Friday, June 18, 2010

ไวในการฟังช้าในการพูด


ไวในการฟังช้าในการพูด
ริมฝีปากของคนชอบธรรมเลี้ยงคนเป็นอันมาก - สุภาษิต 10:21
                เรามักไม่เป็นผู้ฟังที่ดี หลายครั้งเราได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง คือได้ยินคำพูด แต่ใจไม่ได้ฟัง ใจยังไม่สงบ  ยังเต็มด้วยเสียงของตัวเอง   จึงไม่ได้ตั้งใจฟังจริงๆ  เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะนิ่งและเงียบ
มี วาระนิ่งเงียบ และวาระพูด” (ปัญญาจารย์ 3:7) ความเงียบที่ดีคือความเงียบที่ถ่อมและรับฟัง ซึ่งนำไปสู่การได้ยิน เข้าใจ และพูดอย่างถูกต้อง
 สุภาษิต 20:5 กล่าวว่า ความประสงค์ในใจของคนเหมือนน้ำลึก แต่คนที่มีความเข้าใจจะสามารถโพงมันออกมาได้
                การฟังให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งต้องใช้ความตั้งใจมาก ขณะที่เราฟังผู้อื่น เราก็ต้องฟังพระเจ้าและสิ่งที่พระองค์ตรัสด้วย ครั้งที่พระเยซูทรงใช้นิ้วเขียนที่ดินเมื่อฟาริสีต่อว่าหญิงที่ถูกจับได้ว่าล่วงประเวณี (ดู ยอห์น 8:1-11) พระองค์ทรงทำอะไร พระองค์อาจจะทรงฟังเสียงพระบิดาและถามว่า เราควรจะพูดอะไรกับฝูงชนและหญิงคนนี้
                ให้เราสงบจิตใจเพื่อฟังเสียงของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิตเราก่อน เพื่อจะได้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น เพราะพระองค์ทรงต้องการสอนเราในการพูด อย่าด่วนที่จะพูด  พึงจำไว้ว่า “ความเงียบที่ถูกจังหวะดีกว่าวาจาคมคาย”
ไวในการพูดตามแบบพระคริสต์ช้าในการพูดด้วยอารมณ์
พระคัมภีร์กล่าวว่า มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ ของเขาเหมือนดาบแทงและ คำกักขฬะเร้าโทสะแต่ คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป” (สุภาษิต 12:18; 15:1) และบางครั้งการไม่ตอบโต้อะไรเลยก็เป็นหนทางที่ดีที่สุด ในการจัดการกับคำพูดหรือความเห็นที่รุนแรง
ก่อนพระเยซูถูกตรึง ผู้นำศาสนาพยายามยั่วยุพระองค์ด้วยคำพูดดังที่ใน มัทธิว 27:41-43 กล่าวว่า แต่ เมื่อเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์ พระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวตอบเขาด้วยคำหยาบคายเลยแต่ทรงมอบเรื่องของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาอย่างยุติธรรม” (1 เปโตร 2:23)
พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างในการโต้ตอบคนที่ทำผิดกับเรา ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง การวางใจพระเจ้าทำให้เราไม่ต้องใช้คำพูดเป็นอาวุธทำร้ายผู้ที่ทำผิดต่อเรา
ขอให้เราทูลต่อพระองค์ในยามที่เราเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีว่า “พระเจ้าที่รัก โปรดประทานการรู้จักบังคับตนผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ ในยามที่ข้าพระองค์ถูกทดลองให้พูดถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม  คำตอบอ่อนหวานคือวิธีละลายใจที่แข็งกระด้าง”
กษัตริย์ซาโลมอน ผู้เขียนพระธรรมสุภาษิตเกือบทั้งหมดได้เขียนเกี่ยวกับอำนาจของคำพูดบ่อยครั้ง ท่านกล่าวว่า ความตายความเป็นอยู่ที่อำนาจของลิ้น”(สุภาษิต 18:21) คำพูดทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายก็ได้ (สุภาษิต 18:20) เราจะมีคำพูดที่ก่อให้เกิดผลดีได้อย่างไร มีทางเดียวคือ เราต้องหมั่นรักษาจิตใจ จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ” (สุภาษิต 4:23)
พระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงจิตใจของเรา เพื่อให้เรามีคำพูดที่ดีที่สุด คือ ซื่อสัตย์ สงบ เหมาะสมและถูกกาลเทศะ
ขอให้เราอธิษฐานดังนี้ “ข้าแต่พระเจ้า พระศิลาและพระผู้ไถ่ของข้าพระองค์ ขอให้ถ้อยคำจากปากของข้าพระองค์ และการรำพึงภาวนาในจิตใจ เป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์เถิด สดุดี 19:14
                ในเว็บไซต์มักจะมีช่อง แสดงความเห็นที่ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ หลายคนมักจะระบายอารมณ์ด้วยถ้อยคำหยาบคายถากถางโดยไม่มีมูลความจริงหรือมีมูลเหตุ
พระเจ้าทรงให้เรามีอิสระมาก เราเลือกได้ว่าจะพูดอะไร เมื่อไร อย่างไร ข้อความที่เราพูด เขียน หรือโพสต์นั้นสำแดงความรักของพระเจ้าไหม เป็นประโยชน์กับใครบ้าง และสะท้อนพระลักษณะของพระคริสต์หรือไม่ จงให้ความรักเป็นเป้าหมายสูงสุดของคุณในการพูดบนโลกโซเชียล
ไวที่จะพูดเพื่อก่อ ในท่ามกลางความขัดแย้ง
สวนหลายไร่ลุกเป็นไฟเมื่อลมพัดเอาเถ้าถ่านที่ยังติดไฟอยู่หรือก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งข้างทาง ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ประกายไฟเพียงนิดก็ทำให้เกิดอัคคีภัยร้ายแรงได้
ยากอบก็พูดถึงลิ้น ว่ามันเป็น โลกที่ไร้ธรรม ในบรรดาอวัยวะของเรา เป็นเหตุให้ทั้งกายมลทินไป ทำให้วัฏฏะแห่งชีวิตเผาไหม้และมันเองก็ติดไฟโดยนรก” (ยากอบ 3:6)
                คำพูดสามารถทำให้ความสัมพันธ์ทั้งหลายขาดสะบั้นลงหรือสร้างและรักษาความสัมพันธ์ต่อกันยิ่งดีขึ้น สุภาษิต 12:18 กล่าวว่า มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ ของเขาเหมือนดาบแทง แต่ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้เช่นเดียวกับไฟที่มีทั้งด้านเผาทำลายและด้านที่เป็นประโยชน์ ความตายความเป็นก็อยู่ที่อำนาจของลิ้น” (สุภาษิต 18:21)
ให้เรามีลิ้นที่ ประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” (โคโลสี 4:6) เมื่อแสดงความคิดเห็นท่ามกลางความขัดแย้ง ให้พระเจ้าใช้ลิ้นของเราถวายเกียรติแด่พระองค์
ให้เราอธิษฐานว่า “ลูกจะใช้ถ้อยคำที่เป็นพร และหนุนใจผู้อื่นเสริมสร้างผู้คนมากกว่าทำลาย เพราะพระองค์ทรงพอพระทัยเช่นนั้น
ไวที่จะใช้ลิ้นของปราชญ์
อ่าน: สุภาษิต 10:18-21; 12:17-19
ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้ - สุภาษิต 12:18
ผู้เขียนสุภาษิต 12:18 กล่าวถึงวิธีการใช้ลิ้นอย่างปราชญ์คือ ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้พระเจ้าทรงประทานลิ้นให้กับเราเพื่อนำการรักษาไปสู่ทุกคนที่เราคุยด้วย
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า “ลูกจะใช้ลิ้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์คือเยียวยารักษาจิตใจทุกคนที่ลูกคุยด้วย”
ขอทรงเฝ้าระวังถ้อยคำที่เรากล่าว ให้สะท้อนถึงพระองค์และความรักของพระองค์ ช่วยให้ลิ้นของเราเอ่ยคำเยียวยา และไม่ทำร้าย  “จงให้กำลังใจกันและเสริมสร้างซึ่งกันและกันขึ้น” 1 เธสะโลนิกา 5:11
หลักการเหตุผล
แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้ - ยากอบ 3:8
มนุษย์เรียนรู้วิธีการทำให้สัตว์ป่าเชื่องได้ ไม่ว่าจะเป็นหมูจิ๋วเวียดนามหรือหมาป่าไซบีเรีย หลายคนสนุกกับการสอนลิงให้ แสดงอัครทูตยากอบเขียนไว้ว่า เพราะสัตว์เดียรัจฉานทุกชนิด ทั้งนก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในทะเลก็เลี้ยงให้เชื่องได้ และมนุษย์ก็ได้เลี้ยงให้เชื่องแล้ว” (ยก.3:7)
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจทำให้เชื่องได้ เรามีปัญหากับการควบคุมอวัยวะเล็กๆ คือลิ้น ยากอบกล่าวว่า แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้” (ยก.3:8)
ทำไม เพราะถึงแม้คำพูดจะออกมาจากลิ้น แต่กลับเริ่มต้นมาจากภายในใจของเรา ด้วยว่าปากนั้น พูดจากสิ่งที่มาจากใจ” (มธ.12:34)
ถ้าเราไม่สามารถทำให้ลิ้นเชื่องได้ ลิ้นจะกลายเป็นปัญหาประจำวันของเรา (ยก.3:10) ด้วยพระคุณของพระเจ้าพระองค์ ตั้งยามเฝ้าปากของเรา พระองค์จะทรง รักษาประตูริมฝีปากของข้าพระองค์” (สดด.141:3)
ให้เราขอบพระคุณพระเจ้าว่า “ขอบพระคุณพระองค์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงช่วยให้ลิ้นที่ไม่เชื่องของข้าพระองค์ สามารถอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ได้”
สงครามคำพูด
บ้านหรือโบสถ์ของเราก็อาจแตกหักได้ด้วยถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังเพียงไม่กี่คำ ยากอบเขียนไว้ว่า จงดูเถิด ไฟนิดเดียวอาจเผาป่าใหญ่ให้ไหม้ได้หนอ” (ยากอบ 3:5) วิธีการหลีกเลี่ยงการพูดโต้เถียงกันมีอยู่ในพระธรรมสุภาษิต คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ” (สุภาษิต 15:1)
คำพูดเล็กๆ อาจก่อให้เกิดสงครามใหญ่ได้ แต่โดยพระคุณพระเจ้า เมื่อเราเลือกที่จะไม่ตอบโต้ด้วยคำพูด เราก็ถวายเกียรติแด่พระเยซูองค์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา เมื่อพระองค์ทรงถูกทำร้ายและถูกดูหมิ่น พระองค์ทรงทำให้สำเร็จตามคำพยากรณ์ของอิสยาห์ที่ว่า ท่านถูกบีบบังคับและท่านถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก” (อิสยาห์ 53:7)
สุภาษิตเรียกร้องให้เราพูดความจริงและแสวงหาสันติผ่านถ้อยคำของเรา ลิ้นที่สุภาพเป็นต้นไม้แห่งชีวิตคำเดียวที่ถูกกาละก็ดีจริงๆ” (สุภาษิต 15:4,23)
คำพูดพลั้งมีพลังผลาญทำลาย  พูดร้ายๆ กลับกลายไปกันใหญ่
เลือกกาละแล้วจึงพูดออกไป  พูดจากใจเป็นคำนำพระพร - Anon.
ถ้อยคำที่ถูกกาล
ถ้อยคำที่พูดเหมาะๆ จะเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงิน - สุภาษิต 25:11
คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวว่า ถูกที่ถูกเวลาพระคัมภีร์บอกเราว่า ถ้อยคำและการพูดของเราต้องถูกเวลาด้วย ลองนึกถึงครั้งที่พระเจ้าทรงเคยใช้คุณให้กล่าวถ้อยคำที่เหมาะแก่เวลาเพื่อหนุนใจใครสักคน หรือเมื่อคุณเคยอยากจะพูด แต่นึกขึ้นได้ว่าเงียบไว้ก็ดีกว่า
พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า มีวาระที่เหมาะสมในการพูด (ปัญญาจารย์ 3:7) ซาโลมอนเปรียบเทียบคำพูดที่ควรแก่กาลเทศะว่าเป็นเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงินงดงาม ทรงคุณค่า และประดิษฐ์อย่างพิถีพิถัน (สุภาษิต 25:11-12) การรู้ว่าควรจะพูดในเวลาใดเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้พูดและผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำแสดงความรัก หนุนน้ำใจ หรือตักเตือนว่ากล่าว เราควรเงียบในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมเช่นกัน เมื่อเราถูกทดลองให้เย้ยหยันดูแคลน หรือใส่ร้ายเพื่อนบ้าน ซาโลมอนกล่าวว่า การยับยั้งลิ้นไว้และรู้จักเงียบในเวลาที่ควรเงียบคือคนฉลาด (สุภาษิต 11:12-13) เมื่อการพูดมากหรือความโกรธ ล่อลวงให้เราทำบาปต่อพระเจ้าหรือเพื่อนมนุษย์ เราต่อต้านได้ด้วยการช้าในการพูด (สุภาษิต 10:19; ยากอบ 1:19)
การรู้ว่าจะพูดอะไร และควรพูดเมื่อไรเป็นเรื่องยาก พระวิญญาณจะทรงช่วยให้เรามองออก พระองค์จะทรงช่วยให้เราใช้ถ้อยคำที่เหมาะเจาะในเวลาที่เหมาะสม และด้วยท่าทีที่ถูกต้อง เพื่อเห็นแก่ผู้อื่น และเพื่อพระเกียรติของพระองค์
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า “พระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ ขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงใช้ให้ผู้อื่นพูดคำหนุนใจและคำท้าทายข้าพระองค์ ขอทรงช่วยให้ข้าพระองค์มีสติปัญญาที่จะรู้ว่าเมื่อใดควรพูดหรือควรเงียบ”
นกฮูกเฒ่าเจ้าปัญญา
สติปัญญากับการจำกัดคำพูดมีความเกี่ยวโยงกัน สุภาษิต 10:19 บอกว่า การพูดมากก็จะสะสมการทรยศ แต่เขาผู้ยับยั้งริมฝีปากของตนเป็นผู้หยั่งรู้
คนฉลาดจะระมัดระวังคำพูดหรือการพูดมากน้อยในแต่ละสถานการณ์ เราควรระวังคำพูดเมื่อเราโกรธ ยากอบขอร้องเพื่อนผู้เชื่อว่า จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ” (ยก.1:19) การยับยั้งคำพูดยังแสดงให้เห็นว่าเรายำเกรงพระเจ้าอีกด้วย กษัตริย์ซาโลมอน กล่าวว่า พระเจ้าทรงสถิตในสวรรค์ และอยู่บนแผ่นดินโลก เหตุฉะนั้นเจ้าจงพูดน้อยคำ” (ปญจ.5:2)  
ปากของเรา ปากกาของเรา ควรจะอยู่ในภาวะต้องสึกสำนึกในพระคุณที่พระเจ้าประทานความยับยั้งชั่งใจแก่เรา
เมื่อเราต้องการทำให้ผู้อื่นประหลาดใจกับการเปลี่ยนแปลงที่พระคริสต์ทรงกระทำ ให้เราถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยสิ่งที่เราพูด หรือไม่พูด – RK
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า “พระเจ้าเจ้าข้า ลูกจะไม่ใช้คำพูดทำลายผู้อื่นแล้วสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง แต่จะเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นก่อนเพื่อจะรับใช้พระองค์และเพื่อแผ่นดินของพระองค์”
พระคำที่ช่วยเหลือและเยียวยา
ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ - มัทธิว 6:9
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1863 ชายผู้มีชื่อเสียงสองคนได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบถวายสุสานทหารแห่งชาติในเมืองเก็ตตี้สเบิร์กรัฐเพนซิลเวเนีย ผู้กล่าวสุนทรพจน์คนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เอเวอเร็ต อดีตผู้ว่าฯ สมาชิกรัฐสภาและอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เอเวอเร็ตได้กล่าวคำสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการยาวสองชั่วโมง ตามด้วยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่กล่าวสุนทรพจน์ เพียง 2 นาที  [1]
ทุกวันนี้ คำปราศรัยแห่งเก็ตตี้สเบิร์กของลินคอล์นยังเป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลาย แต่สุนทรพจน์ของเอเวอเร็ตเกือบจะถูกลืมไปแล้วที่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่เพราะความสามารถทางวาทศิลป์ของลินคอล์นเท่านั้น แต่ในวันนั้น คำพูดของท่านได้เข้าถึงจิตใจของคนทั้งประเทศที่ปวดร้าวเพราะสงครามกลางเมือง และทำให้เกิดความหวังในวันข้างหน้า
คำพูดมีความหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องยืดยาว คำอธิษฐานของพระเยซูคริสต์เป็นคำสอนหนึ่งที่สั้นและน่าจดจำมากที่สุด เป็นการช่วยเหลือและเยียวยา และเตือนให้เราไม่ลืมว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ของเรา ทรงมีฤทธิ์อำนาจทั้งในโลกและในสวรรค์ (มัทธิว 6:9-10) พระองค์ประทานอาหาร การอภัยโทษ และความอดทนให้เราทุกวัน (มัทธิว 6:11-13)



[1] https://thaiodb.org/2014/01/07/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2/
ไวในการฟังช้าในการพูด
ริมฝีปากของคนชอบธรรมเลี้ยงคนเป็นอันมาก - สุภาษิต 10:21
                เรามักไม่เป็นผู้ฟังที่ดี หลายครั้งเราได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง คือได้ยินคำพูด แต่ใจไม่ได้ฟัง ใจยังไม่สงบ  ยังเต็มด้วยเสียงของตัวเอง   จึงไม่ได้ตั้งใจฟังจริงๆ  เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะนิ่งและเงียบ
มี วาระนิ่งเงียบ และวาระพูด” (ปัญญาจารย์ 3:7) ความเงียบที่ดีคือความเงียบที่ถ่อมและรับฟัง ซึ่งนำไปสู่การได้ยิน เข้าใจ และพูดอย่างถูกต้อง
 สุภาษิต 20:5 กล่าวว่า ความประสงค์ในใจของคนเหมือนน้ำลึก แต่คนที่มีความเข้าใจจะสามารถโพงมันออกมาได้
                การฟังให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งต้องใช้ความตั้งใจมาก ขณะที่เราฟังผู้อื่น เราก็ต้องฟังพระเจ้าและสิ่งที่พระองค์ตรัสด้วย ครั้งที่พระเยซูทรงใช้นิ้วเขียนที่ดินเมื่อฟาริสีต่อว่าหญิงที่ถูกจับได้ว่าล่วงประเวณี (ดู ยอห์น 8:1-11) พระองค์ทรงทำอะไร พระองค์อาจจะทรงฟังเสียงพระบิดาและถามว่า เราควรจะพูดอะไรกับฝูงชนและหญิงคนนี้
                ให้เราสงบจิตใจเพื่อฟังเสียงของพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิตเราก่อน เพื่อจะได้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น เพราะพระองค์ทรงต้องการสอนเราในการพูด อย่าด่วนที่จะพูด  พึงจำไว้ว่า “ความเงียบที่ถูกจังหวะดีกว่าวาจาคมคาย”
ไวในการพูดตามแบบพระคริสต์ช้าในการพูดด้วยอารมณ์
พระคัมภีร์กล่าวว่า มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ ของเขาเหมือนดาบแทงและ คำกักขฬะเร้าโทสะแต่ คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป” (สุภาษิต 12:18; 15:1) และบางครั้งการไม่ตอบโต้อะไรเลยก็เป็นหนทางที่ดีที่สุด ในการจัดการกับคำพูดหรือความเห็นที่รุนแรง
ก่อนพระเยซูถูกตรึง ผู้นำศาสนาพยายามยั่วยุพระองค์ด้วยคำพูดดังที่ใน มัทธิว 27:41-43 กล่าวว่า แต่ เมื่อเขากล่าวคำหยาบคายต่อพระองค์ พระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวตอบเขาด้วยคำหยาบคายเลยแต่ทรงมอบเรื่องของพระองค์ไว้แก่พระเจ้าผู้ทรงพิพากษาอย่างยุติธรรม” (1 เปโตร 2:23)
พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างในการโต้ตอบคนที่ทำผิดกับเรา ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง การวางใจพระเจ้าทำให้เราไม่ต้องใช้คำพูดเป็นอาวุธทำร้ายผู้ที่ทำผิดต่อเรา
ขอให้เราทูลต่อพระองค์ในยามที่เราเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีว่า “พระเจ้าที่รัก โปรดประทานการรู้จักบังคับตนผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ ในยามที่ข้าพระองค์ถูกทดลองให้พูดถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม  คำตอบอ่อนหวานคือวิธีละลายใจที่แข็งกระด้าง”
กษัตริย์ซาโลมอน ผู้เขียนพระธรรมสุภาษิตเกือบทั้งหมดได้เขียนเกี่ยวกับอำนาจของคำพูดบ่อยครั้ง ท่านกล่าวว่า ความตายความเป็นอยู่ที่อำนาจของลิ้น”(สุภาษิต 18:21) คำพูดทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายก็ได้ (สุภาษิต 18:20) เราจะมีคำพูดที่ก่อให้เกิดผลดีได้อย่างไร มีทางเดียวคือ เราต้องหมั่นรักษาจิตใจ จงรักษาใจของเจ้าด้วยความระวังระไวรอบด้านเพราะชีวิตเริ่มต้นออกมาจากใจ” (สุภาษิต 4:23)
พระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงจิตใจของเรา เพื่อให้เรามีคำพูดที่ดีที่สุด คือ ซื่อสัตย์ สงบ เหมาะสมและถูกกาลเทศะ
ขอให้เราอธิษฐานดังนี้ “ข้าแต่พระเจ้า พระศิลาและพระผู้ไถ่ของข้าพระองค์ ขอให้ถ้อยคำจากปากของข้าพระองค์ และการรำพึงภาวนาในจิตใจ เป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระองค์เถิด สดุดี 19:14
                ในเว็บไซต์มักจะมีช่อง แสดงความเห็นที่ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ หลายคนมักจะระบายอารมณ์ด้วยถ้อยคำหยาบคายถากถางโดยไม่มีมูลความจริงหรือมีมูลเหตุ
พระเจ้าทรงให้เรามีอิสระมาก เราเลือกได้ว่าจะพูดอะไร เมื่อไร อย่างไร ข้อความที่เราพูด เขียน หรือโพสต์นั้นสำแดงความรักของพระเจ้าไหม เป็นประโยชน์กับใครบ้าง และสะท้อนพระลักษณะของพระคริสต์หรือไม่ จงให้ความรักเป็นเป้าหมายสูงสุดของคุณในการพูดบนโลกโซเชียล
ไวที่จะพูดเพื่อก่อ ในท่ามกลางความขัดแย้ง
สวนหลายไร่ลุกเป็นไฟเมื่อลมพัดเอาเถ้าถ่านที่ยังติดไฟอยู่หรือก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งข้างทาง ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ประกายไฟเพียงนิดก็ทำให้เกิดอัคคีภัยร้ายแรงได้
ยากอบก็พูดถึงลิ้น ว่ามันเป็น โลกที่ไร้ธรรม ในบรรดาอวัยวะของเรา เป็นเหตุให้ทั้งกายมลทินไป ทำให้วัฏฏะแห่งชีวิตเผาไหม้และมันเองก็ติดไฟโดยนรก” (ยากอบ 3:6)
                คำพูดสามารถทำให้ความสัมพันธ์ทั้งหลายขาดสะบั้นลงหรือสร้างและรักษาความสัมพันธ์ต่อกันยิ่งดีขึ้น สุภาษิต 12:18 กล่าวว่า มีบางคนที่คำพูดพล่อยๆ ของเขาเหมือนดาบแทง แต่ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้เช่นเดียวกับไฟที่มีทั้งด้านเผาทำลายและด้านที่เป็นประโยชน์ ความตายความเป็นก็อยู่ที่อำนาจของลิ้น” (สุภาษิต 18:21)
ให้เรามีลิ้นที่ ประกอบด้วยเมตตาคุณเสมอ” (โคโลสี 4:6) เมื่อแสดงความคิดเห็นท่ามกลางความขัดแย้ง ให้พระเจ้าใช้ลิ้นของเราถวายเกียรติแด่พระองค์
ให้เราอธิษฐานว่า “ลูกจะใช้ถ้อยคำที่เป็นพร และหนุนใจผู้อื่นเสริมสร้างผู้คนมากกว่าทำลาย เพราะพระองค์ทรงพอพระทัยเช่นนั้น
ไวที่จะใช้ลิ้นของปราชญ์
อ่าน: สุภาษิต 10:18-21; 12:17-19
ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้ - สุภาษิต 12:18
ผู้เขียนสุภาษิต 12:18 กล่าวถึงวิธีการใช้ลิ้นอย่างปราชญ์คือ ลิ้นของปราชญ์นำการรักษามาให้พระเจ้าทรงประทานลิ้นให้กับเราเพื่อนำการรักษาไปสู่ทุกคนที่เราคุยด้วย
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า “ลูกจะใช้ลิ้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์คือเยียวยารักษาจิตใจทุกคนที่ลูกคุยด้วย”
ขอทรงเฝ้าระวังถ้อยคำที่เรากล่าว ให้สะท้อนถึงพระองค์และความรักของพระองค์ ช่วยให้ลิ้นของเราเอ่ยคำเยียวยา และไม่ทำร้าย  “จงให้กำลังใจกันและเสริมสร้างซึ่งกันและกันขึ้น” 1 เธสะโลนิกา 5:11
หลักการเหตุผล
แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้ - ยากอบ 3:8
มนุษย์เรียนรู้วิธีการทำให้สัตว์ป่าเชื่องได้ ไม่ว่าจะเป็นหมูจิ๋วเวียดนามหรือหมาป่าไซบีเรีย หลายคนสนุกกับการสอนลิงให้ แสดงอัครทูตยากอบเขียนไว้ว่า เพราะสัตว์เดียรัจฉานทุกชนิด ทั้งนก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในทะเลก็เลี้ยงให้เชื่องได้ และมนุษย์ก็ได้เลี้ยงให้เชื่องแล้ว” (ยก.3:7)
แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจทำให้เชื่องได้ เรามีปัญหากับการควบคุมอวัยวะเล็กๆ คือลิ้น ยากอบกล่าวว่า แต่ลิ้นนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถทำให้เชื่องได้” (ยก.3:8)
ทำไม เพราะถึงแม้คำพูดจะออกมาจากลิ้น แต่กลับเริ่มต้นมาจากภายในใจของเรา ด้วยว่าปากนั้น พูดจากสิ่งที่มาจากใจ” (มธ.12:34)
ถ้าเราไม่สามารถทำให้ลิ้นเชื่องได้ ลิ้นจะกลายเป็นปัญหาประจำวันของเรา (ยก.3:10) ด้วยพระคุณของพระเจ้าพระองค์ ตั้งยามเฝ้าปากของเรา พระองค์จะทรง รักษาประตูริมฝีปากของข้าพระองค์” (สดด.141:3)
ให้เราขอบพระคุณพระเจ้าว่า “ขอบพระคุณพระองค์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงช่วยให้ลิ้นที่ไม่เชื่องของข้าพระองค์ สามารถอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ได้”
สงครามคำพูด
บ้านหรือโบสถ์ของเราก็อาจแตกหักได้ด้วยถ้อยคำที่แสดงความเกลียดชังเพียงไม่กี่คำ ยากอบเขียนไว้ว่า จงดูเถิด ไฟนิดเดียวอาจเผาป่าใหญ่ให้ไหม้ได้หนอ” (ยากอบ 3:5) วิธีการหลีกเลี่ยงการพูดโต้เถียงกันมีอยู่ในพระธรรมสุภาษิต คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ” (สุภาษิต 15:1)
คำพูดเล็กๆ อาจก่อให้เกิดสงครามใหญ่ได้ แต่โดยพระคุณพระเจ้า เมื่อเราเลือกที่จะไม่ตอบโต้ด้วยคำพูด เราก็ถวายเกียรติแด่พระเยซูองค์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา เมื่อพระองค์ทรงถูกทำร้ายและถูกดูหมิ่น พระองค์ทรงทำให้สำเร็จตามคำพยากรณ์ของอิสยาห์ที่ว่า ท่านถูกบีบบังคับและท่านถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก” (อิสยาห์ 53:7)
สุภาษิตเรียกร้องให้เราพูดความจริงและแสวงหาสันติผ่านถ้อยคำของเรา ลิ้นที่สุภาพเป็นต้นไม้แห่งชีวิตคำเดียวที่ถูกกาละก็ดีจริงๆ” (สุภาษิต 15:4,23)
คำพูดพลั้งมีพลังผลาญทำลาย  พูดร้ายๆ กลับกลายไปกันใหญ่
เลือกกาละแล้วจึงพูดออกไป  พูดจากใจเป็นคำนำพระพร - Anon.
ถ้อยคำที่ถูกกาล
ถ้อยคำที่พูดเหมาะๆ จะเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงิน - สุภาษิต 25:11
คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวว่า ถูกที่ถูกเวลาพระคัมภีร์บอกเราว่า ถ้อยคำและการพูดของเราต้องถูกเวลาด้วย ลองนึกถึงครั้งที่พระเจ้าทรงเคยใช้คุณให้กล่าวถ้อยคำที่เหมาะแก่เวลาเพื่อหนุนใจใครสักคน หรือเมื่อคุณเคยอยากจะพูด แต่นึกขึ้นได้ว่าเงียบไว้ก็ดีกว่า
พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า มีวาระที่เหมาะสมในการพูด (ปัญญาจารย์ 3:7) ซาโลมอนเปรียบเทียบคำพูดที่ควรแก่กาลเทศะว่าเป็นเหมือนลูกท้อทองคำล้อมเงินงดงาม ทรงคุณค่า และประดิษฐ์อย่างพิถีพิถัน (สุภาษิต 25:11-12) การรู้ว่าควรจะพูดในเวลาใดเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้พูดและผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำแสดงความรัก หนุนน้ำใจ หรือตักเตือนว่ากล่าว เราควรเงียบในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมเช่นกัน เมื่อเราถูกทดลองให้เย้ยหยันดูแคลน หรือใส่ร้ายเพื่อนบ้าน ซาโลมอนกล่าวว่า การยับยั้งลิ้นไว้และรู้จักเงียบในเวลาที่ควรเงียบคือคนฉลาด (สุภาษิต 11:12-13) เมื่อการพูดมากหรือความโกรธ ล่อลวงให้เราทำบาปต่อพระเจ้าหรือเพื่อนมนุษย์ เราต่อต้านได้ด้วยการช้าในการพูด (สุภาษิต 10:19; ยากอบ 1:19)
การรู้ว่าจะพูดอะไร และควรพูดเมื่อไรเป็นเรื่องยาก พระวิญญาณจะทรงช่วยให้เรามองออก พระองค์จะทรงช่วยให้เราใช้ถ้อยคำที่เหมาะเจาะในเวลาที่เหมาะสม และด้วยท่าทีที่ถูกต้อง เพื่อเห็นแก่ผู้อื่น และเพื่อพระเกียรติของพระองค์
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า “พระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ ขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงใช้ให้ผู้อื่นพูดคำหนุนใจและคำท้าทายข้าพระองค์ ขอทรงช่วยให้ข้าพระองค์มีสติปัญญาที่จะรู้ว่าเมื่อใดควรพูดหรือควรเงียบ”
นกฮูกเฒ่าเจ้าปัญญา
สติปัญญากับการจำกัดคำพูดมีความเกี่ยวโยงกัน สุภาษิต 10:19 บอกว่า การพูดมากก็จะสะสมการทรยศ แต่เขาผู้ยับยั้งริมฝีปากของตนเป็นผู้หยั่งรู้
คนฉลาดจะระมัดระวังคำพูดหรือการพูดมากน้อยในแต่ละสถานการณ์ เราควรระวังคำพูดเมื่อเราโกรธ ยากอบขอร้องเพื่อนผู้เชื่อว่า จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ” (ยก.1:19) การยับยั้งคำพูดยังแสดงให้เห็นว่าเรายำเกรงพระเจ้าอีกด้วย กษัตริย์ซาโลมอน กล่าวว่า พระเจ้าทรงสถิตในสวรรค์ และอยู่บนแผ่นดินโลก เหตุฉะนั้นเจ้าจงพูดน้อยคำ” (ปญจ.5:2)  
ปากของเรา ปากกาของเรา ควรจะอยู่ในภาวะต้องสึกสำนึกในพระคุณที่พระเจ้าประทานความยับยั้งชั่งใจแก่เรา
เมื่อเราต้องการทำให้ผู้อื่นประหลาดใจกับการเปลี่ยนแปลงที่พระคริสต์ทรงกระทำ ให้เราถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยสิ่งที่เราพูด หรือไม่พูด – RK
ให้เราบอกกับพระเจ้าว่า “พระเจ้าเจ้าข้า ลูกจะไม่ใช้คำพูดทำลายผู้อื่นแล้วสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง แต่จะเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นก่อนเพื่อจะรับใช้พระองค์และเพื่อแผ่นดินของพระองค์”
พระคำที่ช่วยเหลือและเยียวยา
ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ - มัทธิว 6:9
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1863 ชายผู้มีชื่อเสียงสองคนได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบถวายสุสานทหารแห่งชาติในเมืองเก็ตตี้สเบิร์กรัฐเพนซิลเวเนีย ผู้กล่าวสุนทรพจน์คนสำคัญ คือ เอ็ดเวิร์ด เอเวอเร็ต อดีตผู้ว่าฯ สมาชิกรัฐสภาและอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เอเวอเร็ตได้กล่าวคำสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการยาวสองชั่วโมง ตามด้วยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ที่กล่าวสุนทรพจน์ เพียง 2 นาที  [1]
ทุกวันนี้ คำปราศรัยแห่งเก็ตตี้สเบิร์กของลินคอล์นยังเป็นที่กล่าวถึงอย่างแพร่หลาย แต่สุนทรพจน์ของเอเวอเร็ตเกือบจะถูกลืมไปแล้วที่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่เพราะความสามารถทางวาทศิลป์ของลินคอล์นเท่านั้น แต่ในวันนั้น คำพูดของท่านได้เข้าถึงจิตใจของคนทั้งประเทศที่ปวดร้าวเพราะสงครามกลางเมือง และทำให้เกิดความหวังในวันข้างหน้า
คำพูดมีความหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องยืดยาว คำอธิษฐานของพระเยซูคริสต์เป็นคำสอนหนึ่งที่สั้นและน่าจดจำมากที่สุด เป็นการช่วยเหลือและเยียวยา และเตือนให้เราไม่ลืมว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาแห่งฟ้าสวรรค์ของเรา ทรงมีฤทธิ์อำนาจทั้งในโลกและในสวรรค์ (มัทธิว 6:9-10) พระองค์ประทานอาหาร การอภัยโทษ และความอดทนให้เราทุกวัน (มัทธิว 6:11-13)



[1] https://thaiodb.org/2014/01/07/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2/

8 comments:

  1. amazon

    <iframe></iframe>

    ReplyDelete
  2. get paid for socil networkJune 26, 2010 at 10:47 AM

    social network that pay u

    http://sidetick.com/signup.php?signup_referer=45376

    ReplyDelete
  3. florida.noob@gmail


    76.20.81.58

    ReplyDelete
  4. graboid video
    nice program
    suck at speed
    IMGONALIVE@YAHOO
    imgonalove

    ReplyDelete
  5. <img></img>
    calling card
    http://www.thaitel.com/959.html

    ReplyDelete
  6. virgin america airline is badAugust 10, 2010 at 10:15 PM

    last May i buy a round trip ticket form LAX to SFO for $180 but after i bought the ticket i dont want to go to san francisco anymore so the next day i wanted to cancel my ticket but i read the term of servie and it said that if i cancel the ticket in 24hour after i purchased the ticket i will get my money back but if i cancel my flight after 24hour after i purchased the ticket i will get back only $50 in credit for only use to buy the ticket from virgin america airline then i look at the clock and it just passed 24 hour so i cancel the flight and did not get my money back but i only get the credit but that is fine with me because it was the deal when i purchase the ticket but the thing that make me angry is i have to use the $50 credit to buy the flight within one year which i feel like they should let us keep the credit for a little bit longer than that and virgin america airline should not force us to use the credit within one year.So if any of you will buy the ticket from virgin america airline you should plan your trip carefully or you will be wasting your money.

    ReplyDelete
  7. Virgin America is worst airline i even fly onDecember 21, 2010 at 3:49 PM

    i agree,
    of all the airline i have use
    Virgin America is the worst
    poor service, not friendly, hard to understand, hard to find, web site suck

    ReplyDelete
  8. Yes, last time I'm on virgin airline. The flight was canceled but I have to pay extra fees to go on another flight

    ReplyDelete