Wednesday, July 6, 2011

ยอมรับกัน


1. การยอมรับกัน เราควรยอมรับกันและกัน รวมทั้งนิสัยใจคอ และรสนิยมของเขา
2. ปรับตัวเข้าหากัน  ก่อให้เกิดการประสานกลมเกลียว (Accord) และการกลมกลืนระหว่างกันขึ้น
3. รู้จักขออภัยจากกัน ยอมรับซึ่งกันเท่าที่ยอมรับกันได้ และพยายามปรับตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ยังมีเรื่องที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำสิ่งที่ก่อเกิดความเสียใจขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งสองก็ควรจะรู้จักให้อภัยอีกคนหนึ่งโดยเร็วที่สุด ควบคู่ไปกับการรู้จักไวในการขออภัยและยอมรับการอภัยเช่นกัน
4. รู้จักละเลิกหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เสียใจ ยอมรับซึ่งกันและกัน พยายามปรับตัวเข้าหากันและรู้จักขอโทษขออภัยในยามผิดพลาดและเรียนรู้จักหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งผิดพลาดนั้นซ้ำซากหรือตั้งใจละเลิกสิ่งที่อาจก่อเกิดความเสียใจในจิตกัน ความสัมพันธ์ระหว่างกันก็จะพัฒนาขึ้นในทางดีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การเป็นครอบครัวที่ปลอดทุกข์ในที่สุด!
5. การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยอมรับในกันและกัน และปรับตัวเข้าหากันและรู้จักขอโทษกัน รวมทั้งหลีกเลี่ยงไม่ก่อเกิดความเจ็บปวดใด ๆ ซ้ำขึ้นมาอีก ตามด้วยการแสดงน้ำจิตน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันอย่างเต็มใจ ทั้งในยามร้องขอและแม้แต่ในยามที่ยังไม่ทันร้องขอ  ก็จะช่วยทำให้ครอบครัวนี้กลายเป็นครอบครัวที่ก่อสุข และเสริมสร้างบรรยากาศให้น่าอภิรมย์น่าอยู่ขึ้นมาในทันที!
6.  การแสดงความชื่นชมต่อกัน ยอมรับ ปรับตัว รู้จักขอโทษ หลีกเลี่ยงการทำผิดซ้ำสอง และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตามด้วยการหมั่นแสดงความซาบซึ้งหรือความชื่นชมต่อกันอยู่เป็นระยะ ๆ อย่างจริงใจ จะก่อเกิดเป็นบรรยากาศที่อบอุ่นน่ารื่นรมย์เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
7. การจัดเตรียมเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ยอมรับ ปรับตัว  ไวในการขออภัย ไม่ทำสิ่งที่สร้างความเสียใจ แต่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และแสดงออกถึงความชื่นชมต่อกันอย่างต่อเนื่อง และรับผิดชอบดูแลทะนุถนอมในการเลี้ยงดูกันอย่างเอาใจใส่และเป็นรูปธรรม โดยยินดีจ่ายราคาแห่งความรักห่วงใยนี้อย่างเต็มที่เท่าที่จะสามารถจัดหาปัจจัยมาให้แก่กันด้วยใจกว้างขวาง
8.  หากเรายอมรับ ปรับตัว ไม่รีรอที่จะขออภัยและไม่สร้างปัญหาใดเพิ่ม แต่มีความเอื้ออารี และแสดงความชื่นชมชื่นชอบ โดยไม่ตระหนี่ปัจจัยที่จำเป้นต่อกัน
9. ให้รางวัลชีวิตแก่กันและกันยอมรับพร้อมปรับนิสัยใจคอ ไม่รีรอยอมรับผิด ขออภัย ไม่ก่อเหตุใดให้เจ็บปวด แต่สนับสนุนเสริมส่ง หมั่นกล่าวคำไพเราะเสนาะหู และรู้จักใช้ทรัพย์สินในทางสร้างสุข อีกทั้งยังรู้จักทำตัวให้มีเสน่ห์ ก่อเกิดความเสน่หาไม่รู้สิ้นสุด
ปิดท้ายด้วยการรู้จักให้รางวัลแก่อีกฝ่ายหนึ่งในยามที่เขาหรือเธอกำลังกระทำดีหรือปรับปรุงพัฒนาตัวเอง เพื่อความสัมพันธ์ในครอบครัว ไม่ว่าจะออกมาในรูปของคำชมเชย สิ่งของ ทรัพย์สินหรือการปฏิบัติล้วนเป็นสิ่งพิเศษดังที่ใจของอีกฝ่ายปรารถนา


No comments:

Post a Comment