๒๕๒๑)
ประมาณว่าควรจะมีอายุมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๖-๑๗ นับเป็นชุมชนก่อนสุโขทัย
และมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสุโขทัยอย่างแนบแน่น
|
กล่าวถึงชื่อแคว้น เฉิงเหลียง
ว่าอยู่เหนือละโว้ (หลอหู) ขึ้นไปรวมทั้งเอกสารตำนานทางเหนือที่รับรู้ในชื่อเมือง
เชลียง ชะเลียงหลวง หรือ
เฉลี่ยงหลวงบ้าง แต่สำหรับกฎหมายลักษณะลักพาในสมัยอยุธยาสมัยหลังจะเรียกว่าเมืองเฉลียง เหนือขึ้นไปจากเมืองสุโขทัยราว
3
กิโลเมตร คือ ศรีสัชนาลัยหรือเชลียง เชียงชื่น
หรือสวรรค เมืองหลายชื่อนี้ตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งลำน้ำยมอดีตที่เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมาช้านาน มีประจักษ์พยานจากหลุมขุดค้นที่วัดชมชื่น
ได้ขวานหินขัดและเครื่องมือสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และโครงกระดูกมนุษย์โบราณสมัยทวารวดี เป็นต้น
ชุมชนสำคัญในระยะแรกของสมัยราชธานี อยู่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ต่อมาได้ขยายเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยคร่อมแนวสันเขาซึ่งพาดผ่านลำน้ำยมตรงแก่งหลวง พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าของเมือง มีด้านหนึ่งเลียบเลาะแนวลำน้ำ ร่องรอยของการจัดระเบียบเด่นชัด ดังตำแหน่งจากเชิงเขาวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่และวัดนางพญา ตามลำดับต่อเนื่องเป็นแกนตะวันตกเฉียงใต้ -
ตะวันออกเฉียงเหนือ
วัดเหล่านี้ก็เช่นเดียวกับวัดในราชธานี
ซึ่งมักไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างเป็นลายลักษณ์อักษร
การพิจารณาทางด้านรูปแบบของช่างจึงจำเป็นสำหรับการสันนิษฐานกำหนดอายุ นอกกำแพงเมืองออกไปมีวัดโบราณอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงกลุ่มโบราณสถานที่อยู่บนเขา และแหล่งเตาเผาเครื่องสังคโลก ซึ่งพบมากกว่า ๒๐๐ เตาทางแถบลำน้ำยม
บทที่
๒
โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ในฐานะที่กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในการดูแลสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
จึงได้จัดตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยขึ้น
โดยมีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทำนุบำรุง
และสร้างสรรค์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของศรีสัชนาลัยไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมของชาติสืบไป
ตลอดจนการปรับปรุงให้เกิดบรรยากาศทางประวัติศาสตร์เพื่อการศึกษาและการท่องเที่ยว
และในปี พ.ศ. 2525 อันเป็นปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5
(2525-2529) โครงการอุทยานประวัติ-ศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ได้รับการบรรจุให้อยู่ในแผนพัฒนาดังกล่าว
|
ครั้งที่ 1 พ.ศ.
2498-2500
ระหว่างปี
พ.ศ. 2498-2499 รัฐบาลได้จัดสรรเงินรายได้จากกองสลากกิน แบ่งรัฐบาลปีละ 200,000
บาท (สองแสนบาท ถ้วน) สำหรับการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานที่สุโขทัย กำแพงเพชร
และศรีสัชนาลัย สำหรับงานขุดแต่งและบูรณะโบรณสถานศรีสัชนาลัยได้ดำเนินการแล้วเสร็จเพียง
2 แห่งคือ ที่วัดช้างล้อมและวัดเจดีย์เจ็ดแถว โดยได้ดำเนินการบูรณะวิหาร
เจดีย์ประธาน เจดีย์รายทั้งหมดและกำแพงวัดเป็นบางส่วน ในปี พ.ศ. 2500
ซึ่งเป็นปีฉลองครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับบูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญ มีคุณค่าทางด้านประวัติ - ศาสตร์และศิลปะอย่างสูงของเมืองศรีสัชนาลัย
|
หลังจากปี
พ.ศ. 2500 แล้ว งานฟื้นฟูบูรณะ ศรีสัชนาลัยก็สิ้นสุดลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง คงมีงบประมาณเฉพาะการดูแลโบราณสถานที่บูรณะแล้วเพียงไม่กี่แห่ง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 งานศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของเมืองศรีสัชนาลัย
ตลอดจนการบูรณะครั้งใหญ่ได้เริ่มขึ้นพร้อม ๆ
กับที่สุโขทัยและกำแพงเพชรอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนั้นรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณะขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการบูรณะโบราณสถานเมืองสุโขทัย
กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัย โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร
เป็นประธานการการและควบคุมการดำเนินงานฟื้นฟูบูรณะโบราณสถาน 3 เมือง
และรัฐบาลไทยได้จัดเงินงบประมาณเพื่อการนี้ปีละ 2 ล้านบาท
การบูรณะโบราณสถานศรีสัชนาลัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานสำคัญ
ๆ รวม 13 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตกำแพงเมือง หลังจากปี พ.ศ. 2512
งานฟื้นฟูบูรณะศรีสัชนาลัยก็ยุติลงอีกครั้งหนึ่ง
เรื่องราวของศรีสัชนาลัยได้กลับคืนสู่สายตาและความทรงจำของชาวไทยหลังจากฟื้นฟูบูรณะเมื่อปี
พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลังจากนั้นเป็นต้นมา
งานฟื้นฟูบูรณะโบราณ-สถานก็ว่างเว้นลงคงได้รับงบประมาณจำนวนเล็กน้อยในแต่ละปี
เป็นค่าดูแลรักษาถากถางทำความสะอาด
โบราณสถานส่วนใหญ่ที่ยังมิได้บูรณะมีจำนวนนับร้อยแห่ง
จึงชำรุดทรุดโทรมอย่างช่วยไม่ได้ต่อไปอีก ประกอบกับความกดดันทางเศรษฐกิจและสังคม
ทำให้มีการบุกรุกลักลอบขุดหาโบราณ - สถานวัตถุอยู่เสมอ
ศรีสัชนาลัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าแห่งนี้
จึงถูกทำลายไปทีละเล็กละน้อยอย่างน่าเสียดาย
หลังจากโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการบรรจุให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
5 แล้ว ในปี พ.ศ. 2526 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณจำนวน 2 ล้านบาท และ 2 ล้าน 5
แสนบาท ในปี พ.ศ. 2527 สำหรับการเริ่มงานของโครงการฯ
ซึ่งโครงการใช้จ่ายเป็นค่าเตรียมงานต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างสำนักงาน
การถากถางดูแลโบราณสถาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมโบราณสถานได้สะดวกขึ้น
การขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อหาหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
การศึกษาค้นคว้าเพื่อรื้อฟื้นเรื่องราวของศรีสัชนาลัยเริ่มขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
โดยการระดมนักวิชาการทั้งจากกรมศิลปากร มีผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ
จากมหาวิทยาลัยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักผังเมือง กรมทางหลวง ฯลฯ เข้าร่วมศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเมืองศรีสัชนาลัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทสำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองโบราณแห่งนี้
สำหรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของโครงการฯ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ในการศึกษาข้อมูลต่างๆ
ได้แบ่งหัวข้อการวิจัยรวม 12 หัวข้อ อาทิเช่น การศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ศิลปะ ผังเมือง มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เครื่องสังคโลก การท่องเที่ยว
สาเหตุการเสื่อมโทรมของโบราณสถาน และการศึกษาด้านภูมิสถาปัตยกรรม เป็นต้น
คณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทฯ
ซึ่งประกอบด้วยผู้ชำนาญการได้เสนอเอกสารดังกล่าวและขณะนี้กำลังเตรียมการเสนอรายละเอียดของแผนแม่บทของโครงการ
ฯ ต่อไป
เหตุผลในการจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
1.
เนื่องจากศรีสัชนาลัยเป็นเมืองลูกหลวงที่มีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัยทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ซากโบราณสถานที่ปรากฏอยู่นับร้อยแห่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมของชนชาติไทย
อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจยิ่งของประชาชนชาวไทย
2.
เนื่องจากโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัยนับร้อยแห่งนั้นมีการขุดแต่งและบูรณะไปแล้วเพียงไม่กี่แห่งสมควรที่จะต้องดำเนินการศึกษาค้นคว้าและฟื้นฟูบูรณะให้เสร็จสมบูรณ์
ในส่วนที่บูรณะไปแล้วก็จำเป็นต้องอนุรักษ์ให้คงทนถาวรต่อไป
นอกจากนั้นสภาวะภูมิอากาศของไทยก็มีส่วนทำลายโบราณสถาน หากไม่รีบดำเนินการ
มรดกทางวัฒนธรรคเหล่านี้ก็มีแต่จะสูญสลายไปในที่สุด
3.
เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีพื้นที่กว้างขวาง
โบราณสถานก็กระจัดกระจายครอบคลุมพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร ยากแก่การควบคุม
ทำให้มีการบุกรุกทำลายโบราณสถาน สร้างบ้านเรืองและลักลอบขุดหาโบราณวัตถุอยู่เสมอ
หากมีการดำเนินงานของโครงการฯ ก็จะทำให้มีกำลังคน งบประมาณ
ตลอดจนจัดให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
4.
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 5
ที่เน้นการพัฒนาพื้นที่ชนบทส่งเสริมความเป็นอยู่และรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.
ศึกษาด้านประวัติศาสตร์
โบราณคดี ศิลปะ เศรษฐกิจ สังคม ผังเมือง ฯลฯ ของเมืองโบราณศรีสัชนาลัย
เพื่อความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
2.
เพื่ออนุรักษ์โบราณวัตถุสถานที่ปรากฏในอาณาบริเวณเมืองโบราณศรีสัชนาลัยตามหลักวิชาการ
สงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ
3.
อนุรักษ์และพัฒนาสภาพทางกายภาพของพื้นที่ในเขตโบราณสถานเหล่านี้ให้คงไว้ซึ่งบรรยากาศของชุมชนโบราณ
โดยสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.
พัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ให้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการ
5.
ฟื้นฟูศิลปะพื้นบ้าน
การละเล่น ประเพณีพื้นบ้านและศิลปวัฒนธรรมสาขาอื่น ๆ
ตลอดจนจัดเทศกาลสำคัญให้สัมพันธ์กับชุมชนโบราณในเขตพื้นที่ของโครงการ
เป้าหมายของการดำเนินงาน
1.
สำรวจ
ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีของเมืองศรีสัชนาลัย
ค้นคว้าศึกษาจากข้อมูลทุกด้าน ได้แก่ เอกสารจารึกต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดประชุม อภิปราย
รวมทั้งจัดให้มีการเผยแพร่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
2.
สำรวจ
วิจัยหาข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนโบราณวัตถุ โบราณสถาน
ศึกษาสาเหตุของการพังทลายด้านต่าง ๆ ได้แก่ สาเหตุการเสื่อมโทรมพังทลายด้านเคมี
ชีวะ และฟิสิกซ์
รวมทั้งดำเนินการอนุรักษ์ด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการสงวนรักษา
3.
ทำการสำรวจสภาพทางกายภาพของพื้นที่ที่โบราณสถานปรากฏอยู่
ดำเนินการประกาศเป็นเขตโครงการและเขตสงวนรักษาทางประวัติศาสตร์ ควบคุมการใช้ที่ดิน
อาคาร สิ่งปลูกสร้าง
ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้มีความสวยงามสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณ-คดีให้มากที่สุด
4.
ศึกษาและพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ของโครงการให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
โดยการส่งเสริมประกอบอาชีพที่สัมพันธ์กับการพัฒนาโครงการ ได้แก่
การหารายได้จากการท่องเที่ยว การจ้างแรงงานในด้านการดำเนินโครงการ
5.
ศึกษาและฟื้นฟูกิจกรรมของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
โดยสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนหรือร่วมกับหน่วยราชการต่าง
ๆ จัดเทศกาลที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
บทที่
๓
ศรีสัชนาลัยในสมัยสุโขทัย
|
ต่อมาสุโขทัยกลับไปเป็นของขอมอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งก็ถูกสองผู้นำชาวไทยแห่งเมืองบางยางและเมืองราด
นำกำลังคนเข้ายึดสุโขทัยกลับคืนมาได้ในเวลาไม่นาน ประมาณปี พ.ศ.1792 – 1800
สุโขทัยก็ได้รับการสถาปนาเป็นราชธานี
โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองสืบต่อมา และถือว่าเป็นเวลาแห่งอรุณรุ่งของอาณาจักรสุโขทัยอย่างแท้จริง
ในระยะแรก สุโขทัยแผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ถือว่าเป็นรัชสมัยที่สุโขทัยมีราชอาณาจักรกว้างไกลที่สุด ประกอบด้วยเมืองสำคัญต่าง
ๆ เช่น ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ แพร่ และน่าน
ส่วนดินแดนที่เป็นประเทศราช ได้แก่ เมาะตะมะและนครศรีธรรมราช
ซึ่งต่อมาเมืองทั้งสองนี้ได้แยกตัวออกเป็นอิสระ
สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบนของประเทศไทย
อาณาเขตส่วนใหญ่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม และลุ่มแม่น้ำน่าน
ถือเป็นแบบฉบับของเมืองหลวงโบราณที่ดีเยี่ยมอย่างแท้จริงเมืองหนึ่ง
ที่มีการสร้างกันมานับตั้งแต่ทำเลที่ตั้งของเมืองซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีคูเมือง เขื่อน และระบบชลประทานที่เยี่ยมยอด
ศิลาจารึกหลักที่ 1
บอกสภาพผังเมืองเอาไว้อย่างชัดเจนว่า มีกำแพงเมืองถึง 3 ชั้น คูน้ำ 3 ชั้น
ล้อมรอบทั้ง 4 ด้านของเมือง แต่ละด้านมีประตูด้านละ 1 ประตู เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางติดต่อกันได้อย่างสะดวกสบาย
ศิลาจารึกกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า
กลางเมืองสุโขทัยมีตระพังขนาดใหญ่ ที่มีน้ำใส กินและใช้ได้ตลอดปี
นอกจากนั้นยังมีวัดใหญ่อยู่ใจกลางเมือง นอกจากนั้นบ้านเมืองของเขายังสวยงาม
ร่มรื่นและเขียวชอุ่มไปด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด เช่น ป่าหมาก ป่าพลู ป่ามะม่วง
ป่ามะขาม ป่าตาล ป่ามะพร้าว และป่าลาง
ชานเมืองด้านทิศใต้ยังเป็นที่ตั้งของสรีดภงส์หรือเขื่อนกั้นน้ำที่ถือเป็นการวางแผนด้านชลประทานที่ดีที่สุด
อันที่จริงแล้วสุโขทัยมีเขื่อนกั้นน้ำอยู่ทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้
และยังมีการขุดสระเก็บน้ำขนาดใหญ่เล็ก ตามความเหมาะสมของพื้นที่กระจายไว้ทั่วเมือง
มีการต่อท่อดินเผาเพื่อนำน้ำจากแหล่งน้ำส่งไปตามสถานที่ที่ห่างไกลด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกเลยที่สุโขทัยจะอุดมสมบูรณ์และเขียวชอุ่มไปด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด
ประชาชนนอกจากจะประกอบอาชีพได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม ทำไร่ทำนาแล้ว
ก็ยงอาจจะทำงานหัตถกรรมและค้าขายได้อย่างเสรี เพราะพ่อเมืองไม่เก็บภาษี
การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมจึงเจริญสูงสุด ทั่วสุโขทัยมีโรงงานสังคโลกขนาดใหญ่ถึง 3
แห่ง มีเตาเผาเครื่องสังคโลกกระจายอยู่ทั่วไป
ระบบเศรษฐกิจของจึงขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม และการค้าขายผลิตผลทางการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชน
นอกจากนั้นผลิตผลทางอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า
มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบในลักษณะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่บริเวณ แม่โจน นอกเมืองสุโขทัย บริเวณเกาะน้อยป่ายาง
เมืองศรีสัชนาลัย และที่บ้านเตาไห เมืองพิษณุโลก
ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดแล้วมีเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาถึง 200 เตา
เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ สุโขทัยได้นำไปขายยังเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
และไกลออกไปรอบ ๆ หมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนที่พุทธศาสนาจะแพร่เข้ามาถึงสุโขทัย
ชาวสุโขทัยนับถือผีบรรพบุรุษ ตลอดจนเทพยดาต่าง ๆ
ต่อมามีการนับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์
ซึ่งแพร่สะพัดเข้ามาพร้อมกับอิทธิพลของขอมที่แผ่ขยายอาณาจักรครอบคลุมมาถึงสุโขทัย
แต่เมื่อชาวสุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำราชอาณาจักรแล้ว
ก็ให้ความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงจัง จะเห็นได้จากการสร้างวัดและพระพุทธรูปต่าง ๆ
เอาไว้อย่างมากมาย
พุทธศาสนาที่ชาวสุโขทัยนับถือเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากนครศรีธรรมราช
พระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนิมนต์มาเป็นพระสังฆราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย
ได้ปรับปรุงกิจกรรมทางพุทธศาสนาให้ดีขึ้น นอกจากนั้น
ยังมีการส่งพระสงฆ์ชาวสุโขทัยไปศึกษาด้านพุทธศาสนาในลังกาและกลับมาเผยแผ่ความรู้ทางด้านพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนชาวสุโขทัย
ทำให้ชาวสุโขทัยเป็นพุทธศาสนิกที่เคร่งครัด และมีความรู้ทางด้านพระธรรมวินัยและพระพุทธศาสนาดี
เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา
เป็นผลให้มีการสร้างพุทธวัตถุต่าง ๆ ไว้ในอาณาจักรสุโขทัยมากมาย
ความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์และสงบสุข
ทำให้ชาวสุโขทัยหันมาสร้างสิ่งต่าง ๆ อันเป็นไปตามแรงศรัทธาของตน และสิ่งเหล่านั้นเมื่อวันเวลาผ่านพ้นไป
ได้กลายเป็นศิลปกรรมอันล้ำค่าที่หล่อหลอมขึ้นมาจากพลังแห่งความเคารพนับถืออย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปที่แสดงออกถึงพระวิมุตติสุข ความสง่างามอ่อนหวาน
จนได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปว่า เป็นยุคสูงสุดแห่งความงดงามทางศิลปะของไทย
สำหรับเมืองศรีสัชนาลัย
เป็นเมืองเก่าแก่คู่กันมากับสุโขทัย ต่อมาเมื่อสุโขทัยได้รับการสถาปนาเป็นราชธานี
โดยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
ศรีสัชนาลัยก็ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองสำคัญระดับเมืองลูกหลวง
ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลังที่ 1 ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “พ่อขุนรามคำแหงลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เป็นขุนในเมืองศรีสัชนาลัย” นั่นย่อมหมายความว่า
ก่อนที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง
ทรงครองเมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน
ศรีสัชนาลัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพระยาลิไทเป็นอุปราชและเสด็จมาครองเมืองนี้
หลังจากครองศรีสัชนาลัย 6 ปี จึงได้นิพนธ์ไตรภูมิกถา
ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเล่มแรกของไทยขึ้น
โดยค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อพระยางั่วนำถมสิ้นพระชนม์
บัลลังก์สุโขทัยว่างลง ทำให้ลูกชายของพระยางั่วนำถมต้องการครองสุโขทัยแทน
แต่พระยาลิไทในตำแหน่งอุปราชไม่ยินยอม จึงได้ยกกองทัพมาปราบ และได้ขึ้นครองสุโขทัย
เนื่องจากการสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและกับพม่า
มีการเดินทัพผ่านขึ้นมาทางหัวเมืองเหนือศรีสัชนาลัยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในเส้นทางการเดินทัพของทั้งสองฝ่าย
ดังนั้นจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงการสงครามได้ ปรากฏว่ามีการอพยพหนีภัยสงคราม
ทิ้งให้เมืองร้างเป็นครั้งคราว เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หลังจากที่พระองค์ปราบพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกได้แล้วก็โปรดฯ ให้เทครัวอพยพผู้คนไปยังเมืองพิษณุโลก
และการทิ้งเมืองให้ร้างอีกครั้งในคราวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่สองในปี
พ.ศ. 2310
หลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงรวบรวมคนไทยที่แบ่งแยกออกเป็นหลายฝ่ายเข้าด้วยกันแล้วจึงโปรดฯ
ให้ตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.
2313
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีชัยชนะต่อสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2328
แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองสวรรคโลกขึ้นใหม่
แต่เนื่องจากบ้านเมืองทรุดโทรมมาก
จึงย้ายที่ตั้งที่ว่าการเมืองสวรรคโลกไปยังตำบลวังไม้ขอน
ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนที่หนาแน่นกว่าและตั้งเป็นเมืองสวรรคโลกใหม่มาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับเมืองศรีสัชนาลัยในอดีตนั้น
ชาวบ้านต่างเรียกกันว่าบ้านเมืองเก่า ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย
ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าอำเภอด้ง โดยตั้งอยู่ที่ตำบลป่างิ้วได้ 5 ปี
ก่อนที่จะย้ายมาตั้งที่ตำบลหาดเสี้ยวโดยยังใช้ชื่ออำเภอหากเสี้ยวตามชื่อหมู่บ้าน
และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปี พ.ศ. 2476 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอศรีสัชนาลัยตามความต้องการของคณะรัฐบาลในสมัยนั้น
ซึ่งเห็นว่าควรตั้งชื่ออำเภอให้สอดคล้องกับความเป็นนครอันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาวมาในอดีต
บทที่
๔
ศิลปะ
สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ลวดลายประดับโบราณสถาน
ศิลป
งานศิลปกรรมของเมืองศรีสัชนาลัยแบ่งออกเป็น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมและลวดลายประดับโบราณสถาน
|
เป็นงานศิลปกรรมที่เด่นชัดที่สุด
เพราะยังมีซากปรักหักพังของโบราณสถานเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานพุทธศาสนามหายานและพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์
ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย ในสมัยสุโขทัย และในสมัยที่ตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา
รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ดังนี้
๑. สถาปัตยกรรมรูปทรงอาคาร ได้แก่
วิหาร โบสถ์ มณฑป
ซุ้มพระ และศาลา
-
วิหารเป็นอาคารขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มักตั้งอยู่เจดีย์ประธานหรือซุ้มพระ
- โบสถ์หรือพระอุโบสถมักเป็นอาคารขนาดเล็ก สำหรับประกอบพิธีสังฆกรรมโดยเฉพาะ
- มณฑป
เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อผนังทึบ
มีทางเข้าด้านหน้า ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป
บางวัดใช้เป็นสถาปัตยกรรมประธานของวัดบางแห่งสร้างมณฑปต่อเนื่องกับฐานวิหาร
๒. สถาปัตยกรรมรูปสถูปเจดีย์และปรางค์ แผนผังมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส อาจแบ่งออกได้เป็น
- ปรางค์
ที่พบบริเวณเมืองศรีสัชนาลัยมี๒แห่ง
คือ ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนเจดีย์มหาธาตุเชลียง และวัดเจ้าจันทร์
- เจดีย์ทรงดอกบัวตูม เป็นสถาปัตยกรรมแท้
ลักษณะโดยทั่วไปประกอบด้วยฐานรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกัน๓-๔ชั้น แล้วจึงเป็นเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ยี่สิบ เหนือเรือนธาตุเป็นรูปดอกบัวตูม แล้วเป็นปล้องไฉน ปลียอดและเม็ดน้ำค้าง
- เจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกา เจดีย์แบบนี้พบมากกว่าแบบอื่น
เชื่อกันว่าเป็นรูปแบบเจดีย์ที่สร้างตามคตินิยมศิลปะลังกา ที่ส่วนฐานแตกต่างกันไปหลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปทำเป็นฐานหน้ากระดานซ้อนกัน ๓-๔
ชั้น ฐานชั้นบนหรือบังลังก์ล่างเป็นฐานแปดเหลี่ยม
เหนือขึ้นไปเป็นมาลัยลูกแก้วหรือบัวลูกแก้วซ้อนกันสามชั้น เหนือบัวลูกแก้วเป็นบัวปากระฆัง บังลังก์
ปล้องไฉนและปลียอด
- เจดีย์ทรงเรือนธาตุ
เจดีย์ทรงเรือนธาตุนี้ลักษณะโดยทั่วไปประกอบด้วยฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมย่อมุมค่อนข้างสูง ฐานบัวลูกแก้วราบย่อเก็จ เรือนธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
มีซุ้มจรนัมประดิษฐานพระพุทธรูปเหนือเรือนธาตุขึ้นไปทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมรองรับส่วนยอดที่เป็นเจดีย์ทรงกลม
ฐานส่วนล่างของเจดีย์ทรงนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระบรมธาตุไชยา อาจเป็นการรับอิทธิพลศิลปะศรีวิชัยมา
เจดีย์ทรงนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างออกไป เช่น
อาจมีเจดีย์บริวารประดับอยู่ที่มุมทั้งสี่
หรืออื่นๆแต่ลักษณะโดยทั่วไปจัดให้อยู่ในเจดีย์ทรงเรือนธาตุนี้
๓.
สถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ
กำแพงวัดและกำแพงแก้วส่วนใหญ่ก่อด้วยศิลาแลงสอดินซ้อนกันขึ้นไปสูงประมาณ
๒-๓ เมตร
หรือทำเลียนแบบเครื่องไม้โดยตัดศิลาแลงออกเป็นท่อนยาวอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปกลมปักลงไปในดินให้เรียงชิดกัน มีจั่วปลายแหลมปิดทับข้างบน บริเวณมุมทั้งสี่บางที่ย่อมุมเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์
ซุ้มประตูทางเข้าออกภายในวัด บางแห่งทำเป็นซุ้มประตูเล็กๆย่อมุม บางแห่งทำเป็นซุ้มประตูเลียนแบบศิลปะเขมร ประตูเมืองลักษณะคล้ายรูปแบบประตูทางเข้าศาสนสถาน มีช่องสำหรับที่พักคนยาม สถาปัตยกรรมที่ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบันใช้
ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่มีอิฐปะปนอยู่บ้าง
เทคนิคการก่อสร้างก่อแบบชั้นหนึ่งเอาด้านหัวศิลาแลงหรืออิฐออกโดยตลอด อีก ชั้นหนึ่งเอาด้านยาวออกโดยตลอดสลับกันไป
การเรียงเช่นนี้ถือว่าเป็นแบบโครงสร้างที่มั่นคงที่สุดเรียกกันว่าระบบอิงลิชบอนด์ส่วนวัตถุประสานใช้สอดินแล้วฉาบปูนภายนอก
ประติมากรรม
งานประติมากรรมของศรีสัชนาลัย
ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปในลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์
พุทธลักษณะโดยทั่วไปเหมือนพระพุทธรูปแบบต่างๆของสุโขทัย นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังมีงานประติมากรรมในรูปแบบอื่นๆอีก
เช่น รูปยักษ์ เทวดา
คน รูปสัตว์ในเทพนิยาย และรูปสัตว์ทั่วๆไป
ประติมากรรมรูปคนและรูปสัตว์นี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องสังคโลก
จิตรกรรม
จิตรกรรมฝาผนังพบที่ศรีสัชนาลัยมีอยู่
๒ แห่งคือ เจดีย์รายหมายเลขที่๓๓
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
และที่เจดีย์วัดเจ็ดยอด
บริเวณอรัญญิก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในปัจจุบันนี้ได้ลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว
ลักษณะการเขียนเป็นแบบสีเอกรงค์
คือใช้สีเดียวกันแต่มีน้ำหนักของสีอ่อนแก่แตกต่างกัน สีที่เขียนมีสีชาว สีแดง
และสีดำ
ภาพที่เขียนเป็นภาพอดีตพุทธเขียนเป็นแถวตามแนวนอน มีลายพันพฤกษาหรือลายกนก
โดยการใช้โครงสร้างและการจัดภาพตามแบบอย่าง ภาพลายเส้นจากอินเดีย
แต่ใช้ลักษณะประติมากรรมสุโขทัยเป็นแบบพระพักตร์พระพุทธรูป
ลวดลายประดับโบราณสถาน
ลวดลายที่ปรากฏนั้นทั้งลวดลายที่เป็นศิลปะสุโขทัยเองและลวดลายที่รับอิทธิพลจากศิลปะอื่นๆ เช่น
ศิลปะเขมร
ศิลปะพม่าที่เมืองพุกาม
และแม้แต่ลวดลายอยุธยาในสมัยหลัง
ตระกูลช่างศรีสัชนาลัยไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก ประติมากร
จิตรกร หรืองานช่างอื่นๆ ได้ผลิตศิลปะที่งดงาม
สุดยอดโดยมีความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจ และความสงบร่มรื่นของเมืองศรีสัชนาลัยเป็นพื้นฐาน
บทที่ ๕
ร่องรอยอดีต
ณ
ที่ราบท่ามกลางหุบเขาเล็กๆ
ซึ่งทอดตัวเป็นแนวยาวอ้อมโค้งจากทิศใต้สู่ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วนของแนวสันเขาได้ถูกลำน้ำไหลตัดผ่าน
เกิดเป็นแก่งขนาดใหญ่ที่มีกระแสน้ำไหลผ่านเชี่ยวกรากชั่วนาปีอารยธรรมและความเจริญของชนกลุ่มหนึ่งได้เริ่มก่อตัวขึ้นทีละน้อยบนที่ราบริมฝังลำน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์สายนั้น วันเวลาผ่านไปจากกลุ่มชนเล็กๆ
ได้เพิ่มใหญ่ขยายกลายเป็นเมืองจากเมืองขนาดเล็กเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มั่นคงขึ้นตามลำดับ
จากเมืองเชลียงได้กลายมาเป็นเมืองหลวงคู่กับเมืองสุโขทัยในระยะแรกและเปลี่ยนมาเป็นเมืองลูกหลวงที่มีความสำคัญในอาณาจักรสุโขทัย
ศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคเหนือหรือตอนบนสุดของที่ราบลุ่มใหญ่ภาคกลางที่เกิดจากตะกอนทับถมของลำน้ำ
๓ สายคือ ปิง ยม และน่าน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ดอนมีเทือกเขาเตี้ยๆกระจายอยู่ตามชายเขตที่ราบ
โดยมีหัวเมืองสำคัญในพื้นที่นี้ได้แก่ กำแพงเพชรคุมเส้นทางแม่น้ำปิง
พิษณุโลกคุมเส้นทางแม่น้ำน่านและศรีสัชนาลัยคุมเส้นทางแม่น้ำยม แต่เดิมพื้นที่แถบนี้เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างกลุ่มชนที่อยู่ลึกเข้าไปในเทือกเขาทางตอนเหนือแถบล้านนาและกลุ่มชน
ที่อยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางและที่อยู่ติดชายฝังทะเล
การติดต่อกับภายนอกใช้ทั้งเส้นทางน้ำและทางบก ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓- ๑๕
มีชุมชนโบราณกระจายกันอยู่หลายแห่ง
|
ตามริมฝังแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านโดยคงจะเป็นเพียงชุมชนเล็กๆระดับหมู่บ้าน
และเริ่ม แทรกตัวอยู่หนาแน่นขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัด
นอกจากตำนานสิงหนวัต (โยนก) กล่าวว่ามีกลุ่มคนไทยอีกสายหนึ่งอพยพมาอยู่ในพื้นที่แถบนี้
หลักฐานของคนไทยปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก คือคำว่า ชาวสยามในจารึกที่วิหารโปนาการ์
เมืองญาตรัง ประเทศเวียดนามราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จึงอาจถือเป็นข้อยุติเบื้องต้นได้ว่ามีคนไทยกระจายกันอยู่อาศัยในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง บริเวณที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยโดยทั่วไป
ระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๗
กลุ่มชนเหล่านี้เริ่มเป็นปึกแผ่นตั้งบ้านเมืองของตนเองขึ้น
จากหมู่บ้านกลายเป็นเมือง บางครั้งก็ยึดครองเมืองจากชนพื้นเมืองเดิม
เกิดเป็นแคว้นเล็กๆขึ้น เช่น ลพบุรีและสุพรรณบุรีในภาคกลาง
สุโขทัยในภาคเหนือตอนล่างและโยนกในภาคเหนือตอนบน เป็นต้น
ฐานะของแคว้นเหล่านี้โดยเฉพาะลพบุรี สุพรรณบุรี และสุโขทัยคงขึ้นกับอาณาจักรเขมร
เนื่องจากเวลานั้นกษัตริย์เขมรมีอำนาจมาก นับแต่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑
และคงจะมีอำนาจไปถึงแคว้นและหัวเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสุโขทัยด้วย
รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่
๒ (ราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่๑๗)อำนาจของพระองค์ที่มีต่อบริเวณภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างยิ่งมีมากขึ้น
ดังปรากฏโบราณสถานสำคัญคือ ศาลตาผาแดงในเมืองเก่าสุโขทัย
เป็นโบราณสถานที่เก่าที่สุดที่มีหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ถึงกระนั้นก็ตามมีบางช่วงที่อำนาจเขมรอ่อนลง
สาเหตุเนื่องจาก
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ เขมรรบกับจามเป็นประจำเมื่อกษัตริย์เขมรรบชนะจามก็ทรงขยายอำนาจมายังภาคกลางของประเทศไทยด้วยเป็นระยะไป
ครั้งสุดท้ายพระเจ้าชัยวรมันที่
๗ ทรงกอบกู้อาณาจักรเขมรขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง
หลังจากปราบปรามพวกจามที่เข้ามาเผาเมืองพระนคร (ภายหลังสิ้นราชกาลพระเจ้าสุ-ริยวรมันที่๒) ลงได้
ทรงแผ่อำนาจเข้ามาในภาคกลางของประเทศไทยและส่งพระราชโอรส คือ อินทรวรมัน
มาเป็นอุปราชครองเมืองลพบุรีอาจเนื่องมาจากทรงเห็นว่าคนไทยเริ่มมีอำนาจมากขึ้น
จำเป็นต้องมีการควบคุมหัวเมืองต่างๆไว้โดยใช้เมืองลพบุรีเป็นศูนย์กลาง
หัวเมืองดังกล่าวคือ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองราด เมืองบางยาง
ตามที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกหลักที่ ๑และหลักที่
๒และอาจมีเมืองหรือชุมชนสำคัญอื่นอีกหลายแห่ง โดยปรากฏหลักฐานจากอิทธิพลของศิลปะเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่๗
หรือที่เรียกว่า ศิลปเขมรแบบบายน ได้แพร่กระจายควบคู่ไปกับอิทธิพลทางการเมือง เช่น
วัดพระพายหลวง วัดเจ้าจันทร์ และ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นต้น
เมื่อสิ้นราชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่
7 อาณาจักรเขมรเริ่มเสื่อมอำนาจลงในขณะที่กลุ่มคนไทยเริ่มมีอำนาจมากขึ้น
จนกระทั้งถึง พ.ศ. ๑๗๘๐ – ๑๗๘๑ เมื่อพระยาศรีนาวนำ-ถม
บิดาของพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดสิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพง (อาจจะเป็นขุนนางเขมรที่ควบคุมดูแล) เข้ายึดเมืองสุโขทัย
พ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง
จึงร่วมมือกับพ่อขุนผาเมืองเข้าชิงเมืองสุโขทัยคืนได้
พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองเมืองสุโขทัยและถวายพระนามว่า
“กมรเตงอัญศรีบดิทรทิตย ” หรือ เรียกกันว่า พ่อขุนศรีอินทรทิตย์
สุโขทัยเมื่อแรกเริ่มเป็นบ้านเมือง
ก็มิได้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญเพียงเมืองเดียวของอาณาจักรสุโขทัยยังมีเมืองศรีสัชนาลัย
ซึ่งปรากฏความสำคัญควบคู่ไปกับเมืองสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การศาสนา
และเศรษฐกิจ ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑จารึกพ่อขุนรามคำแหง ศิราจารึกหลักที่
๒ จารึกวัดศรีชุม และศิราจารึกหลักที่ ๓
จารึกนครชุมที่มักเรียกชื่อเมืองทั้งสองควบคู่กันไปว่า “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย”
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเมืองศรีสัชนาลัยสร้างขึ้นเมื่อใดจากเอกสารของล้านนาได้ปรากฏชื่อเมืองเชลียงว่าเป็นเมืองเก่าราวพุทธศตวรรษที่
16
จากพงศาวดารโยนกกล่าวว่าเมื่อพระเจ้าสิริชัยหนีทัพมอญและไทยใหญ่ผ่านแดนเชลียงมาตั้งมั่นที่เมืองไตรตรึงเมื่อ
พ.ศ. ๑๕๔๗ และในจดหมายเหตุพงศาวดารจีน พ.ศ.
๑๕๐๓-๑๖๗๐กล่าวถึงที่ตั้งประเทศตานเหมยหลิ่ว(ตามพรลิงค์-นครศรีธรรมราช)ทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลอหู(ละโว้) ระยะทาง ๒๕
เฉิงทิศเหนือถึงเฉิงเหลียง ระยะทาง ๖๐ เฉิง
ซึ่งแคว้นเฉิงเหลีงนี้ได้แก่เมืองเฉลียงหรือเชลียงจนกระทั้งในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงปรากฎว่าเมืองเชลียงได้ย้ายขึ้นไปทางด้านเหนือติดเชิงเขาซึ่งเป็นที่ราบ
ซึ่งก็คือเมืองเก่าศรีสัชนาลัย
ก่อนจะเป็นศรีสัชนาลัย
จากการขุดค้นของนักโบราคดีทำให้พบขวานหินขัดที่บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเชลียง
ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ดินแดนนี้เคยมีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยหินและยืดยาวมาจนถึงปลายยุคโลหะก่อนที่ชนเผ่าไทยจะรวมตัวกันจนมีความเข้มแข็ง
ดินแดนส่วนนี้เคยอยู่ใต้อำนาจของขอมมาก่อน พงศาวดารโยนกกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. ๙๓๙
คนไทยในเมืองเหนือได้แข็งข้อต่อขอม ทำให้ขอมต้องยกทัพขึ้นไปปราบปราม
แต่ถูกพระเจ้าพรหมซึ่งเป็นหัวหน้าคนไทยต่อต้านจนแตกพ่าย
กองทัพขอมหนีลงมาถึงแดนเฉลี่ยง(เชลียง)
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เชลียง และวัดเจ้าจันทร์
ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีชุมชนอยู่ที่เมืองเชลียงมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๘ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (หลักที่ ๑
ด้านที่ ๓)ได้กล่าวถึงเมืองเชลียงไว้ว่า “จารึกอันหนึ่งมีในเมืองเชลียงสถาบกไว้ด้วยพระศรีมหาธาตุ”
จึงสามารถสรุปได้ว่าเชลียงเป็นเมืองเก่าแก่ของชาวเผ่าไทยที่รวมตั้งกันขึ้นตั้งแต่ก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี
มีหลักฐานยืนยันว่า
เมืองเชลียงตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยงซึ่งถ้ามองในแผนที่จะเห็นว่าลำน้ำบริเวณนี้มีความคดงอเหมือนไส้ไก่ทำให้กลายเป็นคูธรรมชาติที่โอบล้อมเมืองไว้
การมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำทำให้เมืองเชลียงยากแก่การขยับขยายให้เจริญเติบโต
ในเวลาเดียวกันกระแสน้ำที่กัดเซาะชายตลิ่งอยู่ตลอดเวลาก็ทำให้ส่วนที่เป็นพื้นดินของเมืองลดลงไปทุกที
ดังนั้นเทื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์ในกรุงสุโขทัยพร้อมกำหนดให้เชลียงเป็นเมืองลูกหลวงจึงต้องมีการย้ายไปสร้างเมืองยังที่ใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเก่าเพียง
๓ กิโลเมตรและตั้งชื่อว่า ศรีสัชนาลัย
เมืองเชลียงมีรูปร่างคล้ายกับสี่เหลี่ยมผืนผ้ากำแพงเมืองด้านทิศใต้จดป่าช้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
ส่วนกำแพงเมืองด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกจดลำน้ำยม ทิศใต้
เชลียงเป็นเมืองโบราณมีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง
แม้เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง
เชลียงก็ยังเป็นที่รู้จักกันในฐานะเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของภาคเหนือ
เมืองเชลียง –
สุโขทัย
เมืองทุ่งยั้ง –
บางยม
เมืองสองแคว –
สระหลวง
เมืองชากังราว –
กำแพงเพชร
ปัจจุบันเมืองสุโขทัยเมืองทุ่งยั้งและเมืองกำแพงเพชรยังเรียกชื่อเดิมอยู่แต่เมืองสองแควเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพิษณุโลก
เมืองสระหลวงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพิจิตร
เมืองชากังราวครั้งแรกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองนครชุมแต่ต่อมาได้รวมเป็นเมืองเดียวกับกำแพงเพชรชื่อเมืองชากังราวจึงลบเลือนไป
ส่วนเมืองเชลียงได้ย้ายไปเป็นเมืองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองศรีสัชนาลัย
ชื่อเมืองเชลียงยังปรากฎอยู่ในจารึกกฎหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัยด้านที่
๑ ว่า “ …ทํเนปรเชลียง กำแพงเพชร ทุ่งย้าง ปากยม สองแคว ” และ “แคว้นเมืองใหญ่ทั้งหลายทํเนรเชลียง”
คำว่า ทํเนรปร เป็นภาษาเขมรโบราณและไทยโบราณแปลว่า “เป็นต้น” บทบาทของเมืองเชลียงมีปรากฏสืบมาจนถึงสมัยอยุธยาว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช(เจ้าสามพระยา) โปรดให้พระราเมศวร
ราชโอรสขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก บังคับบัญชาหัวเมืองหลวงทั้งปวง
ครั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชสวรรคต พระราเมศวร ราชโอรสได้รับราชสมบัติ ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จมาครองกรุงศรีอยุธยาให้เจ้าเมืองเหนือต่างครองเมืองเป็นอิสระแก่กัน
เจ้าเมืองเชลียงเป็นขบถไปขึ้นต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จขึ้นมาประทับยังเมืองพิษณุโลกเพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่
สำหรับที่ตั้งเมืองเชลียงนั้น
แต่เดิมสันนิษฐานไว้เป็นหลายทาง เช่น
เมืองเชลียงนั้นพระยาอุทัยมนตรีสันนิษฐานว่าเป็นเมืองรองแขวงนครลำปรางซึ่งเป็นเมืองเก่า
มีพระมหาธาตุขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม
ดูของเขาก็ชอบคนอยู่ พระยาประชากิจกรจักร(แช่ม)
ได้เคยกล่าวเป็นความเห็นว่าเมืองเชลียงนั้น คือ
เมืองกำแพงเพชรแต่มีข้อเถียงคัดค้านสำคัญอยู่คือ
ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับของหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ มีข้อความปรากฏในเรื่องเมืองเชลียงนี้ว่า“ครั้งนั้น (จุลศักราช ๘๒๒ ปีมะโรงโทศก) พระยาเชลียงคิดเป็นขบถ
พาเอาครัวทั้งปวงไปออกแต่มหาราช”
ต่อนั้นลงมายังมีข้อความไปอีกว่า “ศักราช ๘๒๓ มะเส็งศก พระยาเชลียงนำมหาราชจะเอาเมืองพิษณุโลก
เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถมิได้เมือง
แล้วจึงยกทัพเป่รอไปเอาเมืองกำแพเพชรและเข้าปล้นเมืองเถิง ๗ วัน มิได้เมืองและมหาราชก็เลิกทัพกับคืนไปเชียงใหม่” ดังนี้เห็นได้ว่าเมืองเชลียงไม่ใช่เมืองกำแพงเพชร ถ้าเป็นเมืองกำแพงเพชรจะ “พาเอาครัวไปออกแต่มหาราช” ถึงเชียงใหม่จะดูยากอยู่
และอีกประการหนึ่งยังได้พามหาราชมาตีเมืองกำแพงเพชรอีกเล่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้น่าเชื่อว่า
เมืองเชลียงเป็นเมืองที่อยู่ในพวกเมืองจังหวัดนอกและใกล้แดนมหาราช จึงเห็นว่าที่พระยาอุทัยสันนิษฐานเอาเมืองลองเป็นเมืองเชลียงนั้นดูแยบคายบ้าง
เรื่องที่ตั้งเมืองเชลียงนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชรนุภาพได้ทรงบันทึกอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า “เมืองเชลียงเป็นเมืองสำคัญในพงศาวดารไทย
ด้วยตำนานว่าไทยได้เมืองเชลียงเป็นที่มั่นก่อนแล้วจึงชิงเมืองสุโขทัยได้จากพวกขอมแต่ว่าเมืองเชลียงอยู่ที่ไหนข้อนี้ไม่ทราบกันแน่ชัดมาช้านานบางคนก็สันนิษฐานว่าเป็นเมืองกำแพงเพชร
เช่น พระยาประกิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
กล่าวไว้ในหนังสือตำนานโยนก
ข้าพเจ้าเห็นอย่างเช่นทรงพระราชวินิจฉัยในหนังสือนี้ว่า
ต้องเป็นเมืองต่อแดนกับมณฑลพายัพเจ้าเมืองเชลียงจึงสามรถเทครัวไปเข้ากับพระเจ้าติโลกมหาราชเชียงใหม่มาตีเมืองกำแพงเพชร
เมืองสุโขทัยและเมืองพิษณุโลกดังปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารเรื่องเมืองเชลียงนี้ได้ตรวจหากันมาอีกช้านาน จึงได้ความเป็นแน่ชัดว่า คือ
เมืองสวรรคโลกนั้นเอง เดิมที่เดียวเรียกว่าเมืองเชลียง
ตัวเมืองอยู่ตรงที่ยังมีพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุที่กล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง แต่เดียวนี้ชาวเมืองเรียกกันว่าวัดน้อย
ครั้นต่อมาเห็นจะเป็นน้ำเซาะตลิ่งพังชานเมืองหมดไปทุกที่ กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงจึงสร้างเมืองใหม่ บริเวณแก่งหลวงเหนือเมืองเชลียงเดิมขึ้นไปประมาณ
๒๐ เส้น แล้วขนานนามเมืองนั้นว่าเมืองศรีสัชนาลัย
แต่ชาวประเทศอื่นยังคงเรียกเมืองเชลียง
ทั้งพวกเชียงใหม่และพวกกรุงศรีอยุธยา
ดังพึงเห็นได้ในบานแผนกกฎหมายลักษณะลักพาของพระเจ้าอู่ทองและในหนังสือลิลิตยวนพ่าย ก็เรียกว่าเมืองเชลียงมิได้เรียกว่าศรีสัชนาลัย
มาจนเมืองเหนือทั้งปวงตกเป็นอาณาเขตของกรุงศรีอยุธยา จึงขนานนามว่า เมืองสวรรคโลก เรียกรวมทั้งเมืองเชลียงและเมืองศรีสัชนาลัยรวมกัน
ชื่อเดิมก็เป็นอันสูญไปทั้งสองเมือง ”
สถานที่ตั้งเมืองเชลียงตามพระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเรื่องที่ตรงกับความจริงที่สุด ดังพระนิพนธ์ที่ทรงยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า
เมืองเชลียงเป็นเมืองเก่ามีมาก่อนตั้งสุโขทัย ตัวเมืองเดิมอยู่ที่เมืองสวรรคโลกเก่า
ตรงที่พระปรางค์องค์ใหญ่ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้
คำที่พระเจ้ารามคำแหงมหาราชเรียกพระปรางค์องค์นั้นว่าศรีรัตนธาตุความก็หมายว่าพระมหาธาตุที่เป็นหลักเมือง แสดงวี่ท่ตรงนั้นต้องเป็นเมืองจึงมีพระมหาธาตุ ไม่ใช่แต่เท่านั้น
ที่วัดเจ้าจันทร์ไม่ห่างจากวัดพระศรีรัตนธาตุนัก
ยังมีเทวสถานที่พวกขอมสร้างไว้ปรากฏอยู่แห่งหนึ่ง ก็แสดงว่าต้องนั้นต้องเป็นเมืองอยู่ก่อนถึงสมัยสุโขทัยจะเป็นรัชกาลใดไม่สามารถทราบได้
ได้สร้างเมืองใหม่มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลงอย่างมั่นคง สำหรับราชธานีสำรองขึ้นข้างเหนือเมืองเชลียงอยู่ห่างกันราว
๑ ก.ม.
ขนานนามเมืองใหม่นี้ว่าเมืองศรีสัชนาลัย
บางทีจะรื้อศิลาปราการเมืองไปใช่สร้างเมืองใหม่ คงเหลือไว้แต่ปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุซึ่งเป็นของศักดิ์สิทธ์มาแต่เดิม
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย อยู่เคียงคู่มากับคนศรีสัชนาลัยมาเนิ่นนาน
ความสวยงามของสถาปัตยกรรมที่หลากหลายสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม
กอปรกับเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ที่มีความสงบร่มรื่นของแมกไม้
และความเป็นมิตรจากผู้คน
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย
ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย
โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550
กิโลเมตรเมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี
และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมีลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่
๑. เอกลักษณ์ทางด้านศิลปสถาปัตยกรรม
|
บทที่
๖
โบราณสถาน
วัดเขาพนมเพลิง
อยู่บนเขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เจดีย์ประธานของวัดนี้เป็นเจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลงบนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
กว้างยาวด้านละ 11 เมตร ด้านหน้าของเจดีย์มีอาคารศิลาแลงฐานวิหารก่อด้วยแลง
ภายในวิหารมีพระประธานประทับนั่งมีมณฑปศิลาและสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง
ภายในมณฑปเป็นที่สักการะของชาวบ้าน ซึ่งเรียกศาสนสถานนี้ว่า
“ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี”
นอกจากนี้มีฐานเจดีย์รายก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 6 องค์
บันไดขึ้นเขาอยู่ทางด้านหน้าวัด
วัดเขาพนมเพลิงเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนยอดเขาเตี้ย ๆ สูงประมาณ 20
เมตรเศษ ใกล้กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางขึ้นทำเป็นบันไดก่อด้วยศิลาแลง มีเจดีย์ทรงลังกาเป็นประธาน ด้านหน้ามีวิหารขนาด
6 ห้อง และศาลาขนาดเล็กหนึ่งหลัง ต่อจากเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ราย 30 องค์
ด้านนอกมีกำแพงศิลาแลงสูงประมาณ 1 เมตร รายรอบไปด้วยเสาโคมไฟ
ลักษณะของพระเจดีย์องค์ประธาน
ทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับวัดช้างล้อมคือระยะเริ่มต้นของเมืองศรีสัชนาลัย
ตามตำนานในพงศาวดารเหนือกล่าวถึงเขาพนมเพลิงไว้ว่า
เมื่อมหาธรรมราชผู้สร้างเมือง ศรีสัชนาลัยจะทำการสร้างเมืองนั้น
ฤาษีสัชนาลัยได้แนะนำให้เอาเขาพนมเพลิงไว้ในเมืองสร้างพรตบูชากุณฑ์ (กูณฑ์บูชาไฟ?)
ส่วนข้อเท็จจริงเป็นประการใดไม่ปรากฏแน่ชัด
เนื่องจากหนังสือพงสาว-ดารฉบับนี้เพิ่งจะรวบรวมและเรียบเรียงในภายหลัง
วัดเขาพนมเพลิงวัดเขาพนมเพลิง
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมเพลิง ซึ่งเป็นเขาสำคัญและมีความหมายเกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างเมืองศรีสัชนาลัย
อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์และอยู่กลางเมือง
ศรีสัชนาลัย อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์และอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย
วัดนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติการสร้างศาสนสถานของขอม
แม้แต่เจดีย์ประธานของวัดซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกาก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส
กว้างด้านละ 11 เมตร ก็หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เช่นกัน
ด้านหน้าของเจดีย์มีฐานวิหารและอาหารก่อด้วยศิลาแลงด้วยกันทั้งสองอย่าง
สำหรับวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ใกล้กับมณฑปขนาดย่อม
เป็นศาสนสถานที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ มีชื่อว่า ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี
วัดเขาสุวรรณคีรี
เขาสุวรรณคีรีสูงประมาณ
28 เมตร เป็นเทือกเดียวกับเขาพนมเพลิงถือเป็นเขากลางเมืองศรีสัชนาลัย วัดเขาสุวรรณคีรีอยู่หลังวัดเขาพนาเพลงไปทางทิศตะวันตก
มีบันไดขึ้นเขาอยู่ทางด้านหน้าวัด เจดีย์วัดนี้เป็นเจดีย์ทรงกลมองค์ระฆังขนาดใหญ่
ก่อด้วยแลงบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 44 เมตร วัดนี้มีกำแพงล้อมรอบวัดเขาสุวรรณคีรีวัดนี้ตั้งอยู่ถัดจากวัดเขาพนมเพลิงไปทางทิศตะวันตกและมีทางเดินเชื่อมต่อกัน
โดยอยู่บนยอดเขาอีกยอดหนึ่งสูง 28 เมตรเศษ ในเทือกเดียวกัน ด้านหน้าของวัดเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้อง
ถัดไปเป็นเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งเป็นโบราณสถานหลักของวัด
องค์เจดีย์มีซุ้มทั้งสี่ทิศตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสามชั้น
สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุไล่เลี่ยกับพระเจดีย์ช้างล้อมที่อาจจะสร้างขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงก็ได้
นอกจากนี้ภายในกำแพงเมืองที่อยู่ห่างจากวัดสวนแก้วอุทยานน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
และค่อนมาชิดกับกำแพงเมืองด้านที่ติดกับแม่น้ำยม
พบมีแนวคันดินและคูน้ำแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบริเวณพระราชวังอีกด้วย
วัดเขาสุวรรณคีรี
วัดเขาสุวรรณคีรีตั้งอยู่บนยอดเขาสุวรรณคีรี
ซึ่งมีความสูงประมาณ 28 เมตร เป็นวัดบนเขาสูงสุดกลางเมืองศรีสัชนาลัย
นักโบราณคดีชื่อว่าเป็นวัดที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ซึ่งแต่เดิมเคยเชื่อว่าเป็นวัดช้างล้อม ต่อเมื่อทำการขุดค้นแล้วจึงรู้ว่าวัดช้างล้อมมีอายุน้อยกว่าสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
บรรดานักโบราณคดีจึงหันมาพิจารณาวัดเขาสุวรรณคีรีว่า
เป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงขุดพระธาตุแล้วฝังไว้กลางเมืองและก่อเจดีย์ครอบพระธาตุไว้
สาเหตุที่เชื่อว่าเป็นวัดเขาสุวรรณคีรี
เพราะวัดนี้เป็นวัดใหญ่และตั้งอยู่กลางใจเมืองศรีสัชนาลัย
เจดีย์ของวัดเขาสุวรรณคีรีก็เป็นเจดีย์ทรงลังกาที่มีขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างถึงด้านละ 44 เมตร
ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่โตกว่าเจดีย์วัดช้างล้อมมาก
สมควรที่จะเป็นวัดที่สร้างโดยกษัตริย์หรือผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ของสมัยนั้น
ซึ่งก็คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั่นเอง
วัดช้างล้อม
ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพนมเพลิง
จากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (จารึกหลักที่ 1) กล่าวไว้ว่า
“..... 1207 ศกปีกุน (พ.ศ. 1829)
ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลายเห็นกระทำบูชา บำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน
จึงเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึงแล้ว
ตั้งเวียงผาล้อมพระธาตุสามเข้าจึงแล้ว.....”
สันนิษฐานกันว่า
เจดีย์ที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนี้คือ
เจดีย์ประธานของวัดช้างล้อมซึ่งเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาก่อด้วยศิลาแลง
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสามชั้น ฐานชั้นแรก
มีรูปช้างยืนทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบจำนวน 39 เชือก
ระหว่างช้างแต่ละเชือกมีเสาโคมไฟคั่นอยู่ ฐานชั้นที่สองเป็นลานประทักษิณ
ด้านนอกมีพนักลูกกรงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ
โดยรอบฐานชั้นที่สามซึ่งเป็นฐานติดองค์เจดีย์ มีซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ด้านหน้าขององค์เจดีย์มีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณและองค์เจดีย์
ถัดออกมาเป็นกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง
รอบองค์เจดีย์ประธานมีประตูสู่ลานเจดีย์ทางด้านหน้าและด้านหลัง
ด้านข้างสองด้านทำเป็นประตูหลอก
นอกกำแพงแก้วด้านหน้าเป็นฐานวิหารขนาดใหญ่สองข้างมีซากเจดีย์และวิหารขนาดเล็ก
แต่เดิมนั้นทางเดินเข้าสู่วิหารและองค์เจดีย์ประธานคงปูลาดด้วยแผ่นศิลาแลงเป็นลานกว้าง
เนื่องจากในการบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 นั้น
ได้พบแผ่นศิลาแลงอยู่ระเกะระกะทั่วไปเป็นจำนวนมากที่พื้นสนามบริเวณวิหาร
บริเวณวัดมีกำแพงอิฐและศิลาแลงล้อมรอบ
โดยมีประตูทางเข้าสี่ด้าน
วัดช้างล้อม ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพนมเพลิง
บริเวณกลางเมืองศรีสัชนาลัย
เจดีย์ประธานของวัดช้างล้อมซึ่งเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาก่อด้วยศิลาแลง
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสามชั้น
ฐานชั้นแรกมีรูปช้างยืนทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบจำนวน 39 เชือก
ฐานชั้นที่สองเป็นลานประทักษิณ ด้านนอกมีพนักลูกกรงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ
ฐานชั้นที่สามซึ่งเป็นฐานติดองค์เจดีย์ มีซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
ด้านหน้าขององค์เจดีย์มีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณและองค์เจดีย์
ถัดออกมาเป็นกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง
รอบองค์เจดีย์ประธานมีประตูเข้าสู่ลานเจดีย์ทางด้านหน้าและด้านหลัง
ด้านข้างสองด้านทำเป็นประตูหลอก
นอกกำแพงแก้วด้านหน้าเป็นฐานวิหารขนาดใหญ่สองข้างมีซากเจดีย์และวิหารขนาดเล็ก
บริเวณวัดมีกำแพงอิฐและศิลาแลงล้อมรอบ โดยมีประตูทางเข้าสี่ด้าน
นักวิชาการเชื่อกันว่าเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างขึ้นพร้อมกับสร้างเมืองศรีสัชนาลัยแห่งนี้
ตามที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1
วัดช้างล้อม ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมืองศรีสัชนาลัย
บนที่ราบด้านตะวันออกของเขาพนาเพลิง ชื่อเดิมของวัดนี้จะมีมาอย่างไรไม่ปรากฏแต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่าวัดช้างล้อมสืบทอดกันมา
โดยสังเกตจากลักษณะพิเศษขององค์เจดีย์
ซึ่งมีรูปปั้นช้างก่ออิฐถือปูนยืนรายล้อมอยู่ที่ฐานถึง 39 เชือก
ช้างเหล่านี้มีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัว หลุดออกมาจากผนัง เชือกที่อยู่ตรงมุมฐานเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมมีลักษณะพิเศษกว่าเชือกอื่น
ๆ นั่นคือ มีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขาและข้อเท้า ปลายงวงแตะอยู่บนดอกบัวตูม
ธรรมเนียมการสร้างเจดีย์
ซึ่งมีสัตว์ใหญ่รายล้อมอยู่ในส่วนฐานนี้แพร่มาจากลังกา นอกจากช้างแล้ว
ยังพบว่ามีผู้สร้างเป็นรูปสิงห์ล้อมรอบฐานเจดีย์ด้วยเช่นกัน
สำหรับความเชื่อเรื่องการนำรูปปั้นช้างมารายล้อมรอบฐานเจดีย์วัดต่าง ๆ
ในสมัยสุโขทัยนั้น
สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีพละกำลังและแข็งแรงมาก
สามารถค้ำจุนสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้ล้มลงได้ เมื่อนำมายืนรอบเจดีย์ก็มีความหมาย่า
เป็นการค้ำจุนพระศาสนาให้มั่นคงสืบต่อไป
นอกจากนั้นในพุทธประวัติยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับช้างปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่น
ครั้งที่พระนางสิริมหามายาจะทรงครรภ์ได้พระสุบินเห็นช้าง
หรือเรื่องพระพุทธองค์กับช้างนาฬาคีรี นอกจากประติมากรรมรูปช้างแล้ว ยังมีเสา 8
เหลี่ยมสำหรับวางโคมไฟ สังคโลกตั้งอยู่ระหว่างช้างแต่ละเชือก
เหนือฐานช้างล้อมขึ้นไปเป็นฐานพระ
มีซุ้มพระพุทธรูป 20 ซุ้มโดยรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พุทธศิลป์สุโขทัยทุกซุ้ม แต่ปัจจุบันชำรุดและเสียหายไปจนเหลืออยู่เพียง 2 องค์
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย
ที่ผนังด้านในของซุ้มแต่ละซุ้มมีประติมากรรมนูนต่ำรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์
ซึ่งมีความหมายถึง การตรัสรู้ภายในต้นโพธิ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำหรับองค์เจดีย์วัดช้างล้อมเป็นทรงระฆัง
เหนือองค์ระฆังมีบัลลังก์แสดงให้รู้ว่าเป็นพุทธเจดีย์ ที่ก้านฉัตรซึ่งอยู่ระหว่างบัลลังก์เจดีย์กับปล้องไฉน
มีพระพุทธรูปปางลีลาปู้นปั้นประดิษฐานอยู่จำนวน 17 องค์
ซึ่งน่าจะมีความหมายถึงการเสด็จเผยแผ่ศาสนาไปตามที่ต่าง ๆ
ทั่วทุกสารทิศของพระพุทธองค์
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า
เจดีย์วัดช้างล้อมนี้คงผ่านการบูรณะหลายครั้ง แรกสร้างอาจไม่มีช้างล้อมรอบฐาน
เพราะมีลักษณะบางอย่าง เช่น กำแพงแก้วหนาทึบ มีซุ้มประตู 4 ด้าน
คล้ายพระบรมธาตุเมืองเชลียง
ที่บริเวณนี้ยังเคยพบร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ด้วย
รอบเจดีย์ช้างล้อมมีกำแพงแกล้ว
สูงประมาณ 250 เซนติเมตร หนาทึบ ลักษณะด้านนอกเหมือนเสากลมปักเรียงชิดติดต่อกัน
แต่ด้านในเรียบ มีประตูเข้า 4 ด้าน แต่ด้านข้างทั้งสองด้านปิดตัน
ช่องประตูด้านหน้าและด้านหลังทำเป็นซุ้มหลังคาทรงมะลิซ้อน 2 ชั้น
ถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยม 2 ชั้น ฐานปัทม์และยอดปรางค์ย่อมุมไม้สิบสองเรียงกัน 3
องค์ แต่ปัจจุบันชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือเพียงปรางค์ด้านทิศเหนือองค์เดียว
สำหรับกำแพงชั้นนอกของวัดช้างล้อมเป็นกำแพงทึบ
ก่อด้วยอิฐ มีประตูทางเข้า 4 ประตู ด้านหน้าเป็นซุ้มฐานย่อมุมด้านละ 2 มุม
หลังคาทรงมะลิซ้อน 2 ชั้น ยอดปรางค์
ส่วนวิหารของวัดช้างล้อม
อยู่สุดทางเดินซึ่งปูด้วยศิลาแลงจากประตูด้านหน้า
เป็นวิหารขนาดใหญ่มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ผนังวิหารก่อทึบ
แต่เว้นช่องให้แสงลอดผ่านได้ตามแบบอย่างการก่อสร้างอาคารสมัยสุโขทัย
เชื่อกันว่าพระประธานภายในวิหารวัดช้างล้อมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีขนาดหน้าตักกว้างถึง
4 เมตร แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงฐานวิหาร เสา และฐานประดิษฐานพระพุทธรูปเท่านั้น
วัดช้างล้อมนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่กล่าวไว้ในศิลาจารึก นอกจากนั้นยังเป็นวัดที่อยู่เกือบกึ่งกลางเมืองศรีสัชนาลัย
แต่ต่อมาเมื่อนักโบราณคดีได้ขุดค้นวัดช้างล้อม
จึงพบว่าน่าจะมีอายุเก่าแก่ที่สุดไม่เกินสมัยพระยาลิไท
วัดช้างล้อม
อยู่บนที่ราบด้านตะวันออกของเขาพนมเพลิง
อยู่เกือบกึ่งกลางเมืองศรีสัชนาลัย
กลุ่มโบราณสถานวัดช้างล้อมอยู่ภายในกำแพงศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 96 เมตร ยาว 128 เมตร ช้างล้อมที่วัดนี้เป็นประติมากรรมปูนปั้นยืนเต็มตัวรวมทั้งหมด
39 เชือก ช้างตรงมุมทั้งสี่มีขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขา
และข้อเท้า ช้างเหล่านี้ยืนเต็มตัวแยกออกจากผนังแตกต่างจากช้างล้อมที่อื่น ๆ
เช่นที่กำแพงเพชร
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทรงตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงมีความเห็นเกี่ยวกับวัดนี้ว่า “การพิจารณาวัดช้างล้อมกับเจดีย์เจ็ดแถว
ต่อมาได้หลักฐานเป็นการยุติว่า วัดช้างล้อมนั้นคือวัดที่พระเจ้ารามคำแหงทรงสร้างประดิษฐานพระบรมธาตุ
ดังกล่าวไว้ในศิลาจารึก
ส่วนเจดีย์เจ็ดแถวนั้นเป็นที่ประดิษฐานของพระอัฐิพระราชวงศ์สุโขทัย...”
จากการสำรวจ
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
องค์พระสถูปปรากฏร่องรอยการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง
เดิมไม่มีช้างล้อมรอบฐานทักษิณซึ่งมีลักษณะคล้ายเป็นฐานปัทม์มาก่อน ที่สำคัญคือ
มีลักษณะบางอย่างคล้ายพระบรมธาตุเมองเชลียง
เห็นได้จากกำแพงที่ล้อมรอบพระเจดีย์นั้นคล้ายกัน
เป็นกำแพงก่อด้วยศิลาแลงหนาทึบที่ประตูมีซุ้ม 4 ด้าน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ศาสนสถานเดิมที่วัดช้างล้อมก็มีอายุเก่าแก่
ร่วมสมัยพระบรมธาตุเชลียง น่าจะเป็นองค์เดียวกันกับพระสถูปบรรจุพระบรมธาตุ
ตามที่กล่าวไว้ในจารึกสุโขทัยหลักที่ 1
ว่าพ่อขุนรามคำแหงโปรดให้สถาปนาแล้วก่อเวียงผาล้อม
อย่างไรก็ตาม
บริเวณนี้คงมีความสำคัญมาก่อนการสร้างศาสนสถานทางพุทธศาสนา
เพราะนักโบราณคดีได้พบร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ตรงนี้ด้วย
วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
อยู่ในเมืองทางด้านตะวันออก
มีเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หลังคามณฑปโค้งแหลมวิหารมีซุ้มพระประกอบด้านหลัง
ภายในโถง ซุ้มพระประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเหลือเพียงโกลน
วันสวนแก้วอุทยานน้อย
อยู่ห่างจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนีอ
วัดนี้มีคูน้ำและกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเช่นกัน ด้านหน้าเป็นวิหาร ด้านหลังซุ้มพระเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยและมีเจดีย์รายรอบองค์เจดีประธาน
วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
วัดนี้อยู่ติดวัดเจดีย์เจ็ดแถวในแนวเดียวกับวัดช้างล้อม
เหลือร่องรอยเพียงแค่ซากวิหารและโบสถ์ คงเป็นวัดในเมืองที่สำคัญ
เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางศาสนา เทียบได้กับวัดเขาอินทร์นอกเมือง
เป็นวัดที่มีผู้กัลปนาอุทิศที่ดินให้เป็นขอบเขตกว้างขวางเหมือนวัดเขาอินทร์
ฐานันดรศักดิ์ของพระผู้ใหญ่ทั้งสองวัดใกล้เคียงกันดังความในเอกสารว่า
“...ถ้าหาพระครูธรรมไตรโลก วัดเขาอินทร์แก้วมิได้ ให้พระครูบาโชติวัดอุทยานใหญ่
ขึ้นเป็นพระครูธรรมไตรโลกวัดเขาอินทร์แก้ว”
วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยหลังรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท
อยู่ถัดจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีคูน้ำรอบบริเวณวัด
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงชั้นเดียว มีประตูทางเข้าสองประตูคือ ประตูด้านทิศตะวันตกและด้านทิศใต้
ด้านหน้าวัดเป็นวิหารศิลาแลงขนาดหกห้อง โดยมีฐานเชื่อมต่อกับเจดียกลมทรงลังกา
ซึ่งตั้งอยู่บนฐานปัทม์อีกทีหนึ่ง
องค์เจดีย์ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนวัดเจดีย์เจ็ดแถว
อยู่หน้าวัดช้างล้อมทางด้านหน้า
จุดเด่นของวัดนี้คือ กลุ่มเจดีย์ประกอบด้วยเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นประธานอยู่ตรงกลางพร้อมเจดีย์รายเป็นแถวหลายรูปแบบ
ต่างเป็นต้นเค้าของชื่อเรียกวัดเจดีย์เจ็ดแถว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ทรงประสาทองค์หนึ่งมาสร้าง
อนุสาวรีย์ทหารอาสา บริเวณท้องสนามหลวง หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
เป็นที่น่าสังเกตว่าตามเมืองสำคัญต่าง
ๆ ในอาณาจักรสุโขทัยนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยเมื่อมีการแผ่พระราชอำนาจและเผยแพร่วัฒนธรรมสมัยพระเจ้าลิไท
พระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ไว้ นอกจากที่สุโขทัย-ศรีสัชนาลัยแล้วยังพบที่พิษณุโลก
ตาก กำแพงเพชร
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถวตั้งอยู่ในกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยเก่า
โดยอยู่ถัดจากวัดช้างล้อมมาทางทิศตะวันออก
และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉลียใต้ของตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน
วัดนี้เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญอันดับ
1 ของศรีสัชนาลัย ในด้านประวัติการก่อสร้างนั้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ตามคำบอกเล่าของนายเทียนว่า
วัดนี้เดิมชื่อ วัดกัลยานิมิต นางพระยาธิดาพระมหาธรรมราชา (บาธรรมราช)
เป็นผู้สร้างขึ้น เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองร้างมานานนับเป็นร้อย ๆ ปี
ไม่มีหลักฐานที่จะรู้ชื่อเดิมของวัด
เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีเจดีย์มากจึงเรียกชื่อในภายหลังว่า วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถวสร้างตามแบบแผนการสร้างวัดสำคัญของสมัยสุโขทัย
กล่าวคือ มีคูน้ำและกำแพงศิลาแลงล้อมรอบถึงสองชั้นแต่ปัจจุบันคูน้ำตื้นเขิน
คงเหลือเพียงร่องรอยกำแพงศิลาที่ล้อมรอบอยู่ทั้งสองชั้นเท่านั้น
อาณาเขตของวัดเจดีย์เจ็ดแถวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเป็นแบบแผน
การสร้างสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย มีความกว้าง 94 เมตร ยาว 136 เมตร
และมีกำแพงแก้วก่อด้วย ศิลาแลง กว้าง 57
เมตร ยาว 88 เมตร ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ที่กำแพงมีช่องเข้าออกเป็นประตูทั้ง 4 ด้าน
ภายในวัดซึ่งอยู่หลังกำแพงชั้นใน
มีเจดีย์เรียงรายกันอยู่หลายแถว
ทั้งที่ยังมีสภาพสมบูรณ์และปรักพังชำรุดเหลือเพียงฐาน สำหรับกลุ่มเจดีย์ภายในวัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้
นักโบราณคดีสรุปว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มคือ
กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม กลุ่มเจดีย์ทรงปราสาท
และกลุ่มเจดีย์ทรงลังกา
สำหรับเจดีย์ที่ถือว่าเป็นประธานของวัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าว
ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางพื้นที่ของวัด ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ
24 เมตร ส่วนล่างเป็นฐานเขียงขนาดใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น โดยสอบเข้ารับฐานบัว
ส่วนกลางเป็นเรือนธาตุทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้ยี่สิบ
เหนือเรือนธาตุมีกลีบขนุนและกลีบบัวประดับ เหนือเรือนธาตุขึ้นไปอีก ส่วนบนเป็นทรงดอกบัวตูม
มองเห็นร่องรอยของกลีบแต่ละกลีบที่วางซ้อนกันได้อย่างชัดเจน
ส่วนยอดเป็นวงแหวนเรียงซ้อนกันขึ้นไปรับปลียอดอย่างกลมกลืน
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
(ทรงดอกบัวตูม) ในวัดเจดีย์เจ็ดแถวยังมีอีกหลายองค์
แต่ส่วนใหญ่ปรักหักพังลงเหลือเพียงฐานได้แก่ เจดีย์รายองค์ที่สองจากมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ประธาน
และเจดีย์รายองค์ที่สองจากมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ประธาน
ซึ่งเจดีย์ทั้งสองนี้เหลือร่องรอยเพียงฐานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม
นักโบราณคดีก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า รูปแบบเต็มของเจดีย์รายทั้งสององค์นี้จะใกล้เคียงกับเจดีย์ประธาน
ซึ่งเป็นแบบเดียวกับพระมหาธาตุเจดีย์ในวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
สำหรับเจดีย์รายที่ตั้งเรียงอยู่โดยรอบมีทั้งสิ้น
33 องค์ นักโบราณคดีเชื่อว่า เจดีย์เหล่านี้สร้างขึ้นในเวลาต่าง ๆ กัน
เพื่อบรรจุอัฐิธาตุเจ้านาย และข้าราชบริพารระดับสูงในราชวงศ์พระร่วง สมัยสุโขทัย
จึงทำให้เจดีย์แต่ละองค์มีลักษณะ
และรูปแบบแตกต่างกันไปตามอิทธิพลทางศิลปะที่แพร่กระจายอยู่ในขณะนั้น ซึ่งได้แก่
ศรีวิชัย ลังกา และพุกาม ส่วนกระบวนการในการก่อสร้างนั้น
มีขั้นตอนและแบบอย่างคล้ายกัน กล่าวคือ ทำด้วยศิลาแลง ตกแต่งซุ้มพระด้วยลวดลายปูนปั้น
เจดีย์รายที่มีเรือนยอดหรือเรือนชั้น
ซึ่งมีแบบอย่างมาจากพุกามและล้านนานั้น
นักโบราณคดีจัดให้เป็นเจดีย์รายในกลุ่มปราสาท
ภายในวัดเจดีย์เจ็ดแถวมีเจดีย์รายในกลุ่มนี้หลายองค์ โดยเฉพาะเจดีย์ใหญ่ ๆ
ประจำมุมทั้งสี่ เช่น เจดีย์รายที่มุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ถือว่าเป็นเจดีย์ในกลุ่มปราสาทที่สมบูรณ์ที่สุด
เจดีย์รายด้านเหนือ
ส่วนล่างเป็นฐานเขียงรองรับฐานบัวลูกฟัก ส่วนกลางมีฐานเขียงเล็กเรียงซ้อนกัน
เสริมให้เรือนธาตุสูงเด่นขึ้น
รอบเรือนธาตุทั้งสี่ทิศมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางลีลา
ปัจจุบันชำรุด
ผนังภายในคูหา
เคยมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ ตอนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผจญมาร
มีเทวดากำลังอัญชลีอยู่ข้าง ๆ
และภาพพระพุทธองค์ประทับนั่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย
แสดงถึงฝีมือช่างชั้นครู
สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้
นอกจากเจดีย์รายด้านทิศเหนือแล้ว ในเจดีย์รายด้านทิศใต้
และทิศตะวันตกก็มีอยู่เช่นกัน
เป็นภาพพุทธประวัติฝีมือช่างพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลจีน
ปัจจุบันภาพจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ลบเลือนเกือบหมดแล้ว
แต่กรมศิลปากรได้มอบให้ นายเฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ คัดลอกภาพดังกล่าว
เก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานมีฐานพระวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง
ตามแบบแผนการก่อสร้างสถาปัตยกรรมสุโขทัย คือ ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 16 เมตร
ยาย 44 เมตร ส่วนฐานพระอุโบสถของวัดอยู่ทางด้านหลัง มีขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว19
เมตร
วัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นกลุ่มโบราณสถานที่อยู่กลางเมือง
อยู่ถัดจากวัดช้างล้อมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
บริเวณวัดมีคูน้ำและกำแพงศิลาแลงสองชั้นล้อมรอบ
เจดีย์ประธานของวัดนี้เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มีมณฑปและเจดีย์บริวารแบบต่าง ๆ
อีก 33 องค์ เจดีย์แต่ละองค์นั้นมีลักษณะและรูปแบบแตกต่างไป เช่น
เจดีย์ทรงกลมแบบลังกาและเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย เป็นต้น
เจดีย์ส่วนใหญ่จะก่อด้วยศิลาแลง ใช้ลวดลายปูนปั้นตกแต่งและมีซุ้มพระประกอบ
ทางด้านเหนือของเจดีย์ประธานมีมณฑปเครื่องบนหรือเรือนยอดทำเป็นปรางค์ผสมเจดีย์
(องค์ระฆัง) ด้านหน้าทำเป็นซุ้มประตูทางเข้า มีคูหาไว้พระพุทธรูปอยู่ภายใน
ด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกปูนปั้น
ที่ผนังภายในคูหาที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนนั้นมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสุโขทัย
แต่ปัจจุบันลบเลือนเกือบหมดแล้ว
ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นวิหารขนาดใหญ่และมีกำแพงแก้วล้อมรอบวิหาร
เจดีย์ประธานและเจดีย์รายถัดจากกำแพงแก้วไปทางด้านหลังวัดเป็นโบสถ์และศาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ซึ่งเหลือเพียงแต่ฐานเท่านั้น
สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวัดช้างล้อม
และในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่คงจะได้รับการก่อสร้างในสมัยนั้น
วัดเจดีย์เจ็ดแถว อยู่ถัดจากวัดช้างล้อมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
บริเวณวัดมีคูน้ำและกำแพงศิลาแลงสองชั้นล้อมรอบ
เจดีย์ประธานของวัดนี้เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
มีมณฑปและเจดีย์บริวารแบบต่าง ๆ อีก 33 องค์
เจดีย์แต่ละองค์นั้นมีลักษณะและรูปแบบแตกต่างไปตามอิทธิพลศิลปะที่ได้รับ เช่น
เจดีย์อิทธิพลศิลปะศรีวิชัยและลังกา
แต่เครื่องประดับยอดซุ้มตรงกลางเป็นแบบพม่าที่เมืองพุกาม เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย เป็นต้น เจดีย์ส่วนใหญ่จะก่อด้วยศิลาแลง
ใช้ลวดลายปูนปั้นตกแต่งและมีซุ้มพระประกอบ
ทางด้านเหนือของเจดีย์ประธาน
มีมณฑปเครื่องบนหรือเรือนยอดทำเป็นปรางค์ผสมเจดีย์ (องค์ระฆัง)
ด้านหน้าทำเป็นซุ้มประตูทางเข้า มีคูหาไว้พระพุทธรูปอยู่ภายใน
เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นนูนสูง ด้านข้างประตูทำเป็นช่องคูหาตื้น ๆ
ข้างละช่อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาปูนปั้นนูนสูง
ด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกปูนปั้น
ที่ผนังภายในคูหาที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนนั้น
มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสุโขทัย แต่ปัจจุบันลบเลือนเกือบหมดแล้ว
กรมศิลปากรจึงได้คัดลอกภาพดังกล่าวเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
จังหวัดสุโขทัย
ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นวิหารขนาดใหญ่และมีกำแพงแก้วล้อมรอบวิหาร
เจดีย์ประธานและองค์เจดีย์รายถัดจากกำแพงแก้วไปทางด้านหลังวัดเป็นโบสถ์และศาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งเหลือเพียงแต่ฐานเท่านั้น
วัดนางพญา
อยู่ต่อจากวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
ใกล้กับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ จุดเด่นของวัดนี้คือเจดีย์ประธานทรงกลมบนฐานสูงมาก
เดิมคงมีการสร้างรูปสัตว์ปูนปั้นประดับสลับกับเสาตามประทีป
วิหารวัดนี้มีลวดลายปูนปั้นประดับผนังและซีกหน้าต่างด้านนอก
ผนังวิหารเป็นแบบเจาะช่องแสงลวดลายรูปปั้นที่หลงเหลืออยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้นั้นงดงามมาก
คำบรรยายในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงว่า
“...ที่ลูกกรงปั้นเป็นลายรักร้อยแข็งสิงห์ประจำยามดอกจันทร์ที่ผนังทึบหว่างช่องลูกกรงมีเป็นลายรักร้อยประจำยามเทพประนม
ลายเหล่านี้ปั้นด้วยปูนติดอยู่กับแลง...”
ชื่อ “นางพญา”
ในที่นี้เล่ากันว่าหมายถึงนางพสุจเทวี ธิดาพระยากรุงจีน มเหสีของพระร่วง
วัดนางพญา อยู่ถัดจากวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
บริเวณวัดมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ มีประตูทางเข้าสามประตูคือ
ด้านตะวันออกเฉียงใต้และด้านทิศเหนือ 2 ประตู
ด้านหน้าวัดเป็นวิหารขนาดเจ็ดห้องก่อด้วยศิลาแลง
ผนังด้านตะวันตกเฉียงเหนือยังทรงรูปอยู่สามห้องซึ่งบนผนังและช่องลูกกรงนี้มีลวดลายปูนปั้นเป็นลายเครือเถางดงาม
และที่เสาสี่เหลี่ยมใหญ่ด้านหน้าก็มีลวดลายปูนปั้นแบบเดียวกัน
ต่อจากวิหารบนฐานเดียวกันเป็นเจดีย์กลมทรงลังกา
ซึ่งตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกชั้นหนึ่ง
และที่ลานทักษิณด้านตะวันออกของเจดีย์นี้มีซุ้มประตูเข้าไปสู่ภายในเจดีย์ซึ่งเดินวนไปรอบ
ลวดลายปูนปั้นที่พบที่วัดนี้มีความสวยงามเป็นลักษณะพิเศษที่ไม่ใคร่พบในวัดต่าง
ๆ ของเมืองสุขัยและศรีสัชนาลัย
ลวดลายแบบนี้จะพบมากในภาคเหนือหรือในเขตแคว้นล้านนาทำให้สันนิษฐานว่า
อาจจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ล้านนายึดครองศรีสัชนาลัยในสมัยอยุธยา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดพระปรางค์
ตั้งอยู่ทางทิศตะวัน-ออกของเมืองศรีสัชนาลัยติดกับริมแม่น้ำยม
ใกล้เมืองเชลียงซึ่งเป็นเมืองโบราณของบริเวณนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 – 19
โบราณสถานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงมีหลายอย่าง
แต่ที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์เด่นของวัด ได้แก่ พระปรางค์องค์ใหญ่
ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม
ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์
ซึ่งภายในเจดีย์ขนาดเล็กประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่กลางห้อง
ปรางค์นี้สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงเป็นปรางค์ขอม ต่อมาได้ปฏิสังขรณ์ในสมัยต้นอยุธยา
โดยยังรักษารูปทรงปรางค์ไว้ หากเพิ่มความสูงเพรียวตามแบบอย่างของไทยมากขึ้น
ด้านหน้าองค์ปรางค์ทางทิศตะวันออก
เป็นที่ตั้งของพระวิหารหลังใหญ่ขนาดเจ็ดห้อง ก่อด้วยศิลาแลงตามแบบการสร้างสถาปัตยกรรมสุโขทัย
กล่าวคือ มีการเจาะช่องเล็ก ๆ
ไว้บนกำแพงเพื่อใช้เป็นที่ระบายอากาศและให้แสงสว่างสาดเข้าไปภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนประทับนั่ง
ปางมารวิชัย
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยมีลักษณะงดงามมากและเป็นพระพุทธรูปประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงด้วย
ใกล้กับพระพุทธรูปประธาน
มีพระพุทธรูปปูนปางลีลาขนาดใหญ่ พุทธศิลป์สุโขทัยเช่นกัน
จัดเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของสมัยสุโขทัย
รอบองค์ปรางค์และพระวิหารมีซุ้มพระและเจดีย์ทิศซุ้มพระด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ
เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางนาคปรก
บนซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านหน้าและด้านหลัง มีลวดลายปูนปั้น ศิลปกรรมแบบบายน
เป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทั้งสี่ด้าน
ล่างลงมาเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งเหนือนางอัปสรที่กำลังร่ายรำ สำหรับยอดซุ้มประตูทางเข้าของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงนี้
ชาวบ้านเชื่อกันว่า ผู้ใดเดินลอดผ่านจะบังเกิดความสิริมงคล
ด้านหลังองค์ปรางค์มีฐานเจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ชำรุดเหลือองค์ระฆังตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยม
ถัดไปเป็นมณฑปภายในประดิษฐานพระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปปูนประทับยืน
ด้านซ้ายของมณฑปพระอัฏฐารสมีฐานวิหารก่อด้วยศิลาแลง
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนประทับนั่ง ปางมารวิชัย
ศิลปกรรมสมัยสุโขทัยที่งดงามมากสององค์ องค์แรกมีขนาดกลาง องค์หลังมีขนาดใหญ่
ทำให้ชาวบ้านเรียกวิหารนี้ว่าวิหารสองพี่น้อง
ด้านหลังขององค์ปรางค์ยังมีเจดีย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่งก่อด้วยศิลาแลงทั้งองค์
ทรวดทรงคล้ายเจดีย์มอญ แต่ความจริงเป็นเจดีย์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ
ชาวบ้านเรียกกันว่าเจดีย์มุเตา หรือเจดีย์พระลือ
ด้านนอกเป็นพระอุโบสถหลังปัจจุบันที่สร้างขึ้นบนซากพระอุโบสถหลังเก่า
มีกุฏิหลังย่อมประดิษฐานพระร่วงพระลือ
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
เป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในเมืองเชลียง
พระบรมธาตุที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นพระสถูปทรงปรางค์
ตั้งอยู่บนฐานสูงเป็นประปรางค์ศิลปะแบบอยุธยา โดยทั่วไปเข้าใจว่าแต่เดิมพระบรมธาตุเมืองเชลียงแห่งนี้คงจะมีลักษณะเป็นปราสาทแบบเขมร
สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเช่นเดียวกับวัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัย
ต่อมาได้ถูกซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงรูปทรงของปรางค์ประธานในสมัยอยุธยาตอนต้น
เชื่อกันว่าน่าจะเป็นช่วงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
และได้รับการบูรณะอีกครั้งปลายสมัยอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ
ซึ่งร่องรอยหลักฐานที่ยืนยันดังกล่าวได้คือกำแพงศิลาแลงและซุ้มประตูที่ล้อมรอบพระวิหารและพระบรมธาตุนั้นมีลวดลายปูนปั้นเป็นแบบศิลปะเขมร
พระสถูปศิลาจำลองบนยอดซุ้มประตูของกำแพงแลงที่เหลืออยู่
ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะเขมรแบบบายนนั้นเชื่อกันว่าคงจะเป็นรูปจำลองของสถูปหรือปราสาทองค์เดิม
ส่วนสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อยู่รายรอบคงได้รับการสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง
พระบรมธาตุเมืองเชลียงนั้นจะสร้างแต่ครั้งใดและใครเป็นผู้สร้างนั้น
จากหลักฐานที่พบได้ในขณะนี้ปรากฏข้อความอยู่ในศิลาจารึกวัดศรีชุม
ซึ่งถือว่าเป็นจารึกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดหลักหนึ่งของสุโขทัย
กล่าวไว้ในตอนต้นว่าในสมัยพ่อขุนศรีนาวนัมถมนั้น มีการสร้างพระบรมธาตุขึ้น ณ
เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และสระหลวง สองแคว หากวิเคราะห์จากหลักฐานที่ปรากฏแล้วจะเห็นว่าที่เมืองสุโขทัยก็คงจะเป็นพระบรมธาตุเจดีย์องค์ประธานวัดมหาธาตุองค์เดิมที่ก่อนจะถูกสร้างครอบเปลี่ยนมาเป็นเจดีย์รูปทรงดอกบัวหรือพุ่มข้าวบิณฑ์
ส่วนที่เมืองศรีสัชนาลัยก็คงจะเป็นพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้นั่นเอง
ซึ่งรูปทรงของพระบรมธาตุทั้งสองแห่งก็คงจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ
เป็นพระปรางค์หรือปราสาทศิลปะเขมรแบบบายน
ดังเช่นสถูปจำลองที่ปรากฏบนซุ้มประตูวัดพระศรีรัตน-มหาธาตุเชลียง
ซึ่งถ้าหากเป็นการสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีนาวนัมถมจริง
พระบรมธาตุเมืองเชลียงดังกล่าวนี้ก็คงจะมีอายุการสร้างอยู่ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งของ
พ.ศ. 1750-1800
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนี้กลุ่มบ้านเมืองในแถบนี้ได้รวมตัวเป็นกลุ่มบ้านเมืองแว่นแคว้นและมีความสำคัญมากขึ้นโดยมีเมืองเชลียงเป็นเมืองสำคัญและศูนย์กลางของแคว้น
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง สิ่งสำคัญภายในวัดมีปรางค์องค์ใหญ่เป็นหลักหรือเป็นประธานของวัด
ด้านหน้ามีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์
ซึ่งมีปรางค์องค์เล็กที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่กลางห้อง
สันนิษฐานกันว่าเดิมคงเป็นปรางค์ขอม
ต่อมาได้สร้างใหม่ตรงที่เดิมในสมัยอยุธยาตอนต้น อาจเป็นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมาบูรณะอีกครั้งในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ
องค์ปรางค์นี้ก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม
มีระเบียงคดสองชั้นล้อมรอบ
ด้านหน้าขององค์ปรางค์ทางทิศตะวันออกเป็นวิหารใหญ่ขนาดเจ็ดห้องสร้างด้วยศิลาแลง
หน้าต่างเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ เลียนแบบเครื่องไม้เช่นเดียวกับผนังระเบียบคด
ด้านขวาพระประธานในวิหารนี้
มีพระพุทธรูปลีลาปูนปั้นศิลปะสุโขทัย
ซึ่งถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปลีลาที่งามที่สุดองค์นึ่งในศิลปะสุโขทัย
อาจปั้นขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนต้น แต่ขอบสบงที่บั้นพระองค์คงมาซ่อมในสมัยอยุธยา
รอบองค์ปรางค์และวิหารมีเจดีย์ทิศและซุ้มพระโดยเฉพาะในซุ้มพระด้านทิศตะวันออก
เฉียงเหนือและด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวิหาร ยังปรากฏพระพุทธรูปนาคปรกปูนปั้น
ของเดิมคงมีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่มาซ่อมใหม่ในสมัยอยุธยา
ถัดจากเจดีย์ทิศและซุ้มพระออกมา
มีกำแพงแก้วทำด้วยศิลาแลงทั้งแท่ง
ทำเลียนแบบเครื่องไม้ลักษณะคล้ายเสากลมเรียงติดต่อกันเป็นกำแพง
ปิดทับด้านบนด้วยศิลาแลงทำเป็นรูปคล้ายหลังคา
ที่ซุ้มประตูด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายปูนปั้นประดับ
ด้านหลังองค์ปรางค์มีฐานเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ตั้งซ้อนอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมอีกทีหนึ่ง
ถัดเจดีย์องค์นี้ไป มีพระอัฏฐารศองค์หนึ่งซึ่งได้รับการซ่อมแซมแล้วเมื่อปี พ.ศ.
2500 และใกล้กับพระอัฏฐารศนี้มีฐานวิหารซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วิหารสองพี่น้อง
เนื่องจากภายในวิหารยังมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง 2 องค์
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสุโขทัยที่งดงามทั้ง 2
องค์ถึงแม้จะมีการซ่อมแซมแล้วก็ตาม
วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียงปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่
1
และในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีแล้ว
ได้เสด็จมาสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สวดน้ำมูรธาภิเษก
สำหรับพระเจ้าแผ่นดินมาแต่ครั้งโบราณกาล
นักโบราณคดีสันนิษฐานวา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงนี้ มีอายุก่อนสมัยสุโขทัย
และคงจะเป็นรุ่นเดียวกับปรางค์วัดพระพายหลวงที่เมืองเก่าสุโขทัย
โดยแต่เดิมคงสร้างเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน เมื่อถึงสมัยสุโขทัยได้ดัดแปลงมาเป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิหินยาน
วัดชมชื่น
วัดชมชื่นตั้งอยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยไปทางด้านทิศตะวันออกใกล้กับวัดเจ้าจันทร์และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
สำหรับบริเวณวัดชมชื่นนี้เคยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ 12 โครง
ประมาณอายุว่าอยู่ในช่วงปลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์
นักโบราณคดีสันนิษฐานจากลักษณะการนอนและการฝังศพว่าเป็นยุคที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาและเชื่อว่าบริเวณวัดชมชื่นนี้น่าจะเป็นชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี
เมื่อทวารวดีเสื่อมลงก็พัฒนากลายเป็นขอม
สำหรับวัดชมชื่นมีโบราณสถานที่สำคัญคือ
เจดีย์ทรงลังกาก่อด้วยศิลาแลงซึ่งหักพังลงเหลือแค่องค์ระฆัง
เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่บนฐานเหลี่ยม 4 ชั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า
เจดีย์องค์นี้สร้างคร่อมทับปราสาทศิลาแลงไว้
โบราณสถานที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของวัดชมชื่น
ได้แก่ มณฑปขนาดกลาง ก่ออิฐถือปูน หลังคาสามเหลี่ยมแหลม ประตูโค้งกลีบบัว
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านหน้ามณฑปเป็นฐานวิหารยกพื้นเตี้ย ๆ
ก่อด้วยศิลาแลง
วัดพญาดำ
วัดพญาดำ
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บางแห่งเรียกวัดป่าพญาดำ
ด้วยเป็นวัดในเขตอรัญวาสี วัดพญาดำนี้มีชื่อจริงปรากฏในศิลาจารึกว่า
วัดกัลยาวนาวาส ชาวบ้านขนานนามให้ว่า วัดเศรษฐี
เพราะมีผู้พบกรุพระเครื่องและพระพิมพ์มากมาย
โดยเฉพาะพระพิมพ์นางพญาซึ่งเป็นเนื้ออิฐแกร่งสีดำ
จึงเป็นที่มาให้ชาวบ้านพากันเรียกขานวัดนี้ในเวลาต่อมาว่า วัดพญาดำ
โบราณสถานสำคัญของวัดพญาดำ
ได้แก่ มณฑปขนาดใหญ่สร้างเป็นรูปลักษณะคล้ายกูบช้าง
ด้านหน้าและด้านหลังสร้างเป็นคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป
ฐานมณฑปเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายมณฑปวัดศรีชุม สุโขทัย
แต่มีหลังคาโค้งกลีบบัวภายในก่อผนังกั้นกลางมณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้งสองด้าน
สำหรับผนังด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางลีลาขนาดใหญ่
ผนังด้านหลังเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนประทับยืนขนาดเดียวกัน
แต่ปัจจุบันพระพุทธรูปทั้งสององค์ปรักหักพังหมดสิ้น
ด้านหน้าของพระมณฑปมีฐานพระวิหารยกพื้น
ก่อและปูด้วยศิลา ปัจจุบันหลงเหลือเพียงเสาบางส่วน
วัดยายตา
วัดยายตาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองศรีสัชนาลัย
ใกล้กับวัดพรหมสี่หน้าและวัดสระไข่น้ำ
จัดเป็นวัดใหญ่ที่มีอายุน้อยที่สุดของศรีสัชนาลัย
เพราะเพิ่งจะมาสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยสุโขทัย หรือสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เมื่อประมาณปี พ.ศ.
2534 มีการขุดแต่งบริเวณวัดยายตา ได้พบลูกกรงสังคโลกซึ่งมีอักษรจารึกอยู่
จึงทำให้สามารถกำหนดอายุของวัดยายตานี้ได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย
โบราณสถานของวัดยายตามีหลายอย่าง
แต่ที่เด่นชัดและได้รับการยกย่องว่าเป็นโบราณสถานสำคัญของวัดนี้คือ
มณฑปประธานของวัดที่สร้างด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา
ซึ่งทำกันมากในศรีสัชนาลัย
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มพื้นที่บนผนังวิหารด้านหน้ามีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติเหมือนที่เสามณฑป
นอกจากลวดลายปูนปั้นพุทธประวัติแล้ว
ยังมีลวดลายปูนปั้นพันธุ์พฤกษา
ซึ่งมีลักษณะคล้ายลวดลายปูนปั้นที่ผนังวิหารวัดนางพญาภายในเมืองศรีสัชนาลัย
นอกจากนั้นยังมีฐานพระวิหารก่อด้วยศิลาแลง หลังวิหารมีลานปลูกต้นศรีมหาโพธิ
ลานนี้ปูลาดด้วยศิลาแลง ประดิษฐานซุ้มพระขนาดเล็ก
วัดสระไข่น้ำ
วัดสระไข่น้ำตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกนอกเมืองศรีสัชนาลัยใกล้กับวัดราหูและวัดยายตา
แต่เดิมชื่ออะไรไม่มีใครรู้จัก เพิ่งจะมาเรียกกันว่า วัดสระไข่น้ำ
ตามลักษณะของสระที่มีอยู่ในวัดในชั้นหลัง
วัดนี้มีเจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่
ก่อด้วยศิลาแลง และมณฑปที่มีหลังคาและประตูโค้งแบบกลีบบัว
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมณฑปศรีสัชนาลัย มีซุ้มพระ 4 ซุ้ม
และมีวิหารโถงอยู่หน้ามณฑปด้วย
วัดสระปทุม
วัดสระปทุมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองศรีสัชนาลัย
ใกล้วัดพญาดำ นอกจากเป็นวัดในเขตอรัญญิกเช่นเดียวกับวัดพญาดำแล้ว
ยังมีมณฑปขนาดใหญ่ที่มีรูปทรงเหมือนกับมณฑปของวัดพญาดำด้วยผิดกันเพียงว่าหลังคามณฑปวัดสระปทุมเป็นหลังคายอดแหลมไม่ได้เป็นหลังคาทรงกลีบบัวเหมือนกับวัดพญาดำ
ส่วนภายในมณฑปไม่ได้แบ่งออกเป็นสองห้อง
และไม่ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและพระพุทธรูปปางลีลา แต่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่เพียงองค์เดียว
ด้านหน้าของมณฑปมีฐานพระวิหาร
ยกพื้นสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ก่อและปูพื้นด้วยศิลาแลง
เสาแปดเหลี่ยมถือปูนพระวิหารนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง
ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สำหรับวัดสระปทุมนี้ใช้พระมณฑปเป็นประธานของวัด
วัดเขาใหญ่บน
วัดเขาใหญ่บนตั้งอยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยทางทิศตะวันตกเป็นวัดในเขตอรัญญิกที่ตั้งอยู่บนเนินเขา
โบราณสถานของวัดเขาใหญ่บนประกอบด้วย เจดีย์ประธานของวัด
ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกาก่ออิฐด้วยศิลาแลง เสาแปดเหลี่ยมล้อมรอบด้วยเจดีย์ราย
ส่วนที่ทำให้วัดเขาใหญ่บนแตกต่างไปจากวัด อื่น ๆ ก็คือ
มีเจดีย์ทรงกลีบมาเฟืองอยู่ด้านหลังองค์เจดีย์ประธาน
เจดีย์ทรงกลีบมะเฟืองนี้สร้างกันมากในสมัยอยุธยา
บทที่ ๗
อุตสาหกรรมเครื่องสังคโลก
บริบททางประวัติศาสตร์
การเติบโตของชุมชนที่ศรีสัชชนาลัยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องสังคโลกในช่วงระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่ศตวรรษ
ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23
สะท้อนภาพการเติบโตของชุมชนอุตสาหกรมในประวัติศาสตร์สยามอย่างแท้จริง
บนพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของช่างหลายกลุ่มผู้ชำนาญหลายด้าน ตลอดจนช่างฝีมือต่าง
ๆ อาทิ ช่างทำเตาและผู้ควบคุมอุณหภูมิความร้อน ช่างเคลือบ ช่างปั้น
ช่างวาดลายตกแต่ง รวมตลอดไปถึงผู้ดำเนินการทางการค้า
ซึ่งอาจเป็นตัวแทนของรัฐเข้ามาควบคุมและกำหนดทิศทางการผลิต
เพื่อส่งไปขายแลกเปลี่ยนในอาณาบริเวณกว้างขวาง ทั้งในพื้นภูมิภาคและกับหมู่เกาะใกล้เคียง
เช่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เลยไปถึงเกาหลีและญี่ปุ่น
กล่าวได้ว่าชุมชนอุตสาหกรมศรีสัชชนาลัยซึ่งวิวัฒน์มาจากชุมนุมมนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่
ณ เมืองเชลียงเก่า สนองตอบอำนาจรัฐทั้งทางด้านการผลิตและการค้าสังคโลก
พร้อมทั้งได้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการผลิตจนกลายเป็นชุมชนที่สามารถสร้างลักษณะของความชำนาญเฉพาะเกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าสังคโลกโดยตรง
นับเป็นการพัฒนาความถนัดมาจากชุมนุมมนุษย์ดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ปรับปรุงการใช้ทรัพยากรในการทำเครื่องปั้นดินเผา
เช่น ดินอันมีคุณภาพ เรียนรู้จักการเคลือบ การทำลวดลาย ปรับปรุงเทคนิควิธีของตน
สร้างความรู้เชิงผสมผสานทั้งจากสังคมภายนอกและของตนเอง
ซึ่งก่อให้เกิดความชำนาญทางการผลิตเครื่องสังคโลก
หลักฐานด้านโบราณคดีจากการขุดค้นที่วัดชมชื่น
บริเวณเมืองเชลียงเก่า ปี พ.ศ. 2537 ยืนยันความจริงบางอย่างเกี่ยวกับเมืองเชลียงและชุมชนอุตสาหกรมศรีสัชชนาลัยแห่งนี้
วัดชมชื่นอยู่ตรงโค้งน้ำยม
เป็นบริเวณที่ตั้งวัดชมชื่นและใกล้เคียงมีความสำคัญสืบเนื่องมาจากสมัยหลังเพราะเป็นศูนย์กลางของเมืองเชลียงเก่า
จะเห็นได้ว่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 18-19 ก็มีการสร้างวัดพระบรมธาตุขึ้นเป็นศูนย์กลางเมืองตรงบริเวณนี้
สันนิษฐานว่าชุมชนมนุษย์ที่วัดชมชื่นอยู่มาตั้งแต่สมัยปลายยุคโลหะ
ชั้นล่างสุดของหลุมขุดค้นลึก 9 เมตร
แสดงการอยู่อาศัยของชุมนุมมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
และคงได้มีการอยู่อาศัยสืบเนื่องมาจนสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ปรากฏว่าในความลึก
7 เมตร พบโครงกระดูกของมนุษย์ผู้ใหญ่ 6 โครง และเด็ก 2 โครง
ซึ่งคงมีความเชื่อร่วมกันบางอย่าง
เพราะโครงกระดูกดังกล่าวฝังหันศีรษะไปในทางเดียวกัน
พบลูกปัดสมัยทวารวดีกับโครงกระดูกเหล่านี้
พร้อมกับวัตถุที่เป็นชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผา แสดงว่าชุมชนเล็ก ๆ
สมัยทวารวดีนี้รู้จักเครื่องปั้นดินเผาแล้ว และคงมีการติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงบ้าง
เช่น ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเข็น เป็นต้น
ซึ่งมีร่องรอยของก่อนประวัติ-ศาสตร์คล้ายคลึงกัน
วิวัฒนาการของชุมชนเชลียงเข้าสู่ความเป็นเมืองเริ่มตั้งแต่ปลายสมัยทวารวดี
ซึ่งคงเติบโตเป็นชุมชนในเส้นทางค้าและการคมนาคมตั้งแต่ประมาณสมัยพุทธศตวรรษที่ 17
เมื่อพระเจาสุริยวรร-มันที่ 1
ทรงมีนโยบายขยายตัวทางเศรษฐกิจมาทางด้านตะวันตกของราชอาณาจักร
และอิทธิพลของขอมทางด้านวัฒนธรรมและการเมืองเริ่มฝังรากลึกในแผ่นดินอีสาน
ส่วนทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ละโว้เป็นศูนย์กลางสำคัญตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17-19
พร้อมพับการแผ่อำนาจและบารมีของพระเจ้าชัยวรร-มันที่ 7 ในภูมิภาค
ส่วนในของสยามประเทศสมัยนี้เกิดชุมชนบ้านเมืองหลายแห่ง อาทิ สุโขทัย พะเยา
และชุมชนที่เชลียง ซึ่งเอกสารพื้นถิ่นเรียก เมืองเชลียง ปรากฏในจารึกสุโขทัยเรียกเมืองศรีสัชชนาลัย
มีความเป็นไปได้สูงที่ว่าชุมชนเชลียงได้
ปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับการทำเครื่องปั้นดินเผาสืบเนื่องถึงสมัยหลังจนสามารถทำเครื่องเคลือบแบบขอมได้
เพราะในชั้นดินจากหลุมขุดค้นวัดชมชื่นพบชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบ
และเครื่องปั้นดินเผาแบบขอม ซึ่งแพร่อยู่ตามชุมนุมบ้านเมืองต่าง ๆ
ภายในภูมิภาคช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19
สำหรับกรณีของเชลียงก็จะเห็นได้ว่าเกิดเป็นบ้านเมืองขึ้นชัดเจนในตอนนี้
มีการสร้างวัดเจ้าจันทร์และวัดพระบรมธาตุเชลียง เป็นต้น
ในส่วนของการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาเคลือบและเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกรง
มีการสร้างเตาผลิตขึ้นหลายแห่งร่วมสมัยกันเช่น เตาเชลียง เตาสันกำแพง
เตาเวียงจันทน์ ผลิตวัตถุประเภทไหและกระปุกเคลือบสีน้ำตาลที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน
ในระยะแรกชุมชนเชลียงผลิตเครื่องปั้นดินเผาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งแบบขอม
เฉกเช่นเดียวกับชุมชนบ้านเมืองอื่น
ชุมชนเหล่านี้มีเครือข่ายการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งสีเทาหรือเทาออกดำคล้ายคลึงกัน
ใช้สำหรับใส่กระดูกคนตายหรือัฐิเผาแล้วฝังไว้ เครื่องปั้น ดินเผาลักษณะนี้พบในเขตสุโขทัย พิษณุโลก
นครไทย เลย อุดร หนองคาย และเมืองอื่น ๆ ในเขตอีสานตอนบน
การพบเครื่องปั้นดินเผาลักษณะแบบขอมทั้งเนื้อแกร่งและแบบเคลือบตั้งแต่สมัยต้น
ทำให้สันนิษฐานได้ว่า
เครื่องปั้นดินเผาขอมส่งอิทธิพลต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผาทั้งแบบแกร่งและแบบเคลือบที่เมืองเชลียงมาแต่ดั้งเดิมก่อนผลิตเครื่องสังคโลก
ผลผลิตที่แสดงให้เห็นการพัฒนาฝีมือขั้นสูงสุดทางด้านเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนอุตสาหกรรมศรีสัชชนาลัย
ไม่สามารถปฏิเสธว่าเครื่องสังคโลกนั้นมีลักษณะของการเคลือบและการเขียนลวดลายแบบจีนอยู่
ความชำนาญทางด้านการผลิตเป็นผลมาจากการสั่งสมความรู้ทั้งที่ตกทอดมาในท้องถิ่นและรับอิทธิพลจากภายนอก
สันนิษฐานว่าอิทธิพลของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบจีนได้ผ่านเข้าสู่การรับรู้ของชุมชนเชลียงใน
2 ลักษณะและต่างช่วงเวลา
ลักษณะแรก
เป็นการรับรู้ผ่านการแพร่กระจายของวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาจากจีนในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นก่อนพุทธศตวรรษที่
18
อีกลักษณะหนึ่ง
เป็นการรับรู้ที่ถูกกำหนดโดยรัฐเมื่อมีการกำหนดให้ผลิตเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนในวงจรการค้าทางทะเล
ประมาณตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 และต้นพุทธศตวรรษที่ 20
วัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาของสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคแรกได้รับอิทธิพลทางเทคโนโลยีจากจีนอย่างมาก
ซึ่งจากการศึกษาของ โรแซนนา เอ็ม บราวน์ ได้พบว่า เครื่องปั้นดินเผา กวั่นตง (Guangdong ceramics) และเครื่องปั้นดินเผาขอมยุคแรกซึ่งเคลือบบางเป็นสีเขียวนั้นคล้ายคลึงกัน
แต่จีนผลิตมาก่อนรู้จักกันมานับร้อยปี
ส่งอิทธิพลต่อเครื่องปั้นดินเผาอันนัมยุคแรกและเครื่องปั้น ดินเผาขอม
ปีเตอร์ แลม พบว่า
เครื่องปั้นดินเผากวั่นตง
ผลิตจากเตาผลิตมณฑลกวั่นตนชายทะเลฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
ซึ่งผลิตเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่สมัยนีโอลิธิกกลายเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาระดับภูมิภาคกระจายทั่วมณฑลกวั่นตง
หูหนาน กวางสี ฉีเจียง เกียงสี
นอกจากนี้ยังรับอิทธิพลทางด้านเครื่องปั้นดินเผาจากพวกเวี่ย (Yueh)
เผ่าชนพื้นเมืองซึ่งกระจายตัวอย่างกว้างขวางในพื้นภูมิภาคนี้
บางทีเรียกเครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้ว่า
เครื่องปั้นดินเผาก่อนเซลาดอนหรือโปรโตเซลา-ดอน (ProtoCeladon)
ผลผลิตสำคัญในวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผากวั่นตงคือ
ไหมะตะบัน (Martaban
jars) ซึ่งแพร่หลายในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18
ตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้องฝ่ายเหนือแรกเริ่มเดิมทีใช้บรรจุของเหลวเช่น ไวน์ ซอสผักดอง
ภายหลังนิยมใช้เก็บใบชาส่งไปขายญี่ปุ่น รู้จักกันในชื่อว่า ไหลูซอน (Luzon
jars) ที่ซาราวัคเรียกไหนี้ว่า กาลอง (Kalong Jars) ในสยามเรียกไหสุโขทัยหรือไหขอม ชุมชนฟิลิปปินส์บางแห่งเรียกตัมปายัน (Tempayan)
มีการผลิตไหแบบนี้ไม่เฉพาะจากเมืองจีนเท่านั้น แต่จากเตาสุโขทัย-สวรรคโลก
กัมพูชาและเวียดนาม
โดยเฉพาะไหมะตะบันจากสยามประเทศกลายเป็นสินค้าออกสำคัญในช่วงตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่
19 และพุทธศตวรรษที่ 20
ซึ่งเชื่อว่ามีการผลิตจากแหล่งเตาอื่นในลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย
พบในซากเรือจมที่เกาะครามและเรือของบริษัทดัทช์อีสต์อินเดีย คัมปะนี
ชื่อเรือวิทเลียว; (Witte Leeuw) ปัตตาเวีย (Batavia) และ เฟอคุลเดอ ดราค (Vegulde Draeck)
การผลิตไหมะตะบันอย่างแพร่หลายในสังคมสยาม
จึงควรเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ช่วยยืนยันอิทธิพลทางด้านการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของจีน
ซึ่งได้ตกทอดมาสู่ชุมชนช่างผลิตเครื่องปั้น
ดินเผาที่ศรีสัชชนาลัย-สุโขทัย และแหล่งผลิตอื่นในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงนี้
ทำให้อาจคาดการณ์ได้เช่นกันว่า กลวิธีการเคลือบแบบขอมของจีนได้ช่วยผสมผสานความรู้ให้เกิดแก่ช่างทำสังคโลกที่ศรีสัชชนาลัย
ความแพร่หลายของการค้าเครื่องปั้นดินเผาทางทะเลเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งที่
ทำให้ช่างพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อันนัม และสยาม
เลียนแบบการเคลือบการเขียนลวดลายและรูปลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาเป็นแบบจีนเพื่อสนองความต้องการของสังคมชุมชนต่าง
ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภาคพื้นทวีปชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะ
จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการพบชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองนั้น
มักพบควบคู่กับเครื่องปั้นดินเผาจีนเสมอ
จีนเองก็ผลิตเครื่องเคลือบเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า เช่น
ขวนมีหัวเป็นรูปนกฟีนิกซ์อันเป็นที่นิยมของชาวเกาะ กลับไม่เหมือนหัวนกฟีนิกซ์ที่ทำสำหรับสุลต่านแห่งวังทรอปกาปิ
(Trokapi)
ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจีนเป็นสินค้าสำคัญตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่
18 สมัยราชวงศ์ซ้อง
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่คนพื้นเมืองนิยมภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและไหบรรจุของจาก จีนใต้ ซึ่งผูกขาดการผลิตในช่วงพุทธศตวรรษที่
18-19 จนหมดสมัยราชวงศ์มงโกล ต้นพุทธศตวรรษที่ 20
การค้าเครื่องปั้นดินเผาจีนตกต่ำอยู่ชั่วระยะหนึ่ง
ผลผลิตของสยามประเทศจากแหล่งเตาศรีสัชช-
นาลัย สุโขทัย และเครื่องปั้นดินเผาอันนัมได้เข้ามาแทนที แต่จีนก็ฟื้นตัวด้านการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนในช่วงพุทธศตวรรษที่
21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสมัยราชวงศ์เหม็ง บรรดาพ่อค้า-เอกชนจีน
มีบทบาทด้านการค้าทางทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก
มีการต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมท้องถิ่นที่สำคัญ ส่งผลให้เกิดการค้าเรือสำเภาขนาดเล็ก
และเรือสินค้า เดินทางระยะสั้นประเภทอื่นในบรรดารัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มีเมืองท่าชายฝั่งและเส้นทางออกทะเล เช่น เรือบูตวน (Butuan Boat) ของฟิลิปปินส์
แรงจูงใจในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาทั้งเคลือบและไม่เคลือบเลียนแบบจีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับผลไม้ทางเศรษฐกิจการค้า
จึงเกิดขึ้นในรัฐบ้านเมืองบางแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐที่ชี้นำการผลิตรู้ว่าผลผลิตนั้นเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวาง
ทำไมจึงมีความต้องการเครื่องปั้นดินเผาอย่างมากมายในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?
ตามที่ได้มีการค้นคว้ามานั้น วัตถุประสงค์ที่ทำให้เกิดความต้องการ
จำแนกได้เป็นหลายแบบ อาทิ
ใช้เครื่องปั้นดินเผาเป็นวัตถุทางความเชื่อเกี่ยวกับความลี้ลับและความศักดิ์สิทธิ์
เช่น ใช้เป็นเครื่องรางปกป้องผองภัย บางแห่งคนเชื่อว่าจนเซลาดอนขจัดพิษได้
สามารถร้องเตือนเมื่อมีภัยมา บ้างว่ามีเสียงเป็นอมตะไพเราะเหมือนเสียงระฆัง
ใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการนับถือผีและวิญญาณ
บางกลุ่มใช้เปลือกหอยเคาะเครื่องปั้น
ดินเผาเพื่อเรียกวิญญาณบรรพบุรุษ
ชนเผ่าบางแห่งใช้ไฟใส่เหล้าไวน์สำหรับประกอบพิธีกรรม
สังคมชาวเกาะฟิลิปปินส์นิยมใช้ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาบรรจุกระดูกคนตาย
บางแห่งใช้ใส่กระดูกไปในไหแล้วฝัง ดังนั้นจึงเกิดการนำเข้าของประเภทนี้มาก
ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 การผลิตเครื่องปั้น
ดินเผาพื้นเมืองในฟิลิปปินส์แทบหยุดชะงักสิ้น
เพราะคนหันมานิยมซื้อเครื่องสังคโลกและเครื่องปั้นดินเผาจากภายนอก
นอกจากนั้นก็ใช้เป็นภาชนะบรรจุของเหลว
สมัยพุทธศตวรรษที่ 22-23
ชาวญี่ปุ่นต้องการไหสังคโลกมากสำหรับเก็บรักษาชาให้มีคุณภาพ มีเรื่องเล่าว่า
พุทธศตวรรษที่ 22 เรือสินค้าของชาวฟลอเรนซ์ออกจากมะนิลาไปทอดสมอที่นางาซากิ
เจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจเรือคนหาภาชนะเครื่องปั้น ดินเผาจำพวกไหสำหรับใส่ชา
(เพราะตามกฎหมายแล้วองค์พระจักรพรรดิมีสิทธิ์ซื้อไว้เฉพาะพระองค์เอง)
โดยไม่เหลียวแลสินค้าอื่นเลย
เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบยังเป็นสิ่งซึ่งบ่งบอกถึงฐานะสูงและสิทธิพิเศษของผู้เป็นเจ้าของ
มิใช่เฉพาะสังคมชนเผ่าเท่านั้น แต่สังคมชาวเมืองด้วยเพราะความนิยมและต้องการดังนี้
จึงทำให้มีการผลิตเครื่องเคลือบทั้งสำหรับเป็นภาชนะใช้สอย และรูปแบบต่าง ๆ
สำหรับประดับตกแต่งเช่น กระเบื้อง ขวด ชุดชา หีบ
วัตถุรูปผลไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเล่นประเภทตุ๊กตาและรูปสัตว์ต่าง ๆ
(เหล่านี้ครั้งหนึ่งในอดีตอาจเป็นของใช้ในพิธีกรรม)
ความต้องการอันมากมายส่งผลให้มีการผลิตอย่างมากมายด้วย
ทั้งจากฝ่ายจีนและการเลียนแบบโดยช่างชาวพื้นเมือง
พร้อมกันจีนก็สร้างสรรค์ให้เหมาะกับรสนิยมพื้นเมืองจึงอาจนำไปสู่การผลิตวัตถุที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นถิ่นแต่ละแห่งหนเช่น
คนทีประดับด้วยหัวนกฟีนิกซ์และรูปปั้นผลไม้พื้นเมือง
เหล่านี้ต่างออกไปจากวัฒนธรรมจีน สภาวะการผลิตและการค้าเครื่องปั้น ดินเผาดังกล่าว
สะท้อนถึงการผสมผสานวัฒนธรรมบางแง่มุม
ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้การรับและส่งต่ออิทธิพลทางด้านฝีมือการผลิตและอื่น ๆ
จึงมีความเป็นไปได้สูง และมีแนวโน้มว่าช่างพื้นเมืองจากแหล่งผลิตสำคัญ ดังเช่น
ศรีสัชชนาลัยอาจเรียนรู้กลวิธีจากช่างจีนมาปรับปรุง
อีกทั้งการเข้ามาของพ่อค้าจีนหรือพ่อค้าจากฝั่งทะเลจีนใต้มาดำเนินกิจการในบ้านเมืองลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็มีมาแต่พุทธศตวรรษที่
17 แล้ว ดังเรื่องพ่อค้าจีนที่เมืองเจนลี่ฟูในลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนการเกิดอาณาจักรอยุธยา
การมีย่านของคนจีนในอยุธยาครั้งอดีตก็อาจเทียบเคียงให้เห็นถึงบทบาทของคนจีนในวงจรธุรกิจการค้าแลกเปลี่ยนครั้งกระนั้นการขยายตัวของพ่อค้าจีนและช่างจีนตามแหล่งเตาผลิตภาคพื้นสยามประเทศในยุคการค้าเครื่องปั้นดินเผาเฟื่องฟู
จึงอาจมีนัยถึงอิทธิพลของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบแบบจีนต่อช่างผลิตสังคโลกแห่งชุมชนอุตสาหกรรมศรีสัชชนาลัย
นอกจากช่างศรีสัชชนาลัยรับอิทธิพลทางด้านการผลิต
การเคลือบ รูปแบบและลวดลายจากขอมและจีนในการผลิตเครื่องสังคโลกแล้ว
ยังปรากฏลักษณะสัมพันธ์ทางด้านศิลปะระหว่างเครื่องสังคโลกบางชิ้นจากเตาสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยกับชิ้นส่วนจากเตาสันกำแพงผลิตในช่วงพุทธศตวรรษที่
21 อีกด้วย ไฮแรม วูดเวิร์ด
ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะเปรียบเทียบชิ้นส่วนจากแหล่งเตาทั้งสาม
พบว่ามีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก จึงสันนิษฐานว่าในช่วงต้นศตวรรษที่ 21
ครั้งศึกยวนพ่ายเมื่อเชียงใหม่ยึดศรีสัชชนาลัยอยู่ชั่วระยะหนึ่งนั้น
น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ช่างฝีมือจากแหล่งเตาทั้งสามได้มีโอกาสลอกเลียนแบบกัน
เกิดการผสมผสานทางด้านศิลปะ ถ้าแม้นข้อเสนอนี้เป็นที่ยอมรับ
เราก็อาจมีความเห็นเพิ่มเติมไว้ว่า ในการพัฒนาฝีมือของช่างศรีสัชชนาลัยนั้นได้รับถ่ายทอดอิทธิพลทางศิลปะทั้งจากขอม
จีน และช่างเชียงใหม่ มาปรุงแต่งจนอาจเกิดผลผลิตที่มีลักษณะเฉพาะอีกกลุ่มหนึ่งได้
สำหรับคำว่า
“สังคโลก” นั้น
เป็นคำที่คนไทยโดยทั่วไปรู้จักกันมานานแล้วว่าหมายถึงเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเมืองสุโขทัยและศรีสัชชนาลัยที่มีเนื้อแกร่งเคลือบผิดและคำนี้ยังนิยมนำไปใช้เรียกเครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากที่ต่าง
ๆ อีกด้วย เช่น สังคโลกจีน สังคโลกญวน และญี่ปุ่น
เชื่อกันว่าการที่คนไทยนิยมเรียกเครื่องปั้นดินเผาเคลือบว่า สังคโลก
ก็เพราะว่าแต่ดั้งเดิมเครื่องปั้น
ดินเผาเคลือบนี้คงจะผลิตมากที่เมืองสวรรคโลก
ซึ่งเป็นชื่อเรียกเมืองศรีสัชชนาลัยในสมัยอยุธยานั่นเอง
การผลิตเครื่องสังคโลกได้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นสินค้าส่งไปขายในดินแดนใกล้เคียงและเป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังดินแดนใกล้เคียงและเป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังดินแดนประเทศต่าง
ๆ ในภูมิภาคนี้อีกด้วย คำเรียกว่า สังคโลก
คงเป็นคำเรียกโดยพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
โดยเรียกชื่อสินค้าและแหล่งผลิตที่เมืองสวรรคโลก
แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสังคโลกจนติดปากคนไทยในสมัยหลังต่อมาอีกด้วย
ความเห็นดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งนัก วิชาการต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันไป
ที่แน่นอนที่สุดสังคโลกไทยแม้ว่าจะมีแหล่งผลิตอยู่ใน หลาย ๆ แห่ง ทั้งที่เมืองศรีสัชชนาลัย
สุโขทัย และหลายแห่งในภาคเหนือตอนบน แต่เครื่องสังคโลกที่ผลิตได้จากแหล่งเตาเมืองสวรรคโลกหรือศรีสัชชนาลัย
จะพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดและเป็นสินค้าที่พบกระจายอยู่โดยทั่วไปภายในประเทศและต่างประเทศ
จากการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีต่าง
ๆ ทั่วประเทศไทยพบว่ามีสังคโลกหลายชนิดหลายประเภทเป็นเครื่องใช้สอยของชุมชนต่าง ๆ
แม้ในอ่าวไทยและบริเวณชายฝั่วทะเลจีนตอนใต้ก็ได้พบสังคโลกอีกเป็นจำนวนมากในหลุมฝังศพของชุมชนโบราณ
ที่มีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 ในประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
มาเลเซีย และตามหมู่เกาะของประเทศดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่าในช่วงระยะนั้นสังคโลกได้เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญมากของกรุงศรีอยุธยา
แม้ว่าเครื่องปั้น ดินเผาที่พบจะมีแหล่งผลิตในหลาย ๆ แห่ง
แต่สังคโลกที่ผลิตได้จากแหล่งเตาเมืองศรีสัชชนาลัยจะพบว่ามีปริมาณที่มากกว่าแหล่งเตาอื่น
ๆ
การผลิตสังคโลกนั้นมิได้มีเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
เช่น หม้อ จาน ชาม ถ้วย กระปุก กาน้ำ เต้าปูน ฯลฯ เท่านั้น เมื่อชาวเมืองศรีสัชชนาลัยได้พัฒนาการฝีมือการเผาเครื่องปั้น
ดินเผาจนเชี่ยวชาญและมีความชำนาญเป็นอย่างดียิ่ง
ยังได้มีการผลิตให้เป็นชิ้นส่วนเครื่องประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ของใช้ตามพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ อีกด้วย
ดังจะพบหลักฐานจากการสำรวจขุดค้นโบราณสถานในเมืองศรีสัชชนาลัยและสุโขทัยว่า
เครื่องสังคโลกได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเป็นอันมาก
เช่น กระเบี้องมุงหลังคา
แผ่นกระเบื้องปูพื้น ตะเกียงสังคโลกที่ประดับหัวเสา เสาลูกกรง ช่อฟ้า หางหงส์
บราลี นาคราวบันได เป็นต้น
ส่วนสังคโลกอีกประเภทซึ่งน่าจะผลิตขึ้นเป็นเครื่องประดับบ้านเรือนโดยเฉพาะเช่น
ภาพช้างถ้วยจตุรังคบาท ม้า วัว เป็น ไก่ นก และปลาชนิดต่าง ๆ
ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมีฝีมืออย่างชำนาญการในการผลิตเครื่องสังคโลกของชาวเมืองสวรรคโลกหรือศรี- สัชชนาลัยสมัยโบราณ
>>>>> Download Now
ReplyDelete>>>>> Download Full
>>>>> Download LINK
>>>>> Download Now
>>>>> Download Full
>>>>> Download LINK sa