Thursday, April 2, 2020

โบราณคดีคืออะไร และแตกต่างจากประวัติศาสตร์อย่างไร


















1. โบราณคดีคืออะไร และแตกต่างจากประวัติศาสตร์อย่างไร
โบราณคดี คือ การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตจากการวิเคราะห์ วิจัยและแปลความโบราณวัตถุและโบราณสถาน โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษากระบวนการศึกษาต่าง แตกต่างจากประวัติศาสตร์ตรงที่ ประวัติศาสตร์นั้นคือการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์จากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานประเภทคำบอกเล่ารวมไปถึงการวิเคราะห์ ตีความจากวัตถุประจักษ์พยานต่างๆ
 2.  พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
การศึกษาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวิชาโบราณคดีนั้น ครอบคลุมถึงระยะเวลาตั่งแต่ช่วงที่เกิดบรรพบุรุษในยุคแรกของมนุษย์ในโลกจนมาถึงช่วงที่มีการจดบันทึกเท่านั้น การแบ่งช่วงเวลาพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยสามารถแบ่งได้ 4 ช่วงเวลาคือ
 ช่วงเวลาที่ 1 ช่วงก่อนหน้า 10,000 ปีมาแล้ว (ยุคหินเก่า)
ลักษณะการทำมาหากิน ประชากรยังไม่ทำการเพาะปลูกพืช - เลี้ยงสัตว์ ยังดำรงชีวิตด้วยการการหาของป่า - ล่าสัตว์ พึ่งพาตัวเองและปรับตัวเองให้เข้ากับธรรมชาติแวดล้อมเป็นอย่างมาก
เทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะรุ่นแรกที่ทำจากแก่นหินหรือสะเก็ดหิน ซึ่งกำหนดจุดกะเทาะแบบมีแบบแผน พอใช้ตัดเฉือนและพอขูดสิ่งต่าง ๆ ได้  อาจใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเครื่องมือหุงต้ม ทำเป็นอาวุธ
แบบแผนที่พักอาศัย ไม่นิยมสร้างบ้านเรืออย่างถาวร น่าจะมีการเคลื่อนย้ายหมุนเวียนไปมาในเขตพื้นที่ที่คุ้นเคย ให้สอดคล้องกับฤดูกาลและแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยอาจประกอบขึ้นมาอย่างง่าย ๆ หรืออาศัยอยู่ตามเพิงผาถ้ำ
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น แหล่งโบราณคดีแม่ทะ จ. ลำปาง พบเครื่องมือหินกะเทาะรุนแรกทำจากกรวดแม่น้ำ อายุราว 4  – 6  แสนปี หรือ 6 – 8 แสนปีมาแล้ว พบกะโหลกบรรพบุรุษมนุษย์ชนิด โฮโมอิเรคตัส อายุราว 5 แสนปีมาแล้ว
 ช่วงเวลาที่ 2 ช่วงราว 10,000 – 5,000 ปีมาแล้ว (ยุคหินกลาง ถึงบางส่วนของยุคหินใหม่)
ลักษณะการทำมาหากิน อาจเริ่มมีการร่วมมือกันล่าสัตว์หลายคน เนื่องจากพบกระดูกและเขาสัตว์ใหญ่ เช่นวัวป่า แรด อาจมีการสร้างกับดักสัตว์จากไม้ เนื่องจากพบกระดูกสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้สูงเช่นลิง กระรอก ยังมีการพบเมล็ดพืชบางชนิด เริ่มเป็นชุมชนแบบเกษตรกรรม อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น
เทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้  เริ่มมีการทำเครื่องมือแบบหัวบินเนียน อาจใช้เครื่องมือหินขัด หรือ ขวานหินขัดด้วย
แบบแผนที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นถ้ำหรือเพิงผาหินปูนที่อยู่ไม่สูงนักและมีทางน้ำอยู่ใกล้ ๆ  ยังคงหมุนเวียนเปลี่ยนที่อยู่ไปมาบ่อย ๆ
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบชิ้นส่วนของ เมล็ดพริกไทย  น้ำเต้า ถั่วบางชนิด สันนิฐานว่า ประชาชนถ้าผีแมน อาจดำรงชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม
 ช่วงเวลาที่ 3 ช่วงราว 5,000 – 2,500 ปีมาแล้ว (ยุคหินใหม่ ถึงยุคสำริด)
ลักษณะการทำมาหากิน เริ่มมีปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ประเภท วัว หมู ไก่ จัดได้ว่าเป็นสังคมผลิตอาหารเองควบคู่ไปกับการล่าสัตว์และการเก็บของป่า
เทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ มีการทำและใช้เครื่องมือรูปหัวขวานที่ขัดฝนจนเรียบ เรียกว่าขวานหินขัด มีการใช้ภาชนะดินเผาหลายรูปทรง มีวิธีการตกแต่งแตกต่างกันซึ่งค้นพบกระจัดกระจายในตามภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย แสดงถึงมีความแตกต่างทางความคิด ค่านิยมประเพณี มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชน
แบบแผนที่พักอาศัย เป็นชุมชนแบบอุตสาหกรรมไม่ใหญ่นัก แต่ละชุมชนมีอิสระจากกัน ปกครองตนเองโดยหัวหน้าแต่ละกลุ่ม มีการทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์แบบสัมพันธ์กับที่อยู่อาศัยที่สร้างแบบถาวร
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ. กาญจนบุรี พบภาชนะดินเผาที่โดดเด่นคือแบบ 3 ขา การฝังศพมีแบบแผนแน่นอน ใส่เครื่องประดับ ลูกปัดที่ทำจากหินและเปลือกหอยในหลุมศพด้วย
ช่วงเวลาที่ 4 ช่วงราว 2,500 ปีมาแล้วลงมา (ยุคเหล็ก )
ลักษณะการทำมาหากิน เป็นสังคมเกษตรกรรมแต่มีการพัฒนาขึ้น เริ่มมีการเลี้ยงควาย ใช้ควายเป็นแรงงานในการไถนา
เทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้ มีการพัฒนาทางด้านโลหะกรรม
-       2,700 – 2,500 ปีมาแล้ว มีการทำสำริดที่มีดีบุกผสมใบปริมาณสูง ทำให้โลหะแข็งแต่เปราะ
-       2,500 – 2,300 ปีมาแล้ว มีการใช้เหล็กทำอาวุธ
แบบแผนที่พักอาศัย สร้างบ้านเรือนแบบถาวรอยู่กันเป็นหมู่บ้าน มีชุมชนมากขึ้น กระจายตั้งอยู่ในตามพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน ชุมชนที่ใหญ่กว่าจะเป็นศูนย์กลาง ระบบทางสังคมค่อนข้างทับซ้อนกันมากขึ้น ชุมชนในแต่ละภูมิภาคมีความสัมพันธ์กันด้วยการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะในยุดนี้ได้มีการติดต่อค้าขายกับทางต่างชาติ ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบเช่น พบกลองมโหระทึกสำริด แบบวัฒนธรรมดองซอนของเวียดนามและวัฒนธรรมในมณฑล กวางสีของจีน  พบลูกปัดหินประเภทหินคาเนเลียน หินโมกุล หินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง  ซึ่งมีแหล่งผลิตในอินเดีย
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว จ. ลพบุรี โดยเฉพาะชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยสุดท้ายราว 2,500 – 2,300 ปี พบโครงกระดูกจำนวนมาก ซึ่งมีสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องมือเหล็ก กำไล แหวนสำริด ลูกปัดกึ่งอัญมณี เช่นหินโมลา หินโมกุล ลูกปัดแก้วฝังรวมอยู่ด้วย
3. อินเดียช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมทวารวดีใช่หรือไม่
ใช่ - การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชาวอินเดียและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมาตั่งแต่วัฒนธรรมหินใหม่หรือช่วงสังคมเกษตร หลักฐานทางโบราณคดีคือ พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานหินแบบมีบ่าอายุในช่วง 4,000 – 2,000 ปี แพร่กระจายไปดินแดนที่ชนเผ่าที่พูดกลุ่มภาษาญวน มอญ เขมร อินโดนีเชีย จามอีกทั้งยังพบลูกปัดหิน ประเภทหินคาเนเลียน หินโอนิกซ์ หินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ซึ่งมีแหล่งผลิตในอินเดีย ที่พบเช่นโบราณคดีคลองท่อม จ.กระบี่ และ เกาะคอเขา จ.พังงา
               แต่เดิม อินเดียซื้อทองคำในโรมันเป็นจำนวนมากจนทำให้เศรษฐกิจโรมันกระทบกระเทือนไม่อาจขายทองให้อินเดียได้อีก  อินเดียจึงเดินทางมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาแหล่งที่ซื้อทองคำใหม่ และเรียกดินแดนแถบนี้ว่า สุวรรณภูมิ
              ชาวอินเดียที่เป็นพ่อค้าและนักบวช ที่เข้ามาตั่งถิ่นฐานตามแหล่งศูนย์กลางทางการค้า ได้นำเอาความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองเข้ามาด้วย ที่สำคัญคือวัฒนธรรมของชาวพุทธที่มี่ส่วนช่วยสร้างวัฒนธรรมทวารวดี
              “ทวารวดีเป็นภาษาสันสกฤตหมายถึง เมืองท่าค้าขายที่มีทางเข้าออกหลายทาง”  อยู่ใน ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยบริเวณ ล้ำน้ำแควน้อย แควใหญ่ ท่าจีน แม่กลอง ด้านตะวันออกของลุ่มแม่น้ำบางปะกง ภาคอิสาน และภาคใต้บางพื้นที่
              เนื่องจากมีแม่น้ำหลายสาย ทางออกทางทะเล และช่องเขาขาดสู่อิสาน ซึ่งใช้เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายระหว่างจีนและอินเดีย เกิดการกระจายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างชุมชนได้อย่างรวดเร็ว  ทวารวดีจึงเจริญขึ้นเพราะสาเหตุดังกล่าว
หลังฐานการที่เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดี 
              หลักฐานลายลักษณ์อักษร เช่น
              - หลักฐานจดหมายเหตุจีนของหลวงจีนจี้อิง และ เหี้ยนจัง ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ได้กล่าวถึง อาณาจักร โถ-โล-โป-ตี”  ตั่งอยู่ระหว่างทิศตะวันออกของอาณาจักรศรีเกษตร(พม่า) และทิศตะวันตกของอาณาจักรอิศานปุระ(เจนละ) เป็นที่มาของชื่อ ทวารวดี
              - จารึกบนเหรียญกษาปณ์ 2 เหรียญ อักษรปัลลวะภาษาสันสฤต ศาสตราจารย์ ยอร์ส เซเดส์ อ่านได้ว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ...แปลว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี
ร่องรอยอารยธรรมอินเดียที่ช่วงสร้างอารยธรรมทวารวดี 
              - การนับถือศาสนาพุทธ จาก คำภีร์มหาวงศ์ในลังกา กล่าวถึงการสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในช่วงพ.ศ.ว.ที่  3  พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตมาเผยแพรพระพุทธศาสนาในดินแดน สุวรรณภูมิสันนิฐานว่าศูนย์กลางของศาสนาพุทธในสมัยทวารวดีคือ จ.นครปฐม ศาสนาพุทธเป็นนิกายถรวาท หลักฐานเช่นจารึกภาษาบาลีคาถา  “เย ธมมาที่พบบน ธรรมจักร เจดีย์ ฯลฯ
               - สถูปเจดีย์ มักใช้อิฐในการก่อสร้างก่อสร้าง ฐานมักเป็นสี่เหลี่ยม เช่น เจดีย์จุลปะโทน จ. นครปฐม, เขาคลังนอก,เขาคลังใน จ.เพชรบูรณ์
               - พระพุทธรูป ลั มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะเช่น เม็ดพระศกใหญ่ พระขโนงต่อกันคล้ายปีกา พระเนตรโปน พระโอฐแบะ ห่มจีวรบางคล้ายเปียกน้ำ เช่น พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรม ในถ้ำเขางู จ.ราชบุรี
              - ธรรมจักรและกวางหมอบ ลวดลายแบบคุปตะ-หลังคุปตะ พบมากที่ จ.นครปฐม
              - การนับถือศาสนาพราหมณ์ เช่น เทวรูปรุ่นเก่า มักทำรูปพระนารายณ์ เช่นพบที่เมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี, พระสุริยเทพ เมืองศรีเทพ จ.เพชรบุรี เป็นต้น
               - เครื่องมือเครื่องใช้ เช่นการใช้ตราประทับ เป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ ศาสนา การค้า เช่น เมืองโบราณจันเสน จ. นครสวรรค์
              - การจัดตั่งรัฐแบบอินเดีย  คติการสร้างเมือง เช่นระบบคูน้ำคันดิน เช่นแหล่งโบราณคดีซับจำปา จ.ลพบุรี
              - ภาษา เช่นภาษาสันสกฤตที่ใช้ในราชการ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกที่ใช้ในพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท
              - ตัวอักษร เช่นตัวปัลลวะ ที่เป็นต้นแบบของ ตัวมอญโบราณ ตัวขอมโบราณ เป็นต้น
              - กีฬาบางประเภท เช่นการเล่นสกา พบอุปกรณ์การเล่นที่ เมืองโบราณคดีจันเสน จ. นครสวรรค์
แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
              -  ภาคตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น  แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี
              - ภาคตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองโบราณจันเสน จ.นครสวรรค์
               - ภาคเหนือ เช่น เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน
               - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์  
-                   ภาคใต้ แหล่งโบราณคดีใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี


No comments:

Post a Comment