Find FREE products and money, coupons and great deals. FREE piano sheets, guitar chords, useful softwares. READ Honest product and service reviews.
Saturday, October 31, 2020
Thursday, October 29, 2020
เฉลยธรรมบัญญัติ คือ อะไร
เฉลยธรรมบัญญัติ คือ อะไร
แปลว่าอะไร ความหมาย
What is DEUTERONOMY ?
เฉลยธรรมบัญญัติ DEUTERONOMY
หลังจากอิสราเอลได้รับธรรมบัญญัติที่ภูเขาซีนาย พวกเขาได้อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งอยู่ระหว่างภูเขาซีนายกับแผ่นดินคานาอัน ประมาณสี่สิบปี ในระหว่างสี่สิบปีนั้น คนรุ่นก่อนที่ได้รับพระบัญญัติที่ภูเขาซีนายได้เสียชีวิตลงหมดทุกคนแล้ว ฝูงชนที่จะเข้าคานาอันจึงเป็นคนรุ่นใหม่ ฉะนั้นก่อนที่พวกนี้จะเดินทางเข้าสู่คานาอัน โมเสสจึงกล่าวธรรมบัญญัติซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทั้งอธิบายเพิ่มเติมข้อความต่าง ๆ เพื่อแก้ไขข้อข้องใจของประชาชนรุ่นใหม่นี้ เพื่อให้พวกเขาทราบเรื่องพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างละเอียด หนังสือที่บันทึกคำสอนของโมเสสในโอกาสนี้จึงได้ชื่อว่าเฉลยธรรมบัญญัติ
ลักษณะของหนังสือเล่มนี้
หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติไม่เพียงแต่กล่าวสอนข้อปฎิบัติ ข้อห้ามแบบธรรมบัญญัติเท่านั้น แต่มีลักษณะเป็นคำเทศนามากกว่า โมเสสเน้นย้ำว่า พระเจ้าไม่ประสงค์ให้อิสราเอลฝืนใจปฎิบัติตามคำสั่งเพราะกลัวโทษ แต่พระองค์ทรงตเองการให้พวกเขาเชื่อฟังพระเจ้า เพราะเขารักพระองค์ (ฉธบ. 6:3; 5-9; 7:7-8; 11; 8:5) หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติต่างกับหนังสือเลวีนิติและกันดารวิถี สองเล่มนั้นเขียนสำหรับพวกปุโรหิตและพวกเลวี แต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติเขียนเพื่อประชาชนทั่ว ๆ ไป (ฉธบ. 8:6; 10:12-13)
สิ่งที่สำคัญในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติคือ พันธสัญญาที่พระเจ้าทรงกระทำกับชาติอิสราเอล พระองค์ทรงเลือกอิสราเอลให้เป็นประชากรของพระองค์ ทรงสัญญาว่าจะประทานแผ่นดินคานาอันให้พวกเขาเข้าอาศัยอยู่ (ฉธบ. 7:7; 8:1; 9:4-5) อิสราเอลได้รับพระพรนี้ เขาตอบสนองโดยสาบานต่อพระเจ้าว่าเขาจะเชื่อฟังพระองค์ (ฉธบ. 5:6-7; 6:1-3; 10:12-13 ดู พันธสัญญา)
รูปแบบของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติเหมือนกับหนังสือพันธสัญญาที่ใช้กันโดยทั่วไปในสมัยนั้น กษัตริย์ที่ยึดครองชาติที่เล็กกว่าจะกระทำพันธสัญญากับพวกเขาโโยกล่าวไว้ว่า พระองค์จะวางแนวทางชีวิตให้พวกเขา ถ้าพวกเขายอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของพระองค์ก็จะได้รับผลประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ถ้าพวกเขากบฏก็จะมีโทษอย่างหนัก ถ้าเราอ่านหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติทำนองว่าเป็นหนังสือรับรองพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอิสราเอล เราคงจะเข้าใจหนังสือนี้ได้ดีขึ้น
ข้อความในหนังสือพันธสัญญา
หนังสือพันธสัญญาในสมัยนั้นเริ่มต้นโดยกษัตริย์กล่าวว่าได้ทรงกระทำอะไรเพื่อประชาชน ฉะนั้นโมเสสเริ่มต้นโดยกล่าวว่าพระเจ้าได้ทรงกระทำอะไรเพื่ออิสราเอล จึงได้นำพวกเขาออกจากอียิปต์และจะนำเข้าสู่คานาอัน (1:1-3:29) ส่วนอิสราเอลควรตอบแทนโดยการซื่อสัตย์ต่อพระองค์ (4:1-43)
ต่อไปกล่าวถึงข้อใหญ่ของพันธสัญญาคือพระบัญญัติสิบประการ (4:44-5:33) พวกเขาจะปฎิบัติตามพระบัญญัติได้ โดยมีความรักต่อพระองค์อย่างแท้จริง เขาไม่ควรทรยศต่อพระเจ้าของเขา โดยหันไปผูกพันกับพระของคนต่างชาติ (6:1-25) พระเจ้าจะประทานแผ่นดินดีให้พวกเขา แต่เขาต้องจำไว้เสมอว่า สิ่งที่สำคัญกว่าอาหารกับผลิตผลแห่งธรรมชาติคือ ความเชื่อไว้วางใจในพระเจ้า (7:1-8:20) ประชาชนจึงไม่มีควรจะดื้อรั้น (9:1-10:11) แต่ควรจะถ่อมใจลงต่อพระเจ้าโดยมีจิตใจที่บริสุทธิ์ (10:12-11:32)
เมื่อกล่าวถึงข้อสำคัญโดยทั่วไปแล้วหนังสือก็กล่าวถึงรายละเอียด มีข้อปลีกย่อยหลายข้อซึ่งเกี่ยวกับชีวิตใหม่ที่พวกเขาจะพบในคานาอัน โมเสสจึงปรับปรุงบัญญัติบางข้อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ใหม่ในคานาอัน (เช่น ดู 11:10-11; 12:20-22; 14:24-27; 18:6-8)
เรื่องราวที่กลาวถึงในธรรมบัญญัติฉบับใหม่นี้ได้แก่ การนมัสการ (12:1-13:18) กฎปฎิบัติทางศาสนา (14:1-16:17) ความยุติธรรมในการปกครอง (16:18-19:21) การรักษาชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป (20:1-21:23) ความบริสุทธิ์ทางเพศ (22:1-23:25) การปกป้องคนที่อาจถูกคนร่ำรวยกดขี่ (24:1-25:4) และความซื่อสัตย์ในการกระทำสิ่งต่าง ๆ(25:5-26:15) เสร็จแล้วผู้กระทำพันธสัญญาทั้งสองฝ่ายได้กล่าวสาบานว่าจะรักษาไว้ (26:16-19)
ตอนท้ายของหนังสือพันธสัญญาบันทึกไว้ว่า เจ้านายจะตอบแทนความเชื่อฟังโดยประทานรางวัลให้ แต่จะลงโทษความไม่เชื่อฟัง (27:1-28:68) เมื่อโมเสสกล่าวสิ่งทั้งหมดเหล่านี้เสร็จแล้ว ก็ประทับตราพันธสัญญา (29:1-30:20) ท่านได้บอกว่าควรจะมีการอ่านพันธสัญญาให้ประชาชนฟังทุกเจ็ดปี เพื่อพวกเขาจะไม่ลืม และควรจะเก็บหนังสือไว้ที่พลับพลาให้เป็นมาตรฐานที่แน่นอนในการปกครองชาติ (31:1-29)
โมเสสได้สรุปความโดยเขียนเพลงที่ประชาชนควรจะฝึกร้อง (31:30-32:47) แล้วท่านก็กล่าวคำอวยพรอิสราเอลทั้งสิบสองเผ่า (32:48-33:29) หลังจากท่านมีโอกาสดูแผ่นดินที่อิสราเอลกำลังจะเข้าไปอยู่นั้น ท่านก็ถึงแก่กรรม (34:1-12)
โคโลสี (หนังสือ) COLOSSIANS (BOOK)
โคโลสี (เมือง) COLOSSAE
ถึงแม้ว่าเมืองโคโลสีตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงที่เชื่อมแคว้นซีเรียกับเมืองเอเฟซัส แต่เปาโลก็ไม่ได้ไปเยี่ยม
คริสตจักรเมืองโคโลสีในระหว่างการเดินทางประกาศที่บันทึกไว้ในหนังสือกิจการ (คส. 1:4; 2:1) โคโลสีอยู่ในเขตหนึ่งของแคว้นเอเชียที่พระเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้เปาโลไปประกาศ (กจ. 16:6-8 แผนที่เมืองต่าง ๆ ในแคว้นเอเซียสมัยจักรวรรดิโรม อยู่ในหัวข้อ โรม)
เข้าใจว่าคริสตจักรโคโลสีได้เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่เปาโลอยู่ที่เมืองเอเฟซัสสามปีและสาวกของท่านที่รับเชื่อที่เมืองเอเฟซัสได้ออกไปเผยแพร่ข่าวประเสริฐตามชนบทและเมืองต่าง ๆ แถบนั้น (กจ. 19:9-10) เอปาฟรัส คงเป็นคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคริสตจักรโคโลสี (คส. 1:7) คริสตจักรนั้นได้ประชุมที่บ้านของสมาชิกคนหนึ่งชื่อฟีเลโมน (คส. 4:9; ฟม. 1ม2ม 10-12)
โคโลสี (หนังสือ) COLOSSIANS (BOOK)
ตอนที่เปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ท่านเป็นนักโทษถูกจองจำอยู่ (คส. 4:3) ท่านได้มายังกรุงโรมพร้อมกับลูกาและอาริสทารคัส เพื่อถวายฎีกาแด่จักรพรรดิซีซาร์ เวลานั้นท่านอยู่กรุงโรมสองปี (กจ. 25:12; 27:1-2; 28:16, 30; คส. 4:10, 14) ในระหว่างสองปีนั้นมีคนจากคริสตจักรโคโลสีมาเยี่ยมท่านชื่อเอปาฟรัส คนเป็นคนที่ก่อตั้งคริสตจักรโคโลสีขึ้นแต่แรก (คส. 1:6-7; 4:12) เอปาฟรัสมาปรึกษาเปาโล เพราะมีปัญหาเกิดขึ้นในคริสตจักรที่เขาไม่รู้จะแก้ไขได้อย่างไร
ปัญหาที่คริสตจักรโคโลสี
ที่เมืองโคโลสีมีพวกหนึ่งได้เข้ามาในคริสตจักรและสอนผิด ๆ พวกนี้เอาเรื่องปรัชญาเรื่องศาสนา และเรื่องเทพนิยายมาปนกันคล้ายกับลัทธินอสติกที่ก่อการยุ่งยากทั่วเอเชียไมเนอร์มาแล้ว ที่คริสตจักรโคโลสีพวกนี้ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เอามาจากศาสนายิวบ้าง (คส. 2:16, 20-21)
พวกนอสติกนี้ไม่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าบริบูรณ์และเป็นมนุษย์บริบูรณ์ในเวลาเดียวกัน เขาบอกว่าพระเจ้าสูงสุดจะผูกพันกับมนุษย์ผู้เป็นคนบาปไม่ได้ พระวิญญาณกับวัตถุจะเข้ากันไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงคิดจะเปลี่ยนให้มีพระเจ้าหลายองค์ ตั้งแต่พระเจ้าเที่ยงแท้และสูงสุดเป็นลำดับมาจนถึงมนุษย์ตามคำสอนของพวกเขาพระเยซูไม่ใช่พระเจ้าเที่ยงแท้แต่มีบางส่วนเป็นพระเจ้า บางส่วนเป็นมนุษย์ คล้าย ๆ กับทูตสวรรค์ เขาบอกว่า มนุษย์ต้องนมัสการขอความช่วยเหลือจากพวกทูตสวรรค์เหล่านี้จะได้พ้นบาป ขึ้นไปหาพระเจ้าทีละขั้น ๆ จนถึงพระผู้สูงสุด (คส. 2:8; 18)
อาจารย์เปาโลโต้แย้งว่า พระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้าและเป็นมนุษย์ พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าพวกทูตสวรรค์และพวกเทพวิญญาณทั้งหลาย (คส. 1:15-19; 2:9) พระองค์เป็นพระผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง และเป็นผู้ชนะบรรดาวิญญาณชั่ว (คส. 1:20-22; 2:15) แต่แล้วพระองค์ก็ยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับทุกคนที่เชื่อ พระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคริสตจักรเหมือนศรีษะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับร่างกาย (คส. 1:18; 2:19) การที่คริสเตียนติดสนิทอยู่กับพระเยซูเช่นนี้ควรจะมีผลในชีวิตประจำวันด้วย โดยที่ชีวิตของผู้เชื่อจะเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ กลายเป็นเหมือนชีวิตของพระคริสต์ (คส. 3:3-5, 10)
ข้อความในจดหมาย
เปาโลขอบพระคุณพระเจ้าต่อความเชื่อของพวกคริสเตียนชาวโคโลสี และอธิษฐานขอพระเจ้าให้พวกเขาเจริญก้าวหน้าต่อไป (1:1-14) ต่อไปท่านกล่าวถึงหัวใจของจดหมายที่เขียนคือ พระเยซูเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งสารพัด การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เท่านั้นเป็นทางแห่งความรอด นี่เป็นรากฐานของความเชื่อและชีวิตคริสเตียน จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นอันขาด (1:15-23) เปาโลประกาศเรื่องนี้ทุกหนทุกแห่ง ท่านต้องการให้คริสเตียนมั่นคงในความเชื่อนี้ (1:24-2:5)
การสอนผิด ๆ ทุกอย่างนำไปสู่พันธนาการ เปาโลอยากให้คริสเตียนยึดพระเยซูไว้ให้แน่น และจะมีอิสรเสรีภาพอย่างแท้จริงในพระองค์ (2:6-15) เราไม่ควรหลงไปติดพันกับศาสนาที่มนุษย์สร้างขึ้นเองชีวิตของคริสเตียนผูกพันอยู่กับพระเยซูแต่ผู้เดียว (2:16-3:4) เราควรแสดงถึงชีวิตใหม่ของเราโดยละทิ้งความประพฤติเก่า ๆ และสร้างนิสัยใหม่ ๆ ขึ้น ให้มีลักษณะเหมือนพระเยซูมากขึ้นเรื่อย ๆ (3:5-17) ทั้งนี้หมายถึงชีวิตส่วนตัว ชีวติในบ้าน ชีวิตในคริสตจักร และ ชีวิตในสังคม (3:18-4:6)
ตอนท้ายของจดหมายเป็นรายละเอียดส่วนตัวเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเปาโล และโครงการของท่านต่อไป บุคคลที่ท่านกล่าวถึงซึ่งอยู่กับท่านในกรุงโรมบ้าง อยู่ที่เมืองโคโลสีบ้าง และอยู่ที่เมืองอื่น ๆ บ้าง (4:7-18)