Wednesday, July 4, 2012

คำถามพร้อมคำตอบ สาธารณสุขกับทัศนมาตร

คำถามพร้อมคำตอบ สาธารณสุขกับทัศนมาตร ใช้สำหรับเตรียมสอบ


1. Primary Care กับทัศนมาตรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ     Primary Care เป็นการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับต้น / ด่านแรก   เช่นเดียวกับทัศนมาตรก็เป็นการให้บริการทางโรคตาระดับต้น / ด่านแรก  ก่อนที่จะส่งต่อไปสู่การให้บริการเฉพาะทางเฉพาะโรค  และการให้บริการทัศนมาตรจึงเน้นคุณภาพการให้บริการเชิงสังคมควบคู่ไปกับเชิงเทคนิคบริการ
2.  Primary Care มีบทบาทอย่างไรในงานสาธาราณสุข
ตอบ   Primary Care เป็นการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับต้น / ด่านแรก  ซึ่งมีบทบาทดังนี้
1)         เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่บริการสาธารณสุขของผู้ป่วย
2)         การบริการต้องมีความต่อเนื่องทั้งตอนป่วยและตอนไม่ป่วย
3)         การบริการมีลักษณะองค์รวม ใช้ความรู้ความสามารถในหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง
4)         มีความเชื่อมโยงและประสานกับการให้บริการสาธารณสุขในระดับสูงขึ้น
5)         มีความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องในปัญหาของผู้ป่วยและชุมชนตลอดชีวิต
ดังนั้นผู้ให้บริการในระดับ Primary Care จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และสังคม
3.  ในทาง Optometry ปัญหาในการบริการมีอะไรบ้าง
ตอบ     1)  ขาดคุณภาพการให้บริการ     รูปแบบการให้บริการ Opto ของรัฐมีลักษณะรวมศูนย์อยู่ที่โรงพยาบาลทั้ง Primary Care และ Secondary Care และดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถให้บริการแบบต่อเนื่อง ผสมผสาน และแบบองค์รวมได้  แม้ว่าในเขตเมืองหรือขนบทจะมีคลีนิค และร้านแว่นตาเอกชน  แต่ก็ไม่สามารถให้บริการที่มีความรู้ด้าน Opto จริงๆ และให้บริการแบบต่อเนื่อง ผสมผสาน  และแบบองค์รวม  ทั้งยังเป็นการให้บริการเชิงธุรกิจ จึงไม่ใส่ใจกับการให้บริการเชิงสังคม
            2)  มีลักษณะการแข่งขันกัน ระหว่างสถานบริการในแต่ละระดับมากกว่าการสนับสนุนซึ่งกันและกัน    ในแง่สถานบริการ Opto ส่วนมากเป็นของเอกชน จึงยิ่งทำให้มีการแข่งขันสูง และมองว่าเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ มากกว่าการประสานการบริการซึ่งกันและกัน  แม้แต่ในโรงพยาบาลของรัฐก็เช่นกัน      
            3)  ขาดความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ   ผู้มีฐานะดีกว่าย่อมมีสิทธิในการใช้ทรัพยากรสาธารณสุขมากกว่าผู้มีฐานะยากจน  ในทาง Opto ยิ่งเห็นชัดเพราะมีความแตกต่างกัน ทั้งระดับการให้บริการ  และคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการให้บริการที่มีราคาแตกต่างกันมาก
            4)  ขาดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถานบริการกับชุมชน     สถานบริการด้าน Opto ทั้งรัฐและเอกชน ให้บริการไม่มีพื้นที่ขอบเขตรับผิดชอบที่แน่นอน  ประชาชนสามารถใช้บริการได้โดยเสรีทำให้ไม่เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถานบริการกับชุมชน  การมีส่วนร่วมในการให้บริการจากชุมชนจึงมีน้อย
            5)  ขาดความประหยัด    มีการนำเทคโนลีมาดึงดูดความสนใจในการใช้บริการมากเกินไป ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย โดยประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
4.  ในทาง Opto สามารถใช้การวางแผนและกลยุทธลงชุมชนได้อย่างไร
ตอบ     การควบคุมและป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุในชุมชน  อาจจะกำหนดการวางแผนและกลยุทธในการควบคุมและป้องกัน ดังนี้
            1)  การค้นหากลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะจอประสาทตาเสื่อม
2)  จัดบริการด้านการรักษาผู้มีจอประสาทตาเสื่อม
3)  พัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคจอประสาทตาเสื่อม และการรักษาที่ถูกต้องที่มีข้อมูลเพียงพอที่จะส่งผลใหเประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ 
5.  หลักการทำงานของชุมชนมีอะไรบ้าง
ตอบ     1)  การดำเนินงานตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐาน
            2)  การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน
            3)  การทำงานแบบบูรณาการและองค์รวม
            4)  การสร้างพลังชุมชน
            5)  การประสานการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
            6)  การเข้าถึงชุมชน
            7)  การทำงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม
6.  ทักษะและกลวิธีมีอะไรบ้าง
ตอบ     1)  ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์     ที่นำมาใช้ในการเข้าชุมชน  การเตรียมชุมชน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการประสานงาน  ที่ส่งเสริมให้บุคคลทำงานได้ง่ายขึ้น
            2)  ทักษะด้านวิชาการ    ที่สามารถนำความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับแนวคิด  วิธีการดำเนินงานและเทคนิคต่างๆ ในการทำงานชุมชนมาประยุกต์ในการวางแผนและการทำงานชุมชนด้านสาธารณสุขของตน  ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถทำงานชุมชนได้อย่างมีประสิทธิที่ภาพมากขึ้น
            3)  ทักษะด้านการใช้ความคิด     ที่นำมาใช้ในการพิจารณา  วิเคราะห์  จำแนก  แยกแยะปัญหาสาธารณสุข และปัญหาของตนในการทำงานชุมชน ด้วยการผสมผสานประสบการณ์ ความคิดรวบยอดและเชาว์ปัญญาเข้าด้วยกัน  ซึ่งจะทำให้มีมุมมองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล 
7.  การแก้ไขปัญหา
ตอบ     1)  จะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรคนั้นๆ อย่างละเอียด  เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการเกิดโรค ทั้งสาเหตุ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อมว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
            2)  กรณีที่เป็นโรคติดต่อนั้นมีระยะเวลาในการฟักตัวหรือการแพร่ระบาดนานเท่าใด  แหล่งแพร่โรคอยู่ที่ใดบ้างในชุมชน  ส่วนกรณีที่เป็นโรคไม่ติดต่อ   พฤติกรรมการปฏิบัติตนของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็นอย่างไร  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคมากน้อยเพียงใด
            3)  ผลที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคมีอะไรบ้าง และจะมีแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ

No comments:

Post a Comment