Sunday, December 1, 2019

การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกาย


การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกาย
1. การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
       มีการเปลี่ยนแปลงจากวัยรุ่นไม่มากนัก และมีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุ  20-30 ปี ร่างกายสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดดังเช่น
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด หลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว จะทำหน้าที่ลดลงเรื่อยๆ ประมาณ 0.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
ระบบหายใจจะทำงานลดลง ประสิทธิภาพของปอดลดลง 8 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ 10 ปี
ระบบย่อยอาหารก็ทำงานลดลงเช่นกัน การหลั่งน้ำย่อยและความต้องการพลังงานลดลง หากยังรับประทานอาหารเช่นเดิมจะมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเกิดภาวะอ้วนเกิน (obesity)
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เมื่ออายุประมาณ 21 ปี กระดูกจะหยุดเจริญเติบโต จะไม่มีการพัฒนาด้านความสูงอีกต่อไป ส่วนกล้ามเนื้อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเพศชายจะมีกล้ามเนื้อโตและแข็งแรงกว่าเพศหญิง
ระบบผิวหนังมีความยืดหยุ่นน้อยลง เริ่มมีรอยย่น ปรากฎเมื่ออายุได้ 30 ปี โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า คอ และมือ ผมจะเริ่มร่วงและเจริญเติบโตช้า เริ่มมีผมหงอก
ระบบประสาท เซลล์สมองจะมีวุฒิภาวะและมีน้ำหนักสูงสุดเมื่ออายุ 25 ปี หลังจากนั้นจะลดลง สมองมีน้ำหนักประมาณ 13.80 กรัม ดังนั้นในช่วงอายุ 20-30 ปี จึงเป็นวัยที่มีความสามารถในการจำ การระลึกได้ถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดเช่นเดียวกับระบบอื่นๆของร่างกาย ในเพศหญิงจะมีไข่สุกเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 18-24 ปี เพศชายจะมีการผลิตสเปิร์มที่สมบูรณ์ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ระหว่างอายุ 20-39 ปี ไตจะมีขนาดโตที่สุดเมื่ออายุได้ 30 ปีโดยมีน้ำหนัก 270 กรัม และจะเริ่มลดขนาดลงช้าๆ
2. การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายในวัยผู้ใหญ่กลางคน
การพัฒนาด้านร่างกายรูปร่างจะอ้วน น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น มีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง สะโพกเนื่องจากวัยนี้กิจกรรมที่ใช้พลังงานลดลง
สีผมจะเริ่มหงอกขาวเห็นชัดเจนเมื่ออายุ 50 ปีทั้งเพศชายและหญิง เนื่องจากสารเมลานิน (melanin) ที่สร้างจากรากผมมีจำนวนลดลง
ฟันจะหักและร่วงหลุด กระดูกเริ่มเปราะบางและหักง่ายเนื่องจากการสร้างกระดูกเกิดขึ้นน้อย
ผิวหนังบริเวณใบหน้าลำคอ แขนและมือเริ่มหยาบ และปรากฎรอยย่นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผิวหนังแห้งเพราะต่อมรูขุมขนทำงานน้อยลง ผิวหนังบริเวณรอบตาจะปรากฎเป็นถุงและเป็นรอยคล้ำ กล้ามเนื้อบริเวณใต้คอ ใต้แขนและช่องท้องจะนุ่มไม่แข็งแรง
อวัยวะที่ทำหน้า ที่รับรู้และสัมผัส จะมีความเสื่อมเกิดขึ้น เช่น ตา เปลือกตาจะเหี่ยวย่น ดวงตาไม่สดใสเริ่มฝ้าฟาง เพราะเยื่อบุลูกตาและท่อน้ำตาเหี่ยว ทำให้ขาดน้ำเลี้ยงลูกตากล้ามเนื้อควบคุมรูปของดวงตาจะขาดความกระชับลงเป็นลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงที่แก้วตา แก้วตาไม่สามารถจะยืดหดตัวได้เหมือนก่อนๆ จึงไม่สามารถมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสายตายาว หลังอายุ 40 ปี จะมองไม่ชัดในที่มืดเนื่องจากมีการลดขนาดของรูม่านตา จะมีปัญหาในการอ่านหนังสือและการขับรถในตอนกลางคืน อวัยวะเกี่ยวกับการได้ยิน คือ หู จะมีความเสื่อมของเซลล์ทำให้การทำงานของหูผิดปกติ การได้ยินเสียงแหลมจะเสียก่อน การได้กลิ่นจะเสื่อมลง
ปัญหาที่พบในวัยผู้ใหญ่
1. ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย
- วัยหมดประจำเดือนหรือสตรีวัยทอง ( Menopause )
ปัญหาการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
·         การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
·         การขาดการออกกำลังกาย
·         การพักผ่อนไม่เพียงพอ
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
·         โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ เช่น ความร้อน ความเย็น แสง เสียง การสั่นสะเทือน
·         โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ โรคปอดชานอ้อย
·         โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมี เช่น พิษจากตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ฝุ่นแร่ใยหิน ฝุ่นซิลิกา  เบนซีน


No comments:

Post a Comment