หลักภาษาไทย
การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการรับและการถ่ายทอดข้อมูล
หรือเนื้อหาสาระต่าง ๆ ที่บุคคลต้องการหรือเกี่ยวข้องกัน
จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อสร้างความเข้าใจ ชักจูงใจ มุ่งให้เกิดผลตามที่ประสงค์
ซึ่งการสื่อสารที่ดี จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามที่ประสงค์ไม่มากก็น้อย
ปัจจุบันโลกเราแคบเข้าด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้เราสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว มิตรภาพที่พลโลกมีต่อกันก็แผ่ไพศาลไปทั่ว
การสื่อสารก็นับวันทวีความสำคัญยิ่งขึ้น การสื่อสารที่ดีนอกจากเป็นที่ถวายเกียรติพระเจ้าแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและต่อตนเอง
....วิธีการสื่อสาร มีหลายวิธีด้วยกัน
ดังนี้
1. การสื่อสารด้วยวาจา (ภาษาพูด)--> คือการพูดเป็นประโยค
น้ำเสียงมีทั้งเบาและค่อย มีความเร็วหรือช้าของการพูด
2. การสื่อสารด้วยกริยาท่าทาง (ภาษากาย)--> เช่น การกลอกตา การจ้องตา การพยักหน้า การก้มโค้ง การแสดงออกทางสีหน้า
การสัมผัสและการใช้มือ
3. การสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษร (ภาษาเขียน)-->
ได้แก่ สัญลักษณ์ และรูปภาพต่าง ๆ
ทั้งสองเทอมการศึกษา เราจึงจะเรียนรู้ฝึกฝนเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างถูกต้อง
โดยเฉพาะการพูดและเขียนอย่างถูกต้อง
เนื่องจากภาษาไทย
เป็นภาษาหลักที่เราใช้กัน ในการการสะกดคำให้ถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็นมาก
ทั้งนี้เพราะคำในภาษาไทยจำนวนมาก แม้จะมีเสียงเหมือนกัน
ถ้าความหมายต่างกันก็จะสะกดต่างกัน จึงจะมีการเรียนรู้ถึงหลักภาษาไทยเพื่อที่จะเสริมทักษะในการเขียน
การพูดของเราให้เกิดผลดียิ่งขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา
การเขียนภาษาไทยเป็นระบบที่มีตัวอักษรแทนเสียง
3 ประเภท คือเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ประกอบกันเป็นพยางค์และคำ
ในการเขียนคำให้ถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการใช้ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์
ตลอดจนการเขียนคำในลักษณะพิเศษต่าง ๆ เช่น การเขียนชื่อเฉพาะ การเขียนราชทินนาม
การเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ
การเขียน อักษรย่อ
การเขียนชื่อเมือง ประเทศ และการใช้เครื่องหมายประกอบคำ ถ้าหากขาดความชำนาญในด้านภาษาไทย
เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้องคือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานซึ่งทางราชการประกาศให้ถือเป็นแบบอย่างในการเขียน(มีออนไลน์)
ภาษาไทย
เสียงในภาษาไทย มี 3 ชนิด คือ
1.
เสียงสระ หรือเสียงแท้
2.
เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
3.
เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
เสียงสระ หรือเสียงแท้
เสียงสระ หรือเรียกอีกอย่างว่า
เสียงแท้ เพราะเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง โดยไม่ถูกสกัดกั้นในฐานใด ๆ
แต่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของลิ้นและรูปริมฝีปาก ทำให้ลมกระทบฐานเพียงเล็กน้อยลมผ่านเส้นเสียงทำให้เป็นเสียงสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงก้อง
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแท้
หรือเสียงสระ
ลักษณะของสระมีดังนี้
1.
เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม
2.
อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน
ได้แก่ ลิ้นและริมฝีปาก
3.
เสียงสระออกเสียงได้ยาวนาน
4.
เสียงสระทุกเสียงเป็นเสียงก้อง
เส้นเสียงจะสั่นสะเทือน
5.
เสียงสระจะมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาว
6.
เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้
เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงออกเสียงได้
รูปสระ
รูปสระ
เป็นอักษรหรือเครื่องหมายที่เขียนขึ้นเพื่อแทนเสียงสระ โดยใช้เขียนโดด ๆ
หรือใช้เขียนประสมกับรูปสระอื่นเพื่อให้เกิดสระใหม่ มี 21 รูปดังนี้
รูปสระในภาษาไทยมี 21 รูป
รูป
|
เรียกว่า
|
ะ
|
วิสรรชนีย์
|
ั
|
ไม้หันอากาศ
|
็
|
ไม้ไต่คู้
|
า
|
ลากข้าง
|
ิ
|
พินทุ์อิ หรือ พินทุอิ
|
่
|
ฝนทอง
|
ํ
|
นิคหิต, นฤคหิต
|
"
|
ฟันหนู
|
ุ
|
ตีนเหยียด หรือ ลากตีน
|
ู
|
ตีนคู้
|
เ
|
ไม้หน้า
|
ใ
|
ไม้ม้วน
|
ไ
|
ไม้มลาย
|
โ
|
ไม้โอ
|
อ
|
ตัวออ
|
ย
|
ตัวยอ
|
ว
|
ตัววอ
|
ฤ
|
ตัวรึ
|
ฤๅ
|
ตัวรือ
|
ฦ
|
ตัวลึ (ไม่ใช้แล้ว)
|
ฦๅ
|
ตัวลือ (ไม่ใช้แล้ว)
|
เสียงสระมีดังต่อไปนี้
1.
สระเสียงสั้น
หรือ รัสสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
2.
สระเสียงยาว
หรือ ทีฆสระ ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ
อัว ฤๅ ฦๅ
เสียงสระในภาษาไทยแบ่งตามฐานการออกเสียงออกเป็น 3 ชนิด คือ สระเดี่ยว
สระประสม และสระเกิน ดังนี้
1.
สระเดี่ยว
หรือ สระแท้ คือ สระที่เกิดจากฐานเสียงเพียงฐานเดียว
เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสม มีทั้งสิ้น 18 เสียง ได้แก่ อะ
อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
2.
สระประสม
หรือ สระเลื่อน คือ สระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน
เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ มี 6 เสียงดังนี้
สระ
|
เกิดจากเสียงสระ
|
เอียะ
|
อี กับ อะ
|
เอีย
|
อี กับ อา
|
เอือะ
|
อือ กับ อะ
|
เอือ
|
อือ กับ อา
|
อัวะ
|
อู กับ อะ
|
อัว
|
อู กับ อา
|
3.
สระเกิน คือ
สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว แต่มีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 เสียง
ได้แก่
1.
อำ เกิดจากเสียงสระ อะ + พยัญชนะ ม สะกด (อัม)
เช่น ขำ บางทีออกเสียงยาว (อาม) เช่น น้ำ
2.
ใอ เกิดจากเสียงสระ อะ + พยัญชนะ ย
สะกด (อัย)
เช่น ใจ บางทีออกเสียงยาว
(อาย) เช่น ใต้
3.
ไอ เกิดจากเสียงสระ อะ + พยัญชนะ ย
สะกด (อัย)
เช่น ไหม้ บางทีออกเสียงยาว (อาย) เช่น ไม้
4.
เอา เกิดจากเสียงสระ อะ + พยัญชนะ ว
สะกด (โอว)
เช่น เกา บางทีออกเสียงยาว
(อาว) เช่น เก้า
5.
ฤ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร + สระ อึ
(รึ)
เช่น พฤกษา บางทีเปลี่ยนเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณะ หรือ เรอ เช่นฤกษ์
6.
ฤๅ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร + สระ อือ
(รือ)
7.
ฦ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล + สระ อึ
(ลึ)
8.
ฦๅ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล + สระ อือ
(ลือ)
ข้อสังเกต
· เสียงสระ
มีทั้งหมด 32 เสียง
· มี
21 เสียง คือไม่รวมสระเกินทั้ง 8 เสียง เพราะถือว่าเป็นพยางค์
ซึ่งมีหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้นทั้ง 3
เสียง คือ เอียะ เอือะ อัวะ ในภาษาไทยใช้น้อยมาก และสระยัง หมายถึง
เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา นอกจากนั้น
พยัญชนะต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
· สระเดี่ยวมี
18 เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก 6 เสียง ก็จะมีแค่เพียง 24 เสียง
เพราะนอกจากเสียงสระทั้ง
24 เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก 8 รูป
ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้ ทั้งยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย
สระ 8
รูปนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ” อ่านเพิ่มเติมได้ที่
: http://www.kroobannok.com/1684
การใช้สระ
สระเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการประสมอักษร
ซึ่งมีวิธีการใช้แตกต่างกัน ดังนี้
1.
สระคงรูป
คือการเขียนสระตามรูปเดิมเมื่อประสมอักษร เช่น กะ เตะ โปะ เคาะ กอ กำ หัว เป็นต้น
สระ -ะ, เ-ะ, โ-ะ …
ในคำที่ยกมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร
2.
สระเปลี่ยนรูป คือ
สระที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร เช่น กับ ( ก + ะ + บ) เจ็บ (จ + เ-ะ +
บ) เกิน (ก + เ-อ + น ) เป็นต้น
3.
สระลดรูป คือ
สระที่เขียนลดรูปเมื่อประสมอักษร เช่น สรร (ส + -ะ ร) งก (ง + โ-ะ + ก) จร (จ + -อ
+ ร) เคย (ค + เ-อ + ย)
4.
สระเติมรูป คือสระที่เขียนเติมรูปเมื่อไม่มีตัวสะกด
เช่น มือ (ม + —ื)
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกดจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ
สามารถสรุปได้ตามตารางด้านล่าง
ดูเพิ่มเติมจากhttps://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0
*การใช้ไม้ม้วน และไม้มลาย
สระใอไม้ม้วน (ใ-)
ที่ใช้ในภาษาไทยมีทั้งหมด 20 คำ ได้แก่
ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน
ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล ใหญ่ หลงใหล ใหญ่ นอกนั้นใช้สระไอไม้มลาย
(ไ-) เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์
ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี - ไตร
ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ
*การใช้ รร หัน
การใช้ รร (ร หัน) แทนเสียงสระ อะ
และเปลี่ยนรูปเป็นไม้หันอากาศ ออกเสียงเป็น
(อัน) เช่นเดียวกับคำในมาตราแม่กน
ปัจจุบันการใช้ รร (ร หัน) ก็เพื่อรักษาประวัติของคำหรือเพื่อความไพเราะ
มาตราแม่กน รร (ร
หัน) มักใช้แทนเสียง อัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำ
|
อ่านว่า
|
สรร
|
สัน
|
ขรรค์
|
ขัน
|
สรรค์
|
สัน
|
กรรโชก
|
กัน – โชก
|
กรรไกร
|
กัน – ไกร
|
ครรไล
|
คัน - ไล
|
บรรจง
|
บัน - จง
|
บรรยาย
|
บัน -
ยาย
|
บรรลุ
|
บัน -
ลุ
|
บรรดา
|
บัน -
ดา
|
การออกเสียงสระโดยใช้ลิ้นและริมฝีปาก มี 3
ลักษณะ คือ
1.
การออกเสียงพยัญชนะหน้า
ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหน้า ริมฝีปากรี
ได้แก่ สระอึ อื
เออะ เออ อะ อา
2.
การออกเสียงสระกลาง
ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลังค่อนไปกลาง
ริมฝีปากรีปกติ เปิดกว้างเล็กน้อย ได้แก่ สระอึ อื เออะ เออ อะ อา
3.
การออกเสียงสระหลัง
ลิ้นจะอยู่ในตำแหน่งหลัง ริมฝีปากห่อ
ได้แก่ สระอุ อู โอะ โอ เอาะ ออ
ดูเพิ่มเติมจากตำราภาษาไทย
หรือจากตัวอย่างเวบไซต์ที่สอนในเรื่องนี้ https://www.youtube.com/watch?time_continue=2&v=6mBnomaZ5Zs
เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
ลักษณะและหน้าที่ของเสียงแปร
หรือเสียงพยัญชนะ
ลักษณะของและหน้าที่ของเสียงแปร หรือ เสียงพยัญชนะ มีดังนี้
1.
เป็นเสียงที่เกิดจากลมบริเวณเส้นเสียงผ่านออกมาทางช่องว่างระหว่างเส้นเสียง
แล้วกระทบกับอวัยวะต่างๆ ในช่องปากที่เรียกว่า “ฐานกรณ์” เช่น ริมฝีปากกับฟัน
ฟันกับปุ่มเหงือก เป็นต้น
2.
มีทั้งเสียงก้องและเสียงไม่ก้อง
3.
พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ ต้องอาศัยเสียงสระช่วย
จึงจะสามารถออกเสียงได้ เช่น ใช้สระออช่วยออกเสียง ได้แก่ กอ ขอ คอ งอ เป็นต้น
4.
เสียงพยัญชนะสามารถปรากฎที่ต้นคำ
โดยนำหน้าเสียงสระเรียกว่า “พยัญชนะต้น” และ ปรากฎหลังคำ
โดยอยู่หลังเสียงสระเรียกว่า “พยัญชนะสะกด” หรือ “พยัญชนะท้าย”
พยัญชนะในภาษาไทย มี 44
รูป 21 เสียง (บางตำรานับ 20 เสียง ไม่นับเสียง /อ/) ได้แก่
พยัญชนะไทยแบ่งตามที่มา
มี 3 ชนิดคือ
1. พยัญชนะกลาง คือ
พยัญชนะที่ใช้ได้ทั้งในภาษาไทย บาลี และสันสกฤต
มี 21 ตัว
ได้แก่
ก ข
ค ง จ
ฉ ช ต
ถ ท น
ป ผ พ
ม ย ร
ล ว ส ห
2. พยัญชนะเดิม คือ พยัญชนะที่ใช้เฉพาะในภาษาบาลี
และสันสกฤต มี 13
ตัว ได้แก่
ฆ ฌ
ญ ฏ ฐ
ฑ ฒ ณ
ธ ภ ศ
ษ ฬ
3. พยัญชนะเติม คือ
พยัญชนะที่คนไทยคิดเพิ่มเติมขึ้นมาใช้ มี 10 ตัว ได้แก่
ฃ ฅ
ซ ฎ ด
บ ฝ ฟ
อ ฮ
ตารางเสียงพยัญชนะไทยตามหลักสัทศาสตร์
การใช้พยัญชนะ
พยัญชนะต้น แบ่งออกเป็น 2
ชนิด คือ
1. พยัญชนะเดี่ยว
มี 44
รูป แบ่งตามฐานกำเนิดเสียง ดังนี้
เกิดฐานคอ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง ห อ ฮ
เกิดฐานเพดาน จ ฉ ช ซ ฌ ญ ย
เกิดฐานปุ่มเหงือก ด ต ถ ท ธ น ล ส
เกิดฐานริมฝีปาก บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ
ม ว
พยัญชนะไทยแบ่งตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง
2. พยัญชนะประสม คือ พยัญชนะ
2
ตัวที่ประสมกับสระตัวเดียวกันแบ่งออกเป็น 2 พวก
คือ
2.1 อักษรควบ คือพยัญชนะซึ่งควบกับ ร ล ว และประสมสระเดียวกันแบ่งเป็น 2
ชนิด คือ
2.1.1 อักษรควบแท้ คือ
อักษรควบซึ่งออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ากับพยัญชนะตัวหลัง ควบกล้ำพร้อมกันสนิทจนเกือบเป็นสียงเดียวกัน มีทั้งสิ้น
11 เสียง 15 รูป ได้แก่
รูป
|
เช่น
|
กร
|
กราบกราน, เกรียงไกร
|
กล
|
กลับกลาย, กลมเกลียว
|
กว
|
แกว่งไกว, กวัดแกว่ง
|
คร
|
ครอบครอง, ครื้นเครง
|
ขร
|
ขรุขระ, ขรึม
|
คล
|
ไคลคลา, คลอง
|
ขล
|
โขลก, ขลุกขลิก
|
คว
|
ความ, เคว้งคว้าง
|
ขว
|
ขวนขวาย, ขวักไขว่
|
ตร
|
ตริตรอง, เตร็ดเตร่
|
ปร
|
โปรยปราย, ปรับปรุง
|
ปล
|
เปลี่ยนแปลง, ปลอด
|
พร
|
พรั่งพรู, พราวพราย
|
พล
|
พลับพลึง, พลู
|
ผล
|
แผล, แผลง
|
ข้อสังเกต (ข้อที่มีอักษรครบอยู่ช่องเดียวกันคือมีเสียงเดียวกัน
แต่มีรูปไม่เหมือนกัน)
*หมายเหตุ ทร ที่ใช้เป็นตัวควบ ในภาษาไทยแท้
จะเป็นอักษรควบไม่แท้
ส่วนคำที่ออกเสียงควบแท้มักมาจากภาษาสันสกฤต เช่น
อินทรา จันทรา
ตัวอักษรควบแท้ที่ไทยไม่มีใช้ แต่ได้รับมาจากภาษาอังกฤษ และนำมาใช้มี 6
เสียง คือ
บร เช่น เบรก บรั่นดี บรอนซ์
บล เช่น เบลม บลู บล็อก
ดร เช่น ดรัมเมเยอร์ ดรีม ดราฟต์
ฟร เช่น ฟรายด์ ฟรี ฟรักโทส
ฟล เช่น ฟลูออรีน แฟลต ฟลุก ฟลุต
ทร เช่น แทร็กเตอร์ ทรัมเป็ต
2.1.2 อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร
2 ตัวที่ควบกล้ำกับพยัญชนะ ร
แต่ออกเสียงเหมือนพยัญชนะเดี่ยว
เช่น เศร้า
ทราย จริง ไซร้
ปราศรัย สร้อย เสร็จ
เสริม ทรง สร้าง
สระ เป็นต้น
2.2 อักษรนำ คือ พยัญชนะ
2
ตัวประสมสระเดียวกันเช่นเดียวกับอักษรควบกล้ำ แต่ต่างกัน ตรงที่
วิธีการออกเสียง อักษรนำมีวิธีการออกเสียงดังนี้
2.2.1 ไม่ออกเสียงตัวนำ
ออกเสียงกลืนกับเสียงตัวนำ ได้แก่
อ นำ ย มีอยู่
4 คำ คือ อย่า
อยู่ อย่าง อยาก
ห นำ
อักษรต่ำเดี่ยว
ได้แก่ ง ญ
น ม ย
ร ล ว
จะออกเสียงเพียงพยางค์เดียวสูงตามเสียง ห
เช่น
หงาย หงอน หญ้า
ใหญ่ หน้า หนู
หมา
2.2.2 ออกเสียงตัวนำ ได้แก่
ก. อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว จะออกเสียงพยางค์ต้นเป็น สระอะ
ครึ่งเสียง ออกเสียงพยางค์หลัง
ตามที่ประสมอยู่ ออกเสียงวรรณยุกต์ผันตามตัวหน้า เช่น
ขนม ขนง เขนย
ขนำ สมอง สมาน
สนอง สยาย
ขยับ ขยัน ฝรั่ง
ถลอก เถลิง ผยอง ถนน
สนิท
* ยกเว้น
ขมา ขโมย ขมำ
สมา สมาคม สมิทธิ
สโมสร สลัม ไม่ออกเสียงตามตัวนำ
ข. อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว ออกเสียงเช่นเดียวกับข้อ ก
เช่น ตนุ โตนด
จมูก ตลาด ตลก
ตลอด จรวด
ปรอท
ค. อักษรสูงนำอักษรต่ำคู่ หรืออักษรกลาง
ออกเสียงตามข้อ ก แต่ไม่ต้องผันวรรณยุกต์ตามอักษรนำ
เช่น ไผท
ผดุง เผด็จ ผกา
เถกิง ผกา เผอิญ
เผชิญ
การแบ่งหมู่พยัญชนะไทยเพื่อการผัน
แบ่งพยัญชนะไทยซึ่งมีรูปพยัญชนะ 44 ตัว จะแบ่งเป็น 3 หมู่
โดยแบ่งพื้นเสียงที่ยังไม่ได้ผันซึ่งมีเสียงระดับสูง กลาง ต่ำ เรียกว่า ไตรยางศ์ แบ่งไว้เพื่อความสะดวกในการผันวรรณยุกต์
ไตรยางศ์
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ
ฉ ฐ ถ
ผ ฝ ศ
ษ ส ห
(ข้าวฉันถูกเผา ฝน เสียหาย)
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ
ฎ ฏ ด
ต บ ป อ (ไก่ จน ดี ตำ บล ป่า อ้อ)
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
ค ฅ
ฆ ง ช
ซ ฌ ญ
ฑ ฒ
ณ ท
ธ น พ
ฟ ภ ม
ร ล ว
ฬ ฮ
อักษรต่ำแบ่งเป็น 2 ชนิด
คือ
3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่ผันคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่ได้ผันคู่กับอักษรสูง มี 10
ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
หน้าที่ของเสียงแปร
หรือเสียงพยัญชนะ
1.
เป็นเสียงต้นพยางค์ หรือพยัญชนะต้น
ใช้ได้ทั้งพยัญชนะเดี่ยว 21 เสียง และพยัญชนะควบกล้ำ
2.
เป็นตัวสะกด คือ
พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ มี 8 แม่เสียง
ได้แก่
เสียง
|
เรียกว่า
|
ตัวสะกด
|
ตัวอย่าง
|
ก
|
แม่กก
|
ก ข ค ฆ
|
มัก มรรค สุก สุด เมฆ
|
ด
|
แม่กด
|
ด ต (ติ ตุ) ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฐ ฒ
(ฒิ)จ ช ซ ศ ษ ส
|
บาท ชาติ คาด กฎหมาย ปรากฏ
|
บ
|
แม่กบ
|
บ ป พ ภ ฟ
|
บาป พาบ ภาพ ลาภ กราฟ
|
ง
|
แม่กง
|
ง
|
ทาง องค์
|
น
|
แม่กน
|
น ณ ญ ร ล ฬ
|
กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ
|
ม
|
แม่กม
|
ม
|
ธรรม กรรม
|
ย
|
แม่เกย
|
ย
|
ชัย อาย เอย เคย
|
ว
|
แม่เกอว
|
ว
|
ดาว สาว เปรี้ยว
|
การใช้ตัวการันต์ และไม้ทัณฑฆาต
ดูเพิ่มเติม https://sites.google.com/site/chamaiporn9034/home/hlak-kar-chi-taw-karant-laea-mi-thanthkhat
การสะกดคำมีความสำคัญต่อการสื่อสาร
ถ้าสะกดผิดความหมายอาจผิดไป เช่น
· ที่นี่มีนกหลายพัน หมายความว่า ที่นี่มีนกเป็นพัน ๆ ตัว
· ที่นี่มีนกหลายพันธุ์
หมายความว่า ที่นี่มีนกหลายชนิด
นี่เป็นความเกี่ยวข้องกับการใช้การใช้ตัวการันต์
และไม้ทัณฑฆาต
การันต์ ( กา+รัน)
แปลว่า กระทำในที่สุด ทำให้สุดศัพท์ หมายถึงตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมี
เครื่องหมายทัณฑฆาต กำกับไว้
ทัณฑฆาต ( ์ ) แปลว่า ไม้สำหรับฆ่า
เป็นเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษร ไม่ต้องออกเสียง
หลักการใช้ตัวการันต์ และไม้ทัณฑฆาต
มีดังนี้
1.
คำที่มีพยัญชนะหลายตัว (ตัวการันต์)อยู่หลังตัวพยัญชนะที่เป็นตัวสะกด
ถ้าไม่ต้องการออกเสียงพยัญชนะเหล่านั้นจะใช้ไม้ทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย
เช่น
พักตร์ กษัตริย์ กาญจน์ ลักษณ์ ฯลฯ
2. คำที่มาจากภาษาอังกฤษ
เมื่อเขียนในภาษาไทยมักใส่ไม้ทัณฑฆาตบนตัวอักษร ที่ไม่ต้องการออกเสียงนั้น
เพื่อรักษารูปศัพท์เดิมไว้ และเพื่อสะดวกในการออกเสียง เช่น
คำ
|
อ่านว่า
|
ศัพท์เดิมคือ
|
ฟิล์ม
|
ฟิม
|
film
|
ชอล์ก
|
ช็อก
|
chalk
|
การ์ตูน
|
กา-ตูน
|
cartoon
|
3. คำบางคำที่ออกเสียงเหมือนกันเป็นคู่ๆ
ถ้ามีตัวการันต์จะทำให้ความหมายต่างไปจากเดิม เช่น
กรณี (เหตุ, เรื่องราว) กรณีย์
(กิจที่พึงทำ) สุรี (ผู้กล้าหาญ) สุรีย์ (ดวงอาทิตย์)
นิเทศ (ชี้แจง แสดง
จำแนก) ศึกษานิเทศก์ (ผู้ทำหน้าที่ชี้แจง)
4. รูปศัพท์เดิมทำให้เขียนบางคำมีตัวการันต์ บางคำเขียนไม่มีตัวการันต์
เช่น
เปอร์เซ็นต์ ต้องมี ต์ เพราะมาจากรูปศัพท์เดิมคือ Percent
เซ็นชื่อ ไม่ต้องมี ต์
เพราะมาจากรูปศัพท์เดิมคือ Sign
ไตรยางศ์ ต้องมี ศ์
เพราะมาจากรูปศัพท์เดิมคือ ไตร + องศ์
จำนง ไม่ต้องมี ค์ เพราะแผลงมาจากคำว่า จง
5. คำที่มีตัว ร ออกเสียงควบกับตัวสะกด ถึงแม้ไม่ออกเสียง
จะเป็นตัวการันต์ไม่ได้ เช่น
กอปร จักร ตาลปัตร บัตร บุตร เพชร ปริตร มาตร มิตร ยุรยาตร วิจิตร สมัคร
ยกเว้นคำว่า เทเวศร์ พยาฆร์(เสือโคร่ง) ศุกร์ ส่วนตัว ร ที่ไม่ควบตัวสะกด เป็นตัวการันต์ได้
เช่น จันทร์
พัสตร์(ผ้า) พักตร์ มนตร์
ยนตร์ ศาสตร์
เสาร์ อินทร์
การใช้ไม้ทัณฑฆาต ( ์ )
1.
ใช้สำหรับบอกให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด
เช่น พุท์โธ อันว่าพระพุทธเจ้า
2.
ใช้สำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง ได้แก่
2.1
ฆ่าพยัญชนะตัวเดียว เช่น การันต์
ครุฑพ่าห์ ทรัพย์ อลงกรณ์
2.2
ฆ่าสระ เช่น หม่อมเจ้าทรงเชื้อธรรมชาติ์
2.3
ฆ่าทั้งพยัญชนะและสระ เช่น พันธุ์
โพธิ์ สวัสดิ์
2.4 ฆ่าอักษรหลายตัว เช่น กษัตริย์ ฉันทลักษณ์
พระลักษณ์
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ มี 4 รูป 5 เสียง ได้แก่
1. ไม้เอก 2. ไม้โท 3. ไม้ตรี 4. ไม้จัตวา
หน้าที่ของวรรณยุกต์
วรรณยุกต์จะช่วยให้พยัญชนะและสระที่ประสมกันแล้วมีเสียงสูงๆ ต่ำ ๆ
ทำให้เกิดคำเพิ่มขึ้น
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย
มี 5 เสียง
1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
วรรณยุกต์ จำแนกตามลักษณะการใช้
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ วรรณยุกต์มีรูป และวรรณยุกต์ไม่มีรูป
วรรณยุกต์มีรูป
ได้แก่
คำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์บนคำนั้น ๆ เช่น ไก่ ได้ จ๊ะ เอ๋
วรรณยุกต์ไม่มีรูป
ได้แก่
คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ปรากฏอยู่บนคำนั้น
เช่น กา (สามัญ) จะ (เอก)
ถะ (เอก) โมก (โท) คะ(ตรี)
ขะ (จัตวา)
นักภาษาศาสตร์แบ่งวรรณยุกต์เป็น 2 กลุ่ม
คือ
1. วรรณยุกต์ระดับ (Level
tone) คือ
วรรณยุกต์ที่มีความถี่ของเสียงค่อนข้างคงที่ตลอดพยางค์ ได้แก่
วรรณยุกต์สามัญ
(หน่วยเสียงวรรณยุกต์ระดับกลาง)
วรรณยุกต์เอก (หน่วยเสียงวรรณยุกต์ระดับต่ำ)
วรรณยุกต์ตรี
(หน่วยเสียงวรรณยุกต์ระดับสูง)
2. วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (Contour tone) คือ
วรรณยุกต์ซึ่งมีระดับความถี่ของเสียงเปลี่ยนแปลงมากในช่วงพยางค์หนึ่งๆ ได้แก่
วรรณยุกต์โท
เปลี่ยนระดับจากสูงลงต่ำ
(หน่วยเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนตก) วรรณยุกต์จัตวา เปลี่ยนระดับจากต่ำขึ้นสูง (หน่วยเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนขึ้น)
การผันวรรณยุกต์มี 5
เสียง 4 รูป
https://sites.google.com/site/thvoiceandalphabet/seiyng-dntri-hrux-seiyng-wrrnyukt
คำเป็นคำตาย
คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมสระเสียงยาวที่ไม่มีตัวสะกด ในแม่ ก กา
เช่น กา กี กื กู
คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด ในแม่ ก กา
เช่น กะ กิ กุ
คำเป็น คือ พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา
และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ
แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
การผันวรรณยุกต์
ตัวอย่างการผันวรรณยุกต์
|
||||||
อักษร
|
ผันได้เสียง
|
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
|
อักษรกลางคำเป็น
|
5 เสียง
|
กา
|
ก่า
|
ก้า
|
ก๊า
|
ก๋า
|
อักษรกลางคำตาย
|
4 เสียง
|
-
|
กะ
|
ก้ะ
|
ก๊ะ
|
ก๋า
|
อักษรสูงคำเป็น
|
3 เสียง
|
-
|
ข่า
|
ข้า
|
-
|
ขา
|
อักษรสูงคำตาย
|
2 เสียง
|
-
|
ขะ
|
ข้ะ
|
-
|
-
|
อักษรต่ำคำเป็น
|
3 เสียง
|
คา
|
-
|
ค่า
|
ค้า
|
-
|
อักษรต่ำคำตาย
(เสียงสั้น)
|
3 เสียง
|
-
|
-
|
ค่ะ
|
คะ
|
ค๋ะ
|
อักษรต่ำคำตาย
(เสียงยาว)
|
3 เสียง
|
-
|
-
|
โคก
|
โค้ก
|
โค๋ก
|
https://sites.google.com/site/thvoiceandalphabet/seiyng-dntri-hrux-seiyng-wrrnyukt
ข้อควรจำ
อักษรสูงใช้อักษรต่ำคู่, อักษรต่ำคู่
ใช้อักษรสูง
อักษรต่ำเดี่ยว
ใช้ตัว ห อ นำช่วยผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
4. อักษรควบ คือพยัญชนะ
2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา
-อักษรควบแท้
คือคำที่ควบกับ ร ล ว
เช่น กวัดแกว่ง ขวิด ขวา ขวักไขว่ ขวาน ขวาง ขว้าง ควาย คว่ำ คว้า
.
-อักษรควบไม่แท้ คือ
อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร
หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
5. อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2
ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออกเสียงร่วมกัน
เช่น
หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก บางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ คือออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าพร้อมกับตัวหลัง
แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิท จึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะ เบาๆ
เช่น
กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก
6. ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์
เช่น
1. ประโยค 2 ส่วน ประธาน + กริยา นก บิน
2. ประโยค 3 ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม ปลา กิน มด
7. การสะกดคำ การเขียนคำ
-พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ
ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ บริวาร
เป็นต้น)
-พยางค์ที่ออกเสียง อำ
ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์)
-พยางค์ที่ออกเสียง ใอ
(ไม้ม้วน)
ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่
สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล
นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย)
-คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ
ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ เชิญขวัญเพ็ญสำราญ
ผลาญรำคาญลาญระทม
เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม รบราญสราญชม
ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ
ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ สำคัญหมั่นเจริญ
ถือกุญแจรัญจวนใจ
รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร ชำนาญชาญเกรียงไกร
เร่งผจัญตามบัญชา
จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา ประมวญชวนกันมา
สูบกัญชาไม่ดีเลย.
-การเขียน บัน และ บรร คำไทยที่ใช้
บัน นำหน้า นอกจากกลอนบทนี้ให้ใช้ บรร
บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี รื่นเริงบันเทิงมี
เสียงบันลือสนั่นดัง
บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง บันทึงถึงความหลัง
บันเดินนั่งนอนบันดล
บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน คำ
บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร – หัน.
-ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มี 17 คือ
ทรวดทรง ทราบ ทราม ทราย ทรุดโทรม
นกอินทรี มัทรี อินทรีย์
เทริด นนทรี พุทรา ทรวง ไทร ทรัพย์ แทรก
โทรมนัสฉะเชิงเทรา
-คำไทยที่ใช้ จ สะกด
ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป สมเด็จเสด็จไหน
ตรวจตราไวดุจนายงาน
อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ ฉกาจรังเกียจวาน
คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี โสรจสรงลงวารี
กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ.
-คำที่ใช้ ช สะกด มีคำเดียว คือ กริช
-คำที่ใช้ ร สะกด
เช่น กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ
อรชร ควร ประยูร ละคร
-คำที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น
ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล บันดาลในบันดล
ค่ากำนลของกำนัล
ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล ดลใจให้รางวัล
ปีขาลบันเดินเมิลมอง.
-คำที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส
ตรัสรู้
-คำที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์
จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง
พะทำมะรง สำอาง
8. การอ่านออกเสียง เช่น
กรณี
= กะ – ระ – นี (กอ – ระ- นี) ปรปักษ์ = ปะ – ระ –
ปัก (ปอ – ระ ปัก)
กรกฎ
= กอ – ระ – กด ธรณี = ทอ – ระ –
นี มรณา = มอ – ระ – นา
-คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค
และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย
หรือ
เป็น ศ ษ ส มักไม่ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น
อัปสร
= อับ – สอน
สัปดาห์
= สับ – ดา
-ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส
ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น
มารยาท
= มา – ร – ยาด
กัลปาวสาน = กัน – ละ ปา – วะ –
สาน
ศุลกากร
= สุน – ละ – กา – กอน บุษบา = บุด – สะ
– บา
ศิษยานุศิษย์
= สิด – สะ – ยา – นุ – สิด พิสดาร = พิด – สะ –
ดาน
ทฤษฎี
= ทริด – สะ – ดี แพศยา
= แพด – สะ – หยา
ขนิษฐา
= ขะ – นิด – ถา
สันนิษฐาน
= สัน – นิด – ถาน
อธิษฐาน
= อะ – ทิด – ถาน
-คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ
ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น
ลัคนา
= ลัก – ขะ – นา ปรัชญา = ปรัด – ชะ –
ยา
-คำสมาส ซึ่งเป็นคำที่มาจากบาลีสันสกฤต
ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเป็นคำใหม่ แต่มีความหมายเหมือนเดิม การแปลต้องแปลจากหลังมาหน้า (คำตั้งอยู่หลังคำขยายอยู่หน้า) เช่น
ราชการ
(ราช + การ) = ราด – ชะ – กาน จุลสาร (จุล + สาร) = จุล – ละ – สาน
สารคดี
(สาร – คดี) = สา – ระ – คะ – ดี ชาติภูมิ
(ชาติ + ภูมิ) = ชาด – ติ พูม
-มีคำสมาส บางคำไม่นิยม
อ่านออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น
ธนบุรี
= ทน – บุ – รี สมุทรปราการ = สมุด – ปรา –
กาน
คำสมาส
ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น
เกตุมาลา = เกด – มา – ลา (เกด – ตุ – มา – ลา) ราชบุรี
= ราด – บุ – รี (ราด – ชะ – บุ – รี)
ประถมศึกษา = ประ – สึก – สา (ประ – มะ – สึก – สา) เพชรบุรี
= เพ็ด – บุ – รี (เพ็ด – ชะ – บุ – รี)
บางคำไม่ใช่คำสมาส
แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น
มูลค่า = มูล–ละ–ค่า คุณค่า
= คุน–นะ–ค่า ทุนทรัพย์ = ทุน–นะ–ซับ พลเรือน = พน–ละ–เรือน
-การอ่านบางคำ เช่น
เกษตรศาสตร์
กะ – เสด – ตระ – สาด เกษียณ
กะ – เสียน – เกษียณอายุราชการ
เกียรติประวัติ
เกียด – ติ – ประ – หวัด (เกียด – ประวัติ)
ขยุกขยิก ขะ – หยุก – ขะ – หยิก – ไม่อยู่นิ่ง ๆ คฤหาสน์ คะ- รึ – หาด
– เรือนที่สง่าผ่าเผย
คมนาคม
คะ – มะ – นา – คม คม – มะ – นา – คม คฤหัสถ์ คะ – รึ – หัด – ผู้ครองเรือน
9. ภาษาไทยที่เป็นภาษาทางการและไม่ใช่ภาษาทางการ
ภาษาเป็นทางการ
|
ภาษาไม่เป็นทางการ
|
ไม่รอบคอบ
|
ไม่ดูตาม้าตาเรือ
|
ไม่ทราบข้อเท็จจริง
|
ไม่รู้เรื่องรู้ราว
|
ซ้ำซาก
|
ซ้ำๆ
ซากๆ
|
มีบุตร
|
มีลูกมีเต้า
|
มีความประสงค์
|
มีความต้องการ
|
เรียนให้ทราบ
|
บอกให้รู้
|
กล่าวเท็จ
|
พูดโกหก
|
อนุเคราะห์
|
ช่วยเหลือ
|
10. ภาษาเขียนมีวรรคตอน
- อย่า ! หยุดคุยในห้องเรียนนะ - อย่าหยุดคุยในห้องเรียนนะ
!
- อาหาร อร่อยหมดทุกอย่าง
-
อาหารอร่อย หมดทุกอย่าง
11. ภาษาไทยมีคำพ้องรูปและคำพ้องเสียง
- คำพ้องรูป เช่น ตากลม-ตากลม เรือนรก-เรือนรก ขอบอกขอบใจ-ขอบอกขอบใจ
- คำพ้องเสียง เช่น การ
กาน กาฬ กาล
การณ์ กานต์ กานท์
กาญจน์
No comments:
Post a Comment